ผู้หญิงมุสลิมที่สวยที่สุด ภาพวาดผู้หญิงมุสลิมไทย


2,123 ผู้ชม


ผู้หญิงมุสลิม ผู้หญิงมุสลิมที่สวยที่สุด ภาพวาดผู้หญิงมุสลิมไทย

ผู้หญิงมุสลิมที่สวยที่สุด ภาพวาดผู้หญิงมุสลิมไทย

ผู้หญิงมุสลิมลิมที่สวยที่สุด คือสตรีที่อยู่ในหลักการแห่งอัลอิสลาม สตรีที่พวกนางรับผิดชอบในหน้าที่ของพวกนางได้อย่างดียิ่ง

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาอันยิ่งใหญ่ที่ถูกประทานลงมาเพื่อช่วยเหลือมนุษยชาติให้พ้นจากความพินาศ และนำพาไปสู่หนทางอันเที่ยงตรง อัลลอฮฺ ตรัสว่า :

" คือแนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของบรรดาพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่ (แนวทางของ) บรรดาพวกที่หลงผิด" อัลฟาติฮะฮฺ 1:7

อิสลามเป็นศาสนาที่ให้การยกย่องผู้หญิง และทำหน้าที่ดูแลรักษาความเป็นธรรมชาติของผู้หญิง รักษาเกียรติของผู้หญิง ทำให้พวกนางนั้นกลับมามีศักดิ์ศรีอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่โดนกดขี่ข่มเหง อิสลามได้กำหนดบทบัญญัติ (ฮุกุ่ม)ต่างๆที่สอดคล้อง และเหมาะสมกับธรรมชาติของพวกนาง

หากเราย้อนกลับไปมองสภาพในอดีต ใหยุคก่อนอิสลาม(ญาฮิลียะฮฺ) จะพบว่าผู้หญิงในยุคนั้นไม่มีสิทธิเสรีภาพ ไม่มีคุณค่าใดๆเลยแม้แต่น้อย ไม่สามารถเสนอแนะ หรือแสดงทัศนคติใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงมรดกตกทอดเท่านั้น แต่เมื่ออิสลามประจักษ์ขึ้นพวกนางกลับกลายเป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญยิ่ง พวกนางได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในหน้าที่ที่สำคัญยิ่ง อันได้แก่

1. ผู้หญิงมุสลิม มีหน้าที่  : หน้าที่ในการอบรม เลี้ยงดูบุตรหลาน ดังบทกวีที่ว่า "แม่นั้นคือโรงเรียนแห่งแรก เมื่อแม่ทำหน้าที่อย่างดียิ่งฉันท์ใด ก่อให้เกิดสายเลือดเผ่าพันธุ์ที่ดียิ่งฉันท์นั้น"


2. ผู้หญิงมุสลิม มีหน้าที่ : หน้าที่ในการดูแลกิจการภายในบ้านสามี ดังคำสอนของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ว่า  "สตรีนั้นทำหน้าที่ดูแลบริหารบ้านของสามี นางมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของนาง" บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และอิมามมุสลิม

ศาสนาอิสลามได้มอบสิทธิแก่ผู้หญิง ยกย่องให้เกียรติพวกนางอย่างมากมาย ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่สตรีมุสลิมะฮฺจะต้องยึดมั่นในศาสนาของนาง ยึดมั่นในสิทธิต่างๆที่ศาสนาได้บัญญัติไว้ให้ ซึ่งปรากฎอยู่ในอัลกุรอาน(กิตาบุลลอฮฺ) และแบบฉบับของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม (ซุนนะฮฺ)ตามความเหมาะสมตามโครงสร้างของสรีระ และธรรมชาติของนาง

ผู้หญิงมุสลิมที่สวยที่สุด ภาพวาดผู้หญิงมุสลิมไทย

นอกจากนี้ศาสนาอิสลามยังได้ให้ความเสมอภาคระหว่างเพศชายและเพศหญิงในด้านสิทธิมนุษยชน ด้วยการให้นางได้รับสิทธิต่างๆดังต่อไปนี้ :

