มะม่วงหาวมะนาวโห่ สรรพคุณ มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่อวิทยาศาสตร์


1,480 ผู้ชม


มะม่วงหาวมะนาวโห่ สรรพคุณ มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่อวิทยาศาสตร์  

สมุนไพรจากมะม่วงหาวมะนาวโห่

 มะม่วงหาวมะนาวโห่ สรรพคุณ มะม่วงหาวมะนาวโห่ ชื่อวิทยาศาสตร์

ผล มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ ซึ่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ได้เรียกชื่อผลไม้ชนิดนี้ให้สอดคล้องกับผลไม้ในวรรณคดีไทย เรื่องนางสิบสองตอน พระรถเมรี เนื่องจากทานผลสดแล้ว รสชาติจะเปรี้ยวมาก หากรู้สึกง่วงนอน จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยและตื่นตัวขึ้นมาทันที แต่ปัจจุบัน เกษตรกรเรียกชื่อสั้นลง กลายเป็น"มะม่วงหาวมะนาวโห่"แทน ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มรู้จัก และต้องการผลมะม่วงหาว มะนาวโห่ มากขึ้น เพราะทางวิชาการระบุว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถต้านทานอาการหวัดได้ดี วงการแพทย์ได้นำไปใช้รักษาโรคควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน


ผลสุกมะม่วงไม่รู้หาว รสเหมือนมะม่วงสุก
ผลสุกมะนาวไม่รู้โห่ รสเหมือนเปลือกมะนาวดองเค็มตากแห้ง


มะม่วงไม่รู้หาว เป็นชื่อพ้องของมะม่วงหิมพานต์ มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Anacardium occidaenate L. จัดอยู่ในวงค์ Anacardiaceae


สรรพคุณทางยาสมุนไพรพบว่า


- ผล ฆ่าเชื้อ ขับปัสสาวะ พอกดับพิษ แก้ลักปิดลักเปิด


- เมล็ด แก้กลากเกลื้อน แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน แก้โรคผิวหนัง แก้ตาปลา แก้เนื้องอก บำรุงไขข้อ บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกำลงั บำรุงผิวหนัง


- เปลือก แก้บิด ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้กามโรค ทำยาอมรักษาแผลในปาก แก้ปวดฟัน พอกดับพิษ


- ยอดอ่อน รักษาริดสีดวงทวาร


- ยาง ทำลายตาปลา กัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาหูด รักษาขี้กลาก แผลเนื้องอก โรคเท้าช้าง


- น้ำมัน ฆ่าเชื้อ ทาถูนวดให้ร้อนแดง ยาชา รักษาโรคเรื้อน กัดหูด แก้ตาปลา แก้บาดแผลเน่าเปื่อย


 


ต้นมะนาวไม่รู้โห่ เป็นชื่อพ้องของต้นหนามแดง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carissa carandas Linn. อยู่ในวงศ์ Apocynaceae


มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง), มะนาวโห่ (ภาคใต้), หนามขี้แฮด (เชียงใหม่), หนามแดง (กรุงเทพฯ) เป็นต้น


ลักษณะ เป็นไม้พุ่มยืนต้น สูงราว 2-5 เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้านมียางสีขาว และมีหนามแหลมยาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ เรียงตรงข้าม ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน เนื้อใบ เรียบ ดอกเล็กสีขาวออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง โคนดอกมีสีชมพูหรือแดงอ่อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ส่วนผลเป็นผลเดี่ยวออกรวมกันเป็นช่อ ผลอ่อนจะมีสีชมพูอ่อนๆ และค่อยๆ เข้มขึ้นเป็นสีแดง กระทั่งสุกจึงกลายเป็นสีดำ


สรรพคุณทางยาสมุนไพรพบว่า


- ราก แก้คัน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับพยาธิ บำรุงกระเพาะอาหาร ดับพิษร้อน แก้ไข้


- แก่น บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ ทำให้ร่างกายแข็งแรง


-เนื้อไม้ บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ แก่อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง


- ใบ แก้ท้องเสีย แก้เจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ปวดหู แก้ไข้
- ผล รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ฝาดสมาน


ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5441
หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ถนนศรีอยุธยา พญาไท กทม. 10400 Tel. 0-2644-8677-91 ต่อ 5305, 5316

อัพเดทล่าสุด