สีของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ, ประวัติระบบสุริยะจักรวาล, ใบ งาน ระบบสุริยะ ป 4
สีของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ หมายถึง ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปตาเรา ดาวเคราะห์แต่ละดวง มีขนาดและจำนวนดวงจันทร์บริวารไม่เท่ากัน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็น ระยะทางต่างกัน และดวงต่างก็อยู่ในระบบสุริยะ โดยหมุนรอบตัวเองโคจร รอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร
• ดาวเคราะห์วงใน (Interior planets)
หมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ดาวพุธ และดาวศุกร์
• ดาวเคราะห์วงนอก (Superior planets)
หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดจากโลกออกไป ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวพลูโต ทั้งนี้ ดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ยังสามารถจำแนกออกเป็น 2 จำพวกใหญ่ตามลักษณะพื้นผิวด้วย ดังนี้
• ดาวเคราะห์ก้อนหิน
ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ทั้ง 4 ดวงนี้มีพื้นผิวแข็งเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศบางๆ ห่อหุ้ม ยกว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่มีบรรยากาศ
• ดาวเคราะห์ก๊าซ
ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน จะเป็นก๊าซทั่วทั้งดวง อาจมีแกนหินขนาดเล็ก อยู่ภายในพื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม
( สำหรับดาวพลูโตนั้นยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นพวกใด เนื่องจากยังอยู่ห่างไกลจากโลกมาก )
ดวงอาทิตย์ (The Sun)
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะให้ทั้งความร้อนและแสงสว่างแก่โลกและบริวารอื่น ๆ ทุกดวง เป็นดาวฤกษ์สีเหลืองที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ( ขนาด 109 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก ) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 148 ล้านกิโลเมตร มีมวล 333,000 เท่าของโลก หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 27 วัน
ระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โดยมีดาวเคราะห์ 9 ดวง ดาวเคราะห์น้อย ดาวหางและอุกกาบาตโคจรรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์เป็นบริวารของดาวเคราะห์ และโคจรรอบดาวเคราะห์ต่าง ๆ นั้นอีกด้วย
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะทั้ง 9 ดวง ประกอบด้วย
1. ดาวพุธ ( Mercury )
อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเวลากลางวันอุณหภูมิสูงถึง 427 องศาเซลเซียส แต่ในเวลากลางคืนอุณหภูมิลดต่ำลงเป็น - 183 องศาเซลเซียส หลุมบ่อบางแห่งบนดาวพุธลึกมากจนแสงแดดส่องลงไปไม่ถึงจึงเป็นบริเวณที่หนาว เย็นมาก จากการสำรวจของยานมารีเนอร์ 10 ซึ่งทำแผนที่พื้นผิวโดยละเอียดพบว่า ดาวพุธไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม ไม่มีน้ำ เป็นไปได้ที่จะไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวพุธเพราะมีพื้นผิวแห้งแล้งและ เป็นหินแข็งปกคลุมด้วยหลุมบ่อที่มีขอบคมจำนวนมาก
2. ดาวศุกร์ ( Venus )
