คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเทคโนโลยีไร้สายเหมาะสำหรับผู้ใช้งานประเภทใด


705 ผู้ชม


คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเทคโนโลยีไร้สายเหมาะสำหรับผู้ใช้งานประเภทใด

รู้จัก Wireless LAN ก่อนการเลือกซื้อ

การใช้งานเครือข่ายไร้สายมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่มาตรฐาน IEEE 802.11 เกิดขึ้น เครือข่ายไร้สายก็ได้รับการปรับปรุงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันเครือข่ายไร้สายสามารถใช้งานได้ด้วยความสะดวก และมีความปลอดภัยสูงขึ้นมาก นอกจากนั้นก็ยังให้อัตราความเร็วของการสื่อสารที่เพิ่มสูงขึ้นจนสามารถตอบ รับกับการใช้งานในด้านต่างๆ ได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การใช้งานวิดีโอสตรีมมิงมัลติเมียและการใช้งานด้านความบันเทิงต่างๆ สำหรับการประยุกต์ใช้งานเครือข่ายไร้สายนับว่ามีอย่างหลากหลาย ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ต่อไปนี้

ผู้ใช้งานตามบ้านเรือนที่พัก สามารถนำระบบเครือข่ายไร้สายมาใช้งานทั้งการแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วม กับสมาชิกในครอบครัว รับฟังและรับชมสื่อบันเทิงบนเครือขายอินเทอร์เน็ตผ่านผลิตภัณฑ์ไร้สายแบบ ต่างๆ ได้จากทุกๆ ที่ภายในบริเวณบ้านโดยไม่ต้องเดินสายนำสัญญาณให้ยากลำบาก

ผู้ใช้งานภายในองค์กร สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลิตผลของการทำงานของพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายของการวางสายนำสัญญาณลง ใช้ขยายขอบเขตการใช้งานเครือข่ายเดิมให้มีความยืดหยุ่น ในกิจการโรงแรมสามารถให้บริการแก่แขกผู้มาเข้าพักได้โดยสะดวก ร้านอาหารสามารถนำมาใช้บริการกับลูกค้าที่เข้ามาสั่งอาหาร, ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณให้เข้าถึงจุด บริการต่างๆ มากขึ้น และสามารถให้บริการในจุดบริการที่สายสัญญาณไม่สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน, ผู้บริหารระบบเครือข่ายสามารถเฝ้าตรวจสอบระบบ และปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเครือข่ายจากจุดใดก็ได้ ทำให้สะดวกและรวดเร็วต่อการจัดการมากขึ้น

ผู้ใช้งานภายในสถานศึกษา สถานศึกษาสามารถใช้เครือข่ายไร้สายโดยให้นักศึกษาสามารถเข้าเรียนในแบบอ อนไลน์ได้ สามารถสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากจุดใดจุดหนึ่งของสถาบันได้ ช่วยให้นักศึกษาสามารถใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11

เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยสถาบัน IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) ซึ่งมีข้อกำหนดระบุไว้ว่า ผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายในส่วนของ PHY Layer นั้นมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีสื่อนำสัญญาณ 3 ประเภทให้เลือกใช้งานอันได้แก่ คลื่นวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์, 2.5 กิกะเฮิรตซ์และคลื่นอินฟาเรด ส่วน.ในระดับชั้น MAC Layer นั้นได้กำหนดกลไกของการทำงานแบบ CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งนิยมใช้งานบนระบบเครือข่ายแลนใช้สาย โดยมีกลไกในการเข้ารหัสข้อมูลก่อนแพร่กระจายสัญญาณไปบนอากาศ พร้อมกับมีการตรวจสอบผู้ใช้งานอีกด้วย

มาตรฐาน IEEE 802.11 ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพของการให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) ซึ่งมีความสำคัญในสภาพแวดล้อมที่มีแอพพลิเคชันหลากหลายประเภทให้ใช้งาน นอกจากนั้นกลไกในเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่นำมาใช้ก็ยังมีช่องโหว่จำนวน มาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน เพื่อทำการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น