1. สิทธิแห่งการมีชีวิต ดังดำรัสของอัลลอฮฺ  ที่ว่า  "พวกเจ้าทั้งหลายอย่าฆ่าชีวิต (มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง) ที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรมเท่านั้น" อัลอันอาม 6: 151

 "และเมื่อทารกหญิงที่ถูกฝังทั้งเป็นถูกถาม ด้วยความผิดอันใดเขาจึงถูกฆ่า" อัตตักวีร 81 : 8 - 9

2 . การได้รับการยกย่องและให้เกียรติ ดังดำรัสของอัลลอฮฺ  ที่ว่า "และโดยแน่นอนเราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม(ชายและหญิง) และเราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางทะเล " อัลอิสรออฺ 17: 70

3. การได้รับความเท่าเทียมกันระหว่างเพศชายและหญิงในผลบุญตอบแทน ทั้งในโลกนี้(ดุนยา) และโลกหน้า(อาคิเราะฮฺ) ดังดำรัสของอัลลอฮฺ  ที่ว่า "และผู้ใดกระทำในส่วนที่เป็นสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม ในฐานะที่พวกเขาเป็นผู้ศรัทธาแล้วละก็ ชนเหล่านี้จะได้เข้าสวรรค์ และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรม แม้เท่ารูเล็กๆที่อยู่บนหลังเมล็ดอินทผาลัม" อันนิซาอฺ 4: 124

โดยเหตุนี้เองศาสนาอิสลามจึงบัญญัติให้มีความเท่าเทียมกันในการลงโทษ อัลลอฮฺ  ตรัสว่า "และเราได้บัญญัติแก่พวกเขาไว้ในคัมภีร์นั้นว่าชีวิต(ไม่ว่าชายหรือหญิง) ต้องชดใช้ด้วยชีวิต"  อัลมาอิดะฮฺ 5: 45

อัลลอฮฺ ตรัสว่า "และขโมยชายและขโมยหญิงนั้นจะตัดมือของเขาทั้งสอง(คือตัดมือขวาก่อนและถ้าขโมยอีกให้ตัดมือซ้าย" อัลมาอิดะฮฺ : 5 38


4.สิทธิในการแสดงทัศนคติ ดังดำรัสของอัลลอฮฺ ที่ว่า  "โดยแน่นอนอัลลอฮฺทรงได้ยินถ้อยคำของสตรีที่กำลังโต้แย้งกับเจ้าในเรื่องสามีของนางและนางได้ร้องทุกข์ต่ออัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นทรงได้ยินการตอบโต้ของเจ้าทั้งสอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรู้เห็นเสมอ" อัลมุญาดะละฮฺ 58: 1


5. อิสลามให้สผู้หญิงมีเสรีภาพในด้านความเชื่อ(อะกีดะฮฺ) และในด้านการพัฒนาปรับปรุงจิตใจคน และในด้านการทำหน้าที่เชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ ?
ดังดำรัสของอัลลอฮฺ  ที่ว่า  "และบรรดามุอฺมินชาย และบรรดามุอฺมินหญิงนั้น บางส่วนของพวกเขาต่างเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ชอบและห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ชอบ" อัตเตาบะฮฺ 9: 71

และอีกสิ่งที่บ่งบอกถึงการยกย่องผู้หญิงในอิสลามคือ การให้ความเท่าเทียมกับชายในการครอบครอง การประกอบกิจการธุรกิจ เศรษฐกิจ การเงิน การค้า การขาย การกู้ยืม และบริจาค ทั้งหมดนี้นางสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง

โดย. ดร. ตอริก อัลอีซา

แปลและเรียบเรียงโดย. อ. อิสมาอีล สุขประเสริฐ

ที่มา สายสัมพันธ์ ปีที่ 38 อันดับที่ 415 - 416

Source : e-daiyah.com

อัพเดทล่าสุด