เชื่อว่าอัตราการเจริญเติบโตจะสูงกว่า ร้อยละ 20 ต่อปี ไม่นับรวมถึงสินค้าฮาลาลอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้า ของตกแต่งและเครื่องใช้
กลุ่มผู้บริโภคสินค้าอาหารฮาลาลที่เป็นมุสลิม
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยถึงการรายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้าสินค้าฮาลาลในจีนว่า จากสถิติของสมาคมอิสลามแห่งประเทศจีน แสดงว่ามูลค่าการค้าการซื้อขายระหว่างประเทศสินค้าอาหารฮาลาลมีไม่น้อยกว่า 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
และเชื่อว่าอัตราการเจริญเติบโตจะสูงกว่า ร้อยละ 20 ต่อปี ไม่นับรวมถึงสินค้าฮาลาลอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้า ของตกแต่งและเครื่องใช้ สำหรับประเทศจีนอุตสาหกรรมฮาลาลเติบโตปีละประมาณร้อยละ 10 มูลค่าการค้าสินค้าอาหารฮาลาลในประเทศจีนมีประมาณ 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“ผู้ผลิตอาหารฮาลาลในจีนส่วนใหญ่เป็นบริษัทเล็ก ผลิตสินค้าที่มูลค่าเพิ่มน้อย ขาดแคลนเทคโนโลยีที่จะช่วยให้สินค้าสามารถก้าวเข้าสู่ตลาดสากล และยังไม่มีการสร้างแบรนด์ จึงนับเป็นโอกาสของสินค้าฮาลาลไทย โดยการทำตลาด-ร่วมลงทุนจำเป็นต้องเข้าใจ เรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ตลอดจนทำการศึกษาหาลู่ทางที่เหมาะสม เนื่องจากแต่ละพื้นที่ของจีนมีความแตกต่างและหลากหลายมาก สินค้าควรมีจุดขายที่ชัดเจน และมุ่งเป้าไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก”นางนันทวัลย์ กล่าว
ทั้งนี้ ตลาดฮาลาลในจีนเป็นที่สนใจของหลายประเทศ การแข่งขันสูง ประกอบกับตลาดจีนมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ตามระดับการเปิดเสรี นอกจากต้องศึกษานโยบายภาครัฐอยู่เป็นระยะแล้ว สิ่งสำคัญคือจะต้องทำความเข้าใจกับลักษณะเฉพาะต่างๆ ของตลาดจีน ธรรมเนียมปฏิบัติ กลยุทธ์การค้าแนวทางในวิถีของจีน สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน โดยหวังผลทำการค้าร่วมกันในระยะยาว จีนมีชนกลุ่มน้อยอยู่ 55 ชนชาติ ในจำนวนนี้ 10 กลุ่มนับถือศาสนาอิสลาม รวมจำนวน 22 ล้านคน โดยมีชาวหุย เป็นกลุ่มชนนับถือศาสนาอิสลามที่ใหญ่ที่สุด
“อาหารฮาลาลเป็นอาหารบริสุทธิ์สะอาด ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานถูกต้องตามหลักศาสนา จึงเป็นที่ยอมรับสำหรับประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดอยู่เพียงในหมู่ชาวมุสลิมเท่านั้น โดยสามารถพบความหลากหลายในผลิตภัณฑ์อาหารในงานแสดงสินค้าอาหาร 2554 ไทยเฟ็กซ์ 2011( THAIFEX – World of food ASIA 2011 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 29 พฤษภาคมนี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด Your Recipe for Success in Asia ”นางนันทวัลย์ กล่าว
น.ส.สิริรัตน์ วงศ์ไพโรจน์พานิช สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองซีอาน ประเทศจีน กรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวเสริมว่า สิ่งสำคัญของการส่งออกอาหารฮาลาล คือ ใบรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล โดยทั่วไปสามารถจากหน่วยงานการศาสนาและชนกลุ่มน้อยของแต่ละท้องถิ่นหลังการ ตรวจสอบความถูกต้องของสินค้า ในบางท้องที่จะออกให้โดยสุเหล่า ปัจจุบันมีความร่วมมือระหว่างจีนกับต่างประเทศในการจัดตั้งศูนย์อบรมรับรอง มาตรฐานฮาลาล ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความผูกพันกันในทางศาสนา วิถีการดำเนินชีวิต และลักษณะเศรษฐกิจที่สามารถเกื้อหนุนกันและกัน โดยใช้กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ควบคู่กับการแลกเปลี่ยนทางการค้า
สำหรับร้านอาหารจานด่วนที่จำหน่ายและเป็นที่นิยม หากจัดตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนชาวมุสลิม ก็จะปรับเมนูอาหารให้เป็นฮาลาล เพื่อเข้าถึงตลาดได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ก็เห็นความสำคัญและเริ่มทำการเจาะลูกค้าใน กลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ของจีนยังไม่มีสินค้าฮาลาลที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ หากต้องการสินค้าจะต้องสั่งซื้อจากร้านค้าที่ได้รับตราเครื่องหมายฮาลาลที่ เชื่อถือได้ตามเมืองใหญ่ —ที่มา : สำนักข่าวไทย
XM603 G2 - Halal 16012010 - Presentation Transcript
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมการลงทุน การร่วมมือกับมาเลเซียเพื่อการลงทุนธุรกิจอาหารฮาลาลในไทย
สมาชิกกลุ่มที่ 2
นางสาวขวัญจิตร เย็นวัฒนา 5202010285
นายนัฐพล ไพบูลย์ 5202010178
นายอดิศักดิ์ ประติพัทธิ์พงษ์ 5202010301
นายเอกรินทร์ เลิศอำพล 5202010137
นายธนสรณ์ สุดเสนาะ 5202010186
ภาพรวมและความเป็นมา
ตลาดอาหารฮาลาลสำหรับชาวมุสลิมซึ่งมีประชากรสูงถึง 1,800 ล้านคน จาก 186 ประเทศ และมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเป็นมูลค่าปีสูงถึงกว่า 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่เป็น อาหารที่ส่งจากประเทศไทยไปยังประเทศมุสลิมประมาณปีละกว่า 10,000 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ หรือมีส่วนแบ่งในตลาดอาหารมุสลิมคิดเป็นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของอาหารมุสลิม ในปี 2551 มูลค่าส่งออกอาหารฮาลาลอยู่ที่ 5,191.2 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ
การส่งออกอาหารฮาลาล เป็นตลาดที่ลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ( Niche Market) ซึ่งมีเรื่องของศาสนา และวัฒนธรรมและความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง ประชากรมุสลิมในบางประเทศมองว่า ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา และไม่ทราบว่าไทยมีมุสลิมหลายล้านคน และสามารถผลิตอาหารฮาลาลได้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาหาร ฮาลาลไทยไม่เป็นที่ยอมรับเท่าที่ควร อีกทั้งการรับรองอาหารฮาลาลไทยยังไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าเท่าที่ควร
วัตถุประสงค์
การร่วมมือกับมาเลเซียจะทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นในอาหารฮาลาลของไทยเนื่องจากมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม
สามารถพัฒนากระบานการผลิตและการตรวจรับรองให้ตรงตามหลักศาสนาและมาตรฐานของอาหารฮาลาล
พัฒนาให้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการฮาลาลในอาเซียนและของโลก
เป็นการสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับประชากรในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งอาจส่งผลทางอ้อมในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Diamond model
เงื่อนไขด้านปัจจัยการผลิต
เงื่อนไขด้านอุปสงค์
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุน
บริบทของการแข่งขันและกลยุทธ์ทางธุรกิจ
เงื่อนไขด้านปัจจัยการผลิต
โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค การมีคลัสเตอร์อุตสาหกรรม (IMT) การคุ้มครองการลงทุน เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศในภูมิภาค นอกจากนี้ในแง่ของความสะดวกในการทำธุรกิจ ไทยก็ได้มีการปรับปรุงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย จากการจัดอันดับความง่ายในการทำธุรกิจของธนาคารโลกประจำปี 2552 ไทยมีอันดับเลื่อนขึ้นจากลำดับที่ 15 เป็นลำดับที่ 13 ซึ่งเป็นลำดับที่สูงกว่า มาเลเซีย ( 20 ) จีน ( 83 ) เวียดนาม ( 92 ) อินเดีย ( 122 ) อินโดนีเซีย ( 129 ) แสดงให้เห็นว่าในด้านปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ไทยยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติในการเข้ามาลงทุนระยะยาว
ทำเลที่ตั้งสะดวกต่อการขนส่ง และปลอดภัยจากภัยธรรมชาติเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศมุสลิมที่อาจเป็นคู่แข่งเช่น อินโดนีเชีย ( แผ่นดินไหวบ่อย )
เงื่อนไขด้านปัจจัยการผลิต
ประเทศไทยมีวัตถุดิบภายในประเทศไม่ว่าจะเป็น ไก่ อาหารทะเล หรือวัตถุดิบอื่นๆในการผลิตอาหารฮาลาล
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก มีวิทยาการและความรู้เทคโนโลยีในการผลิตอาหารระดับสูง
ปัจจัยพื้นฐานของประเทศไทยที่สนับสนุนการลงทุนที่ยังคงได้เปรียบหลายประเทศ เช่นโครงสร้างทางกฎหมาย ปัจจัยพื้นฐานทางการเงินที่มั่นคง กฎหมายการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง
ฐานการผลิตอาหารฮาลาลส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคใต้ซึ่งเป็นชาวมุสลิมที่สามารถใช้ภาษามลายูสื่อสารกับผู้ประกอบการชาวมาเลเซียได้
เงื่อนไขด้านอุปสงค์
สามารถสนับสนุนอุปสงค์จากภายในภูมิภาคไม่ว่าจะเป็น อุปสงค์จากประเทศไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
การประหยัดจากขนาด ( Economies of scale ) จากการลงทุนร่วมกันผลิต
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุน
มีอุตสาหกรรมสนับสนุนประกอบด้วย
วัตถุดิบจากอุตสาหกรรมการเกษตร ประมง
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
มีอุตสาหกรรมขนส่งที่รองรับ
มีสถาบันการวิจัยและการพัฒนาทางด้านอาหารอย่างต่อเนื่อง
มีการเชื่อมโยงโครงข่ายการผลิตในลักษณะ cluster
มีโครงสร้างเทคโนโลยีทางด้าน IT ที่มีประสิทธิภาพ
บริบทของการแข่งขันและกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ประเทศไทยมีการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีผ่าน BOI เพื่อดึงดูดนักลงทุนที่จะมาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารฮาลาล
การเปิดเสรีทางการค้าและบริการ ( AFTA ) ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการแข่งขันทางการค้า ทำให้ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชนในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ของไทยสามารถทำได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น การจัดการกับโรคซาร์ ไข้หวัดนก
Challenges
ภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองในปัจจุบัน
สถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก
ไทยยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลที่ถูกต้องตามหลักศาสนา ไม่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเท่าที่ควร เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ประนีประนอมสูง
การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้ายังไม่สามารถบังคับใช้ได้
การคอรัปชั่น ก่อให้เกิดต้นทุนทางธุรกิจ
Q&A