มติ ครม. เงินเดือน 15000 ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15000


1,044 ผู้ชม


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 มกราคม ได้เห็นชอบกฎ ก.พ.ว่าด้วยเรื่องการรับเงินเดือนข้าราชการ พ.ศ. .... เพื่อปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555


สำหรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการใหม่จะเป็นดังนี้


ในปีที่ 1 ข้าราชการวุฒิ ปวช.จะมีเงินเดือนขั้นต่ำ 7,620 บาท ขั้นสูง 8,080 บาท ในปีที่ 2 จะปรับเพิ่มเป็นเงินเดือนขั้นต่ำ 9,000 บาท อัตราขั้นสูง 9,900 บาท, ข้าราชการวุฒิ ปวส.ในปีที่ 1 จะมีเงินเดือนขั้นต่ำ 9,300 บาท ขั้นสูง 9,860 บาท ปีที่ 2 จะปรับเพิ่มเป็นเงินเดือนขั้นต่ำ 10,500 บาท ขั้นสูง 11,550 บาท, ข้าราชการวุฒิ ป.ตรี ในปีที่ 1 จะมีเงินเดือนขั้นต่ำ 11,680 บาท ขั้นสูง 12,390 บาท ในปีที่ 2 จะปรับเพิ่มเป็นเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท ขั้นสูง 16,500 บาท


ส่วนข้าราชการวุฒิ ป.โท จะมีเงินเดือนขั้นต่ำในปีที่ 1 จำนวน 15,300 บาท ขั้นสูง 16,220 บาท และในปีที่ 2 จะมีเงินเดือนขั้นต่ำ 17,500 บาท และขั้นสูง 19,250 บาท


ทั้งนี้ เมื่อคำนวณจากฐานเงินเดือนปัจจุบันของข้าราชการวุฒิ ป.ตรี ที่รับอยู่จำนวน 9,140 บาท กับฐานเงินเดือนขั้นต่ำที่จะถูกปรับเพิ่มในปีที่ 2 เท่ากับว่า เงินเดือนจะได้ปรับขึ้นถึง 64% ส่วนวุฒิ ป.โท จะปรับขึ้น 45% จากฐานเงินเดือนปัจจุบัน 12,000 บาท และ วุฒิ ป.เอก ปรับขึ้น 24% จากฐานปัจจุบัน 17,000 บาท อย่างไรก็ตาม การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ 2 ครั้งดังกล่าว ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1


และปีที่ 2 ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยปรับเงินเดือนชดเชยให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการในตำแหน่ง ระดับแรกบรรจุ ก่อนวันที่มาตรการนี้มีผลบังคับอย่างน้อย 10 ปี ผลจากการปรับเงินเดือนชดเชย จะต้องไม่ทำให้ผู้ซึ่งเคยได้รับเงินเดือนสูงกว่า กลายเป็นผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้ดำรงตำแหน่งในประเภทและระดับเดียวกัน ที่บรรจุในวุฒิเดียวกัน

อัพเดทล่าสุด