การเชื่อมต่ออุปกรณ์ด้วยเทคโนโลยีไร้สาย wlan


926 ผู้ชม


  Wireless กับ Wi-Fi คืออะไร
บางท่านอาจเรียก Wi-Fi ( อ่านว่า วาย-ฟาย ) แต่เพื่อนเรียก Wireless ( อ่านว่า วาย-เลส ) บางท่านเรียก Wireless โดนเพื่อนด่าว่าโง่ ต้องเรียก Wi-Fi เอ๊ะ แล้วมันคืออะไร ที่นี่จะอธิบายแบบง่าย ๆ ให้ฟังครับ
Wi-Fi หรือ Wireless หมายถึง เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN : WLAN ) หมายถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น
ระบบเครือข่ายไร้สายใช้แม่เหล็กไฟฟ้าผ่านอากาศ เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้อาจเป็นคลื่นวิทยุ (Radio) หรืออินฟาเรด (Infrared) ก็ได้
การสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สายมีมาตราฐาน IEEE802.11 เป็นมาตราฐานกำหนดรูปแบบการสื่อสาร ซึ่งมาตราฐานแต่ละตัวจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการสื่อสารข้อมูล เช่น 802.11b และ 802.11g ที่ความเร็ว 11 Mbps และ 54 Mbps ตามลำดับ และขอบเขตของสัญญาณคลอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 เมตรในพื้นที่โล่งและประมาณ 30 เมตรในอาคาร ซึ่งระยะทางของสัญญาณมีผลกระทบจากสิ่งรอบข้างหลายๆ อย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ ความหนาของกำแพง เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ รวมถึงร่างกายมนุษย์ด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้งานเครือข่ายไร้สายทั้งสิ้น
การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมี 2 รูปแบบ คือแบบ Ad-Hoc และ Infrastructure การใช้งานเครือข่ายไร้สายของผู้ใช้บริการทั่วไปจะเป็นแบบ Infrastructure คือมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ของผู้ให้บริการเป็นผู้ติดตั้งและกระจายสัญญาณ ให้ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อ โดยผู้ใช้บริการจะต้องมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณเรียกว่า "การ์ดแลนไร้สาย" หรือชนิดใหม่จะทำมาเป็นชนิด USB เรียกว่า Wireless USB ( รูปร่างเหมือน ThumDrive ) เป็นอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไป Access Point ของผู้ให้บริการ
สรุปก็คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนกับระบบแลน ( LAN ) ที่ใช้สายปกติ แตกต่างที่อุปกรณ์ทางกายภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ต้องใช้สายสัญญาณแต่อย่างใด โดยการใช้งานเครือข่ายไร้สายสามารถใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเครือข่ายมีสายได้ปกติ เว้นแต่ว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นๆ จะปิดบริการบางบริการเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้เช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น ประหยัดค่าสายสัญญาณและใช้งานได้ทุกที่ ที่มีสัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง
Wi-Fi คืออะไร
Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สายภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับอุปกรณ์ Lan ไร้สายไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันจนติดปาก
Wireless คืออะไร
Wireless คือลักษณะของการใช้งานอุปกรณ์ด้านสื่อสารโทรคมนาคม แปลตรงตัวว่าไร้สาย ฉะนั้นอุปกรณ์อะไรก็ตามที่ติดต่อสื่อสารกันโดยไม่ใช้สายสัญญาณถือว่่าอุปกรณ์นั้นเป็น Wireless เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะเรียกอะไรก็เหมือนๆ กันครับไม่ผิด Wireless ก็ถูกครับ Wi-Fi ก็ถูกครับ
ลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์
Wi-Fi ได้กำหนดลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ภายในเครือข่าย WLAN ไว้ 2 ลักษณะคือโหมด Infrastructure และโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
โหมด Infrastructure
โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ในเครือข่าย Wi-Fi จะเชื่อมต่อกันในลักษณะของโหมด Infrastructure ซึ่งเป็นโหมดที่อนุญาตให้อุปกรณ์ภายใน WLAN สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ในโหมด Infrastructure นี้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ประเภทได้แก่ สถานีผู้ใช้ ( Client Station ) ซึ่งก็คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Desktop, Laptop, หรือ PDA ต่างๆ ) ที่มีอุปกรณ์ Client Adapter เพื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi และสถานีแม่ข่าย ( Access Point ) ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมสถานีผู้ใช้เข้ากับเครือข่ายอื่น ( ซึ่งโดยปกติจะเป็นเครือข่าย IEEE 802.3 Ethernet LAN ) การทำงานในโหมด Infrastructure มีพื้นฐานมาจากระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กล่าวคือสถานีผู้ใช้จะสามารถรับส่งข้อมูลโดยตรงกับสถานีแม่ข่ายที่ให้บริการ แก่สถานีผู้ใช้นั้นอยู่เท่านั้น ส่วนสถานีแม่ข่ายจะทำหน้าที่ส่งต่อ ( forward ) ข้อมูลที่ได้รับจากสถานีผู้ใช้ไปยังจุดหมายปลายทางหรือส่งต่อข้อมูลที่ได้ รับจากเครือข่ายอื่นมายังสถานีผู้ใช้
โหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
เครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer เป็นเครือข่ายที่ปิดคือไม่มีสถานีแม่ข่ายและไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น บริเวณของเครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc จะถูกเรียกว่า Independent Basic Service Set ( IBSS ) ซึ่งสถานีผู้ใช้หนึ่งสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกับสถานีผู้ใช้อื่นๆในเขต IBSS เดียวกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสถานีแม่ข่าย แต่สถานีผู้ใช้จะไม่สามารถรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายอื่นๆได้

