บทความดีๆ สตรีมุสลิมกับการทำงานนอกบ้าน


1,201 ผู้ชม


บทความดีๆ สตรีมุสลิมกับการทำงานนอกบ้าน

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

อัลลอฮฺ ซุบฮานาฮูวะตาอาลา ได้ทรงสร้างมนุษย์เป็นเพศชายและเพศหญิง และทรงได้
สร้างความรักใคร่ และความเมตตาระหว่างเพศทั้งสอง นั่นเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความร่วมมือในการ
สร้างสรรค์ความเป็นอยู่ของพวกเขา อัลลอฮฺได้ทรงบรรจงสร้างผู้ชายให้มีความแข็งแกร่งด้าน
ร่างกาย ความสามารถแบกรับในภาคอุตสาหะและทำงานหนัก พระองค์ก็ทรงบรรจงสร้างเพศ
หญิงให้มีสรีสระที่ต้องรับการตั้งครรภ์ การให้นม เลี้ยงดูลูก และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะ
เป็นความรัก ความห่วงใย ความเมตตา ฉะนั้นด้วยโครงสร้างที่พระผู้อภิบาลทรงสร้างข้างต้น เป็น
ธรรมชาติของผู้ชายที่จะต้องทำงานนอกบ้าน และเป็นธรรมชาติของผู้หญิงที่ทำงานในบ้าน

จริงๆ แล้ว อิสลามไม่ได้ห้ามผู้หญิงทำงาน หากแต่ยอมรับการซื้อขาย การทำธุรกรรมต่างๆ
ของสตรี และยอมรับความถูกต้องของการซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องรออนุมัติจากผู้ปกครองหรือ สามี
แต่อย่างใด เพียงแต่มีการจัดระเบียบ มีข้อกำหนด มีกฎกติกาและวางเงื่อนไขไว้ว่า หากไม่ปฏิบัติ
ตามเงื่อนไขเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งก็จะกลายเป็นที่ต้องห้าม ดังต่อไปนี้

บทความดีๆ สตรีมุสลิมกับการทำงานนอกบ้าน

1. งานที่ทำจะต้องไม่ชนกับงานในบ้าน

โดยงานที่ทำนั้นจะไม่เป็นสาเหตุของความ
บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของนางที่มีต่อสามี และต่อลูก ๆ ของนาง และไม่ทำให้เกียรติของนาง
ภายในบ้านต้องเสียไป เพราะผู้หญิงในอิสลามนั้น อย่างที่กล่าวมาแล้วขั้นต้น คือ สามีมีหน้าที่ต่อ
นาง นางก็มีหน้าที่ต่อสามีด้วยเช่นกัน และนางยังมีหน้าที่ต่อลูกๆ อีกด้วย
ท่านศาสนทูต (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า “....และสตรีคือผู้ดูแลภายในบ้าน
สามีของนาง และนางต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่นางดูแล...” [1]

2. ต้องเป็นงานที่ทำร่วมกับเพศเดียวกัน ห่างไกลการปะปนและคลุกคลีกับเพศชาย

ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันให้เธอห่างไกลจากสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เธอตกเป็น เหยื่อ และพลาด
พลั้งต่ออารมณ์ใฝ่ต่ำของเพศชายซึ่งไม่ใช่สามีของตน และความสูญเสียในเกียรติของเธอจาก
หลุมพรางอันชั่วร้าย

ท่านศาสนทูต (ขอความสันติและความสงบสุขมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า “เจ้าอย่าได้อยู่กับ
ผู้หญิงแบบสองต่อสอง เพราะจะมีซาตานเป็นบุคคลที่สาม” [2]
นักเขียนชาวอังกฤษ เลดี้ โค้ค ได้เขียนในหนังสือพิมพ์ อีโก้ [3] ว่า :

การอยู่ปะปนชายหญิงนั้นเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชาย และผู้หญิงเองก็ละโมบที่จะทำอะไรให้
ผิดแผกแตกต่างจากธรรมชาติของเธอ ตราบใดที่มีการอยู่ปะปนระหว่างชายหญิงมากเท่าใด บุตร
นอกสมรสก็ยิ่งเพิ่ม มากขึ้นเท่านั้น และนี่คือ ความหายนะอันใหญ่หลวง...

