โรคไส้เลื่อน อาการไส้เลื่อน - อาการ ของ โรค ไส้เลื่อน อาการของโรคไส้เลื่อน


872 ผู้ชม


ไส้เลื่อน (hernia) หมายถึง ภาวะที่ลำไส้ได้เคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอก เป็น โรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในเพศชาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ผนังบุช่องท้องมีความอ่อนแอ และความดันภายในช่องท้องดันเอาลำไส้ออกมาตรงตำแหน่งที่ผนังบุช่องท้องที่ อ่อนแอนั้น โดยปกติภายในช่องท้องจะมีผนังบุอยู่โดยรอบ และหากมีการอ่อนแอของผนังบุช่องท้อง และความดันในช่องท้องมีมากกว่าก็จะดันผนังช่องท้องให้โป่งออกมา และจะมีปัญหาเกิดขึ้น เมื่อมีลำไส้เคลื่อนตามออกมา บางครั้งลำไส้อาจเคลื่อนกลับเข้าไปในช่องท้องได้ก็จะไม่มีอาการอะไร ถ้าหากลำไส้ที่เคลื่อนออกมาแล้วกลับเข้าไปในช่องท้องไม่ได้ จะทำให้รู้สึกหน่วงๆ เวลายืนหรือเดิน ถ้าเกิดเป็นเวลานานๆ ลำไส้ที่เคลื่อนออกมาขาดเลือดมาเลี้ยงจะทำให้ลำไส้ตายและเน่าได้จะก่อให้ เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงได้

ตำแหน่งของไส้เลื่อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณ ขาหนีบ และบริเวณลูกอัณฑะ บริเวณขาหนีบจะพบว่ามีก้อนหรือมีอะไรออกมาตุงอยู่ เพราะผนังบุช่องท้องบริเวณนั้นอ่อนแอ ความดันในช่องท้องจะดันเอาลำไส้ออกมา ส่วนบริเวณลูกอัณฑะก็เช่นเดียวกัน ลำไส้จะเคลื่อนออกมาตามแนวของลูกอัณฑะ ที่เคลื่อนลงมาจากช่องท้อง ลงมาอยู่ในลูกอัณฑะ ทำให้พบว่าลูกอัณฑะมีขนาดใหญ่มากๆ ได้ โดยเฉพาะในรายที่ไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากขณะที่เป็นตัวอ่อนในท้อง อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 สัปดาห์ อัณฑะถึงจะเคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะ และรูหรือทางที่มันเคลื่อนที่จะปิด แต่เด็กผู้ชายบางคนทางเดินและรูมันไม่ปิดทำให้ลำไส้เคลื่อนสู่ถุงอัณฑะ

บาง ครั้งลำไส้ไม่เคลื่อนออกจากช่องท้องบริเวณพังผืดที่หย่อนที่สุด โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือ มีความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่น ตับแข็งและมีน้ำในช่องท้อง หรือพวกถุงลมโป่งพองไอมากๆ ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคไส้เลื่อน ได้แก่ ผู้ที่มีความดันในช่องท้องสูง เช่น การตั้งครรภ์ ไอเรื้อรัง คนอ้วน ท้องผูก ต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องเบ่งเมื่อปัสสาวะ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดไส้เลื่อน เด็กที่อยู่ในครรภ์มารดาระยะที่เป็นตัวอ่อน จะมีช่องทางติดต่อกับอัณฑะในผู้ชาย หรือแคมใหญ่ในผู้หญิง เมื่อเจริญเติบโตส่วนใหญ่ช่องทางนี้จะปิดไปเองตามธรรมชาติ ในบางคนเท่านั้นที่ยังมีช่องทางนี้เปิดอยู่ และเกิดเป็นไส้เลื่อนที่ขาหนีบขึ้น