ประโยชน์เครือข่ายไร้สาย
 
     การเจริญเติบโตของเครือข่ายไร้สายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่มีมาตราฐาน 802.11 เกิดขึ้น ระบบเครือข่ายไร้สายได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันนี้เครือข่ายไร้สายสามารถใช้งานได้สะดวก และมีความปลอดภัยมากขึ้น และที่สำคัญความเร็วในการสื่อสารสูงถึง 54 Mbps
     • มหาวิทยาลัยสามารถใช้เครือข่ายไร้สายโดยนักศึกษาสามารถเข้าถึงบทเรียน Online ต่างๆ ได้ สามารถสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจากจุดใดจุดหนึ่งของสถาบันได้ และนักศึกษาไม่จำเป็นต้องรอเข้าใช้ห้องบริการคอมพิวเตอร์ของสถาบัน สามารถใช้จากจุดใดก็ได้ที่สัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง ช่วยให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
     • ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณให้เข้าถึงจุดบริการต่างๆ มากขึ้น และสามารถให้บริการในจุดบริการที่สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน
     • ผู้บริหารจัดการระบบเครือข่าย สามารถเผ้าตรวจสอบระบบ และปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเครือข่ายจากจุดก็ได้ ทำให้สะดวกและรวดเร็วต่อการจัดการมากขึ้น
     • ด้านธุรกิจผู้ดูแลสต๊อกสินค้า สามารถตรวจสอบข้อมูลสินค้าต่างๆ ในสต๊อกกับฐานข้อมูลกลางจากที่ใดในโกดังได้ทุกที่ตลอดเวลา
     • ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้ทุกสถานที่ตามที่ต้องการ ทำให้ผลิดผลของงานเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
     ปัจจุบันความนิยมใช้งานเครือข่ายไร้สายเพิ่มขึ้น เกิดจากการรองรับของอุปกรณ์ WLAN เพิ่มจำนวนขึ้น เช่น โน้ตบุ๊ค (Notebook) และพีดีเอ (PDA) อย่างเช่นโน้ตบุ๊ครุ่มใหม่ที่ผลิดขึ้นจะสามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายได้โดยไม่ต้องมีการ์แลนไร้สายช่วยแต่อย่างใด ที่รู้จักในชื่อ centrino ขณะที่พีดีเอต้องมีอุปกรณ์เสริมจึงจะสามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายได้ และสามารถสังเกตุได้จากห้างสรรพสินค้า ร้านกาแฟ โรงแรม สนามบิน ที่ให้บริการ WLAN เพิ่มขึ้นในหลายๆ ที่ แสดงให้เห็นถึงต้องการใช้เครือข่ายไร้สายเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน (สามารถตรวจสอบจุดบริการ Wireless ได้จาก จุดบริการ Wireless ในกรุงเทพฯ และจุดบริการ Wireless ในต่างจังหวัด)