ซัยยิด กุฏุบ (ขออัลลอฮฺประทานความเมตตาแก่ท่าน) กล่าวว่า [4] :

“แท้จริงแล้ว สิทธิของผู้ชายและของผู้หญิงคือ การที่แต่ละคนจากทั้งสองต่างวางใจอีกฝ่าย
หนึ่ง และไม่ควรคบหากันในฐานะเพื่อนใกล้ชิด เพราะบางทีความรู้สึกของเธอหรือเขาอาจจะโน้ม
เอียงไปยังเพื่อนดังกล่าว ได้ แม้นว่าการโน้มเอียงที่ว่านี้จะไม่ทำให้เธอหรือเขาถึงขั้นกระทำ
ความ ผิดร้ายแรงก็ตาม แต่ก็เป็นเหตุให้เสื่อมความสัมพันธ์อันบริสุทธิ์ระหว่างกันหรืออาจจะทำลาย
บรรยากาศ การไว้วางใจและความเชื่อมั่นที่มีต่อกัน หรือด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมอาจก่อให้เกิด
ความรู้สึกจนเกินเลยขอบเขต นำไปสู่การตกหลุมพรางแห่งความสัมพันธ์ที่ไม่ชอบธรรมและยังทิ้ง
ร่องรอย ที่ไม่ดีเกินการคาดเดาได้ในทุกวินาที ดังที่เราพบเห็นในสังคมซึ่งนิยมการปะปนกันระหว่าง
ชายหญิง เราจะเห็นได้ว่าผู้หญิงในสังคมนั้นจะเดินออกจากบ้านในลักษณะที่นางแต่งตัว โอ้อวด
เปลือยร่างและถูกตามด้วยเหล่ามารร้ายที่คอยหลอกลวงนาง สำหรับใครที่พยายามจะกล่าวว่า
การปะปนกันหญิงชายจะช่วยขัดเกลาความรู้สึก ที่มีต่อกัน ช่วยกระตุ้นพลังที่หายไป ช่วย
เสริมสร้างมารยาทในการพูดคุยของสองบุคคลและมารยาทในการคลุกคลี เพิ่มพูนประสบการณ์
ที่พอจะป้องกันการ หกล้ม และการเลือกคู่ที่อยู่บนรากฐานแห่งประสบการณ์การรู้จักซึ่งกันอย่าง
สมบูรณ์ เท่านั้น(แม้ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ผิดๆ ก็ตาม)ที่จะรับประกันได้ว่าสามารถครองคู่ได้
อย่างยืดยาวถาวร เพราะเป็นการเลือกที่มาจากความพอใจและประสบการณ์จริงของทั้งสอง ฉัน
ขอ ตอบว่า ทั้งหมดคือคำพูดที่ไร้สาระไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง สภาพความเป็นจริงนั้นโน้ม
เอียงไปยังหนทางที่ไม่ถูกต้องเรื่อยๆ การสับสนด้านจิตสำนึกและความรัก และการทำลาย
ครอบครัวด้วยการหย่าร้างและ ด้วยวิธีอื่น การหลอกลวงและการทุจริตต่อชีวิตของสามีภรรยาเป็น
เรื่องที่ รู้จักทั่วไปในสังคม ถ้าจะเอ่ยถึงระบบการขัดเกลาที่อ้างมาหรือการมีความสัมพันธ์อัน
บริสุทธิ์ ด้วยวิธีการนัดพบหรือพูดคุยกันแล้วล่ะก็ จงสืบถามข้อเท็จจริงเหล่านี้จากจำนวนนักเรียน
ที่ตั้งท้องในโรงเรียน มัธยมปลายอเมริกาแห่งหนึ่ง ซึ่งบางโรงเรียนมีจำนวนถึง 48% ของเด็กนักเรียน
ที่ ตั้งท้อง ส่วนการใช้ชีวิตครอบครัวที่แสนสุขหลังจากการแต่งงานโดยผ่านวิธีการปะปนชาย หญิง
หรือผ่านระบบการคบหากันเพื่อลองใจกัน ก็จงสืบถามข้อเท็จจริงเหล่านี้จากสถิติการล่มสลายของ
ครอบครัวเพราะการ หย่าร้างในอเมริกา ซึ่งสติถิเหล่านี้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นระยะๆ ตามระดับความ
รุนแรง ของการปะปนชายหญิงและการเลือกคู่ด้วยการลองเป็นแฟนกันมาก่อน”

3. ต้องเป็นงานที่อนุมัติโดยพื้นฐาน และต้องเป็นงานที่เหมาะสมกับธรรมชาติของผู้หญิง

ดังนั้น เธอจะต้องไม่ทำงานที่ไม่เหมาะกับธรรมชาติของเธอ อย่างเช่น งานอุตสาหกรรมที่ใช้
แรงงานหนักๆ หรืองานในสนามรบที่ใช้เวลายาวนาน และงานที่หักโหมเกินไปสำหรับนาง เช่น งาน
ทำความสะอาดที่เหมาะเฉพาะ ผู้ชาย และงานทำความสะอาดถนนหนทาง เป็นต้น ซึ่งเป็นงานที่
อิสลามได้ห้ามไว้ สำหรับสตรี

แต่ในที่นี้เราจะถามกลับว่า ทำไมผู้หญิงต้องทำงานด้วยล่ะ?

