อาการลมออกหูข้างเดียว - ลมออกหูข้างเดียว เผย ลมออกหูแก้อย่างไรดึ เบื้องต้น


1,445 ผู้ชม


อาการลมออกหูข้างเดียว - ลมออกหูข้างเดียว เผย ลมออกหูแก้อย่างไรดึ เบื้องต้น

ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา   
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
 
  หูเป็นอวัยวะรับเสียงของร่างกาย  โดยเสียงจะผ่านจากช่องหูชั้นนอกเข้าสู่แก้วหูและกระดูกหูซึ่งเป็นส่วนของหูช ั้นกลางโดยแต่ละส่วนจะมีคุณสมบัติพิเศษช่วยขยายสัญญาณเสียงให้ดังเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นเสียงจะถูกส่งเข้าหูชั้นในรูปหอยโข่ง  (  Cochlea  )  เพื่อแปลงสัญญาณเสียงเป็นคลื่นประสาท  ส่งผ่านตามเส้นประสาทสมองคู่ที่  8   เพื่อเข้าสู่สมองและแปลผลต่อไป
 
หูอื้อคืออะไร ? 
  คือมีการได้ยินลดลง  ความคมชัดของเสียงลดลง  หรือบางรายอาจมีเสียงรบกวนในหู
 
จะรู้ได้อย่างไรว่าหูอื้อ ? 
  ส่วนใหญ่อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันนั้นตัวผู้ป่วยเองมักรู้สึกถึงควา มผิดปกติ
แต่ในกลุ่มที่อาการค่อยๆ เป็น  เจ้าตัวมักไม่ทราบ  ต้องอาศัยผู้ใกล้ชิดปกติ  เช่น  เรียกไม่ค่อยได้ยินหรือเปิดโทรทัศน์เสียงดัง  เป็นต้น
 
วิธีทดสอบการได้ยินด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ  มีดังนี้คือ 
ลองใช้นิ้วมือถูกันเบาๆหน้าหูทีละข้าง สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน  ซึ่งการทดสอบนี้จะใช้ได้เมื่อหูสองข้างได้ยินไม่เท่ากันเท่านั้น
 
สาเหตุที่ทำให้หูอื้อ  มีหลายสาเหตุพอแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้
1) การอุดกั้นสัญญาณเสียง  ซึ่งจะเกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง  เช่น  ขี้หูอุดตัน  หูชั้นนอกอักเสบจากการปั่นหูหรือว่ายน้ำบ่อยๆ  และหูชั้นกลางอักเสบจากหวัดเป็นต้น
2) ความผิดปกติในส่วนอวัยวะรับเสียงในหูชั้นในและหรือเส้นประสาทนำเสียงสู่สมอง 
 
ถ้ารู้ว่าหูอื้อควรทำอย่างไร?
  ต้องแก้ไขตามสาเหตุ  โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย  มีดังนี้คือ
 
     - ขี้หูอุดตัน   ไม่แนะนำให้ใช้การแคะหู  เพราะมักจะเอาขี้หูไม่ออก แล้วยังจะทำให้ขี้หูอัดแน่นและถูกดันลึกมากขึ้น
นอกจากนั้นอาจทำให้ช่องหูชั้นนอกเกิดแผล มีเลือดออกและมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ซึ่งเรียกว่าเกิดภาวะหูชั้นนอกอักเสบได้  ส่วนวิธีที่ปลอดภัยกว่า และแนะนำให้ใช้คือ  ลองหยอดยาละลายขี้หู โดยหยอดให้ท่วมรูหู ทิ้งไว้สักครู่  แล้วเทออก  ถ้ายังรู้สึกอื้อ ให้ทำซ้ำอีก  2-3  ครั้ง  ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดหูร่วมด้วย  ควรไปพบแพทย์  หู  คอ  จมูก  เพื่อทำการตรวจหูโดยละเอียด  และทำความสะอาดช่องหู
 