ข้อพิจารณาการเลือกใช้อุปกรณ์ไร้สาย
 
      การเลือกใช้อุปกรณ์ไร้สายสำหรับเครือข่ายไร้สายนั้น มีอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 ส่วนหลักคือ อุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) และการ์ดแลนไร้สาย ซึ่งการ์ดแลนไร้สายสำหรับเครื่องลูกข่ายมีหลายประเภทการด้วยกัน เช่น PCMCIA Card, PCI Card และ USB แต่ละประเภทมีประสิทธิภาพการใช้งานไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานของผู้ใช้ เช่น การ์ด PCMCIA เหมาะสำหรับเครื่องโน้ตบุ๊ค ส่วนการ์ด PCI ใช้งานกับเครื่องเดสท็อปเท่านั้น ขณะที่ USB สามารถใช้ได้ทั้งเครื่องโน้ตบุ๊คและเดสท็อป
   
   

PCMCIA Card

PCI Card

USB


      การใช้งานเครือข่ายไร้สายให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ไร้สายด้วยเช่นกัน เพราะหากอุปกรณ์ไร้สายของแต่ละผู้ผลิดไม่สามารถทำงานเข้ากันได้กับผู้ผลิตอื่นๆ จะทำให้ไม่สามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายได้เลยไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายแบบ Ad-Hoc หรือ Infrastructure ฉะนั้นเพื่อการใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพควรใช้อุปกร์ไร้สายทั้งหมดเป็นผู้ผลิตรายเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้เช่นกัน ทำให้มีหน่วยงานมาตราฐานกลางกำหนดมาตราฐาน 802.11 ขึ้นเพื่อทำการตรวจสอบความเข้ากันได้ของผู้ผลิตแต่ละราย ซึ่งจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Wi-Fi Aliance จะสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้ใช้ควรตรวจสอบมาตราฐานก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์ไร้สาย ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก Wi-Fi Alliance และการเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สายที่ต้องตรวจสอบเบื้องต้นมีดังนี้
      • รัศมีของอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายครอบคลุมถึง
      • ความเร็วในการรับส่งข้อมูล เช่น 54 Mbps
      • ความสามารถเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์
      • อุปกรณ์กระจายสัญญาณต้องมีความสามารถปรับเปลี่ยนช่องคลื่นสัญญาณได้
      • อุปกรณ์มีการพัฒนาและมีซอฟต์แวร์ให้ Download ผ่านเว็ปไซต์ของผู้ผลิตได้
      • ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      • การติดตั้งง่ายและสะดวกในการใช้งาน
      • ความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น WEP, WPA
      • อุปกรณ์มีไฟบอกสถานะการทำงาน
      • อุปกรณ์มีเครื่องหมายแสดงการผ่านการตรวจสอบมาตราฐานจาก Wi-Fi Alliance
     เครื่องหมายแสดงการผ่านการตรวจสอบมาตราฐานจาก Wi-Fi Alliance นั้นจะบอกถึงความสมารถของอุปกรณ์ไร้สาย เช่น คลื่นความถี่ ความเร็ว และความปลอดภัย ที่อุปกรณ์นั้นๆ ได้ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว ถ้าอุปกรณ์จากผู้ผลิตรายใดได้รับเครื่องหมายการรับรองจาก Wi-Fi Alliance แสดงถึงอุปกรณ์จากผู้ผลิตรายนั้นจะสามารถทำงานร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้เช่นกัน    
     เครื่องหมายแสดงการผ่านการตรวจสอบมาตราฐานจาก Wi-Fi Alliance นั้นจะบอกถึงความสมารถของอุปกรณ์ไร้สาย เช่น คลื่นความถี่ ความเร็ว และความปลอดภัย ที่อุปกรณ์นั้นๆ ได้ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว ถ้าอุปกรณ์จากผู้ผลิตรายใดได้รับเครื่องหมายการรับรองจาก Wi-Fi Alliance แสดงถึงอุปกรณ์จากผู้ผลิตรายนั้นจะสามารถทำงานร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้เช่นกัน

อัพเดทล่าสุด