เทคโนโลยีอวกาศ |
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ รหัสวิชา ว 40104 |
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 4 |
เทคโนโลยีอวกาศ คือการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย ปัจจุบัน เทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่ง ต่างๆในจักรวาล การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็ว การสำรวจทรัพยากรโลก ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และการพยากรณ์อากาศก็จะทำให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้ |
โลก (The Earth) |
จรวดและยานอวกาศ อวกาศอยู่สูงเหนือศีรษะขึ้นไปเพียงหนึ่งร้อยกิโลเมตร แต่การที่จะขึ้นไปถึงมิใช่เรื่องง่าย เซอร์ไอแซค นิวตัน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและการเดินทางสู่อวกาศเมื่อสามร้อยปีมาแล้ว ได้อธิบายไว้ว่า หากเราขึ้นไปอยู่บนที่สูง และปล่อยก้อนหินให้หล่นจากมือ ก้อนหินก็จะตกลงสู่พื้นในแนวดิ่ง เมื่อออกแรงขว้างก้อนหินออกไปให้ขนานกับพื้น (ภาพที่ 3) ก้อนหินจะเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง (A) เนื่องจากแรงลัพธ์ซึ่งเกิดจากแรงที่เราขว้างและแรงโน้มถ่วงของโลกรวมกัน หากเราออกแรงมากขึ้น วิถีการเคลื่อนที่ของวัตถุจะโค้งมากขึ้น และก้อนหินจะยิ่งตกไกลขึ้น (B) และหากเราออกแรงมากจนวิถีของวัตถุขนานกับความโค้งของโลก ก้อนหินก็จะไม่ตกสู่พื้นโลกอีก แต่จะโคจรรอบโลกเป็นวงกลม (C) เราเรียกการตกในลักษณะนี้ว่า “การตกอย่างอิสระ” (free fall) และนี่เองคือหลักการส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก ภาพที่ 1 หลักการส่งยานอวกาศ หมายเหตุ: ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถยิงจรวดขึ้นสู่อวกาศในแนวราบได้ เพราะโลกมีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ ความหนาแน่นของอากาศจะต้านทานให้จรวดเคลื่อนที่ช้าลงและตกลงเสียก่อน ดังนั้นเราจึงส่งจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้าในแนวดิ่ง แล้วค่อยปรับวิถีให้โค้งขนานกับผิวโลก เมื่ออยู่เหนือชั้นบรรยากาศในภายหลัง จรวด (Rocket) |
เราแบ่งประเภทของจรวดตามชนิดของเชื้อเพลิงออกเป็น 2 ประเภท คือ
จรวดหลายตอน ความแตกต่างระหว่างเครื่องบินไอพ่น และจรวด , , ภาพที่ 4 SR-71, X-15 และ Space Shuttle อากาศยานบางชนิดมีคุณสมบัติทั้งความเป็นจรวดและเครื่องบินในตัวเอง อย่างเช่น X-15, SR-71 และ กระสวยอวกาศ (Space Shuttle) หากดูอย่างผิวเผินเราแทบจะแยกแยะไม่ออกเลยว่า อากาศยานเหล่านี้คือ จรวด หรือเครื่องบินกันแน่
อุปกรณ์ที่จรวดนำขึ้นไป (Payload) ดังที่กล่าวไปแล้ว จรวดเป็นเพียงตัวขับเคลื่อนขึ้นสู่อวกาศ สิ่งที่จรวดนำขึ้นไปมีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือภารกิจ ซึ่งอาจจะมีทั้งการทหาร สื่อสารโทรคมนาคม หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
สภาพแวดล้อมในอวกาศ