     - อาการหูอื้อที่เกิดจากหวัด  ควรได้รับการตรวจหูเพื่อดูความผิดปกติในหูชั้นกลาง  และตรวจภายในโพรงจมูกร่วมด้วยเนื่องจากมักพบจมูกอักเสบเรื้อรัง หรือ ไซนัสอักเสบได้บ่อย  ในภาวะดังกล่าว 
 
     - อาการหูอื้อที่เกิดหลังจากได้ยินเสียงดังมากๆ  เช่น  เสียงระเบิด  เสียงประทัด  หรือหูอื้อที่เกิดขึ้น  โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด  ร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ  บ้านหมุน  หรือมีเสียงดังรบกวนในหู  ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง  โดยแพทย์จะตรวจช่องหูและอวัยวะอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุ  จากนั้นจะส่งตรวจวัดระดับการได้ยิน  และอาจส่งตรวจการทำงานของระบบประสาทหู  และตรวจเลือดเพิ่มเติม
 
     - กลุ่มหูตึงในผู้สูงอายุ  ควรพาไปพบแพทย์ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ  ที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าปกติ  และรับการประเมินระดับการได้ยินว่าสมควรใช้เครื่องช่วยฟังหรือไม่  เพื่อเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายต่อไป
 
  หูเป็นอวัยวะพิเศษของท่าน  ต้องหมั่นดูแลรักษา... เพราะความพิเศษนี้มีให้มา…ครั้งเดียว

---------

 โครงสร้างของหู ส่วนประกอบ และหน้าที่      
อาการลมออกหูข้างเดียว - ลมออกหูข้างเดียว เผย ลมออกหูแก้อย่างไรดึ เบื้องต้น
หูแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ 
หูชั้นนอก ประกอบด้วยใบหู ช่องหูชั้นนอก และ แก้วหู ผิวหนังใบหูยื่นเข้าไปบุช่องหูชั้นนอก และ แก้วหู 
แก้วหูเป็นเยื่อบางมาก รูปร่างเกือบเป็นวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๘-๙ มิลลิเมตร หนาประมาณ 
๐.๑ มิลลิเมตร 
หูชั้นกลาง เป็นโพรงอากาศขนาดเล็กติดต่อกับโพรงอากาศมาสทอยด์ (mastoid cavity) หลังหู 
มีช่องติดต่อกับบริเวณคอหลังจมูกโดยท่อยูสเตเชียน (eustachian tube) ในหูชั้นกลางมีกระดูนำเสียง 
๓ ชิ้น คือ ค้อน ทั่ง และโกลน ติดต่อจากแก้วหูไปที่ช่องรูปรี (oval window) ในหูชั้นกลางทั้งหมดบุด้วย
เยื่อเมือก 
หูชั้นใน มีอวัยวะประสาทสัมผัส ๒ อย่างฝังอยู่ในกระดูกที่แข็งแรงมาก คือ อวัยวะรูปหอยโข่ง (cochilea) 
ทำหน้าที่รับเสียง และอวัยวะหลอดกึ่งวง (semicircular canal) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว ในหูชั้น 
ในมีน้ำหล่อเลี้ยงอวัยวะสัมผัสทั้งสองเป็นระบบเดียวกันและติดต่อถึงกัน หูชั้นในมีช่องเปิดเข้าหูชั้นกลาง 
๒ อัน คือ ช่องรูปรีซึ่งมีฐานของกระดูกโกลนปิดอยู่ โดยมีเยื่อบาง ๆ ยึดไว้ และช่องรูปกลม (round window) 
ซึ่งมีเยื่อบาง ๆ ปิดไว้ ช่องทั้งสองเป็นตำแหน่งให้เสียงเข้าออกหูชั้นใน และป้องกันไม่ให้น้ำหล่อเลี้ยงหูชั้นใน
ไหลออกมาด้วย 

