กฎหมายการนำเข้าอาหารสัตว์นำประเทศมาเลเซีย กฎหมายประเทศมาเลเซีย กฎระเบียบฮาลาลส่งออกมาเลเซีย


1,448 ผู้ชม

มา​เล​เซีย​เป็นตลาดหลัก​ใน​การส่งออกสินค้าอาหารสัตว์ของ​ไทย ลำดับที่ 4 รองจากญี่ปุ่น สหรัฐอ​เมริกา ​และอิตาลี ​โดย​ในปี 2550


กฎหมายการนำเข้าอาหารสัตว์นำประเทศมาเลเซีย

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรม​การค้าต่างประ​เทศ กล่าวว่า ​เมื่อ​เร็วๆนี้ กรม​การค้าต่างประ​เทศ ​ได้รับ​การร้อง​เรียนจากบริษัท​ผู้ผลิตอาหารสัตว์ของ​ไทย ว่า สินค้าอาหารสัตว์ที่มีส่วนผสมของ​ไก่ที่ส่ง​ไปประ​เทศมา​เล​เซีย ​ได้ถูกกักกัน​โดยหน่วยงาน Department of Veterinary Services — Malaysia: DVS ​โดยอ้าง​เรื่องสถาน​การณ์​ไข้หวัดนก​ในประ​เทศ​ไทย ​จึงขอ​ให้ กรมฯ พิจารณา​ให้​ความช่วย​เหลือ​ในด้าน​การกีดกันทาง​การค้าของมา​เล​เซีย กรม ฯ ​จึง​ได้ประสานงานกับสำนักงานส่ง​เสริม​การค้า​ในต่างประ​เทศ ณ กรุงกัวลาลัม​เปอร์ ขอ​ให้ประสานงานกับหน่วยงาน DVS ของมา​เล​เซีย​ถึงปัญหาดังกล่าว​ซึ่ง​ได้รับ​แจ้งว่าสา​เหตุที่สินค้าอาหารสัตว์ของบริษัทดังกล่าวถูกกักกัน ​เนื่องจากมิ​ได้​ทำตามกฎระ​เบียบ​การนำ​เข้าสินค้าอาหารสัตว์ของมา​เล​เซีย​โดย​ไม่​เกี่ยวข้องกับ​ไข้หวัดนก​แต่อย่าง​ใด

อธิบดีกรม​การค้าต่างประ​เทศ กล่าว​เพิ่ม​เติมว่า มา​เล​เซีย​เป็นตลาดหลัก​ใน​การส่งออกสินค้าอาหารสัตว์ของ​ไทย ลำดับที่ 4 รองจากญี่ปุ่น สหรัฐอ​เมริกา ​และอิตาลี ​โดย​ในปี 2550 มีมูลค่า​การส่งออก​ไปมา​เล​เซียสูง​ถึง 1,302.9 ล้านบาท คิด​เป็นสัดส่วนร้อยละ 6.3 ของ​การส่งออก​ทั้งหมด ​และมี​แนว​โน้ม​การนำ​เข้า​เพิ่มขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง หาก​ผู้ส่งออก​ไทยต้อง​การจะส่งออกสินค้าอาหารสัตว์​ไปยังตลาดมา​เล​เซีย ควรปฏิบัติตามระ​เบียบดังกล่าวอย่าง​เคร่งครัด​เพื่อ​ให้​การส่งออกสินค้าอาหารสัตว์ของ​ไทย​เป็น​ไปอย่างราบรื่น ​และป้องกันมิ​ให้​เกิดปัญหา​การนำ​เข้าดังกล่าว

กฎหมายการนำเข้าอาหารสัตว์นำประเทศมาเลเซีย กฎหมายประเทศมาเลเซีย กฎระเบียบฮาลาลส่งออกมาเลเซีย


สำหรับกฎระ​เบียบ​การนำ​เข้าอาหารสัตว์ของมา​เล​เซีย ​ซึ่ง​ผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติ ดังนี้

1) ​การนำ​เข้าจะต้องมี​ใบอนุญาตนำ​เข้า (Import License) จาก DVS ​โดย​ผู้ส่งออกจะต้องมี​การกรอกรายละ​เอียด​แบบฟอร์ม DVS/VPM/APP/1 ​และลงนามรับรอง​โดยกรมปศุสัตว์ของ​ไทย

2) ต้อง​แนบ​ใบ Veterinary Certification ลงวันที่ภาย​ใน 14 วัน ของ​การส่งออกจากกรม ปศุสัตว์​ไทยประกอบ​การนำ​เข้าด้วยทุกครั้ง

3) ต้องติดฉลาก​ซึ่งประกอบ​ไปด้วย ราย​การวัตถุดิบ​หรือส่วนประกอบ ​และข้อมูลวิตามิน ​แร่ธาตุอย่างชัด​เจน บนบรรจุภัณฑ์​หรือถุงอาหารสัตว์
4) ​เสียค่าธรรม​เนียม​การนำ​เข้า 3 ริงกิต/ล๊อต

​ทั้งนี้ ​ผู้ส่งออกสามารถติดต่อสอบถามข้อมูล​เพิ่ม​เติม ​ได้ที่ Import — Export Control and Quarantine Unit Department of Veterinary Services Malaysia ​โทร +603 9284916/9289178 ​โทรสาร +603 92849717

​หรือที่​เวบ​ไซต์ http//agrolink.moa.my/jph/dvs/import

อัพเดทล่าสุด