การจำแนกชั้นของ รูปสี่เหลี่ยมสามารถแสดงได้ตามแผนภาพทางขวามือ รูปแบบที่ต่ำกว่าเป็นกรณีพิเศษของรูปแบบที่สูงกว่า คำว่า trapezium ในภาพเป็นชื่อแบบบริเตน (ชื่อแบบอเมริกันคือ trapezoid) คือรูปสี่เหลี่ยมคางหมูทั่วไป และ kite นอกจากจะหมายถึงรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวแล้ว ยังหมายถึงรูปสี่เหลี่ยมหัวลูกศรด้วย
[แก้] รูปสี่เหลี่ยมนูน: กลุ่มด้านขนาน
- รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านขนานกัน สองคู่ เทียบเท่ากับเงื่อนไขว่าด้านตรงข้ามมีความยาวเท่ากัน หรือมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน หรือเส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรวมไปถึงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนด้วย
- รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด หรือรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านทั้งสี่ยาวเท่ากัน เทียบเท่ากับเงื่อนไขว่าด้านตรงข้ามขนานกันและมุมตรงข้ามมีขนาดเท่ากัน หรือเส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งและตั้งฉากซึ่งกันและกัน รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนรวมไปถึงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
- รูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมุมไม่ฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานซึ่งด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากันและมุมทั้งสี่ไม่เป็นมุมฉาก มีความหมายตรงข้ามกับรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทั้งสี่เป็นมุมฉาก นั่นคือมุมเท่ากันทุกมุม เทียบเท่ากับเงื่อนไขว่าเส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากรวมไปถึงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
- รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือรูปสี่เหลี่ยมปรกติ หรือรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านทั้งสี่ยาวเท่ากันและมุมทั้งสี่เป็นมุมฉาก เทียบเท่ากับเงื่อนไขว่าด้านตรงข้ามขนานกัน และเส้นทแยงมุมแบ่งครึ่งและตั้งฉากซึ่งกันและกัน และด้านทั้งสี่ยาวเท่ากัน รูปสี่เหลี่ยมจะถือว่าเป็นจัตุรัสก็ต่อเมื่อถูกจัดว่าเป็นทั้งรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คือรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากซึ่งด้านที่อยู่ติดกันยาวไม่เท่ากัน นั่นคือไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
[แก้] รูปสี่เหลี่ยมนูน: กลุ่มอื่น ๆ
- รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว คือรูปสี่เหลี่ยมซึ่งด้านที่อยู่ติดกันยาวเท่ากันสองคู่ เป็นนัยว่าถ้าลากเส้นทแยงมุมหนึ่งเส้นแบ่งรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าวออกเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายสอง รูป จะได้ว่ามุมที่อยู่ตรงข้ามเส้นทแยงมุมมีขนาดเท่ากัน และเส้นทแยงมุมทั้งสองตั้งฉากซึ่งกันและกัน (สมบัติเหล่านี้อาจหมายถึงรูปสี่เหลี่ยมเว้าที่เรียกว่ารูปสี่เหลี่ยมหัวลูก ศร ในบริบทของเทสเซลเลชัน แต่ในแนวคิดทั่วไปหมายถึงรูปสี่เหลี่ยมนูนอย่างเดียว)
- รูปสี่เหลี่ยมเส้นทแยงมุมตั้งฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมที่เส้นทแยงมุมทั้งสองตั้งฉากซึ่งกันและกัน หมายรวมถึงรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว และรูปสี่เหลี่ยมหัวลูกศร
- รูปสี่เหลี่ยมคางหมู คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านตรงข้ามขนานกันหนึ่งคู่
- รูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่ว คือรูปสี่เหลี่ยมที่มีด้านตรงข้ามขนานกันหนึ่งคู่ และมุมที่ฐานมีขนาดเท่ากัน เป็นนัยว่าด้านอื่นอีกสองด้านยาวเท่ากัน และเส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน คำนิยามอื่นคือรูปสี่เหลี่ยมที่มีแกนสมมาตรแบ่งครึ่งด้านคู่ขนานหนึ่งคู่
- รูปสี่เหลี่ยมวงกลมล้อม คือรูปสี่เหลี่ยมที่จุดยอดทั้งสี่อยู่บนรูปวงกลมแนบนอก รูปสี่เหลี่ยมจะเป็นวงกลมล้อมก็ต่อเมื่อมุมตรงข้ามรวมกันได้ 180 องศา