อาการที่สำคัญสำหรับโรคไส้เลื่อน คือ ผู้ ป่วยจะสังเกตเห็นก้อนโป่งนูนขึ้นบริเวณที่เป็นไส้เลื่อน คลำได้ก้อนนิ่ม กดไม่เจ็บ ก้อนนี้โป่งนูนขึ้นเวลายืน หรือออกแรงเบ่ง ทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ก้อนจะยุบลงและหายไปได้เวลานอนพัก ถ้าใช้มือลูบดันก้อนจะกลับเข้าที่ อาการมักเป็นๆ หายๆ ก่อนเป็นมักจะมีการออกแรงมากๆ มาก่อน แล้วรู้สึกเหมือนมีการฉีดขาดของเอ็นหรือพังผืดบริเวณขาหนีบ แล้วจึงเกิดก้อนขึ้นที่บริเวณขาหนีบนั้น เมื่อเป็นนานๆ ก้อนจะค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ และเลื่อนลงมาในถุงอัณฑะ ทำให้รู้สึกปวดถ่วง รำคาญ และทำงานไม่สะดวก การปล่อยทิ้งไว้นานๆ ต่อไปมักเกิดโรคแทรกขึ้นได้

โรคแทรกซ้อนของไส้เลื่อนที่สำคัญได้แก่ ภาวะ ที่ลำไส้เคลื่อนออกมาแล้วไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง ภาวะที่ลำไส้ในถุงมีการบิดทำให้ลำไส้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดไส้เน่า ตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างมากแรกๆ จะปวดบิดๆ คลื่นไส้อาเจียน เมื่อลำไส้เน่าจะปวดทั้งท้องปวดมากจนต้องนอนนิ่งๆ การขยับตัวก็จะปวด มีไข้ บางรายอาจจะมีอาการความดันโลหิตต่ำ ภาวะลำไส้อุดตันเกิดเมื่ออุจจาระไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้นี้ไปได้ ผู้ป่วยจะปวดท้องมวนๆ คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดไม่ผายลม สำหรับผู้ที่เป็นไส้เลื่อนเมื่อมีอาการต่อไปนี้ให้พบแพทย์ ปวดบริเวณไส้เลื่อน ก้อนนั้นไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง ปวดท้องและอาเจียนท้องอืด

การ วินิจฉัยทำได้ง่ายโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย ไม่จำเป็นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการครวจพิเศษแต่อย่างใด ส่วนการรักษาโรคไส้เลื่อนนี้ขึ้นอยู่กับอาการที่มีว่ามากน้อยเพียงใดและเกิด บ่อยครั้งแค่ไหน แพทย์จะช่วยตัดสินใจและเลือกวิธีการรักษาว่าจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดหรือไม่ หลักการรักษาไส้เลื่อนทำได้โดยการผ่าตัดนำลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้องและเย็บ ซ่อมรูหรือตำแหน่งที่ลำไส้ออกมา เทคนิกการผ่าตัดวิธีหนึ่งจะผ่าตัดบริเวณไส้เลื่อนเมื่อนำไส้กลับเข้าในช่อง ท้องแล้วก็เย็บซ่อมรูหรือจุดอ่อน ส่วนอีกวิธีหนึ่งจะใช้แผ่นสารสังเคราะห์เย็บปิดรูหรือจุดอ่อน

โรคไส้เลื่อน อาการไส้เลื่อน - อาการ ของ โรค ไส้เลื่อน อาการของโรคไส้เลื่อน

การ ผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 200 ปี ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ใช้การเย็บซ่อมซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ใช้ได้ดีและเป็นที่ยอม รับกันทั่วโลก แต่มีข้อเสียคือ มีแรงดึงมาก และโอกาสที่จะเกิดโรคเป็นซ้ำใหม่มีมาก ดังนั้นเมื่อประมาณ 20 กว่าปีมานี้ได้มีผู้นำเอาวิธีผ่าตัดรักษาโดยลดแรงดึงหลายวิธีเข้ามาใช้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสังเคราะห์ชนิดพิเศษเพื่อเย็บซ่อมในการผ่าตัดทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดจากทางด้านหน้า หรือการผ่าตัดจากทางด้านหลัง พบว่าวิธีผ่าตัดรักษาโดยลดแรงดึงมีโอกาสที่จะเกิดโรคเป็นซ้ำใหม่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเก่า