หน้าที่ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของหูมีอะไรบ้าง 
อาการลมออกหูข้างเดียว - ลมออกหูข้างเดียว เผย ลมออกหูแก้อย่างไรดึ เบื้องต้น อาการลมออกหูข้างเดียว - ลมออกหูข้างเดียว เผย ลมออกหูแก้อย่างไรดึ เบื้องต้น
๑. ป้องกันการอักเสบและช่วยซ่อมแซม ช่องหูชั้นนอกและแก้วหูบุด้วยผิวหนังซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับผิวหนังทั่วร่างกาย จึงมีความต้านทาน
การติดเชื้อได้มาก เช่น น้ำที่มีเชื้อโรคเข้าหูชั้นนอกก็เกิดการอักเสบได้ยาก ผิวหนังบุ ช่องหูชั้นนอกและ
แก้วหูงอกได้เร็ว ดังนั้น แก้วหูที่ฉีกขาดจาดอุบัติเหตุจึงหายได้เองโดยการงอกของผิวหนัง 
แก้วหูเปรียบเหมือนประตูหน้าบ้านของหูชั้นกลาง คอยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้า
หูชั้นกลางซึ่งทำให้เกิดโรคหูน้ำหนวก ผู้ที่แก้วหูทะลุเป็นรูจึงเป็นทางให้เชื้อโรคเข้าและเกิดโรคหูน้ำหนวก
ตลอดเวลา ไม่มีทางหายขาดนอกจากผ่าตัดซ่อมแซมปะแก้วหู 
๒. น้ำเสียง เสียงเข้าหูชั้นในโดยผ่านช่องหูชั้นนอก แก้วหู และกระดูกหู ๓ ชิ้นเข้าหูชั้นในทางช่องรูปรี
ไปที่อวัยวะรูปหอยโข่ง จากนี้ เส้นประสาทสมองที่ ๘ นำเสียงไปสู่สมอง ถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขวางทางเดิน
ของเสียง เช่น ช่องหูตัน แก้วหูทะลุกระดูกหูถูกยึดแน่นหรือขาดหายไป เสียงเข้าไม่ได้เต็มที่ จะเกิดอาการ
หูตึงแบบการนำเสียงเสีย (conductive hearing loss) อย่างไรก็ตาม แก้วหูไม่ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
การนำเสียงทั้งหมด เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น การที่แก้วหูทะลุเป็นรูโต จะมีอาการหูตึงไปบ้างเท่านั้น 
ไม่ใช่หูหนวกดังที่เข้าใจกัน ในบางคนที่แก้วหูทะลุเป็นรูเล็ก ๆ ไม่มีอาการหูตึงหรือมี แต่เป็นอาการหูตึงน้อย 
หูตึงมาก หรือหูหนวกนั้นขึ้นอยู่กับกระดูหูทั้ง ๓ ชิ้นโดยเฉพาะกระดูกโกลนมีความสำคัญที่สุด รวมทั้ง
สภาพของหูชั้นในด้วย 
๓. รับฟังเสียงและควบคุมการทรงตัว ถ้าอวัยวะรูปหอยโข่งเสียหรือประสาทหูพิการ (เส้นประสาทสมองที่ 
๘) จะทำให้เกิดอาการหูตึงแบบหูชั้นในหรือประสาทหูเสีย (sensori-neural hearing loss) 
อวัยวะหลอดกึ่งวงไม่ได้ทำหน้าที่ตามปกติ การควบคุมการทรงตัวเสียไป เกิดอาการเวียนศีรษะ น้ำหล่อ
เลี้ยงอวัยวะรับเสียงและการทรงตัวในหูชั้นในติดต่อถึงกัน การเสียหน้าที่ของหูชั้นในจึงมักจะมีอาการได้ทั้ง 
๒ อย่าง คือ หูตึงและเวียนศีรษะ ความผิดปกติของเส้นประสาทหูและข่ายการติดต่อในสมอง ทำให้เกิด
อาการหูตึงหรือหูหนวก และเวียนศีรษะได้เช่นกัน 

