โลกมีความสัมพันธ์กับระบบสุริยะในฐานะใด ระบบสุริยะประกอบด้วยอะไรบ้าง ระบบสุริยะจักรวาล ป.4


5,369 ผู้ชม


โลกมีความสัมพันธ์กับระบบสุริยะในฐานะใด ระบบสุริยะประกอบด้วยอะไรบ้าง ระบบสุริยะจักรวาล ป.4

ระบบสุริยะและลักษณะของดาว

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ เป็นระบบที่มี ดวงอาทิตย์ (Sun) เป็นศูนย์กลาง และมีบริวาร คือ ดาวเคราะห์ 9 ดวง มี ดวงจันทร์ (Moon) ดาวเคราะห์น้อย (Minor Planet หรือ Asteroid) และดาวหางโคจรอยู่โดยรอบ ส่วนผีพุ่งใต้และอุกกาบาตเกิดขึ้นในบรรยากาศโลก


จักรวาล

หมาย ถึง ห้วงอวกาศที่บรรจุไว้ด้วยดวงดาวน้อยใหญ่ต่างๆ จำนวนมหาศาล ระหว่างดวงดาวก็มีก๊าซและฝุ่นผงเกาะกลุ่มกันบ้าง กระจายกันอยู่บ้าง บรรดาดวงดาวในจักรวาล จะไม่กระจายกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่จะร่วมกันอยู่เป็นกลุ่มๆ เรียกว่า กาแล็กซี (Galaxy) ดวงดาวทั้งหมดที่เรามองเห็นในท้องฟ้าล้วนแต่อยู่ในกาแล็กซีเดียวกัน มีชื่อเรียกว่า กาแล็กซีทางช้างเผือก


ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์

  • ดาวฤกษ์ คือ ดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง

  • ดาวเคราะห์ คือ ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนพระอาทิตย์ส่องมายังตาเรา ดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า มี 5 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

ระบบ ของดวงดาวที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์เป็นบริวาร 9 ดวง ซึ่งดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง เรียงลำดับจากดวงที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไปหาดวงที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ดังนี้

ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน และดาวพลูโต

  1. ดวงอาทิตย์ (Sun) เป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าโลกที่เราอาศัยอยู่ถึง 108 เท่า ดวงอาทิตย์มีพลังงานดึงดูดซึ่งกันและกันกับดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง
  2. ดาวพุธ (Mercury) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุดโดยใช้เวลาเพียง 88 วัน และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 59 วัน
    • ดาวพุธเป็นดาวที่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มพื้นผิว
    • พื้นผิวของดาวพุธขรุขระเต็มไปด้วยก้อนหินและอุกกาบาตคล้ายผิวของดวงจันทร์
    • ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร
  3. ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นฝาแฝดกับโลก
    • ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 243 วัน และหมุนรอบดวงอาทิตย์ ใช้เวลา 225 วัน โดยหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก
    • ดาวศุกร์มีดวงจันทร์เป็นบริวาร
    • ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏแสงสว่างที่สุดรองจากดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์
    • ถ้ามองเห็นดาวศุกร์ทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ เรียกว่า ดาวประจำเมือง และถ้าเห็นทางทิศตะวันออกก่อนรุ่งอรุณ เรียกว่า ดาวประกายพรึก
  4. โลก (Earth) โคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 และหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 365 วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที หมุนจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก หรือทวนเข็มนาฬิกา
  5. ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 4 ซึ่งจะเห็นดาวอังคารมีลักษณะเป็นสีแดงจึงถูกเรียกว่า ดาวเคราะห์สีแดง (Red Planet)
    • ดาวอังคารโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 687 วัน และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 24 ชั่วโมง 37 นาที
    • ดาวอังคาร มีแกนเอียงคล้ายโลก คือ ประมาณ 25 องศา จึงทำให้เกิดฤดูกาลเช่นเดียวกับบนโลก
    • บนดาวอังคารมีบรรยากาศ แต่ก็เบาบางมาก มีพื้นผิวขรุขระ มีหลุมบ่อ มีปล่องภูเขาไฟ ฝุ่นละออง และมีร่องรอยของการไหลของน้ำมาก่อน
  6. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ เป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์เพราะมีองค์ประกอบเป็น ก๊าซไฮโดรเจน และ ฮีเลียม คล้ายดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นของดาวพฤหัสบดีจึงต่ำ (1.33 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร)
    • ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาหมุนรอบตัวเองเร็วที่สุดประมาณ 9 ชั่วโมง 55 นาที แต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลานานถึง 12 ปี
    • พื้นผิวของดาวพฤหัสบดีปกคลุมด้วยก๊าซหนาแน่น แต่มีแกนใจกลางขนาดเล็กเป็นหินแข็ง
  7. ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เป็นที่ 2 รองจากดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ถัดจากดาวพฤหัสบดี มีความหนาแน่นน้อยที่สุด คือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ
    • มีลักษณะคล้ายดาวพฤหัสบดี คือ ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจน
    • โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 29.5 ปี หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 10 ชั่วโมง 39 นาที
    • ดาวเสาร์ถือว่าเป็นดาวเคราะห์ที่สวยที่สุด เพราะเป็นดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนล้อมรอบที่ระดับเส้นศูนย์สูตร
    • วงแหวนของดาวเสาร์ ลักษณะเป็นก้อนหินและก้อนของชั้นน้ำแข็ง
  8. ดาวยูเรนัส (Uranus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ แต่มีขนาดเล็กกว่าดาวพฤหัสบดีกว่าครึ่งหนึ่ง
    • ดาวยูเรนัสหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 84 ปี และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10 ชั่วโมง 49 นาที
    • ดาวยูเรนัสมีวงแหวนล้อมรอบคล้ายดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี
    • วงแหวนที่ล้อมรอบประกอบด้วยชั้นน้ำแข็งมืดที่เคลื่อนไหว
  9. ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงินกลมเล็กๆ อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 8 ซึ่งมีระยะห่างไกลมากและมีแสงสว่างค่อนข้างน้อยมาก ทำให้ยากต่อการสังเกต (ดาวเนปจูน ถือเป็นเทพเจ้าแห่งทะเล)
    • ดาวเนปจูนหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 165 ปี และหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 15 ชั่วโมง
    • ดาวเนปจูนอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 4,506 ล้านกิโลเมตร
    • เป็นดาวที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์น้อยมาก จึงทำให้มีอุณหภูมิต่ำ
  10. ดาวพลูโต (Pluto) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไกลที่สุดเป็นลำดับที่ 9 และมีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ
    • ดาวพลูโตประกอบด้วยหินเหมือนดาวพุธ
    • ดาวพลูโตเป็นดาวที่มีความหนาวเย็นมาก อุณหภูมิประมาณ -223 องศาเซลเซียส และอาจไม่มีชั้นบรรยากาศ
    • พื้นผิวบนดาวพลูโตปกคลุมด้วยน้ำแข็งและก๊าซของแข็งและมีแกนกลางเป็นหิน
    • นักดาราศาสตร์ในปัจจุบันลงความเห็นว่าดาวพลูโตไม่ใช่ดาวเคราะห์ แต่เป็นเพียงดาวเคราะห์น้อยเท่านั้น
ดาวหาง ดาวตก อุกกาบาต และดาวเคราะห์น้อย
  • ดาวหาง (Comets) ประกอบด้วยฝุ่นและน้ำแข็งอยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะเกิดการระเหิดเป็นกลุ่มและแก๊ส สะท้อนแสงดวงอาทิตย์ ทำให้มองเห็นเป็นหัวและหาง
  • ดาวตก คือเศษหินที่ตกลงมาบนโลก ดาวตกที่มีขนาดเล็กจะถูกเผาไหม้หมด ดาวตกที่มีขนาดใหญ่จะตกลงสู่พื้นโลก เรียกว่า อุกกาบาต
  • อุกกาบาต (Meteors) เกิดจากวัตถุแข็งจำพวกโลหะ และหินขนาดเล็กที่ล่องลอยในอวกาศ เมื่อโคจรเข้ามาใกล้โลกจะถูกดึงดูดเข้าสู่บรรยากาศ เกิดการเสียดสีลุกไหม้เป็นแสงวาบ เรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งใต

โลกมีความสัมพันธ์กับระบบสุริยะในฐานะใด ระบบสุริยะประกอบด้วยอะไรบ้าง ระบบสุริยะจักรวาล ป.4 มารู้จักกับ ดาวหาง กันเถอะ

โลกมีความสัมพันธ์กับระบบสุริยะในฐานะใด ระบบสุริยะประกอบด้วยอะไรบ้าง ระบบสุริยะจักรวาล ป.4 มารู้จักกับ ดาวตก กันเถอะ

  • ดาวเคราะห์น้อย มีลักษณะเป็นหินแข็ง หรือส่วนผสมของหินกับโลหะชิ้นใหญ่ๆ มีอยู่เป็นจำนวนมากในระบบสุริยะ

source : www.myfirstbrain.com

โลกมีความสัมพันธ์กับระบบสุริยะในฐานะใด ระบบสุริยะประกอบด้วยอะไรบ้าง ระบบสุริยะจักรวาล ป.4

อัพเดทล่าสุด