บน พื้นผิวโลกมีบรรยากาศคอยทำหน้าที่กรองรังสีคลื่นสั้นที่เป็นอันตรายต่อสิ่ง มีชีวิต แต่ในอวกาศไม่มีเกราะกำบัง ในขณะที่นักบินอวกาศออกไปทำงานข้างนอกยาน พวกเขาจะต้องสวมใส่ชุดอวกาศ ซึ่งออกแบบมาเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมที่อยู่บนโลก กล่าวคือ ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ มีออกซิเจนให้หายใจ มีแรงดันอากาศเพื่อป้องกันมิให้เลือดซึมออกตามผิวหนัง และรังสีจากดวงอาทิตย์ (ภาพที่ 7) |
คำจำกัดความของคำว่า "ดาวเทียม" "ยานอวกาศ" และ "อวกาศ" ดาวเทียม (Satellite) คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และส่งไปโคจรอยู่รอบโลก เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศ รวมทั้งการถ่ายภาพพื้นผิวโลก และสิ่งต่าง ๆ ในเทห์ฟากฟ้าอื่น แล้วถ่ายทอดข้อมูลเหล่านั้นกลับมายังโลก ยานอวกาศ (Spacecraft) คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ปฏิบัติงานในห้วงอวกาศ มีทั้งแบบควบคุมด้วยมนุษย์ (Manned spacecraft) และไม่ต้องอาศัยมนุษย์ควบคุม (Unmanned Spacecraft) เช่น กระสวยอวกาศ (Space shuttle) เป็นยานอวกาศแบบมีมนุษย์ควบคุมซึ่งถูกสร้างมาเพื่อใช้เดินทางระหว่างโลกไปยังอวกาศเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็เดินทางกลับมายังโลก ดาวเทียมก็จัดเป็นยานอวกาศชนิดหนึ่งที่โคจรอยู่รอบโลก อวกาศ (Space) มีหลายนิยาม นิยามหนึ่งคือบริเวณที่อยู่สูงเกินกว่าที่เครื่องบินจะบินได้โดยแรงพยุงของปีกเครื่องบิน อีกนิยามหนึ่ง ของNASA กำหนดว่าอวกาศคือความสูงตั้งแต่ 50 Nautical miles (92.6 กิโลเมตร) ขึ้นไปซึ่งมนุษย์จะต้องใช้ชุดอวกาศและอีกนิยามหนึ่งบอกว่าอวกาศคือความสูงตั้งแต่ 80 Nautical miles (130 กิโลเมตร) ขึ้นไป โดยพิจารณาจากที่ความสูงดังกล่าวยานอวกาศสามารถโคจรรอบโลกได้ 1-2 วันโดยที่ไม่ตกลงมายัง โลก |
ส่วนประกอบหลักของดาวเทียม มี 2 ส่วน คือ Bus และ Payload ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1 BUS หมายถึง ส่วนประกอบที่จำเป็นของดาวเทียมที่จะต้องมีเพื่อให้ดาวเทียมทำงานได้ในอวกาศจะประกอบด้วยระบบต่าง ๆรวม 6 ระบบ ได้แก่ 1.1 ระบบโครงสร้าง หรือ ตัวถังของดาวเทียม (Structure) - วัสดุทำด้วยสารประกอบของอลูมิเนียมและแมกนีเซียม รวมทั้ง Carbon Fibers สามารถป้องกัน การกระจายของรังสีและการถ่ายเทประจุทางไฟฟ้าในอวกาศที่เรียกว่า พลาสมา (Plasma) ไม่ให้เข้า ไปทำ ความเสียหายกับระบบภายในดาวเทียม ตัวถังของดาวเทียมยังมีระบบกันความร้อนเพื่อไม่ให้อุณหภูมิภายในดาวเทียมสูง หรือต่ำจนเกินกว่าจะทำงานได้ - แหล่งพลังงานความร้อนสูงสุดที่ส่งมายังดาวเทียมคือจากดวงอาทิตย์โดยตรง มีพลังงานสูงถึง1358 วัตต์ต่อตารางเมตร และจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนพื้นโลกไปยังดาวเทียมมีพลังงานรองลงมา ประมาณ 30 เปอร์เซนต์ของพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์โดยตรง - ตัวถังมีน้ำหนักประมาณร้อยละ 6 ของน้ำหนักดาวเทียมทั้งหมด 1.2 ระบบพลังงาน (Power) - แผงเซลแสงอาทิตย์หรือโซลาเซล (Solar cell) เป็นแหล่งพลังงานหลัก (Primary Source) ติดตั้งบริเวณผิวด้านนอกของตัวดาวเทียม หรือเป็นแผงยื่นออกมาจากตัวดาวเทียม (ขึ้นอยู่กับการออกแบบดาวเทียม) แผงเซลแสงอาทิตย์มีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ขับเคลื่อนระบบภายในดาวเทียม เซลแสงอาทิตย์เดิมนิยมทำจากผลึก Silicon แต่ในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนมาใช้เซลแสงอาทิตย์ที่ทำจากผลึกแกเลี่ยมอะเซไน (GaAs) ที่ให้ประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็น พลังงานไฟฟ้า ได้สูงขึ้นมากจากเดิมประมาณ 16 เปอร์เซนต์เป็น 24 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้ขนาดแผงโซลาเซลลดลงโดย ให้พลังงานไฟฟ้าเท่าเดิม - Battery : เป็นแหล่งเก็บพลังงานสำรอง (Secondary Source) ใช้ในกรณี Solar cell ไม่ทำงานเนื่องจากโลกหรือดวงจันทร์บังแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกว่า การเกิดคราส (Eclipse) การเกิดคราส มีสาเหตุจากโลกบังแสงอาทิตย์ ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรค้างฟ้าจะพบการเกิดคราสชนิดนี้ปีละ 2 ช่วง คือช่วง ประมาณวันที่ 21 มีนาคม ที่เรียกว่า Spring Equinox หรือ Vernal Equinox และ 23 กันยายน ที่ เรียกว่าAutumn Equinox ของทุกปี โดยจะเกิดประมาณ 22 วันก่อนและหลังวันดังกล่าว หรือประมาณ ปีละ 90 วัน และการเกิดแต่ละครั้งเป็นเวลาสูงสุดประมาณ 72 นาที ดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรต่ำ (LEO)จะพบการเกิดคราสแบบนี้วันละประมาณ 14-15 ครั้งและเวลาสูงสุดที่เกิดคราสนี้ขึ้นกับความสูงของวงโคจรดาวเทียม เช่นที่ความสูง 550 กิโลเมตรจะมีเวลาคราสสูงสุด 36 นาที การเกิดคราสเนื่องจากดวงจันทร์ โดยเฉลี่ยดาวเทียมในวงโคจรค้างฟ้าจะเข้าสู่บริเวณเงามืดจากดวงจันทร์สูงสุด ไม่เกิน 4 ครั้ง ในบางปีอาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ และแต่ละครั้งอาจเป็นเวลานานถึง 2 ชั่วโมง แต่บางดวงอาจ เข้าสู่บริเวณคราสสูงกว่า 20 ครั้งต่อปีก็ได้ ดาวเทียมในวงโคจรต่ำได้รับผลของการเกิดคราสจากดวงจันทร์ น้อยเนื่องจากมีการโคจรรอบโลกที่บ่อยครั้งกว่า ดังนั้นจึงต้องมีแบตเตอรี่จ่ายไฟสำรองขณะเกิดคราส ดาวเทียมค้างฟ้าส่วนใหญ่ใช้แบตเตอรี่ NiH (Nikel Hydrogen 1.15 v/cell) และดาวเทียมวงโคจรต่ำมักใช้แบตเตอรี่ NiCd (Nikel Cadmium) สำหรับกระสวยอวกาศจะใช้แบตเตอรีแบบ Fuel Cell ที่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจนมาทำปฏิกิริยากันนอก จากให้พลังงานไฟฟ้าแล้วยังให้น้ำที่ดื่มได้ออกมาด้วย 1.3 ระบบควบคุมอุณหภูมิ (Temparature Control) - ขณะดาวเทียมทำงานจะเกิดความร้อนในระบบ รวมทั้งได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ จึงต้องมี ระบบควบคุมอุณหภูมิเพื่อกระจายความร้อน (ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ 10 ถึง 45 องศาเซลเซียส ขณะทำงาน; - 30 ถึง + 55 องศาเซลเซียส