โรคของหูชั้นนอกมีอะไรบ้าง 

เป็นการอักเสบจากการติดเชื้อบัคเตรี เชื้อราหรือไวรัส สาเหตุที่สำคัญ คือ น้ำเข้าหู แคะหูด้วยเครื่องมือสกปรก 
ขี้หูติดอยู่นาน ๆ เมื่อมีน้ำเข้าหูเกิดการอักเสบได้ง่าย 
อาการสำคัญที่สุดคือปวดหู ผู้ป่วยจะปวดในช่องหู รอบๆ หู หรือปวดร้าวไปทั้งศีรษะ การอักเสบแบบเป็นฝี
จะปวดมาก ถูกต้องใบหูเจ็บมาก มีน้ำเหลืองหรือหนองไหลซึ่งมีจำนวนน้อยและไม้ข้น นอกจากนี้ยังมีหูตึง 
คันหู และเป็นไข้ การตรวจจะพบว่า ช่องหูบวมแดงหรือเป็นฝี มีหนองขัง แก้วหู อาจบวมแดงหรือปกติก็ได้ 
มีแผ่นหนองแห้งติดอยู่ 
ถ้าอักเสบจากเชื้อราจะเห็นเชื้อราชัดเจนโดยเห็นเป็นก้านยื่นออกจากแผ่นหนอง และมีสปอร์สีต่าง ๆ กัน เช่น 
สีดำ และสีเหลือง การตรวจด้วย กล้องขยาย เช่น กล้องจุลทรรศน์ จะมองเห็นเชื้อราชัดเจนมาก ผู้ที่มีอาการ
คันหู ส่องดูหูแล้วแคะออกมาเป็นสะเก็ดสีขาวเป็นขุยนั้นไม่ใช่เชื้อรา เป็นผิวหนังที่ลอกออกมาจากในช่องหู
เท่านั้น หูชั้นนอกอักเสบจากเชื้อบัคเตรีหรือเชื้อรา ยังไม่เคยพบว่าลุกลามเข้าสมองทำให้สมองอักเสบหรือ
เป็นฝีในสมอง หูอักเสบจากเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น งูสวัดที่หู เชื้อไวรัสอาจลุกลามเข้าหูชั้นในและประสาท 
สมองที่ ๗ ทำให้มีอาการหูตึง เวียนศีรษะ และปากเบี้ยวได้ 
การรักษา
- โดยทำความสะอาดช่องหู นับว่าสำคัญที่สุด อะไรก็ตามที่ติดค้างในช่องหู เช่น ขี้หูก้อนหนอง แผ่นหนอง 
   ผิวหนังที่ลอกออกมา ต้องเอาออกให้หมด โดยการแคะ 
- ใช้เครื่องดูดหรือบ้างออกการทำความสะอาดช่องหูทำให้เจ็บปวดได้มากแต่จะหายอักเสบได้เร็ว 
- ใช้ยาหยอดหูที่มียาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อราหลังจากทำความสะอาดช่องหูแล้ว ถ้าไม่ทำความสะอาด  
   ช่องหูก็ไม่มีประโยชน์ที่ใช้ยาหยอดหู เพราะยาเข้าไม่ถึงผิวหนังส่วนที่อักเสบถูกสิ่งสกปรกบังไว้หมด 
- นอกจากนี้ก็ให้ยาแก้ปวด ลดบวม และยาแก้คัน รายที่อักเสบมากหรือเป็นฝีควรให้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีด
   หรือกินก็ได้ ส่วนรายที่เกิดจากเชื้อไวรัสงูสวัดและปากเบี้ยวต้องได้รับการตรวจและรักษาเป็นพิเศษ  
   โดยมุ่งการรักษาไปที่เส้นประสาทสมองที่ ๗ เพื่อรักษาอัมพาตกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ้งทำให้มีอาการปากเบี้ยว 