การ ผ่าตัดไส้เลื่อนโดยใช้กล้อง หลักการเหมือนกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม แต่เทคนิคต่างกัน คือ ใช้กล้องและเครื่องมือผ่าตัดด้วยกล้องเข้าไปช่วย ข้อดีของการผ่าตัดไส้เลื่อนโดยใช้กล้อง คือ แผลผ่าตัดเล็กกว่า กลับไปทำงานได้เร็วกว่า ข้อ ด้อยคือ ต้องทำโดยศัลยแพทย์ผู้มีความชำนาญเฉพาะ ต้องดมยาสลบ และค่าใช้จ่ายสูงกว่า ว่าไปแล้วการผ่าตัดไส้เลื่อนโดยใช้กล้องมีวิวัฒนาการประมาณสิบกว่าปีมานี้ เอง และมีเทคนิกการผ่าตัดไค้หลายวิธี วิธีแรกเป็นการผ่าตัดวิธีแรกเริ่มเมื่อมีผู้นำเอาการผ่าตัดด้วยกล้องมารักษา ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ซึ่งทำแบบง่ายๆ คือ เข้าไปในช่องท้อง แล้วเข้าไปปิดรูไส้เลื่อน และเย็บติดกับเยื่อบุช่องท้องโดยตรง วิธีนี้มีข้อเสีย คือจะไม่แข็งแรง เลื่อนหลุดได้ง่าย โอกาสที่จะเกิดไส้เลื่อนเป็นซ้ำใหม่ได้ง่ายกว่า และอาจจะเกิดพังผืดในท้อง และลำไส้อาจทะลุได้ วิธีที่สองเป็นการผ่าตัดในช่องท้อง โดยผ่าตัดเปิดเยื่อบุช่องท้องออกแล้วปิดส่วนที่เปิดอ้า แล้วเย็บเยื่อบุช่องท้องปิดทับอีกที โอกาสที่จะเกิดไส้เลื่อนเป็นซ้ำใหม่น้อยกว่า
แต่มีข้อเสียคือใช้เวลาทำ การผ่าตัดนานกว่า และเกิดพังผืดและลำไส้อุดตันได้มากกว่า และวิธีสุดท้ายเป็นการผ่าตัดที่ศัลยแพทย์ผู้มีความชำนาญเฉพาะส่วนใหญ่นิยมทำ กันมาก เป็นวิธีผ่าโดยไม่ต้องเข้าไปในช่องท้อง โดยทำให้เกิดช่องว่างภายนอกโดยใช้บอลลูน แล้วเข้าไปปิดทางเปิดได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเย็บเยื่อบุช่องท้อง

สำหรับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดและเมื่อกลับบ้าน ควร ระวังไม่ให้แผลเปียกชื้น จนกว่าจะตัดไหม ห้ามแกะ เกา ล้วงบริเวณแผล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ หรือเป็นหนอง ขณะไอหรือจามให้ใช้ฝ่ามือ หรือผ้าหนานุ่มกดประคองแผลได้ หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ ห้ามทำงานหนัก หรือยกของหนัก อย่างน้อย 2 เดือน ดูและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ถ้าเป็นหวัด เจ็บคอ หรือไอจามบ่อยๆ ควรรีบพบแพทย์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ รวมทั้งผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก ควรใส่กางเกงในที่กระชับ หรือสปอร์ตเตอร์สำหรับนักกีฬา เพื่อช่วยประคองแผล ลดความเจ็บปวด ถ้ามีอาการปวดแผลมาก ควรรับประทานยาบรรเทาปวดตามแพทย์สั่ง ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น มีไส้เลื่อนเกิดซ้ำ แผลแยกหรือบวม แผลมีน้ำเหลืองซึม มีไข้ ปวดท้อง ให้รีบมาพบแพทย์

โรคไส้เลื่อน อาการไส้เลื่อน - อาการ ของ โรค ไส้เลื่อน อาการของโรคไส้เลื่อนที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

อัพเดทล่าสุด