กลยุทธ์ทางการตลาดของอาหารฮาลาลไทย กลุ่มผู้บริโภคสินค้าอาหารฮาลาลที่เป็นมุสลิม


1,006 ผู้ชม

ประเทศไทยมีมุสลิมซึ่ง นับถือศาสนาอิสลามนับล้านคนมุสลิมจำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาล ดังนั้นการ ผลิตอาหารฮาลาลในระยะแรกจึง


กลยุทธ์ทางการตลาดของอาหารฮาลาลไทย กลุ่มผู้บริโภคสินค้าอาหารฮาลาลที่เป็นมุสลิม

 

ประเทศไทยมีมุสลิมซึ่ง นับถือศาสนาอิสลามนับล้านคนมุสลิมจำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาล ดังนั้นการ ผลิตอาหารฮาลาลในระยะแรกจึงเป็นเรื่องของผู้ประกอบการมุสลิมผลิตเพื่อ จำหน่ายแก่ผู้บริโภคมุสลิมด้วยกันจึงไม่จำเป็นต้องมีการรับรองอาหารฮาลาล
 
1.    การผลิตเพื่อผู้บริโภคในประเทศ

        ประเทศไทยมีมุสลิมซึ่งนับถือศาสนาอิสลามนับล้านคนมุสลิมจำเป็นต้องบริโภค อาหารฮาลาล    ดังนั้นการ ผลิตอาหารฮาลาลในระยะแรกจึงเป็นเรื่องของผู้ประกอบการมุสลิมผลิตเพื่อ      จำหน่าย แก่ผู้บริโภคมุสลิมด้วยกันจึงไม่จำเป็นต้องมีการรับรองอาหารฮาลาล ต่อมา เมื่อจำนวนประชากรมุสลิมมีมากขึ้น ความต้องการอาหารฮาลาลมีเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการผลิต อาหารซึ่งมิใช่มุสลิมมองเห็นช่องทางการตลาดในหมู่ผู้บริโภคมุสลิม  จึงต้องการผลิตอาหารฮาลาลเพื่อจำหน่ายแก่มุสลิม แต่มีปัญหาว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือว่าเป็นอาหารฮาลาล ในที่สุดผู้ประกอบการจึงขอให้ "จุฬาราชมนตรี" ดำเนินการตรวจและให้การรับรองฮาลาล การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลโดยจุฬาราชมนตรี ได้เริ่มมีขึ้น เมื่อปี 2491 ในสมัย ที่อาจารย์ต่วน สุวรรณศาสน์ เป็นจุฬาราชมนตรีและดำเนินการให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลเรื่อยมา จนท่าน จุฬาฯ ต่วนถึงแก่กรรม
        ต่อมาอาจารย์ประเสริฐ  มะหะหมัด  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราช มนตรี เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2524 และได้ดำเนินการให้เครื่องหมายรับรองฮาลาลในนาม คณะกรรมการกลาง อิสลามแห่งประเทศไทย (ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการกลางฯ ครั้งที่ 2/2525 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2525) และดำเนินการเรื่อยมาโดยมิได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมาย
               
        การขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองฮาลาลตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ท่านจุฬาราชมนตรี (อาจารย์ประเสริฐ มะหะหมัด) ได้ยื่นคำขอเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2538 (ตามคำขอเลขที่ 287197, 287198 และ 287199)  กรมทะเบียนการค้าได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองฮาลาล เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539 (ทะเบียน เลขที่ ร.47, ร.48 และ ร.49) โดยจุฬาราชมนตรีเป็นผู้ลงนามในหนังสือรับรอง ตลอดมาจนถึงแก่กรรมเมื่อปี 2540 การที่จุฬาราชมนตรีได้ให้เครื่องหมายรับรองฮาลาลแก่ผู้ประกอบการเพื่อแสดงบน ผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ บริโภคมุสลิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุสลิมไทยประมาณ 3-4 ล้านคนมีความมั่นใจในสินค้าฮาลาลมากขึ้น

2.    การผลิตอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออก

       ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก  สามารถส่งออกข้าว ผักและผลไม้ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ต่อมาเมื่ออุตสาหกรรมอาหารขยายตัวมากขึ้น  ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศไทย ได้ขยายปริมาณการส่ง ออกเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทะเล เช่น ปลา กุ้ง ปู หอย ปลาหมึก ผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น ผัก ผลไม้ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง เป็นต้น
        เมื่อประเทศไทยมิใช่เป็นประเทศมุสลิมและผู้ประกอบการก็มิใช่มุสลิม การผลิตอาหารเพื่อส่งออกไปยัง ตลาดโลกมุสลิม  จึงเป็นเรื่องยากที่จะได้รับการยอมรับเพราะผู้บริโภคมุสลิมต้องการอาหารฮาลา ลเท่านัน  ผู้ประกอบการเข้าใจถึงปัญหาและความจำเป็นดังกล่าว  จึงต้องการให้จุฬาราชมนตรีหรือองค์กรศาสนาอิสลาม คือ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ให้การรับรองฮาลาลหรืออนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลแก่ ผลิตภัณฑ์ของตน 
       ซึ่งจุฬาราชมนตรีก็สนองตอบความต้องการดังกล่าวโดยดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และให้ การรับรองเมื่อผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลนั้นมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามบัญญัติ ศาสนาอิสลาม การส่งออกอาหารฮาลาลของไทยสู่ตลาดโลกมุสลิม  คาดว่าเริ่มขึ้นอย่างจริงจังประมาณปี 2538 โดย พิจารณาจากการที่จุฬาราชมนตรี (อาจารย์ประเสริฐ มะหะหมัด) ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองฮาลาล เมื่อปี 2538 และกรมทะเบียนการค้าได้รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539
       จากการสำรวจอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปี 2540 คาดว่ามีบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลประมาณ 200 บริษัท ปี 2545 มีบริษัทได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลประมาณ 800 บริษัท มีผลิตภัณฑ์  ฮาลาลประมาณ 6,000 ผลิตภัณฑ์ ในปี 2549 มีบริษัทได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลทั้งหมดประมาณ1,700 บริษัท มีผลิตภัณฑ์ฮาลาล ประมาณ  50,000 ผลิตภัณฑ์  แสดงว่าเครื่องหมายรับรองฮาลาลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศ ไทย ได้รับความเชื่อถือและยอมรับจากผู้ประกอบการและแน่นอนย่อมได้รับความเชื่อ ถือจากผู้บริโภคมุสลิมทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เพราะการรับรอง ฮาลาลและอนุญาตให้ใช้ เครื่องหมายรับรองฮาลาลดำเนินการโดยองค์กรศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นองค์กรนิติบุคคลคือ คณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดและคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
               