โรคของหูชั้นกลางมีอะไรบ้าง  
แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภท คือ 
๑. หูชั้นกลางอักเสบแบบเป็นหนอง เป็นการอักเสบจากการติดเชื้อของเยื่อเมือกในโพรงหูชั้นกลางทำให้เป็นหนองในหูชั้นกลาง แบ่งได้เป็น 
๒ ชนิด คือ 
   ๑) หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน เป็นการอักเสบปัจจุบันหรืออย่างเฉียบพลันจากเชื้อบัคเตรี พบบ่อยมาก
        ในเด็ก พบมากที่สุดในเด็กอายุประมาณ ๖-๘ ปี พบน้อยในผู้ใหญ่ มักจะเป็นข้างเดียว การอักเสบนี้
        เกิดตามหลัง การอักเสบในคอหรือจมูก อันเนื่องมาจากต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมอะดีนอยด์ (adenoid)  
        อักเสบ ไข้หวัดจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ หัด ไอกรน 
        เชื้อโรคจากคอหรือจมูกลูกลามไปตามท่อยูสเตเชียนเข้าหูชั้นกลางได้ง่าย เพราะท่อนี้ในเด็กมีขนาดโต 
        สั้น และอยู่ในแนวราบ 
        อาการสำคัญที่สุดคือปวดหู ผู้ป่วยจะปวดลึก ๆ และปวดมากจนร้องหรือดิ้น หรือใช้มือป้องหูถูต้องใบหู
        จะไม่เจ็บปวด เด็กที่เป็นหวัดและเจ็บคอแล้วต่อมามีอาการปวดหูแสดงว่าหูอักเสบ หากมีไข้หูตึง อาจมี
        เสียงดังตุ๊บ ๆ ตามหัวใจเต้น ถ้าตรวจหูจะพบว่าช่องหูชั้นนอกปกติ แก้วหูบวมแดงนูนออกมาลักษณะ
        ทึบแบบมีหนองข้างใน ในรายที่มีหนองไหลจะพบหนองในช่องหู และพบแก้วหูทะลุมีหนองไหลจาก
        หูชั้นกลาง ถ้าบริเวณหลังหูบวมและกดเจ็บ แสดงว่าโพรงอากาศมาสทอยด์อักเสบ  
        อากเอกซเรย์จะพบว่าโพรงอากาศมาสทอยด์ทึบแบบมีหนองข้างใน 
  ๒) หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง คือโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า โรคหูน้ำหนวก เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากที่สุด 
        ทำให้หูพิการได้มาก และเกิดอาการแทรกซ้อนทางสมองถึงแก่ความตายได้ 
        โรคนี้เกิดตามหลังหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่เพียงพอ 
        ส่วนสำคัญที่ทำให้เป็นหูน้ำหนวกเรื้อรังคือ แก้วหูทะลุ ดังที่กล่าวมาแล้วว่า แก้วหูมีหน้าที่ป้องกัน
        ไม่ให้เชื้อโรคเข้าหูชั้นกลาง ในคนแก้วหูทะลุ เชื้อโรคจากหูชั้นนอกผ่านเข้าหูชั้นกลางได้ง่าย เช่น 
        น้ำเข้าหูก็จะเกิดหนองไหล การเป็นหวัดและเจ็บคอ เชื้อจากคอหรือจมูกเข้าหูชั้นกลางทำให้มีหนอง
        ไหลจากหูการตรวจพบแก้วหูทะลุในผู้ใหญ่มักเป็นแก้วหูทะลุที่เป็นมาตั้งแต่เด็กเกือบทั้งหมด 
        ในวัยหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่ ถ้าแก้วหูทะลุจากหูอักเสบหรือจากอุบัติเหตุส่วนมากจะหายได้เอง 
        แก้วหูทะลุไม่ทำให้หูตึงมาก ถ้าไม่มีอาการหนองไหลจะไม่รู้เลยว่าแก้วหูทะลุ มักจะลงความเห็นว่า
        แก้วหูทะลุเนื่องจากการแคะหูหรือน้ำเข้าหูนั้นไม่เป็นความจริงทุกราย เพราะบางรายแก้วหูทะลุ
        อยู่ก่อนแล้วตั้งแต่เด็ก โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังจึงเป็นโรคหูที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เด็ก และเกิดจากเชื้อบัคเตรี
        เกือบทุกราย ที่เกิดจากเชื้อราพบได้น้อย 
        อาการที่พบมากที่สุดคือ หนองไหลออกจากช่องหูมาก ข้น และเหนียว บางครั้งมีกลิ่นเหม็นไม่ปวดหู 
        และมีอาการหูตึงระดับต่าง ๆ กันตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงมากหรือหูหนวก 
        อาการเหล่านี้ไม่รุนแรงผู้ป่วยส่วนมากจึงไม่มาตรวจรักษา นับว่าเป็นอันตรายมาก เพราะการปล่อย