ขณะเตรียมการ - อุ่นเครื่อง) 1.4 ระบบอุปกรณ์ขับเคลื่อนดาวเทียมในวงโคจร (In-Orbit Propulsion Equipment) - ใช้ขับดันเปลี่ยนแปลงวงโคจร และรักษาตำแหน่งของดาวเทียม - พลังขับดันมีแหล่งกำเนิดจาก 3 หลักการ แบบแรกคือ ใช้ก๊าซเช่นไนโตรเจนอัดบรรจุถังไว้ซึ่งก๊าซ เมื่อเป็นของเหลวจะมีอุณหภูมิต่ำจึงเรียกว่าเป็นแบบ Cold gas หรือเรียกอีกแบบว่าเป็นตัวขับเคลื่อนเชื้อเพลิง เดียว(Mono-Propellant Thrusters) เมื่อต้องการใช้งานก็จะเปิดวาล์วทำให้ก๊าซพุ่งออกมาเป็นแรงขับดันแบบที่สองเรียกว่า Bi-Propellant Thrusters ใช้หลักการทางเคมี ซึ่งอาศัยการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงหลายชนิดรวมกัน และแบบที่สามใช้หลักการการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวเร่งขับดันประจุไฟฟ้า ให้เกิดแรงขับดัน - การรักษาตำแหน่งของดาวเทียม จะใช้อุปกรณ์ขับดันระดับต่ำ (Low Power Thruster )(2 - 3 มิลลินิวตันถึง 2 - 3 นิวตัน) - การเปลี่ยนแปลงหรือย้ายวงโคจรจะใช้อุปกรณ์ขับดันระดับกลาง และระดับสูง (Medium and High Power Thruster) (100 - 10,000 นิวตัน) โดยอาศัยอุปกรณ์ที่เรียกทั่วไปว่า Kick Motor เป็นตัวผลักดัน - ปริมาณเชื้อเพลิงหรือก๊าซที่บรรจุในดาวเทียม คือ ตัวกำหนดอายุการใช้งานของาวเทียม (ปกติดาวเทียมมีอายุใช้งานประมาณ 10 - 15 ปี) 1.5 ระบบรักษาสมดุลดาวเทียม (Stabilization and Altitude Control) ดาวเทียมโดยทั่วไปจะมีการทรงตัวให้อยู่ในสภาพสมดุล โดยอาศัยระบบการรักษาสมดุลอยู่ 2 ลักษณะ คือ - ระบบรักษาสมดุลโดยการหมุน (Spin Stabilization)ดาวเทียมประเภทนี้ถูกออกแบบเป็นรูปทรงกระบอก หมุนรอบแกนของตัวดาวเทียมด้วยอัตราเร็วคงที่ ขณะเดียวกัน มอเตอร์จะหมุนชุดฐานสายอากาศในตัวดาวเทียมไปในทิศทางตรงข้ามกับการหมุนของ ตัว ดาวเทียมในความเร็วที่เท่ากัน ส่งผลให้ดาวเทียมสมดุลและโคจรรอบโลก โดยสามารถรักษาตำแหน่งดาวเทียม ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการด้วย ตัวอย่างดาวเทียมระบบ Spin Stabilization ได้แก่ Thaicom - 1A, Thaicom - 2 และ Palapa - B4 เป็นต้น - ระบบรักษาสมดุลโดยใช้ระบบสามแกน (Three Axis Stabilization หรือ Body Stabilization) นอกจากมีการใช้อุปกรณ์ขับดันเพื่อรักษาสมดุลของดาว เทียมแล้วยังมีการใช้อุปกรณ์ที่ สร้างแรงเพื่อทำให้ดาวเทียมสมดุลไว้ได้คือ "วงล้อโมเมนตัม" (Momentum Wheels) ซึ่งภายในี่ประกอบ ด้วยมอเตอร์ 3 ตัวหมุนตั้งฉากกัน การที่จะให้มอเตอร์ตัวใดหมุนเพื่อรักษาสมดุลในแนวแกนใดจะอาศัยการ ตรวจสอบทิศทางที่ดาวเทียมวางตัวอยู่เสียก่อน อุปกรณ์ตรวจสอบการวางตัวนี้เรียกว่าเซนเซอร์ (Sensor) ได้แก่ตัววัดทิศทางและความแรงสนามแม่เหล็กโลก ตัววัดแสงอินฟาเรดที่ตรวจจับแสงอินฟาเรดที่สะท้อนจากโลก เนื่องจากดาวเทียมที่ใช้การรักษาสมดุลแบบนี้ไม่ต้องอาศัยการหมุนทั้งตัวดาว เทียม จึงทำให้สามารถติดตั้ง แผงรับแสงอาทิตย์ยื่นออกมาเช่น Thaicom-3 ซึ่งสามารถเพิ่มพื้นที่รับแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น 