ทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะ รูปภาพระบบสุริยะ ระบบสุริยะอยู่ในกาแล็กซี่ใด
ทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะ
ทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะ มีดังนี้
1.ทฤษฎีของคานท์และลาพลาส ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2339 กล่าวไว้ว่า ระบบสุริยาเกิดจากกลุ่มก๊าซและหมอกควันขนาดใหญ่ที่มีความร้อนจัดมารวมตัวกัน แล้วหมุน แรงเหวี่ยงจากการหมุนทำให้มวลบางส่วนหลุดออกเกิดเป็นวงแหวนเรียงออกไปเป็น ชั้นๆ ต่อมามวลบริเวณศูนย์กลางได้กลายเป็นดวงอาทิตย์ ส่วนมวลที่อยู่บริเวณวงแหวนต่างๆ ได้กลายเป็นดาวเคราะห์และสิ่งอื่นๆ ในระบบสุริยะ
รูปแสดงการเกิดระบบสุริยะตามทฤษฎีของคานท์และลาพลาส
-ข้อสังเกต ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์เกิดพร้อมกัน
-ข้อสนับสนุน ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์หมุนไปทางเดียวกัน
-ข้อคัดค้าน ดวงอาทิตย์น่าจะหมุนเร็วกว่านี้ กลุ่มก๊าซน่าจะกระจายออกไปมากกว่าจะมารวมกันเป็นดาวเคราะห์
2. ทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์ ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2444 กล่าวไว้ว่า มีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่เคลื่อนที่เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ แรงดึงดูดระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์มีผลทำให้มวลสารบางส่วนของดวงอาทิตย์ และดาวฤกษ์หลุดออกมา แล้วกลายเป็นดาวเคราะห์และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ
รูปแสดงการเกิดระบบสุริยะตามทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์
-ข้อสังเกต ดวงอาทิตย์เกิดก่อนดาวเคราะห์ ทฤษฎีนี้ บูฟง ชาวฝรั่งเศส เคยตั้งมาก่อนเมื่อ พ.ศ. 2288
-ข้อสนับสนุน ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์หมุนไปทางเดียวกัน เป็นไปได้ที่ดวงอาทิตย์จะหมุนเข้า
-ข้อคัดค้าน ดาวฤกษ์เคลื่อนที่เร็วมากๆ ไม่น่าจะเข้ามาใกล้กันได้ กลุ่มก๊าซร้อนที่หลุดออกมาน่าจะกระจายไป ไม่น่าจะรวมกันได้ จากการคำนวณอย่างละเอียดได้แรงดึงดูดไม่น่าจะมาก จนสามารถดึงก๊าซหรือมวลสารหลุดออกมาได้
3. ทฤษฎีของเฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2493 กล่าวไว้ว่า กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองรวมกันเป็นดวงอาทิตย์ก่อน ต่อมาดวงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นนี้เริ่มมีแสงสว่าง โดยยังคงมีกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองห้อมล้อมอยู่ และหมุนไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองดังกล่าวจะอัดตัวกันแน่น และรวมตัวกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ กลายเป็นดาวเคราะห์และวัตถุต่างๆ ในระบบสุริยะ
รูปแสดงการเกิดระบบสุริยะตามทฤษฎีของเฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน
-ข้อสังเกต ดวงอาทิตย์เกิดก่อนดาวเคราะห์
-ข้อสนับสนุน สามารถอธิบายการหมุนรอบตัวเอง และการมีดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ได้
-ข้อคัดค้าน ยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการหมุนของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองเพื่อเกิดเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ ด้วยความเร็วไม่เท่ากัน
source : www.maceducation.com