หาก นางทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ และเพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นส่วนตัวของนาง
แล้วไซร้ อิสลามได้รักษาสิทธินี้ของนางไว้แล้ว ซึ่งระบบการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในอิสลาม คือ พ่อ
จะเป็นผู้รับผิดชอบค่า ใช้จ่ายของลูกสาวจนกว่าเธอจะแต่งงาน เมื่อเธอแต่งงาน สามีจะรับผิดชอบ
ค่า ใช้จ่ายของเธอและของลูกๆ ของเธอทั้งหมด เมื่อสามีของเธอเสียชีวิตความรับผิดชอบนี้จะกลับ
สู่พ่อเธออีกครั้ง ถ้าหากเธอไม่มีพ่อแล้ว ลูกของเธอจะรับผิดชอบแทน หากลูกของเธอยังเล็กอยู่ พี่
น้องของเธอต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ต่อ จากนั้นก็ญาติที่ใกล้ชิดที่สุด แล้วก็ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดในขั้น
ต่อๆ ไป ซึ่งจากวันที่เธอเกิดจนถึงวันที่เธอจากโลกนี้ไป เป็นที่รับประกันแล้วว่าเธอไม่จำเป็นต้อง
ทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเธอเอง เลย นอกเสียจากว่า เธอทำไปเพื่อภารกิจทางสังคมที่เธอได้รับ
มอบหมายและ เป็นงานที่สังคมคาดหวังจากเธอ และงานที่คล้ายๆ กัน อาทิ การดูแลบ้านและงาน
ดูแล เด็ก เพื่อให้การดูแลสามารถทำได้อย่างถูกต้อง เธอต้องใช้ความพยายามและแบกรับความ
ยากลำบากอันใหญ่หลวงนัก ซึ่งจำเป็นจะต้องจัดสรรเวลา และความคิดให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
ด้วย

แซม มวล สไมลัส นักวิชาการชาวอังกฤษซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการฟื้นฟูวิทยาการ
ประเทศ อังกฤษ กล่าวว่า [5]
บทความดีๆ สตรีมุสลิมกับการทำงานนอกบ้าน
“ระบบที่ให้ผู้หญิงหมกมุ่นในที่ทำงานนั้นเป็น ระบบที่รัฐมีเงินมากมายก็จริง แต่ผลของมัน
ทำให้ชีวิตครอบครัวพังทลาย เพราะมันไปทำลายโครงสร้างบ้านเรือน และทำลายรากฐานของ
สถาบันครอบครัว และคลายข้อผูกมัดในการอยู่ร่วมกัน เพราะมันทำให้เกิดการแย่งความเป็น
ภรรยาจากสามีไปและความเป็นลูกจากผู้ที่ใกล้ชิดไป
ทำให้เป็นอีกรูปแบบเฉพาะตัวซึ่งไม่มีผล
ใดๆ นอกจากความตกต่ำทางศีลธรรมของผู้หญิง เพราะจริงๆแล้วหน้าที่ของผู้หญิงก็คือทำงานที่
จำเป็นต่างๆ ภายในบ้าน เช่น จัดบ้านให้เป็นระเบียบ อบรมเลี้ยงดูลูกๆ และบริหารค่าใช้จ่าย
ภายใน บ้านเพื่อสามารถพักอาศัยได้อย่างปกติสุข โดยทำพร้อมกับงานที่จำเป็นภายในบ้าน
ทั้งหลาย แต่ถ้าหากเธอละเลยจากการทำงานเหล่านี้ โดยปล่อยให้ภายในบ้านไม่เป็นเหมือนบ้าน
และลูกๆ ก็เติบโตอย่างไร้การอบรมเลี้ยงดูและพวกเขาถูกละเลย ความรักระหว่างสามีภรรยาถูก
ดับมอด ผู้หญิงจะออกจากความเป็นภรรยาที่ดีที่เป็นที่รักของสามีและเธอกลายเป็นแค่ เพื่อนใน
การทำงานและคนรักของเขา และบังคับให้เธอต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลต่างๆ ซึ่งส่วนมากแล้ว
สร้างข้อ บกพร่องต่อความคิดถ่อมตัวของเธอ และอุปนิสัยอันทรงเกียรติของเธอ”

[1] เศาะฮีฮฺบุคอรีย์ เล่มที่1 หน้าที่ 304 หมายเลข853
[2] เศาะฮีฮฺ อิบนิ หิบบาน เล่มที่ 16 หน้าที่ 239 หมายเลข7254
[3] อะมะลุล มัรอะตี ฟิลมีซาน . เขียนโดย อับดุลเลาะฮฺ บิน วะกีล อัช-ชัยค์
[4] ในหนังสือ อัสสลามุลอาละมีย์ วัล อิสลาม หน้าที่ ๕๖
[5] ดูในหนังสือ นะเซาะรอต ฟี กิตาบิลฮิญาบ วัสสุฟูร เขียนโดย มุสตอฟา อัลเฆาะลายีนีย์ หน้า 95 - 94

โดย : อับดุรเราะห์มาน บิน อับดุลกะรีม อัช-ชีหะฮฺ
แปลโดย : อิบรอฮีม มุฮัมมัด
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือฐานะของสตรีใต้ร่มเงาอิสลาม

อัพเดทล่าสุด