1.6 ระบบติดตามและควบคุม (Tracking Telemetry and Command TT&C) ระบบดังกล่าวทำหน้าที่รับสัญญาณควบคุมจากสถานีภาคพื้นดิน เพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานของอุปกรณ์(Mode of Operation) รวมทั้งส่งผลข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของดาว เทียม และการทำงานของอุปกรณ์กลับไปยังสถานีภาคพื้น ตลอดจนวัดระยะทางระหว่างภาคพื้นกับตัวดาวเทียม และความเร็ว เพื่อกำหนดตำแหน่งที่อยู่ของดาวเทียมด้วย |
แนวโคจรของดาวเทียม ระนาบการโคจรของดาวเทียม คือเส้นทางที่ดาวเทียมโคจรไปรอบโลก โดยระนาบนี้จะทำมุมกับระนาบของเส้นศูนย์สูตรระหว่าง 0 ถึง 180 องศา มุมนี้เรียกว่า มุมเอียง (Inclination) หรืออีกนัยหนึ่งคือแนวโคจรของดาวเทียมเป็นวงโคจรเอียง (Incline Orbit) ในการวัดมุมนี้จะวัดขณะที่ดาวเทียมโคจรจากซีกโลกทางด้านใต้ผ่านเส้นศูนย์สูตรไปยังซีกโลกด้านเหนือ (Ascending) วงโคจรเอียง ที่มีลักษณะพิเศษและมีชื่อเรียกเฉพาะมีดังนี้ 1 วงโคจรตามแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) - เป็นแนวโคจรของดาวเทียมที่มีมุมเอียง 0 องศา หรือเหนือเส้นศูนย์สูตร (ตามนิยามของInternational Telecommunication Union หรือ ITU ยอมรับให้มุมเอียงอยู่ระหว่าง 0 ถึง 5 องศา) - ถ้าดาวเทียมโคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,780 กม. แล้วดาวเทียมจะใช้เวลา 24 ชั่วโมง ในการโคจรรอบโลก เท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ดังนั้นจะมองเห็นเสมือนอยู่กับที่ - ส่วนใหญ่ใช้ด้านการสื่อสาร และอุตุนิยมวิทยา 2 วงโคจรตามแนวขั้วโลก (เหนือ - ใต้) (Polar Orbit) - วงโคจรทำมุมเอียง 90 องศา ทำให้ดาวเทียมโคจรผ่านขั้วโลกเหนือมาขั้วโลกใต้แล้ววน กลับไปขั้วโลกในขณะเดียวกับที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้ดาวเทียมโคจรผ่านทุกพื้นที่ในโลกได้ - ส่วนใหญ่ใช้ในด้านการสำรวจทรัพยากร, สังเกตการณ์, ถ่ายภาพ, อุตุนิยม รวมทั้งการติดต่อ สื่อสารที่จำกัดเฉพาะพื้นที่ 3 วงโคจรหมุนตามโลก (Direct หรือ Posigrade Orbit) - โคจรเป็นมุมเอียงระหว่าง 00 - 90 0 จากเส้นศูนย์สูตร - ส่วนใหญ่ใช้งานนำร่อง, กำหนดพิกัดอ้างอิง (Navigation / GPS) 4 วงโคจรหมุนทวนโลก (Indirect หรือ Retograde Orbit) - โคจรเป็นมุมเอียงระหว่าง 900 - 180 0 จากเส้นศูนย์สูตร - ใช้งานคล้ายกับดาวเทียมที่โคจรหมุนตามโลก รวมทั้งใช้กับดาวเทียมสำรวจระยะไกล(Remote Sensing) - ถ้ามีมุมเอียงและความสูงจากพื้นโลกเหมาะสมสัมพันธ์กัน ดาวเทียมจะโคจรผ่านพื้นที่ที่กำหนดเป็นเวลาเดียวกันทุกครั้งี่ทำให้มุมที่ แสงอาทิตย์ทำกับพื้นที่คงเดิม จึงเรียกว่า วงโคจรสัมพันธ์กับ ดวงอาทิตย์ (Sun-synchronous Orbit) ใช้ประโยชน์มากในดาวเทียมสำรวจระยะไกล 5 โมนิลยา (Molniya) - เป็นวงโคจรพิเศษสำหรับดาวเทียมเพื่อการสื่อสารและการทหารของรัสเซียที่ สามารถให้บริการเหมือนดาวเทียมค้างฟ้าแก่พื้นที่ทางด้านซีกโลกเหนือรวมถึง ขั้วโลกที่ดาวเทียมสื่อสารในวงโคจรเส้นศูนย์สูตรไม่สามารถให้บริการได้ วงโคจรมีมุมเอียง 63.4 องศา และระยะใกล้โลกที่สุด 1000 กิโลเมตร และไกล ที่สุด 39,420 กิโลเมตร |