        ให้มีหนองในหูชั้นกลางนาน ๆ อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงถึงแก่ความตายได้ 
        นอกจากอาการหนองไหล ยังมีแก้วหูทะลุ ซึ่งพบได้ทุกรายโดยมีขนาดรูทะลุต่าง ๆ กัน และพบ
        ตรงส่วนไหนของแก้วหูก็ได้ เยื่อบุในหูชั้นกลางหนามาก อาจะมีลักษณะเป็นก้อนยื่นออกมาในหูชั้นนอก 
        นอกจากนี้อาจจะพบก้อนผิวหนังที่งอกเข้าไปอัดแน่นในหูชั้นกลาง ซึ่งเรียกว่า คอเลสตีอะโทมา 
      (cholesteatoma) การพบก้อนประเภทนี้นับว่าเป็นหูน้ำหนวกที่มีอันตรายมาก เพราะนอกจากจะ
        รักษาหนองไม่หายแล้วยังงอกเข้าไปในทุกส่วนของหูชั้นกลางทำลายกระดูกนำเสียงลุกลามเข้าโพรง
        อากาศมาสทอยด์หลังหู ทำลายกระดูกที่กั้นระหว่างหูกับสมอง และฝีในสมอง ซึ่งเป็นอันตราย
       ร้ายแรงถึงตายได้ คอเลสตีอะโทมาอาจทำลายกระดูกหลังหูทำให้เป็นฝีหรือเป็นรูหลังหู เส้นประสาท
       สมองที่ ๗ ซึ่งผ่านบริเวณหูอาจจะถูกกดหรือทำลาย ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาตเป็นโรคปากเบี้ยว 
       และถ้ามีการทำลายหูชั้นในจะทำให้หูหนวกและเวียนศีรษะ 
โรคหูน้ำหนวกแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ 
ก. โรคหูน้ำหนวกชนิดไม่เป็นอันตรายเกิดจากแก้วหูทะลุอย่างเดียว มีหนองไหลเป็นๆ หาย ๆ หูตึงไม่มาก 
     การรักษาทางยาจะช่วยให้หูแห้งอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ 
     โรคนี้รักษาโดยการหยอดยาเมื่อมีหนองไหล ระวังไม่ให้น้ำเข้าหู ไม่แคะหูและล้างหู ผู้ป่วยที่
     ระมัดระวังดีอาจไม่ต้องผ่าตัดปิดรูทะลุและไม่เกิดอันตรายตลอดชีวิต 
ข. โรคหูน้ำหนวกชนิดเป็นอันตรายเกิดจากแก้วหูทะลุ มีคอเลสตีทะโทมา และมีการอักเสบ เรื้อรังใน
     โพรงอากาศมาทอยด์ มีน้ำหนวกไหลไม่หยุดไหลทุกวัน และมีกลิ่นเหม็นมาก ฉีดยา กินยา หรือ
     หยอดยาแล้วหนองก็ไม่หยุดไหล หูตึงมากน้อยแตกต่างกัน ส่วนมากจะตึงมากหรือหูหนวก มีอาการ
     เวียนศีรษะ เป็นฝีหรือรูทะลุหลังหูและปากเบี้ยวหากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามเข้าสมองเป็นอันตรายถึง
     ตายได้  ควรรักษาโดยการผ่าตัดทุกราย 
๒. หูชั้นกลางอักเสบแบบไม่เป็นหนอง 
หูชั้นกลางอักเสบชนิดน้ำใส (ดูหัวข้อโรคจากภูมิแพ้) 
๓. หูตึงจากกระดูกงอกที่กระดูกโกลน เกิดเนื่องจากมีกระดอกงอกที่บริเวณช่องรูปรีแล้วยึดฐานของกระโกโกลนให้ติดแน่น และสั่นสะเทือนได้ยาก 
เสียงจึงผ่านเข้าหูชั้นในได้น้อย ทำให้หูตึงแบบการนำเสียงเสีย ยังไม่ทราบ สาเหตุของโรค พบในหญิง
มากกว่าชาย โดยเริ่มมีอาการหูตึงตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว จากการตรวจรักษาผู้ป่วยหูตึงอายุ ๒๐-๕๐ ปี 
พบว่าอาการหูตึงจะเป็นทีละน้อย ๆ ทั้ง ๒ ข้อง โดยจะตึงมากข้างใดข้างหนึ่ง 
บางรายมีอาการลมออกหูหรือเวียนศีรษะเมื่อตรวจหูจะไม่พบสิ่งผิดปกติ แต่เมื่อตรวจการได้ยินจะพบว่า 
เป็นหูตึงชนิดแบบนำเสียงเสีย ถ้าตรวจวัดการทำงานในช่องหูชั้นกลางจะพบว่ากระดูกนำเสียงถูกยึดแน่น 
และรีเฟล็กซ์ของกระดูกนำเสียงถูกยึดแน่น และรีเฟล็กซ์ของกระดูกโกลนให้ผลลบ 
อาการหูตึงจะมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้ารักษาด้วยการผ่าตัดซึ่งทำโดยตัดกระดูกโกลนทิ้ง แล้วใส่ของเทียม เช่น 
ลวดท่อเหล็ก ท่อพลาสติก ให้ทำหน้าที่แทนกระดูกโกลนผู้ป่วยจะหายหูตึงและได้ยินเป็นปกติได้ 
ส่วนผู้ป่วยที่ต้องการรักษาทางยา โดยไม่ยอมผ่าตัดจะไม่หายเป็นปกติ แต่ถ้าใช้เครื่องช่วยฟังจะช่วยได้มาก 

