สิ่งประดิษฐ์ลดโลกร้อน - สุดยอด นวัตกรรม ลดโลกร้อน


2,289 ผู้ชม


นอกจากประหยัดพลังงานและใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าแล้ว เรายังมีทางเลือกในการชะลอวิกฤตจากภาวะ "โลกร้อน" ด้วยการพัฒนานวัตกรรมที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นต้นตอของปัญหา
เนื่องจากเราใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงส่วนใหญ่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและคมนาคม ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้และกลายเป็นตัวการภาวะโลกร้อน ดังนั้น นายวิเชียร สุขสร้อย ผู้จัดการโครงการนวัตกรรมชีวมวลและพลังงานชีวภาพ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) จึงเห็นว่าหากนำของเหลือทิ้งจากการเกษตรมาใช้เป็นเชื้อเพลิงจะช่วยลดการใช้น้ำมัน ถ่านหินและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างประสิทธิภาพ
ทั้งนี้นายวิเชียรได้ยกตัวอย่างว่าสามารถนำวัตถุดิบชีวมวลเหลือทิ้ง เช่น ฟางข้าว เหง้ามันสำปะหลัง หรือทะลายปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ไปเผาให้เกิดก๊าซแล้วควบแน่นเป็นของเหลวที่เรียกว่า "ไบโอออยล์" จากนั้นนำไปกลั่นให้ได้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ได้ และกระบวนการเดียวกันนี้ยังใช้ได้กับเศษยางเหลือทิ้งซึ่งไทยกำลังทำวิจัยอยู่
"ในประเทศเยอรมันมีการผลิตน้ำมันจากเทคโนโลยีดังกล่าวใช้บ้างแล้ว ส่วนในประเทศไทยขณะนี้กำลังศึกษาและวิจัยอยู่ คาดว่าภายใน 3-5 ปีนี้น่าจะก่อตั้งโรงงานต้นแบบสำหรับผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากชีวมวลได้"นายวิเชียร พร้อมทั้งเพิ่มเติมอีกว่า สามารถนำวัตถุดิบชีวมวลไปผ่านกระบวนการเผาให้ได้ก๊าซที่เรียกว่า "แก๊สซิฟิเคชัน" แล้วนำก๊าซที่ได้ไปผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อทดแทนการใช้ถ่านหินได้
อีกนวัตกรรมที่น่าสนใจคือไม้เทียมจากเส้นใยธรรมชาติที่ลดการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นผู้ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้ น.ส.มณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการโครงการไม้เทียมจากเส้นธรรมชาติ สนช. กล่าวว่า สามารถนำเส้นใยธรรมชาติไปผสมกับพลาสติกเพื่อผลิตเป็นไม้เทียมซึ่งจะช่วยลดการไช้ไม้จริงได้ และไม้เทียมยังมีข้อดีเหนือกว่าไม้จริงคือไม่ยืดไม่หดเมื่ออากาศร้อนหรือชื้น
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการผลิตไม้เทียมจากเศษไม้บดออกวางจำหน่ายแล้ว และมีนักวิจัยศึกษาการผลิตไม้เทียมจากเส้นใยใบสับปะรดผสมกับเม็ดพลาสติกซึ่งจะให้ความแข็งแรงของไม้มากกว่าไม้เทียมที่ใช้ไม้บดเป็นส่วนผสม
"ที่น่าสนใจมากอีกชนิดหนึ่งคือเส้นใยจากหญ้าแฝกซึ่งจุดประสงค์ในการปลูกหญ้าแฝกก็เพื่อรักษาหน้าดินเพียงอย่างเดียว จึงอยากสนับสนุนให้มีการนำเส้นใยจากหญ้าแฝกมาใช้ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าได้มากทีเดียว แต่ทั้งนี้ต้องวางแผนในเรื่องการปลูกและเก็บรวบรวมวัตถุดิบอีกทีหนึ่ง" น.ส.มณฑากล่าว
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันอย่าง "พลาสติก" ก็เป็นอีกต้นตอของปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากต้องใช้พลังงานสูงทั้งในการผลิตและการกำกัดเมื่อเป็นขยะ เพราะพลาสติกจากปิโตรเคมีที่ใช้กันทั่วไปนั้นย่อยสลายได้ยาก "พลาสติกชีวภาพ" จึงเป็นคำตอบของทั้งปัญหาโลกร้อนและการจัดการขยะ
"พลาสติกชีวภาพผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติโดยใช้แบคทีเรียหมักน้ำตาลจากพืชให้เป็นกรดแลคติก จากนั้นใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้เป็นโพลิเมอร์ก่อนนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่ต้องใช้พลังงานในกระบวนการผลิตมาก ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งยังกำจัดได้ง่ายเพียงแค่ฝังดินก็ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินได้ในเวลาไม่นาน” ดร.อรรถวิท เตชะวิบูลย์วงศ์ ผู้จัดการโครงการพลาสติกชีวภาพ สนช.อธิบาย
ทั้งนี้ไทยมีมันสำปะหลังที่ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตพลาสติกชีวภาพได้แต่เรายังมีเทคโนโลยีไม่ดีพอ โดย ดร.อรรถวิทแจงว่าขั้นตอนยากที่สุดคือการผลิตพอลิเมอร์ซึ่งต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม ทาง สนช.จึงได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุนการวิจัยพลาสติกชีวภาพ ตั้งแต่การวางนโยบายจนถึงการทำวิจัย และเตรียมก่อตั้งโรงงานพลาสติกชีวภาพในอีก 5 ปีข้างหน้า
แม้ว่านวัตกรรมเหล่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา แต่ก็เป็นทางเลือกที่จะอำนวยความสะดวกให้เราช่วยบรรเทาภาวะ "โลกร้อน" ได้
6.วิธีการพักสายตา จากการใช้ คอมพิวเตอร์
คนเราส่วนใหญ่จะนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์มากๆ มีบางครั้งล้าสายตาหรือปวดตา ทำให้เกิดการระคายเคือง ตาอักเสบ วิธีการช่วยบรรเทาการปวดตา
1. หลับตา แล้วเกือกตาไปมา ซ้าย ขวา บน ล่าง และหลับให้นิ้งประมาณ 5 นาที
2. ออกไปสูดอากาศหายใจจะได้ผ่อนคลายไปในตัว
3. มองดูอะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว เช่น ต้นไม้ สนามหญ้า ฯลฯ หรืออะไรก็ได้ ที่มองแล้วสบายหูสบายตา วิธีนี้ส่วนมากใช้ได้ผล 70%
4. หาอุปกรณ์ เช่น แว่น ฯลฯ
เมื่อเทคโนโลยีมันก้าวมาถึงขีดที่คอมพิวเตอร์ซึ่งเคยแสนวิเศษ กำลังจะกลายเป็นอุปกรณ์ธรรมดาๆ ที่จำเป็นต้องมีของทุกหน่วยงาน ทุกคนต้องใช้ได้ใช้เป็น และเรากำลังหลงใหลได้ปลื้มกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ จนลืมนึกถึงพิษภัยที่มันมากับคอมพิวเตอร์ แม้จะไม่ใช่ทางตรงทีเดียวกันก็ตาม พิษภัยนี้มีไว้สำหรับท่านที่นั่งใช้อยู่หน้าจอเป็นประจำเท่านั้น โดยเฉพาะท่านที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน จากการนั่งทำงานเป็นประจำ ผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้นที่แน่ๆ ก็คือ ปวดหลัง ปวดไหล่ ต้นคอ และข้อมือ เกิดอาการเครียดที่ตา เพราะขณะมองจอนั้นผู้ใช้มักไม่กะพริบตา เป็นผลให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคืองได้ และอาการที่ตามมาคือตาพร่าและมองไม่เห็นชั่วคราว นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการไมเกรนพ่วงมาด้วย
ปัญหาทางตาเป็นปัญหาที่น่าห่วงมาก เพราะเมื่อตาเกิดความเครียดกล้ามเนื้อตา จะบีบรัดเลนซ์ตาจนเกิดความเมื่อยล้า หมอจึงแนะนำว่า ถ้าต้องใช้สายตาอยู่กับจอนานๆ ควรพักสายตาทุกสิบนาที ด้วยการเปลี่ยนไปมองวัตถุที่อยู่ไกลออกไปสัก 20 ฟุต มองสัก 2-3 นาทีแล้วค่อยมองจอต่อ จักษูแพทย์ได้แนะให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ต้องพักสายตาให้มองไกลทุก 10 นาที และท่านที่มีปัญหาสายตาสวมแว่นอยู่แล้วนั้น ถ้าต้องมารับหน้าที่อยู่หน้าจอนานๆ ควรมีแว่นตาเฉพาะสำหรับงานหน้าจอนี้ด้วยอีกอันหนึ่ง ซึ่งแตกต่างไปจากแว่นตาที่ใช้ยามปกติ ส่วนจะแตกต่างอย่างไร คงต้องปรึกษาจักษุแพทย์ และในขณะเดียวกันท่านเหล่านี้ควรได้รับการตรวจวัดสายตาเป็นประจำ เพื่อให้ได้ขนาดเลนซ์ที่เหมาะสม