วงโคจรดาวเทียม Satellite Orbit เมื่อแบ่งตามระยะความสูง (Altitude) จากพื้นโลกแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1 วงโคจรระยะต่ำ (Low Earth Orbit "LEO") - สูงจากพื้นโลกไม่เกิน 1,000 กม. - ใช้ในการสังเกตการณ์ สำรวจสภาวะแวดล้อม, ถ่ายภาพ - ไม่สามารถใช้งานครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ตลอดเวลา เพราะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูงแต่จะสามารถบันทึกภาพคลุมพื้นที่ตามเส้น ทางวงโคจรที่ผ่านไป ตามที่สถานีภาคพื้นดินจะกำหนด - เส้นทางโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก (Polar Orbit) - ดาวเทียมวงโคจรระยะต่ำขนาดใหญ่บางดวงสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลาค่ำ หรือก่อนสว่างเพราะดาวเทียมจะสว่างเป็นจุดเล็ก ๆ เคลื่อนที่ผ่านในแนวนอนอย่างรวดเร็ว 2 วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO") - ระยะความสูงตั้งแต่ 1,000 กม.ขึ้นไป - ส่วนใหญ่ใช้ในด้านอุตุนิยมวิทยา และสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะพื้นที่ได้ แต่หากจะติดต่อให้ครอบคลุมทั่วโลกจะต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงในการส่งผ่าน 3 วงโคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit "GEO") - เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ - สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,780 กม. - เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) - ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดู เหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือจุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา (เรียกทั่ว ๆ ไปว่า "ดาวเทียมค้างฟ้า") |
กล้องโทรทรรศน์ ในการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์นั้น กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้แทบจะขาดมิได้ เนื่องจากวัตถุท้องฟ้า ไม่ว่าจะเป็นดวงดาว กาแล็กซี หรือเนบิวลาต่าง ๆ ล้วนอยู่ห่างจากโลกเราหลายปีแสง และมักมีความสว่างน้อยนิด จึงจำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์เพื่อดึงภาพของวัตถุเหล่านั้นให้เหมือนกับ ว่ามาอยู่ใกล้ ๆ เพื่อศึกษารายละเอียดได้สะดวก และรวมแสงให้สว่างพอให้ตามองเห็น นอกจากการดึงภาพให้เข้ามาใกล้แล้ว กล้องโทรทรรศน์ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีก เช่น ช่วยให้เราได้สามารถศึกษาวัตถุท้องฟ้าในย่านสเปกตรัมอื่น ๆ ที่ตาเรามองไม่เห็นอีก ทั้งนี้เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากดวงดาวและวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ นั้นมีย่านความถี่ที่กว้างมาก ตั้งแต่ความถี่วิทยุ ไมโครเวฟ รังสีอินฟราเรด แสงขาว (สีแดงถึงสีม่วง) รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ จนถึงรังสีแกมมา ตาของมนุษย์นั้นสามารถมองเห็นได้เฉพาะแสงขาวเท่านั้น การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในย่านแสงขาวเพียงย่านเดียว จึงดูเป็นการสังเกตการณ์ในขอบเขตที่แคบมาก ๆ สัญญาณบางอย่างที่ปลดปล่อยมาจากดวงดาวและวัตถุท้องฟ้า มักจะอยู่ในย่านความถี่ที่ตามองไม่เห็นเสียมาก เช่น หากสังเกตมองควอซาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ธรรมดาที่ทำงานในยานแสงขาว จะมองเห็นไม่ต่างกับดาวฤกษ์ธรรมดาดวงหนึ่งเลย และเมื่อถ่ายภาพควอซาร์ในย่านอินฟราเรดแล้ว จะพบว่ามันมีลักษณะแตกต่างจากดาวฤกษ์โดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ กล้องโทรทรรศน์ยังมีประโยชน์ในการถ่ายและบันทึกภาพของดวงดาวได้อีกด้วย กล้องโทรทรรศน์โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ตามย่านความถี่ที่ทำงาน เช่นกล้องโทรทรรศน์อินฟราเรด (Infrared telescope) กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (Radio Telescope) เป็นต้น กล้องโทรทรรศน์ที่พบเห็นและรู้จักกันมากที่สุดก็คือ กล้องโทรทรรศน์ที่ทำงานในย่านความถี่ที่ตามองเห็นหรือ Optical telescope ในที่นี้จะกล่าวถึงกล้องโทรทรรศน์แบบหลังนี้เท่านั้น ชนิดของกล้องโทรทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์อาจแบ่งได้ตามหลักการสร้างภาพได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ กล้องแบบหักเหแสง กล้องแบบ หักเหแสงใช้เลนส์นูนอย่างน้อยสองชิ้นประกอบด้วยกัน ชิ้นหนึ่งเรียกว่า เลนส์วัตถุ อยู่ทางด้านหน้าของตัวกล้อง อีกชิ้นหนึ่งเรียกว่า เลนส์ตา อยู่ตำแหน่งใกล้ตา อัตราขยายของกล้องชนิดนี้สามารถหาได้จาก กำลังขยาย = ความยาวโฟกัสของเสนส์วัตถุ / ความยาวโฟกัสของเลนส์ตา กล้องแบบสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงประกอบด้วยกระจกเว้าโค้งแบบพาราโบลาเรียกว่า กระจกหลัก (primary mirror) กับเลนส์ตาอีกอันหนึ่ง กำลังขยายของกล้องแบบสะท้อนแสงหาได้จาก กำลังขยาย = ความยาวโฟกัสของกระจกหลัก / ความยาวโฟกัสของเลนส์ตา หอสังเกตการณ์เยอร์คิส์ (Yerkes Observatory) ที่ตั้งของกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงกับกล้องโทรทรรศน์หักเห แสงแล้ว กล้องแบบสะท้อนแสงเหมาะกับกล้องขนาดใหญ่มากกว่ากล้องแบบหักเหแสง เนื่องจากกระจกสะท้อนแสงสามารถสร้างให้มีขนาดใหญ่ และมีโครงสร้างเสริมหนุนอยู่ด้านหลังกระจกเพื่อรักษาความโค้งเอาไว้ได้ ในขณะที่กล้องหักเหแสงสามารถยึดติดกับสิ่งอื่นได้เฉพาะที่ขอบเลนส์เท่านั้น จึงมีขีดจำกัดอยู่ที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตรเท่านั้น หากสร้างกระจกใหญ่กว่านี้ น้ำหนักของเลนส์จะถ่วงให้กระจกมีรูปร่างบิดเบี้ยวจนภาพที่ได้มีความเพี้ยน มากเกินไป ปัจจุบันกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ที่หอสังเกตการณ์ เยอร์คิส์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์ 