ตะลึง! เสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมอินโดนีเซีย- จีน แฟชั่นมุสลิมน่ารัก แฟชั่นมุสลิมวัยรุ่น


1,828 ผู้ชม


เสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมอินโดนีเซีย- จีน แฟชั่นมุสลิมน่ารัก แฟชั่นมุสลิมวัยรุ่น

แม้ความกดดันทางการเมืองและการปกครองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่สงบ แต่คนไทยทุกคนก็ไม่ได้ละทิ้งที่จะสนับสนุนอาชีพและความเป็นอยู่ของพี่น้องในจังหวัดนั้น โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดงานแฟชั่นโชว์เครื่องแต่งกายมุสลิมครั้งแรกในกรุงเทพฯ “เส้นทางอาภรณ์สวรรค์สู่ฝันที่เป็นจริง” ของโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมและสร้างรายได้ รวมทั้งขยายการผลิตและการตลาดสู่ต่างประเทศ

ไฮไลท์งานในครั้งนี้คงเป็นแฟชั่นโชว์ที่นำเสนอเสน่ห์ของเครื่องแต่งกายมุสลิมและการนำเทคนิคการออกแบบเสื้อผ้ามุสลิมมาประยุกต์ใช้กับสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับต่างๆ โดยได้ 3 ดีไซเนอร์ฝีมือดี อย่าง ศิโรจน์ ไชยสาม, รัตนพล ขันฤทธิ์ และวันชัย จันขุนทด ที่ลงทุนลงพื้นที่ไปศึกษาเรื่องราวเสื้อผ้าของชาวมุสลิมกันอย่างจริงจังจากพี่น้องชาวมุสลิม มานำเสนอพร้อมแนะนำเคล็ดลับเทคนิคใหม่เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านได้พัฒนาฝีมือมากยิ่งขึ้น

ศิโรจน์ ไชยสาม ตัวแทนดีไซเนอร์บอกถึงรูปแบบแฟชั่นโชว์ครั้งนี้ว่า ได้แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ การตกแต่งชุดมุสลิม โดยการปรับใส่ดีไซน์เพิ่มขึ้นแต่แบบฟอร์มยังคงเดิม “จากการศึกษารูปแบบของชุดมุสลิมแล้ว เขามีกฎหลายอย่าง อาทิ ผ้าที่ใช้ทำต้องไม่ใช่ผ้าที่ทำจากสัตว์ หรือส่วนผสมที่ทำจากสัตว์ เช่น ผ้าไหมนี่ใช้ไม่ได้เลย อีกทั้งห้ามใช้ลวดลายรูปสัตว์ลงบนผืนผ้า เราจึงเลือกใช้ลายกราฟิกมาตกแต่งแทน ส่วนรูปแบบผ้าคลุมผมนั้นต้องปิดมิดชิดห้ามให้เห็นไรผม กิจกรรมนี้เราเน้นให้ชาวบ้านเห็นว่าการนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน”

เทคนิคใหม่ๆ ที่นำมาใช้กับชุดมุสลิมนั้น ดีไซเนอร์ได้ยกตัวอย่างการใช้เลเซอร์คัทเพื่อฉลุผ้า ที่สามารถทำได้เร็วและริมผ้าไม่หลุดลุ่ย แถมยังให้ความปราณีตไม่ต่างจากฝีมือคนทำ จึงทำให้เพิ่มผลผลิตของชาวบ้านได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ชุดที่นำมาออกแบบในงานครั้งนี้ เป็นชุดที่ถูกต้องตามประเพณีของชาวมุสลิมทั้งชายและหญิง สำหรับใส่ไปร่วมงานพิธีมงคลต่างๆ อาทิ ผ้าคลุมผมสตรี หมวกกะปิเยาะห์ เสื้อคลุมฯ กว่า 50 ชุด ผ่านนางแบบมืออาชีพ

ส่วนกิจกรรมที่สองนั้น เป็นการนำผลงานฝีมือที่ถนัดของชาวบ้าน โดยเฉพาะงานแฮนดี้คราฟท์มาประยุกต์ใช้กับสินค้าแฟชั่นทั่วไป “ชาวบ้านเขามีฝีมือด้านการปัก การฉลุ การเดินเส้นผ้า เราก็ให้ความรู้กับเขาเพื่อให้นำเทคนิคสวยๆ เหล่านั้นมาออกแบบร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ เสื้อผ้าแฟชั่น ของแต่งบ้าน หมอน กระเป๋า เพราะปีนี้แฟชั่นแฮนดี้คราฟท์มาแรง ทำให้สินค้าประเภทนี้เป็นที่นิยมยิ่งขึ้น” ศิโรจน์กล่าว

หลังจากแฟชั่นโชว์ผ่านพ้นไป กระแสยอมรับของชาวบ้านพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างไรนั้น ตัวแทนดีไซเนอร์กล่าวว่า “เมื่อได้ทำงานร่วมกับชาวบ้าน ก็เห็นว่าพวกเขากระตือรือร้น และปรับตัวรับฟังเทคนิคใหม่ๆ จากพวกเราเป็นอย่างดี เพราะส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านจะผลิตเสื้อผ้าตามออเดอร์ มากกว่าที่จะผลิตเพื่อขาย เมื่อเขาได้รับเทคนิคใหม่ที่สามารถผลิตเสื้อผ้าได้ทัน และไม่จำเป็นต้องรอออเดอร์อย่างเดียวก็ทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น”

งานนี้นอกจากจะได้ชมแฟชั่นโชว์ชุดมุสลิมสวยๆ แล้วยังได้เห็นผลิตภัณฑ์และเครื่องประดับฝีมือของชาวมุสลิมจากกลุ่มผู้ประกอบการจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับ 5 ดาว ที่แม้จะเป็นสินค้าที่ถูกนำมาประยุกต์ให้เข้ากับแฟชั่นร่วมสมัย แต่กลิ่นอายเอกลักษณ์ความเป็นมุสลิมในสินค้ายังคงเป็นเสน่ห์ที่บ่งบอกถึงความประณีตในฝีมือแบบฉบับของชาวมุสลิมได้อย่างชัดเจน

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

อัพเดทล่าสุด