รู้จัก ผอ ศูนย์สุขภาพจิต ที่ 15 ปัตตานี ( ศูนย์สุขภาพจิตที่ 15เด็กกำพร้า )


1,866 ผู้ชม


 ผลการค้นหา / Search Result ------> เบอร์โทรศัพท์ภายในกรมสุขภาพจิต
ที่ ชื่อ ตำแหน่ง/ฝ่าย หน่วยงาน เบอร์โทร เบอร์แฟกซ์
1.   นพ.ประยุกต์ เสรีเสถียร   ผู้อำนวยการ   ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1   0-2527-7621-2   0-2527-7621-2
2.   นพ.มนตรี นามมงคล   ผู้อำนวยการ   ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10   0-5328-0556,0-5327-6153,0-5320-3675,0-5327-6153   0-5320-3676
3.   นพ.วีระ ชูรุจิพร   ผู้อำนวยการ   ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11   0-7724-0656-7   0-7724-0658
4.   นางสาวสุรพันธ์ ปราบกรี   ผู้อำนวยการ   ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12   0-7432-4782   0-7432-4781
5.   พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์   ผู้อำนวยการ   ศูนย์สุขภาพจิตที่ 13   0-2951-1360   0-2951-1348
6.   นางสาวนันทาวดี วรวสุวัส   ผู้อำนวยการ   ศูนย์สุขภาพจิตที่ 14   0-4259-3286   0-4259-3287
7.   พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา   ผู้อำนวยการ   ศูนย์สุขภาพจิตที่ 15   0-7432-4782,0-7432-4808-9   0-7432-4781

ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 แนะรัฐเร่งเยียวยาจิตใจชาวบ้านเจาะไอร้อง ควบคู่กับการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ หลังลงพื้นที่พบชาวบ้านอาการขวัญผวาถึงร้อยละ 60

 
 



     พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) กรมสุขภาพจิต และประธานคณะทำงานเฉพาะกิจเยียวยาปัญหาที่รุนแรงและซับซ้อน ในโครงการดูแลเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านจิตใจ จากสถานการณ์ความไม่สงบใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่มัสยิดบ้านไอร์ปาแย ส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรงทั้งระดับพื้นที่และประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่เริ่มวิตกกังวลกันมากขึ้น ซึ่งรัฐต้องประเมินภาวะสุขภาพจิตของคนในชุมชนและคนในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ ทั้งที่บาดเจ็บและเสียชีวิต โดยต้องเร่งให้การเยียวยาด้านจิตใจ ควบคู่กับการเยียวยาด้านอื่น ๆ ขณะเดียวกัน ต้องสร้างความกระจ่างว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือของใคร
     พญ.เพชรดาว กล่าวว่า การเยียวยาในระดับพื้นที่ได้จัดนักจิตวิทยา พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 74 คน เข้าไปประจำโรงพยาบาลศูนย์และทั่วไป จำนวน 37 แห่ง เพื่อเยี่ยมเยือนผู้ได้รับผลกระทบและติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยปัญหาสุขภาพจิตที่พบจากการเยี่ยมบ้านและเข้าไปให้ความช่วยเหลือเยียวยาในพื้นที่ พบว่า ประมาณร้อยละ 60 มีอาการขวัญผวาเห็นเหตุการณ์ซ้ำ ๆ นอนไม่หลับทั้งคืนติดต่อกันร้อยละ 30 สะดุ้งตกใจง่ายร้อยละ 22 หวาดกลัวไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ร้อยละ 7 วิตกกังวลร้อยละ 7 และเบื่อหน่ายร้อยละ 6

Source: www.thaimuslim.com

อัพเดทล่าสุด