เหตุใดหูจึงอื้อเมื่อเครื่องบินเปลี่ยนระดับความสูง 
คนที่เคยเดินทางด้วยเครื่องบิน คงจะรู้สึกว่าหูอื้อเมื่อเครื่องบินเปลี่ยนระดับความรวดเร็ว เช่น ตอนตก
หลุมอากาศ ตอนเครื่องบินขึ้นหรือลง เป็นต้น หูอื้นทำให้ได้ยินอะไรไม่ค่อยแจ่มชัด จากการศึกษารูหูพบว่า 
ที่ใจกลางรูหูมีโพรงซึ่งปิดสนิทด้วยเยื่อแก้วหู ที่ปลายข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งเปิดติดต่อกับบรรยากาศด้วย
ท่อเล็ก ๆ เรียกว่า ท่อยูสเตเชียน (Eustachiantube) ท่อนี้เล็กมากและผนังจะกดติดกันเสมอ จึงกักขัง
อาการไว้ตรงใจกลางโพรงดังกล่าวบ้าง เมื่อเครื่องบินที่เราโดยสารเปลี่ยนระดับความสูงอย่างรวดเร็ว 
คือขึ้นไปสู่บริเวณที่มีความดันต่ำ จึงทำให้ความดันในใจกลางรูหูสูงกว่าความดันภายนอก เป็นเหตุให้
เยื่อแก้วหูขยายออก ทำให้การได้ยินเพี้ยนไป อาจหมดความรู้สึก หรือทำให้ปวดหูได้ ความดันที่แตกต่าง
กันนั้นจะเท่ากันได้โดยอากาศหนีออกไปตามท่อยูสเตเชียน ขณะที่อากาศในหูเล็ดรอดหนีออกไป ทำให้เรา
รู้สึกว่า มีลมออกจากหู ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้หูอื้อ ผลที่เกิดขึ้นจะคล้ายกัน และอธิบายได้ในทำนองเดียวกัน
กับเมื่อเครื่องบินลดระดับ 