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการถนอมสายตาที่ยังไม่มีปัญหา ท่านไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่มีสีสว่างขณะนั่งหน้าจอ เพราะสีของเสื้อจะไปทำให้เกิดแสงสะท้อนบนจอภาพได้ และแสงสะท้อนนี้แหละที่จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้ากว่าปกติ และยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตาเมื่อยล้าได้คือ ถ้าแสงจากจอสว่างน้อยกว่าแสงโดยรอบ ข้อนี้ผู้จัดสำนักงานควรจะมีความรู้ด้วย
ทั้งหมดคงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เองที่จะเป็นผู้รับผิดชอบสุขภาพของตนเอง เพราะถ้าเกิดปัญหาสายตาขึ้น จะไปเรียกร้องเงินทดแทนก็คงทำได้ยาก
7.ใส่แว่นกันแดดตอนฝนตก มองเห็นชัด 90%
บนถนนสายเอเชีย ประมาณตี 1 - ตี 3 คืนวันที่ 15 เข้าเช้ามืด 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นรถคันที่ผมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย เป็นประสบการณ์ตรงล่าสุด ที่อยากจะมาถ่ายทอด เป็นเชิงวิชาการแบบง่ายๆ ครับ
ขากลับจากพะเยา (ผมไปงานศพคุณแม่ของวิศวกรที่บริษัทครับ ) ผมโชคดีได้พี่คนหนึ่งที่สนิทกัน ช่วยขับรถกลับให้ เพราะต้องกลับกรุงเทพเหมือนกัน ผมนั่งคุยกับแกมาตลอดทาง จนฝนตกหนัก แกถามว่าในรถมีแว่นกันแดดไหม จึงหยิบให้เขา เขาให้ผมลองใส่ดู ปรากฏว่าเห็นทางชัดเจนมาก ทัศนะวิสัยดีมาก ถึงจะไม่เทียบเท่ากับตอนฝนไม่ตก แต่ก็เกือบ 90% แล้วผมก็รีบเอาแว่นให้พี่เขา ความรู้โดยบังเอิญตรงนี้ พี่เขาก็เล่าสถานการณ์ให้ฟัง ผมก็ฟังไปด้วย คิดถึงเหตุผลไปด้วย จนค่อนข้างแน่ใจ ว่าโดยคุณสมบัติของแว่นกันแดดแล้ว จะทำหน้าที่กรอง ที่เกินความจำเป็นในการมองเห็น และทำอันตรายของดวงตาออกไป ยิ่งมีคุณสมบัติดี ยิ่งมีการเคลือบ หรือเทคนิคในการผลิตดีตาม และราคาสูง
ดังนั้นถ้าเป็นเรื่องนี้ไม่ควรประหยัด
เมื่อเม็ดฝนที่ตกหนัก ตามแรงโน้มถ่วงของโลก จากที่สูง ขนาดของเม็ดฝน ซึ่งมีขนาดต่างๆ ตกกระทบฝากระโปรงหน้ าด้วยแรงกระแทกมหาศาล ทำให้เม็ดฝนแตกกระจายอย่างละเอียด รวมทั้งบนหน้ากระจกรถของเราด้วย ในตอนกลางคืน หรือกลางวันก็ตาม จะมีแสงจากธรรมชาติอยู่แล้ว หรืออาจจะมาจากที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นแสงสว่างต่างๆ เม็ดฝนมีการสะท้อนแสง หรือบางขณะก็รวมตัวกันมากๆ แบบไม่เป็นระเบียบ จึงทำให้ภาพที่เรามองไปข้างหน้าบนถนน มี "ตัวกลาง" มากั้น ซึ่งก็คือ ม่านน้ำฝน และละอองฝน ซึ่งตัวมันเอง ก็มีค่าดัชนีหักเหอยู่แล้ว เมื่อบวกกับการสะท้อนแสง ของละอองฝน ทำให้ทัศนวิสัยจึงแย่มาก แว่นกันแดดจึงกรองแสงจ้า ที่เกิดการสะท้อนจากละอองฝน และสายฝนที่อาบอยู่บนกระจกหน้ารถ ชนิดที่เรียกว่า ที่ปัดน้ำฝน speed แรงสุด ก็เอาไม่อยู่ ออกไป จึงทำให้ทัศนวิสัยในขณะขับรถตอนกลางคืน ฝนตกหนัก เยี่ยมมาก ดังนั้นจึงสามารถใช้ความเร็วได้ ในระดับหนึ่ง และปลอดภัยมาก ผมยังเชื่อว่า ถ้าเป็นตอนกลางวัน และฝนตกหนัก ก็น่าจะใช้ได้เหมือนกัน ถึงจะยังไม่ได้ทดลอง แต่คิดว่า น่าจะไม่มีปัญหาอะไร
ผมหวังว่าความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ตรงครั้งนี้ คงเป็นประโยชน์กับหนอนทุกคน ถ้าใครได้ทดลองใช้ก็นำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

อัพเดทล่าสุด