เลือดออกตามไรฟันมีวิธีแก้อย่างไร เลือดออกตามไรฟัน ควรใช้ยาสีฟันอะไร calcium กับโรคเลือดออกตามไรฟัน


6,329 ผู้ชม


เลือดออกตามไรฟันมีวิธีแก้อย่างไร เลือดออกตามไรฟัน ควรใช้ยาสีฟันอะไร calcium กับโรคเลือดออกตามไรฟัน  

เลือดออกตามไรฟัน บางครั้งอาจไม่ใช่เรื่องการขาดวิตามิน

ในบางคนจะพบเลือดออกตามไรฟัน จะเข้าใจว่า เป็นการขาดวิตามิน แต่ความจริงเลือดออก ตามไรฟัน อาจมีสาเหตุ จากการเริ่มต้น เป็นโรคเหงือก อักเสบการมีหินน้ำลาย ซึ่งไปทำให้เกิด การระคายเคืองต่อ เหงือก เชื้อโรคที่ เกาะบนคราบฟันหรือหินน้ำลาย กระตุ้นเหงือก ให้อักเสบขึ้นมา เกิดเลือดออกตามไรฟันง่ายขึ้น หรืออาจจะมาจากสาเหตุโรคทางระบบเช่น ภาวะเลือดไหลออกง่าย (Bleeding)

ใน ส่วนของโรคเหงือก อักเสบการมีหินน้ำลายนั้น การรักษา ต้องให้ทันตแพทย์เป็น ผู้จัดการ โดยการ ขูดหินปูนนน้ำลายออก จะทำให้เหงือกแข็งแรงขื้น เลือดจะไม่ออกตามไรฟัน และ ควรป้องกัน ไม่ให้เหงือกเกิด การอักเสบอีก ด้วยการเอาใจใส่ดูแล ความสะอาดช่องปาก โดยแปรงฟัน ให้ถูกวิธีหลัง อาหารทุกมื้อ อากการเหงือกอักเสบ และเลือดออกตามไรฟัน ก็จะไม่ปรากฏต่อไป..

เลือดออกตามไรฟันมีวิธีแก้อย่างไร เลือดออกตามไรฟัน ควรใช้ยาสีฟันอะไร calcium กับโรคเลือดออกตามไรฟัน	เลือดออกตามไรฟันมีวิธีแก้อย่างไร เลือดออกตามไรฟัน ควรใช้ยาสีฟันอะไร calcium กับโรคเลือดออกตามไรฟัน

------

เลือดออกตามไรฟัน ควรใช้ยาสีฟันอะไร  ยาสีฟัน ต้องมีคุณสมบัติ แก้ปัญหาดังนี้

การที่ท่านมีเลือดออกตามไรฟัน อาจเกิดจากสาเหตุเริ่มต้น ของการเป็นโรคเหงือกอักเสบ หรือการมีหินปูน ซึ่งไปทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือก

โดยเชื้อโรคที่เกาะอยู่บน คราบฟัน หรือความคมแข็งของหินปูน การรักษา ควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อรับการรักษาโรคที่เป็น

เช่น การขูดหินปูนออก และควรป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบอีก ด้วยการเอาใจใส่ดูแลความสะอาดช่องปาก ด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธี หลังอาหารทุกมื้อ อาการอักเสบของเหงือก และการมีเลือดออกตามไรฟัน ก็จะหายไปเอง
ข้อมูลจาก : กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (Dental Health Division)

----------

Calcium with Vitamin Supplements (ยาเสริมแคลเซียมกับวิตามิน )

คำอธิบายพอสังเขป

ยาเสริมแคลเซียมกับวิตามิน (Calcium with vitamin supplements) ใช้เพื่อเสริมแคลเซียมและวิตามินต่าง ๆเช่น วิตามินดี, วิตามินซี, วิตามินบี 6 ใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะขาดแคลเซียมและวิตามิน หรือมีความเสี่ยงในการขาด เช่น ผู้ที่ได้รับสารอาหารเหล่านี้จากอาหารที่รับประทานตามปกติไม่เพียงพอ ผู้ที่มีความต้องการแคลเซียมและวิตามินเพิ่มขึ้น เช่น ผู้เป็นโรคกระดูกพรุน ผู้สูงอายุที่อยู่แต่ในบ้านซึ่งไม่ได้สัมผัสแสงแดด รวมทั้งใช้ป้องกันหรือรักษาภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เช่น ผู้มีระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ต่ำ

แพทย์อาจสั่งใช้ยานี้เพื่อรักษาโรคหรืออาการอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์และเภสัชกร

แคลเซียมมีความจำเป็นในการทำให้กระดูกแข็งแรง และมีความจำเป็นสำหรับการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท กระดูกเป็นแหล่งเก็บแคลเซียมในร่างกาย โดยกระดูกจะปล่อยแคลเซียมออกไปในกระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง เมื่อในเลือดมีแคลเซียมไม่เพียงพอที่จะใช้ในการทำงานของหัวใจและอวัยวะต่าง ๆ ก็จะมีการดึงแคลเซียมออกมาจากกระดูก และเมื่อรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม แคลเซียมจะไปสะสมอยู่ที่กระดูก เพื่อให้เกิดการสมดุลของแคลเซียมที่กระดูกและในเลือด หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้

สตรีมีครรภ์, ผู้ให้นมบุตร, เด็ก และวัยรุ่นอาจต้องการแคลเซียมมากกว่าที่ได้รับจากอาหารตามปกติ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอาจได้รับแคลเซียมเสริมเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) ซึ่งทำให้กระดูกหักได้ง่าย ภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเกิดจากปริมาณฮอร์โมนเอสโทรเจนที่ รังไข่ผลิตได้น้อยลงและทำให้กระดูกบางลง อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำในวัยเด็กและวัยรุ่นยิ่ง เพิ่มความเสี่ยงในการทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากขึ้น

