อาหารสำคัญของประเทศอินโดนีเซีย
บัคมีโกเรง - บะหมี่ผัด
อาหารจานเด็ดของชาวอินโดนีเซียก็คือ บัคมีโกเรง (bakmi goreng) หรือบะหมี่ผัด
เซมปัล - น้ำพริกรสดี
ชาวอินโดนีเซียนิยมกินน้ำพริกและกินกันเป็นประจำ ทุกมื้ออาหาร พวกเขาเรียก น้ำพริกว่า เซมปัล
เกอริงซิง – ไม่มีโรคภัย
ผ้าเกอริงซิงจัดเป็นผ้าศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในอดีต มีผู้กล่าวว่าผู้ที่สวมใส่ผ้าชนิดนี้จะรอดพ้นจากอิทธิพลชั่วร้ายและอาการเจ็บไข้ ชื่อผ้าว่าเกอริงซิง แปลว่า ไม่มีโรคภัย
เคอตูบัต – ข้าวต้มมัดอินโดน ชาวอินโดนีเซียก็นิยมกินข้าวต้มมัดห่อด้วยทางมะพร้าว ต่างจากไทยที่ห่อด้วย ใบตอง เป็นส่วนใหญ่ เรียกชื่อว่า เคอตุปัต (Ketupat)
ซองเกต – ผ้าเทศกาล
ผ้ายกดอกที่เรียกว่าผ้าซองเกตนี้ ชาวบาหลีนิยมใส่ในงานเทศกาลผู้ทอใช้ด้ายสีทอง ด้ายสีเงิน ในการทอ มีวางขายอยู่ทั่วไปแลดูสวยงามมาก แต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ เส้นด้านจะเป็นปุ่มปม และขาดทำให้ดูไร้ค่าไปทันที
สะเต๊ะ – ซาเต
สะเต๊ะหรือที่ชาวอินโดนีเซียเรียกว่า ซะเต เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งที่นิยมกินกันทุกครัวเรือน โดยมีน้ำจิ้มถั่วลิสงเป็นของกินคู่กัน นอกจากไก่ หมู หรือเนื้อ ที่เมืองไทยก็มีการนำมาทำสะเต๊ะกันนั้น ชาวอินโดนีเซียยังมี เต่าสะเต๊ะ อีกด้วย
ซะลัค – สละ
ผลไม้ที่มีมากและขึ้นชื่อที่สุดของอินโดนีเซีย คือ สละหรือที่เรียกว่าซะลัค ว่ากันว่ารสชาติดีไม่แพ้สละพันธ์เนินวงของไทยเลยทีเดียว
เอนเดคผ้าอิกัตลายขวาง
ผ้าที่ชาวบาหลีทั่วไปใช้สวมใส่คือผ้าเอนเดค มีลักษณะเป็นผ้าอิกัตลายขวาง ใช้ วัตถุดิบประเภทฝ้าย เรยอง หรือผสมผสานกันทั้งฝ้ายและเรยอง แต่ก็มีบ้างที่ทำจากไหมซึ่งมีราคาแพงมาก
เจอลุคบะลีและบลิมปิง
ส้มโอบาหลีหรือเจอลุคบะลี เป็นผลไม้ที่ใช้ในงานเทศกาลและประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ส่วนมะเฟืองหรือบลิมปิงนั้น สาวชาวบาหลีนิยมกินกันมาก ทั้งยังมีปลูกตามบ้านเรือนทั่วไปอีกด้วย
------------
อาหารมาเลเซีย
* สะเต๊ะ
* แกงกะหรี่
* แกงมัสมั่น
อาหารลาว
* ลาบ
อาหารพม่า
แกงฮังเล
อาหารกัมพูชา
ต้มโคล้งปลากรอบ
ต้มโคล้งต่างจากต้มยำ ตรงที่นำสมุนไพร พริก หัวหอม ข่า ตะไคร้ ไปเผาก่อนต้ม
------
รู้จักอินโดนีเซีย (Indonesia)ชื่อประเทศ อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
คำว่า "Indonesia" มาจาก "indos nesos" แปลว่า "หมู่เกาะใกล้อินเดีย" เนื่องจากเป็น หมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซีย สามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบสำคัญต่างๆ อาทิ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดรา และช่องแคบล็อมบ็อก ซึ่งล้วนเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมัน จากตะวันออกกลาง มายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก
ธงชาติ
พื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร
แผนที่ อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับทะเลจีนใต้ ติดรัฐซาราวัก และซาบาห์ ของมาเลเซีย ( มาเลเซีย ตอ.) ซึ่งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ยาว ๑,๗๘๒ กม.