 หูตึง (หูหนวก) - Deafness      

หูตึง (หูหนวก) หมายถึง ภาวะการได้ยินเสียงลดลง อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรือ
ไม่ได้ยินเลย (หูหนวกสนิท) มีสาเหตุได้มากมาย เช่น แก้วหูทะล, หูอักเสบ ,
โรคเมเนียส์, หูหนวกมาแต่กำเนิด (เช่น ทารกที่เป็นหัดเยอรมันโดยกำเนิด) 
ซึ่งมักจะมีอาการเป็นใบ้ร่วมด้วย, พิษจากยา ( สเตรปโตไมซิน, คาน่าไมซิน เจนตาไมซิน),
 หูตึงในคนสูงอายุ, หูตึงจากอาชีพ เป็นต้น 
สาเหตุของอาการหูตึงหูหนวกได้ สรุปไว้ในแผนภูมิที่ 28 ในที่นี้จะขอกล่าวถึง 
หูตึงในคนสูงอายุ และหูตึงจากอาชีพ
หูตึงในคนสูงอายุ
พบได้ในคนสูงอายุ ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่า และมีความรุนแรงกว่าผู้หญิง 
โดยมากจะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป เกิดจากประสาทหู
เสื่อมตามวัย
หูตึงจากอาชีพ
ผู้ที่ทำงานอยู่ในที่ที่มีเสียงดังขนาดมากกว่า 90 เดซิเบล ขึ้นไปเป็นเวลานาน ๆ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความถี่สูง ๆ (เสียงสูง) มักเกิดอาการหูตึงได้  เนื่องจาก
เซลล์ประสาทหูถูกคลื่นเสียงทำลายอย่างถาวร และไม่มีทางแก้ไขให้กลับคืน
ดีได้ ผู้ป่วยมักจะเริ่มจากการได้ยินเสียงสูง (เช่น เสียงกระดิ่ง) สู้เสียงต่ำ (เช่น 
เสียงเคาะประตู) ไม่ได้ ถ้ายังคงทำงานอยู่ในที่ที่เสียงดังเช่นเดิม อาการหูตึง
จะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนถึงขั้นหูหนวกได้
ในรายที่มีอาการหูตึงอย่างถาวร อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
การรักษา
ไม่มียาที่ใช้รักษาให้การได้ยินดีขึ้น ถ้าจำเป็นอาจใช้เครื่องช่วยฟัง
การป้องกัน
ผู้ที่มีอาชีพที่เสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว ควรหาทางป้องกัน โดยการสวมเครื่อง
ป้องกันหูขณะที่อยู่ในที่ทำงาน และควรไปโรงพยาบาล เพื่อทำการทดสอบการ
ได้ยินเป็นประจำ ถ้าหากเริ่มมีอาการหูตึงเกิดขึ้น ควรหยุดงานในสถานที่เดิม 
และควรเปลี่ยนไปทำงานในสถานที่ที่ไม่มีเสียงดังรบกวน
ข้อแนะนำ
การทำงานในที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ อาจหูตึงอย่างถาวรได้

Source: https://www.thailabonline.com

อัพเดทล่าสุด