ยาแคลเซียมอยู่ในรูปแบบของเกลือหลายชนิด เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต, แคลเซียมกลูโคเนต, แคลเซียมแลคเตท และแคลเซียมซิเทรต เกลือแคลเซียมแต่ละชนิดมีปริมาณแคลเซียมแตกต่างกัน เช่น

  • แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) มีแคลเซียมร้อยละ 40
  • แคลเซียมอะซีเทต (calcium acetate) หรือ แคลเซียมอะซีเทตแอนไฮดรัส (calcium acetate, anhydrous) มีแคลเซียมร้อยละ 25.3 * แคลเซียมซิเทรต (calcium citrate) หรือ แคลเซียมซิเตรทเททราไฮเดรต (calcium citrate tetrahydrate) มีแคลเซียมร้อยละ 21.1
  • แคลเซียมแลคเตทแอนไฮดรัส (calcium lactate, anhydrous) มีแคลเซียมร้อยละ 18.4
  • แคลเซียมแลคเตท ไทรไฮเดรต (calcium lactate, trihydrate) มีแคลเซียมร้อยละ 14.7
  • แคลเซียมแลคเตท เพนทาไฮเดรต (calcium lactate, pentahydrate) มีแคลเซียมร้อยละ 13
  • แคลเซียมกลูโคโนแลคเตท (calcium gluconolactate) หรือ แคลเซียมแลคเตท-กลูโคเนต ไดไฮเดรต (calcium lactate-gluconate dihydrate) มีแคลเซียมร้อยละ12.9
*แคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) มีแคลเซียมร้อยละ 8.9

ขนาดของยาแคลเซียมต้องคำนวณตามปริมาณแคลเซียมที่มีอยู่ในเกลือแคลเซียมแต่ละชนิด ไม่ใช่คำนวณจากปริมาณเกลือแคลเซียม เช่น

ยาเม็ดซึ่งมีแคลเซียมคาร์บอเนต 625 มิลลิกรัมมีแคลเซียม 250 มิลลิกรัม (แคลเซียมคาร์บอเนตมีแคลเซียมร้อยละ 40 ดังนั้นยาเม็ดนี้มีปริมาณแคลเซียม = (625 × 40)/100 = 250 มิลลิกรัม)
ในขณะที่ยาเม็ดแคลเซียมกลูโคเนต 1000 มิลลิกรัมมีแคลเซียมเพียง 89 มิลลิกรัม (แคลเซียมกลูโคเนตมีแคลเซียมร้อยละ 8.9 ดังนั้นยาเม็ดนี้มีปริมาณแคลเซียม = (1000 × 8.9)/100 = 89 มิลลิกรัม)

ดังนั้นยาเม็ดแคลเซียมคาร์บอเนต 625 มิลลิกรัม จะมีปริมาณแคลเซียมมากกว่ายาเม็ดแคลเซียมกลูโคเนต 1000 มิลลิกรัม

ยาสูตรผสมแคลเซียมกับวิตามิน มีวิตามินหลายชนิดแตกต่างกันในแต่ละสูตร เช่น วิตามินดี, วิตามินซี และวิตามินบี 6

วิตามินเหล่านี้มีความจำเป็นต่อร่างกายและมีอยู่ในอาหารทั่วไป แต่หากได้รับไม่เพียงพอก็อาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยในลักษณะต่าง ๆ ได้

วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร และช่วยป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก นอกจากนี้วิตามินดีมีความจำเป็นในการทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง การขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน (rickets) ในเด็ก และทำให้เกิดโรคกระดูกน่วม (osteomalacia) ในผู้ใหญ่

ร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เองเมื่อได้รับแสงแดด การได้รับแสงแดดทุกวัน วันละ 15-30 นาที ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินเพียงพอต่อความต้องการ ร่างกายยังได้รับวิตามินดีในอาหารต่าง ๆ เช่น นม ยาสูตรผสมของแคลเซียมและวิตามินดีใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะขาดแคลเซียมและ วิตามินดีหรือมีความเสี่ยงในการขาด เช่น ผู้เป็นโรคกระดูกพรุน, ผู้สูงอายุที่อยู่แต่ในบ้านซึ่งไม่ได้สัมผัสแสงแดด

วิตามินซีหรืออาจเรียกว่ากรดแอสคอบิค (ascorbic acid) มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน (oxidation-reduction) ในร่างกาย มีความสำคัญในการนำคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีนไปใช้ และช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน (collagen), คาร์นิทีน (carnitine) และสารส่งผ่านประสาท (neurotransmitter) ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรง หากร่างกายขาดวิตามินซีจะทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดซึ่งมีเลือดออกตามไรฟัน

วิตามินบี 6 หรืออาจเรียกว่าไพริดอกซีน (pyridonxine) มีความจำเป็นในการนำโปรตีน, คาร์โบไฮเดรตและไขมันไปใช้ในร่างกาย หากร่างกายได้รับวิตามินบี 6 ไม่เพียงพอหรือได้รับยาบางชนิดเช่น ไอโซไนแอซิด (isoniazid) ที่ทำให้เกิดการขาดวิตามินบี 6 จะทำให้เกิดอาการของปลายประสาทอักเสบ (peripheral neuritis) และโลหิตจาง

Source: https://healthy.in.th

อัพเดทล่าสุด