ยาละลายขี้หู
ภญ.นพมาศ ภู่ทับทิม
โดยปกติแล้วร่างกายคนเราจะมีกลไกในการขจัดขี้หูเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมอุดกั้นหรือขัดขวางการได้ยิน แต่บางครั้งก็ต้องใช้ยาละลายขี้หูช่วย กรณีที่เกิดความผิดปกติของกลไกร่างกายในการขจัดขี้หู หรือการใช้ยาละลายขี้หูเพื่อประโยชน์ในการตรวจการได้ยิน ซึ่งการออกฤทธิ์ของยาละลายขี้หูคือ การทำให้ขี้หูอ่อนตัวลง ทำให้กำจัดออกได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างยาที่ใช้ละลายขี้หู เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต กลีเซอรีน เป็นต้น สิ่งสำคัญที่พึงระมัดระวัง คือ ไม่ควรใช้ของมีคมแคะหู เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อในหูได้
แนะใช้สำลีอุดหู-ใส่หมวกคลุมผมอาบน้ำ
ขี้หู สร้างจากต่อมสร้างขี้หูซึ่งอยู่ในช่องหูชั้นนอก ขี้หูมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ มีสารต่อต้านเชื้อโรค และไม่ละลายน้ำ
ขี้ หู มีหน้าที่ช่วยปกป้องผิวหนังของช่องหูชั้นนอก และป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องหู บางคนมีขี้หูเปียก บางคนมีขี้หูแห้ง บางคนมีขี้หูมาก บางคนมีขี้หูน้อย
โดย ปกติ ขี้หูจะมีการเคลื่อนที่จากเยื่อบุแก้วหูออกไปยังช่องหูชั้นนอกได้เอง ไม่จำเป็นต้องไปแคะออก ปัญหาของขี้หูเกิดขึ้นได้ ถ้าขี้หูมีปริมาณมาก และอุดตันช่องหูชั้นนอก ทำให้มีอาการหูอื้อ มีเสียงดังในหู หรือปวดหูหน่วงๆ ได้
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ขี้หูมีปัญหา คือ การใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดช่องหูชั้นนอก โดยเฉพาะหลังอาบน้ำแล้วมีน้ำเข้าหู ซึ่งทำให้รู้สึกรำคาญ การกระทำดังกล่าวจะยิ่งกระตุ้นทำให้ต่อมสร้างขี้หูทำงานมากขึ้น มีปริมาณขี้หูที่ผลิตออกมามากขึ้น และยิ่งดันขี้หูในช่องหูให้อัดแน่นยิ่งขึ้น ทำให้ขี้หูอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น
เมื่อ สงสัยว่ามีขี้หูอุดตันทำให้เกิดอาการผิดปกติของหู ควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นขี้หูอุดตันจริงหรือไม่ แพทย์จะใช้ที่ส่องหู ส่องตรวจช่องหูชั้นนอกว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติของหูเกิดจากขี้หูอุดตันหรือไม่ ถ้าเป็นขี้หูอุดตันจริง
แพทย์จะพยายามนำขี้หูออกให้ อาจโดยการล้างช่องหูชั้นนอกด้วยน้ำเกลือ, การ คีบ หรือดูดหรือใช้เครื่องมือแคะขี้หูออก แต่ถ้าไม่สามารถเอาขี้หูออกได้ เนื่องจากขี้หูอัดกันแน่นมาก หรือเอาออกได้เพียงบางส่วน แพทย์จะสั่งยาละลายขี้หูให้ไปหยอด ได้แก่ โซเดียมคาร์บอเนต ซึ่งหลังจากหยอดหูจะทำให้ขี้หูในช่องหูขยายตัว และอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น ทำให้หูอื้อมากขึ้น ควรหยอดบ่อยๆ ยิ่งบ่อย ยิ่งดี (วันละ 7 - 8 ครั้ง) จะทำให้ขี้หูอ่อนตัวมากขึ้น และเอาออกได้ง่ายขึ้น
ส่วน ใหญ่แพทย์จะให้ผู้ป่วยไปหยอดยาละลายขี้หูประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วนัดมาดูอีกครั้ง ผู้ป่วยไม่ควรที่จะลืมหยอดหูในวันที่แพทย์นัด เพราะอาจทำให้ขี้หูแห้ง และเอาออกยาก ในวันที่มาพบแพทย์ตามนัด ควรนำยาหยอดหูมาหยอดในระหว่างที่นั่งรอพบแพทย์ด้วย เพราะจะทำให้แพทย์เอาขี้หูออกได้ง่ายขึ้น
หลัง จากแพทย์เอาขี้หูออกจนบรรเทาอาการผิดปกติของหูแล้ว ควรป้องกันไม่ให้ขี้หูอุดตันอีกโดยไม่ใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดหู หรือปั่นหูอีก ถ้าน้ำเข้าหู ทำให้รู้สึกรำคาญจนต้องปั่น หรือเช็ดหู ควรป้องกันไม่ให้น้ำเข้าโดยหาสำลีชุบวาสลิน หรือที่อุดหูสำหรับนักดำน้ำ ซึ่งมีขายตามร้านกีฬามาอุดหูเวลาอาบน้ำ หรือผู้หญิงที่สวมหมวกอาบน้ำ ควรดึงหมวกให้มาคลุมใบหู เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู หรืออาจใช้ยาละลายขี้หู หยอดในหูเป็นประจำ เพื่อทำการล้างขี้หู อาจใช้เพียงอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่มีปัญหา อาจห่างออกไป เป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 อาทิตย์ หยอด 1 ครั้ง ก็จะช่วยลดการอุดตันของขี้หู ในช่องหูชั้นนอกได้
เพียงเท่านี้…ท่านก็จะไม่ประสบกับปัญหาขี้หูอุดตันอีกต่อไป
ชื่อยา | ยาละลายขี้หู |
ชื่อภาษาอังกฤษ | Cerumenolytic agents |
ข้อบ่งใช้ | ใช้หยอดให้ขี้หูละลายตัว |
ตัวอย่างชื่อการค้า | ที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ ยาหยอดหูที่มีโซเดียม ไบคาร์บอเนต ขนาด 2.5% ยาหยอดหูที่มีตัวยา ดอคูเซต โซเดียม (Docusate sodium) เช่น ยาหยอดหูแว็กซ์ซอล (Waxsol) |
ขนาดและวิธีใช้ | - |
ผลข้างเคียง | หยอดหู ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง โดยนอนตะแคงให้ยาอยู่ในหูอย่างน้อย 5 นาที หลังจากนั้นตะแคงหูข้างนั้นลง ใช้กระดาษทิชชู หรือสำลีรองซับให้แห้ง ควรทำติดต่อกัน 3-5 วัน |
ข้อควรระวัง | ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีหูชั้นกลางอักเสบ หรือเยื่อแก้วหูทะลุ |
ข้อห้ามใช้ | - |
รายละเอียดเพิ่มเติม | - |