พื้นผิวส่วนใหญ่ราบเรียบ แต่มีหลายแห่งที่สูงขึ้นคล้ายทวีปต่าง ๆ บนโลก ในบางคืนเราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้อย่างชัดเจนทางทิศตะวันตกตอนหัวค่ำหรือ ทางทิศตะวันออกตอนใกล้รุ่งถ้าเห็นเวลาหัวค่ำเรียกว่า ดาวประจำเมือง ถ้าเห็นทางทิศตะวันออกเรียกว่าเรียกว่า ดาวประกายพรึกหรือดาวกัลปพฤกษ์ บรรยากาศของดาวศุกร์สะท้อนแสงอาทิตย์คล้าย ๆ กระจกสะท้อนแสงแผ่นใหญ่ ๆ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ดาวศุกร์ปรากฎสว่างมากบนฟ้า องค์ประกอบส่วนใหญ่ของบรรยากาศเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีความหนาแน่นสูง ทำให้บรรยากาศมีความกดดันสูง ในบรรยากาศยังมีละอองของกรดกำมะถันอยู่ด้วย ซึ่งถ้าตกลงมาเป็นฝนก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวถูกกัดกร่อน
3. โลก ( Earth )
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะที่พอเหมาะจึงทำให้น้ำบนโลกมีอุณหภูมิพอเหมาะ และอยู่ในสภาวะที่เป็นของเหลว ไม่เป็นไอหรือน้ำแข็ง โลกมีอากาศสำหรับหายใจ สัตว์และพืชต้องการสิ่งเหล่านี้ในการดำรงชีวิต บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกเป็นส่วนผสมของก๊าซชนิดต่าง ๆ มีอยู่หลายชั้น ก๊าซออกซิเจนซึ่งสิ่งมีชีวิตใช้ในการหายใจมีประมาณ 20% ของบรรยากาศโลก
4. ดาวอังคาร ( Mars )
พื้นผิวของดาวอังคารเต็มไปด้วยฝุ่นจำนวนมากองค์ประกอบของดินส่วน ใหญ่เป็นเหล็ก ทำให้ดาวอังคารมีสีเหลืองเหมือนสนิมเหล็ก เมื่อดูในระยะใกล้จะเป็นคลื่นทรายสีส้ม บางแห่งมีก้อนหินระเกะระกะทั่วไป มีพายุฝุ่นขนาดใหญ่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และเกิดนานหลายสัปดาห์ บรรยากาศบนดาวอังคารเบาบางมาก ส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลย
5. ดาวพฤหัสบดี ( Jupiter )
เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของระบบ เราสังเกตพื้นผิวของดาวพฤหัสได้ยากเนื่องจากมีเมฆปกคลุมอยู่ตลอดเวลา ไม่มีพื้นผิวที่เป็นของแข็งเหมือนโลก แต่ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนที่รวมอยู่กับก๊าซชนิดอื่น ๆ ในสภาพที่เกือบเป็นของแข็งแต่ไม่มีออกซิเจนเลย นอกจากจุดสีแดงขนาดใหญ่เกือบเท่าโลกและแถบสีดำพาดขวางแล้ว
เราก็มองไม่ เห็นอะไรไปมากกว่านี้เลย
6. ดาวเสาร์ ( Saturn )
มีวงแหวนสวยงามล้อมรอบหลายชั้น วงแหวนเป็นก้อนหินและน้ำแข็งสกปรก องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ในบรรยากาศมีส่วนผสมของฮีเลียมเป็นจำนวนมาก ฮีเลียมและไฮโดรเจนเป็นก๊าซเบาทำให้ดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อย ถ้าหากมีมหาสมุทรใหญ่พอที่จะเอาดาวเสาร์ใส่ลงไปได้ ดาวเสาร์จะลอยน้ำ
7. ดาวยูเรนัสหรือดาวมฤตยู ( Uranus )
บรรยากาศของดาวยูเรนัสส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจนที่เหลือเป็นฮีเลียม และก๊าซอื่น ๆ บรรยากาศชั้นบนมีฮีเลียมจำนวนมาก ซึ่งทำให้ดาวยูเรนัสมีสีเขียวออกน้ำเงินแกนกลางเป็นหินแข็งมีขนาดเล็ก
8. ดาวเนปจูนหรือดาวเกตุ ( Neptune )
อยู่ห่างไกลมากจึงมองเห็นเพียงเป็นจุดสว่างสีน้ำเงินจาง ๆ สีน้ำเงินของดาวเนปจูนเกิดจากก๊าซมีเทนในบรรยากาศ ซึ่งให้สีน้ำเงิน นอกจากนี้ในบรรยากาศยังมีไฮโดรเจน ฮีเลียม และไอน้ำ
ใต้บรรยากาศที่หนาทึบและเต็มไปด้วยเมฆ ดาวเนปจูนอาจประกอบด้วยส่วนผสมของหิน น้ำ แอมโมเนียเหลวและมีเทน
ดาวพลูโต หรือ ดาวยม ( Pluto )
มีพื้นผิวที่ปกคลุมด้วยมีเทนแข็งและไนโตรเจนแข็ง อาจมีบรรยากาศบาง ๆ ด้วย บริเวณขั้วสว่างกว่าที่อื่น ๆ
source : https://www.sahavicha.com