3.    เทคโนโลยีการผลิตอาหารฮาลาล

3.1  ข้อกำหนดของกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล
       1) สถานที่

        สภาพ โรงงานหรือสถานที่ผลิตอาหารต้องสะอาดถูกต้องตามสุขอนามัยปราศจาก"น่ายิส" ซึ่งหมายถึง สิ่งปฏิกูลต่างๆ อันเป็นที่น่ารังเกียจตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น มูลสัตว์ เลือด น้ำลายของสัตว์เลี้ยง ฯลฯ

กลยุทธ์ทางการตลาดของอาหารฮาลาลไทย กลุ่มผู้บริโภคสินค้าอาหารฮาลาลที่เป็นมุสลิม กลยุทธ์ทางการตลาดของอาหารฮาลาลไทย กลุ่มผู้บริโภคสินค้าอาหารฮาลาลที่เป็นมุสลิม


       2) เครื่องมือ/อุปกรณ์การผลิต
        จะต้องทำความสะอาดตามหลักศานาอิสลาม  ในกรณีที่ผลิตอาหารทั้งที่    ฮาลาล (ฮารอม) โดยใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์เดียวกันก่อนเปลี่ยนกระบวนการผลิตมาผลิตอาหารฮาลาล จะต้องล้างเครื่องมือให้สะอาดโดยผู้ ประกอบการจะต้องแจ้งให้
            คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยทราบก่อนเพื่อจะได้ส่งเจ้าหน้าที่มาควบคุมวิธีการล้างและทำความสะอาดให้ถูกต้อง
        
       3) บุคลากรที่ประกอบอาหาร

            หัวหน้าควบคุมการผลิต ควรเป็นมุสลิม เพื่อความน่าเชื่อถือมากขึ้น ส่วนเจ้าหน้าที่ในสายการผลิตไม่เป็น มุสลิมก็ได้

กลยุทธ์ทางการตลาดของอาหารฮาลาลไทย กลุ่มผู้บริโภคสินค้าอาหารฮาลาลที่เป็นมุสลิม

       4)  การดำเนินธุรกิจการผลิตอาหารฮาลาล

        จะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในกรณีที่สถานประกอบการมิได้อยู่ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำ จังหวัด ส่วนสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดก่อนจึงจะสามารถ จำหน่าย หรือโฆษณาได้ หากสถานประกอบการใดได้รับการรับรองฮาลาลแล้ว ประสงค์จะขอใช้ "เครื่องหมายรับรองฮาลาล" ให้ยื่นขอต่อคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพียงองค์กรเดียวในประเทศ ไทย ทั้งนี้การขอรับรองก็ดี หรือขอใช้ "เครื่องหมายฮาลาล" ก็ดี จะต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกลาง อิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544

3.2     การผลิตอาหารฮาลาลจะต้องปฏิบัติตามหลักการศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด
         1) วัตถุดิบ (Raw meterial)
        ส่วนประกอบ (Ingredients) และสารปรุงแต่ง (Additive) จะต้องฮาลาล โดยผู้ผลิตจะต้องบอกแหล่งที่มาของวัตถุดิบและสารปรุงแต่งได้อย่างชัดแจ้ง หรือมีเอกสารรับรองฮาลาลประกอบ
        นอกจากนี้ ผู้ผลิตจะต้องระวังมิให้วัตถุดิบและสารปรุงแต่งอาหาร ผสมหรือสัมผัสกับวัตถุดิบ หรือสาร ที่ไม่ฮาลาล (ฮารอม) ในระหว่างการเก็บรักษา การขนส่ง การผลิต การจัดเตรียมให้ผู้บริโภค ฯลฯ

         2) การเตรียมวัตถุดิบ

        เมื่อวัตถุดิบที่ฮาลาลแล้ว วัตถุดิบจะต้องผ่านขั้นตอนการเตรียมด้วยวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสมคือ
                     •   การล้าง อาจใช้ถังน้ำขนาดใหญ่ หรือน้ำพ่นฝอย กรณีที่ใช้วัตถุดิบที่มาจากสัตว์ต้องล้างให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม
                     •   การเชือดสัตว์ จะต้องปฏิบัติตามหลักการศาสนาอิสลาม

Source: www.halal.or.th

อัพเดทล่าสุด