- รูปสี่เหลี่ยมวงกลมสัมผัส คือรูปสี่เหลี่ยมที่ด้านทั้งสี่สัมผัสกับรูปวงกลมแนบใน
- รูปสี่เหลี่ยมวงกลมล้อมและสัมผัส คือรูปสี่เหลี่ยมที่เป็นทั้งรูปสี่เหลี่ยมวงกลมล้อมและรูปสี่เหลี่ยมวงกลมสัมผัส
- รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่ขนาน หรือรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หรือรูปสี่เหลี่ยมไม่ปรกติ คือรูปสี่เหลี่ยมที่ไม่มีด้านใดขนานกันเลย แต่บางกรณีบางด้านและบางมุมอาจมีขนาดเท่ากันก็ได้
[แก้] รูปสี่เหลี่ยมอื่น ๆ
- รูปสี่เหลี่ยมหัวลูกศร คือรูปสี่เหลี่ยมเว้าซึ่งด้านที่อยู่ติดกันยาวเท่ากันสองคู่ สมบัติเหมือนรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว แต่มีมุมภายในมุมหนึ่งเป็นมุมกลับ
- รูปสี่เหลี่ยมไขว้ หรือรูปสี่เหลี่ยมผีเสื้อ หรือรูปสี่เหลี่ยมหูกระต่าย คือรูปสี่เหลี่ยมซับซ้อนซึ่งมีด้านที่ตัดกันเอง
- รูปสี่เหลี่ยมเบ้ คือรูปสี่เหลี่ยมที่จุดยอดไม่อยู่บนระนาบสองมิติ สูตรสำหรับคำนวณมุมระหว่างหน้าบนขอบ และมุมระหว่างขอบที่อยู่ติดกัน ได้รับทอดมาจากการศึกษาสมบัติของโมเลกุลเช่นไซโคลบิวเทน ซึ่งมีวงแหวนที่ประกอบด้วยอะตอมสี่ตัวร่นเข้าหากัน [2]
ลำดับ | รายการเนื้อหา HOT-IT. คณิตศาสตร์ระดับชั้น ป.6 | เวลา (นาที) |
1 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 1 จำนวนและการบวก การลบ การคูณ การหาร | 111 |
2 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 1 จำนวนและการบวก การลบ การคูณ การหาร | 106 |
3 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 2 สมการและการแก้สมการ | 67 |
4 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 2 สมการและการแก้สมการ | 102 |
5 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 3 ตัวประกอบของจำนวนนับ | 45 |
6 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 3 ตัวประกอบของจำนวนนับ | 164 |
7 | เนื้อหาและแบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 4 มุมและส่วนของเส้นตรง | 49 |
8 | เนื้อหาและแบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที 5 เส้นขนาน | 53 |
9 | เนื้อหาและแบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 6 ทิศและแผนผัง | 86 |
10 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 7 เศษส่วน | 108 |
11 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 7 เศษส่วน | 79 |
12 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 8 การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม | 94 |
13 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 8 การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม | 122 |
14 | แบบทดสอบระคน ป.6 ภาคเรียนที่ 1 | 57 |
15 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 9 รูปสามเหลี่ยม | 31 |
16 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 9 รูปสามเหลี่ยม | 44 |
17 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 10 รูปสี่เหลี่ยม | 44 |
18 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 10 รูปสี่เหลี่ยม | 72 |
19 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 11 วงกลม | 32 |
20 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 11 วงกลม | 105 |
21 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 12 บทประยุกต์ | 43 |
22 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 12 บทประยุกต์ | 96 |
23 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 13 รูปทรงและปริมาตร | 26 |
24 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 13 รูปทรงและปริมาตร | 92 |
25 | เนื้อหาคณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 14 แผนภูมิและกราฟ | 34 |
26 | แบบฝึกหัดท้ายบท คณิตศาสตร์ ป.6 บทที่ 14 แผนภูมิและกราฟ | 59 |
1,921 |