การใช้งานเครือข่ายไร้สายให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ไร้สายด้วยเช่นกัน เพราะหากอุปกรณ์ไร้สายของแต่ละผู้ผลิดไม่สามารถทำงานเข้ากันได้กับผู้ผลิตอื่นๆ จะทำให้ไม่สามารถใช้งานเครือข่ายไร้สายได้เลยไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายแบบ Ad-Hoc หรือ Infrastructure ฉะนั้นเพื่อการใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพควรใช้อุปกร์ไร้สายทั้งหมดเป็นผู้ผลิตรายเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้เช่นกัน ทำให้มีหน่วยงานมาตราฐานกลางกำหนดมาตราฐาน 802.11 ขึ้นเพื่อทำการตรวจสอบความเข้ากันได้ของผู้ผลิตแต่ละราย ซึ่งจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Wi-Fi Aliance จะสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้ใช้ควรตรวจสอบมาตราฐานก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์ไร้สาย ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก Wi-Fi Alliance และการเลือกซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สายที่ต้องตรวจสอบเบื้องต้นมีดังนี้
      • รัศมีของอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายครอบคลุมถึง
      • ความเร็วในการรับส่งข้อมูล เช่น 54 Mbps
      • ความสามารถเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์
      • อุปกรณ์กระจายสัญญาณต้องมีความสามารถปรับเปลี่ยนช่องคลื่นสัญญาณได้
      • อุปกรณ์มีการพัฒนาและมีซอฟต์แวร์ให้ Download ผ่านเว็ปไซต์ของผู้ผลิตได้
      • ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
      • การติดตั้งง่ายและสะดวกในการใช้งาน
      • ความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น WEP, WPA
      • อุปกรณ์มีไฟบอกสถานะการทำงาน
      • อุปกรณ์มีเครื่องหมายแสดงการผ่านการตรวจสอบมาตราฐานจาก Wi-Fi Alliance
     เครื่องหมายแสดงการผ่านการตรวจสอบมาตราฐานจาก Wi-Fi Alliance นั้นจะบอกถึงความสมารถของอุปกรณ์ไร้สาย เช่น คลื่นความถี่ ความเร็ว และความปลอดภัย ที่อุปกรณ์นั้นๆ ได้ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว ถ้าอุปกรณ์จากผู้ผลิตรายใดได้รับเครื่องหมายการรับรองจาก Wi-Fi Alliance แสดงถึงอุปกรณ์จากผู้ผลิตรายนั้นจะสามารถทำงานร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้เช่นกัน

ข้อดีของเทคโนโลยี Wireless LAN
สำหรับข้อดีของเทคโนโลยี Wireless LAN เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายธรรมดานั้น พอจะสรุปได้ ดังนี้
    Mobility: ผู้ใช้งาน Wireless LAN นั้นสามารถที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายขององค์กรได้ในทุกที่ ทุกเวลา ภายในพื้นที่ที่สัญญาณของระบบ Wireless LAN ครอบคลุมถึง
    Simple & Quick Installation: การใช้งานระบบ Wireless LAN ค่อนข้างง่ายและสะดวกรวดเร็ว เพราะว่าเทคโนโลยี Wireless LAN นั้นเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใชงานได้ในลักษณะ Plug & Play โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งสายเคเบิลให้เกิดความยุ่งยากและวุ่นวาย
    Reach Difficult Area: เทคโนโลยี Wireless LAN นั้นสามารถส่งสัญญาณ เพื่อให้บริการในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ในบริเวณที่ยากแก่การ ติดตั้งและเดินสายเคเบิล รวมถึงบริเวณที่ไม่สามารถติดตั้งสายเคเบิลได้ด้วย
    Reduce Future Cost: สำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตั้งใช้งานเทคโนโลยี Wireless LAN นั้นจะค่อนข้างสูงในขั้นแรก แต่ถ้านับรวมค่าใช้จ่ายในการติดตั้งใช้งานทั้งระบบ, ค่าบำรุงรักษา, อายุการใช้งานของอุปกรณ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในกรณีต้องการขยายจำนวนของผู้ใช้งานในอนาคตแล้วนั้น จะถือว่า Wireless LAN เป็นเทคโนโลยีที่ไม่แพงเลย
    Scalabil

อัพเดทล่าสุด