ทิศใต้ ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งคั่นระหว่างอินโดนีเซีย กับออสเตรเลียตอนเหนือ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับปาปัว นิวกินี ยาว ๘๒๐ กม.
ทิศตะวันตก ติดต่อช่องแคบมะละกา และมหาสมุทรอินเดีย เมืองหลวง
ประชากร ประมาณ 234 ล้านคน
ลักษณะภูมิประเทศ อินโดนีเซียมีรูปร่างคล้ายพระจันทร์หงายครึ่งซีก มีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ 10 เท่า เป็นพื้นดิน 2,027,087 ตารางกิโลเมตร และทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร อินโดนีเซียประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,500 เกาะ แต่มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 3,000 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วนคือ
1) หมู่เกาะซุนดาใหญ่ (Great Sunda Islands) ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา กะลิมันตัน และสุลาเวสี
2) หมู่เกาะซุนดาน้อย (Lesser Sunda Islands) ประกอบด้วยเกาะเล็กๆ ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ล็อมบอก ซุมบาวา ฟอลเรส และติมอร์
3) หมู่เกาะมาลุกุ (Maluku Islands) หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ อยู่ระหว่างสุลาเวสีกับเกาะปาปัว 4) ปาปัว (Papua) อยู่บนเกาะนิวกินีทางตะวันตกของประเทศปาปัวนิวกินี ในบรรดาหมู่เกาะทั้งหมด มีเกาะขนาดใหญ่ 5 เกาะ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 90 ของประเทศ คือ
1) กะลิมันตัน มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของเกาะบอร์เนียว
2) สุมาตรา มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ทั้งหมด
3) ปาปัว มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่ทั้งหมด และครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี
4) สุลาเวสี มีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
5) ชวา และมาดูรา ครอบคลุมพื้นที่เพียงร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 64 ของทั้งประเทศ อากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
สภาพภูมิอากาศ มีสภาพอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มี 2 ฤดูคือ ฤดูแล้ง (เม.ย. – ก.ย.) และฤดูฝน (ต.ค. – มี.ค.) อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 21 – 33 ดีกรีเซลเซียส
ฤดูที่น่าเดินทางไปท่องเที่ยว สมารถเดินทางไปเที่ยวได้ทุกฤดู ช่วงเดือนสิงหาคมกับช่วงคริสต์มาสและปีใหม่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไป เที่ยวค่อนข้างมาก
ภาษา ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา อินโดนีเซียมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนา ประจำชาติ โดย ศาสนาอิสลาม 87% ศาสนาคริสต์ 9.5% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 1.8% ศาสนาพุทธ 1.3%
การปกครอง ปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ
สกุลเงิน รูเปียห์ (Rupiah)
อัตราแลกเปลี่ยน อัตรอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 9,500 รูเปียห์ (มกราคม 2549)
การแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 2549)2549)
รหัสโทรศัพท์ +62
ประเพณีพื้นเมือง
ศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองเรื่องของนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงแล้ว อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมทางการแสดงอันเก่าแก่และมีลักษณะ โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยมีพื้นฐานของวัฒนธรรมมุสลิมและฮินดูปรากฏอยู่ เด่นชัดในศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย ศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของอินโดนีเซียและยังคงเป็นศิลปะประจำ ชาติที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ ศิลปะการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นภาษาชวาเรียกว่า “วายัง” (Wayang)หรือเรียกเต็มชื่อว่า”วายัง ปูร์วา” ( Wayang Purwa) “วายัง”แปลว่า “เงา” ส่วน”ปูร์วา”แปลว่า”ความเก่าแก่”รวมกันจึงหมายถึงความเก่าแก่แห่งศิลปะการ เชิดตัวหุ่นที่ทำจากหนังให้เกิดเป็นภาพเงาบนจอผ้า ในปัจจุบันคำว่าวายังมีความหมายทั่วไปว่า”การแสดง”
ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลทั่วไปอินโดนีเซีย