โอเมก้า 3 คืออะไร โอเมก้า 3 มีมากใน โอเมก้า3 ปลาทู


1,318 ผู้ชม


โอเมก้า 3 คืออะไร โอเมก้า 3 มีมากใน โอเมก้า3 ปลาทู

โอเมก้า 3 (OMEGA-3) คืออะไรกันนะ ?

         กรดไขมันโอเมกา-3 (คำว่า "โอเมกา 3" หมายถึง ตำแหน่งของ Carbon atom ในสายของกรดไขมัน ที่มีพันธะคู่ ซึ่งก็คือกรด ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวนั่นเอง) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมันเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิดหนึ่ง (Unsaturated fatty acid) Omega-3 อาจพบได้ใน เมล็ดพันธุ์และอาหารชนิดต่างๆ ได้แก่ เมล็ด Flaxseed , Walnut ไข่ และ โยเกิร์ต ซึ่งโดยมากจะพบใน ปลาทะเลเขตน้ำเย็นชนิดต่างๆ อาทิ ซาร์ดีน แฮร์ริ่ง แม็คคาเรล เมนฮาเดน ค้อด แองโชว์วี่ และทูน่า ซึ่งจะพบสาร Omega-3 สูงมาก ในสัดส่วนระหว่าง 2.5-8 กรัม/เนื้อปลา 200 กรัม โดยปกติ และจากการวิจัยพบว่าปลาทะเลไทย เช่น ปลาทู ปลารัง ปลากะพง ปลาเก๋า ปลาสำลี ปลาอินทรีย์ ปลาโอ ฯลฯ มีกรดไขมันโอเมกา 3 ในปริมาณที่เหมาะสมเช่นกัน หากไม่มีปลาทะเลจะเลือกรับประทานปลาน้ำจืดบางชนิด เช่น ปลาช่อน ปลาบู่ หรือปลานวลจันทร์ ฯลฯ ก็ยังได้

คุณประโยชน์นานาประการ

          กรดไขมันชนิด Omega-3 นี้มีคุณสมบัติที่ช่วยบำรุงสุขภาพ เนื่องจากกรดไขมันหลักที่ชื่อว่า alpha-linolenic acid หรือ A LA ซึ่งเป็นกรดไขมันตั้งต้นที่จะสร้างเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ชื่อว่า Eicosapentaenoic acid หรือ E PA และ D ocosahexaenoic acid หรือ D HA ซึ่งสารทั้งสองนี้เองที่จะเป็นสารสำคัญในกระบวนการทางชีวเคมีระดับเซลล์ที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย ตัวอย่างเช่น เยื่อหุ้มเซลล์ของมนุษย์นั้นจำเป็นที่จะต้องอาศัยกรดไขมันดังกล่าวในการสังเคราะห์เป็นโครงสร้างเซลล์ รวมถึงการยึดเกาะกันของเซลล์ต่างๆให้เป็นโครงสร้างที่แข็งแรงมากขึ้น นอกจากนี้กรดไขมันชนิดนี้ยังช่วยควบคุมการขนส่งสารอาหารต่างๆไปทั่วร่างกาย และยังจำเป็นต่อการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ
1. Heart Disease
กรดไขมันชนิดนี้แทบจะเรียกได้ว่า เป็นกรดไขมันดีที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของหัวใจ อย่างแท้จริง เนื่องจากฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ลดไขมันเลว LDL และไตรกลีเซอไรด์ ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มไขมันดีที่ชื่อ HDL ซึ่งจะช่วยลดการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด อันเป็นต้นเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดอุดตัน ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์อัมพาตได้

2. Arthritis หรือ ภาวะข้ออัก เสบ
ในกรณีนี้ Omega-3 จะมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ และลดปฏิกิริยาการ ก่อภูมิแพ้ และการตอบสนองต่อระบบภูมิต้านทานร่างกายที่ไวเกิน (Autoimmune)

3. Memory and learning difficulties
Omega-3 จะช่วยปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิต ลดภาวะซึมเศร้า ซึ่งจะส่งผลดีต่อ การเรียนรู้และความจำ

4. Vision
เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำงานของดวงตา

5. Cancer
ชะลอการเกิดมะเร็งบางชนิด เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก

6. Pregnancy and birth
โดยปกติสาร Prostaglandins จะเกี่ยวข้องกับการบีบรัดของมดลูกขณะคลอดบุตรแบบธรรมชาติ ในกรณีนี้ Omega-3 ชนิด EPA จะเป็นสารที่จำเป็นต่อการผลิตและควบคุม Prostaglandins ในกระบวนการดังกล่าว นอกจากนี้ สำหรับทารกที่เกิดใหม่ นมมารดาที่ผลิตในช่วงแรกๆจะมีกรดไขมันประเภทนี้อยู่สูง ดังนั้นหากทารกไม่ได้กินนมมารดาตามธรรมชาติ การทานนมที่เสริมด้วย O mega-3 ก็จะช่วยส่งผลดีต่อพัฒนาการของทารกได้อีกประการหนึ่ง
 
ข้อแนะนำ
          ปริมาณรับประทาน Omega-3 ที่แนะนำนั้นจะอยู่ที่ วันละ 1-3 กรัม โดยอาจจะแบ่งรับประทานในแต่ละมื้อ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถนำสารสำคัญไปใช้ได้ทั้งหมด นอกจากนี้หากผู้รับประทานมีอาการดังที่กล่าวมานั้น เช่น โรคไขข้ออักเสบ ขนาดรับประทานอาจจะสูงมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่รับประทาน Omega-3 ในรูปสารสกัดที่บรรจุลงแคปซูลนั้น ควรเลือกสูตรที่มีการเติมวิตามินอีลงไปในผลิตภัณฑ์ด้วย เนื่องจากวิตามินจะช่วยป้องกันการเหม็นหืนของน้ำมันดังกล่าว และยังช่วยรักษาคุณภาพของน้ำมันชนิดนี้เพื่อให้ผู้รับประทานได้ประโยชน์สูงสุด นั่นเอง

อ้างอิงจาก : www.med.cmu.ac.th (น.พ. จักรกริช กล้าผจญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ )

อัพเดทล่าสุด