ปฏิกิริยาการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ - ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ คือ


5,931 ผู้ชม


ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

       น้ำมิใช่เป็นเพียงสารประกอบที่เกิดจากไฮโดรเจนกับออกซิเจนเพียงอย่างเดียว ยังมีสารประกอบของไฮโดรเจนกับออกซิเจนอีกตัวหนึ่งคือ H2O2 -ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่ไม่อยู่ตัว สามารถสลายตัวให้ออกซิเจนกับน้ำ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ คล้ายโอโซน (O3) มากในบางกรณีเช่นใช้เป็นตัวฟอกจางสีใช้ฆ่าแบคทีเรีย สลายตัวให้ออกซิเจน ได้เหมือนกับน้ำ 

         ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีขายตามร้านขายยานั้น มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์อยู่ 3% อีก 97% เป็นน้ำ นับว่าเป็นส่วนผสมพอเหมาะสำหรับการนำมาใช้ แสงและความร้อนทำให้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สลายตัวกลายเป็นน้ำได้อย่างดี ด้วยเหตุนี้ร้านเครื่องยาเขาจึงบรรจุไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ไว้ในขวดทึบแสง และเขายังเติมสารบางอย่าง เช่น แอลกอฮอล์ ลงไปเล็กน้อยเพื่อกันมิให้ H2O2 สลายตัวเร็วเกินไปและมีป้ายติดไว้ข้างขวดเตือนให้ผู้ตั้งเก็บไว้ในที่เย็น 

สรุป 

         สัญลักษณ์ของไฮโดรเจนคือ H อะตอมมิคนันเบอร์ 1 น้ำหนักอะตอม 1.00797 จุดหลอมเหลว 259.2 องศาเซลเซียส จุดเดือด 252.7 องศาเซลเซียส ความหนาแน่น 0.071 gm/ml เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายในน้ำได้น้อยมาก และอุณหภูมิมีผลต่อการละลายน้อยมากไฮโดรเจนไม่ช่วยในการหายใจ ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นพิษก็ตามแต่เมื่อรวมกับธาตุอื่น เกิดสารประกอบได้มากมาย และเนื่องจากอะตอมของไฮโดรเจนมีขนาดเล็กมาก สามารถแทรกเข้าไปตามช่องว่างระหว่างอะตอมของโลหะได้กลายเป็นสารไฮโดรด์ของโลหะ เราเรียกสารประกอบที่เกิดขึ้นโดยวิธีนี้ว่า Interstitial compound.

Source: https://www.rmutphysics.com

ไฮโดรเจนเปอร์ ออกไซด์ เป็นสารใช้ฟอกสีผมและฆ่าเชื้อโรค โดยปกติจะสลายตัวไปเองอย่างช้า ๆ ให้น้ำและออกซิเจนเกิดขึ้น ดังสมการ แสงสว่างและความร้อนจะช่วยเร่งให้เกิดการสลายตัวเร็วขึ้น ดังนั้นจึงต้องเก็บไว้ในที่มืด หรือในภาชนะสีน้ำตาลเข้ม และในที่เย็น

 

 

 

 การนำไปใช้ สารละลายเข้มข้น 90 % ใช้ขับเคลื่อนจรวด (rocket propulsion) สารฟอกสีในอาหาร เป็นตัว oxidizer

เป็นสารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง ใช้ในทางเภสัชกรรม ทำน้ำยาบ้วนปาก  น้ำยาฆ่าเชื้อ (sanitary lotion) 


 ใช้ขับเคลื่อนจรวด (rocket propulsion)


( ที่มารูป ::: https://www.epower-propulsion.com/epower/gallery/RP-Shuttle%20Launch.jpg )

 สารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง ใช้ในทางเภสัชกรรม ทำน้ำยาบ้วนปาก น้ำยาฆ่าเชื้อ (sanitary lotion)


( ที่มารูป ::: https://www.boatbook.co.th/prdimg/600-5037.jpg )

( ที่มารูป ::: https://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/article-1113422-0308B1E1000005D... )

 กระบวนการฟอกสีฟัน

( ที่มารูป ::: https://img.kapook.com/image/health/01_40.jpg )


เป็นกระบวนการทางเคมีโดยสารที่เป็น ตัวออกฤทธิ์คือ สารเพอร์ออกไซด์ (Peroxide)

กลไกที่ทำให้ ฟันมีสีขาวขึ้นคือ สารพวกเพอร์ออกไซด์จะแตกตัวให้ออกซิเจนที่มี อิเลคตรอนอิสระ ซึ่งจะซึมผ่านชั้นของเคลือบฟันและเนื้อฟัน เข้าไปทำปฏิกิริยากับโมเลกุลเชิงซ้อนที่มีขนาดใหญ่ และสีเข้มให้เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กลงและมีสีจางลง ผลก็คือทำให้สีของฟันขาวขึ้น


ข้อควรระวังในสำหรับการฟอกสีฟัน

 

ไม่แนะนำให้ทำการฟอกสีฟันในรายที่มีฟันสึกทั้งปากหรือมีอาการเสียวฟันทั้ง ปากอยู่แล้ว

เนื่องจากอาจจะ มีอาการเสียวฟันมากขึ้น หรือในรายที่มี วัสดุอุดฟันหน้าหลายซี่ ซึ่งถ้าจะฟอกสีฟันจะต้องอุดฟันหน้าใหม่หลังการฟอกสีแล้ว

เนื่องจากวัสดุ อุดฟันหน้าจะไม่ถูกฟอกสีไปด้วย หรือในรายที่ทราบว่ามีอาการแพ้สารพวกเพอร์ออกไซด์ รวมทั้งไม่แนะนำในรายที่คนไข้ตั้งครรภ์

( ที่มารูป :::  https://www.clean.co.th/Pic_clean/8d70c18ddcee58b1.jpg)

น้ำยาโกรก (Developer) หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

 

มีลักษณะเป็นครีมหรือของเหลวใส ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ขนาด 6% เพราะหากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มากกว่า 6% จะทำให้ผมแห้ง
อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่หนังศีรษะ แต่ถ้าไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์น้อยกว่า 6% ก็จะไม่สามารถออกซิไดซ์สีอย่างมีประสิทธิภาพ
สารฟอกสีผมมีอยู่มากมาย ได้แก่ กลุ่มไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ต้องใช้ร่วมกับสารตัวอื่น เช่นแอมโมเนีย
เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นด่างก่อนที่ให้ฟอกสีผมได้เร็วขึ้น เพราะถ้าใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์อย่างเดียวจะฟอกสีได้ค่อนข้างช้า

(ที่มารูป :::  https://www.hifulla.com/images/sub_1221992364/HairlorMix_.jpg )

 

 ข้อควรระวังเมื่อเกิดการแพ้สารฟอกสี


ควรจะทดสอบก่อน ถ้าพบว่ามีอาการระคายเคืองควรเลือกใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เข้มข้นน้อยลง และลดระยะเวลาลง

นอกเหนือจากอาการแพ้ระคายเคืองแล้ว ไม่ควรย้อมผมหรือฟอกสีผมขณะที่หนังศีรษะ ใบหน้า คอมีแผล รอยถลอก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง

และถ้าจะทำเองอย่าให้ครีมย้อมผมเข้าตา

 

 

แหล่งอ้างอิง
https://www.siamdental.com/bleaching.htm
https://learners.in.th/blog/chem21
https://www.hifulla.com/-ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์-hydrogenperoxide.html

อัพเดทล่าสุด