1 เมตร กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงยังมีชนิดย่อย ๆ อีกหลายชนิด เช่น กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบนิวตัน (Newtonian Reflecter) มีกระจก เว้าอยู่ท้ายกระบอก ที่ด้านหน้าใกล้กับปากกระบอกกล้องมีกระจกเฉียง 45 องศาเพื่อสะท้อนแสงออกไปทางด้านข้างลำตัวกล้องซึ่งมีเลนส์ตาติดอยู่ เวลาส่องดูจึงต้องส่องดูข้าง ๆ ลำตัวกล้อง ชื่อของกล้องชนิดนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นิวตัน ผู้ออกแบบกล้องชนิดนี้ กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบแคสสิเกรน (Cassigrain Reflecter) มีกระจกนูนชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่ากระจกรอง (secondary mirror) อยู่ที่ด้านหน้าของตัวกล้อง กระจกชิ้นนี้สะท้อนแสงจากกระจกหลักผ่านรูที่อยู่ตรงกลางของกระจกหลัก ซึ่งเลนส์ตาจะติดอยู่ที่ด้านหลังของกระจกหลัก เนื่องจากกระจกรองช่วยย่นความยาวของกระบอกกล้อง กล้องชนิดนี้จึงมักมีรูปร่างสั้นป้อม กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบชมิดท์แคสสิเก กล้องโทรทรรศน์แบบมักซูตอฟนี้ คล้ายกับแบบชมิดท์แคสสิเกรน แต่ความโค้งกระจกด้านหน้าต่างกัน กระจกปรับความโค้งของกล้องชนิดนี้ดูคล้ายกับเป็นเลนส์เว้า เลนส์ซูเปอร์เทโลโฟโต้ชนิดรีเฟล็กซ์สำหรับถ่ายภาพทั่วไปมักใช้โครงสร้างของ เลนส์เป็นแบบมักซูตอฟนี้ กล้องโทรทรรศน์แบบชมิดท์ แคสสิเกรน คล้ายกับกล้องแบบแคสสิเกรน แต่มีกระจกปรับความโค้ง (correcter plate) ปิดอยู่ด้านหน้าของตัวกล้อง ส่วนกระจกหลักโค้งแบบทรงกลม กล้องชนิดนี้มักจะสั้นป้อมกว่าแบบแคสสิเกรนเล็กน้อย เป็นชนิดที่นักดูดาวใช้กันมาก เอฟเรโช (f ratio) ดังได้กล่าวมาแล้วว่า กล้องโทรทรรศน์นอกจากมีหน้าที่ขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นหรือให้เหมือนกับวัตถุอยู่ ใกล้เข้ามา นอกจากนี้ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งก็คือ ขยายแสงหรือการรวมแสงให้สว่างมากขึ้นนั่นเอง บางครั้งวัตถุท้องฟ้าที่เราต้องการส่องนั้นมีขนาดไม่เล็กเลย แต่ว่าจางมากจนมองไม่เห็น ดังนั้นการขยายทางแสงจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการขยายขนาดภาพเลย ในขณะที่กำลังขยายภาพของกล้องโทรทรรศน์ถูกกำหนดด้วยความยาวโฟกัสของเลนส์ หรือกระจก กำลังขยายทางแสงจะขึ้นกับขนาดความกว้างของกระจกและเลนส์เป็นสำคัญ ซึ่งบอกด้วยตัวเลขที่เรียกว่า เอฟเรโช เอฟเรโช เป็นค่าที่บอกความสามารถในการรวมแสงของเลนส์วัตถุ มีความหมายเดียวกันกับเอฟเรโชของเลนส์กล้องถ่ายรูป (หรือกระจก ในกรณีของกล้องสะท้อนแสง) ค่าเอฟเรโชหาได้จาก ความยาวโฟกัสของเลนส์หารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์ เช่นกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงเส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์วัตถุ 110 มม. ความยาวโฟกัส 1100 มม. ก็จะมีค่าเอฟเรโชเป็น 1100/110 = 10 หรือเขียนว่า f/10 ค่าเอฟเรโชยิ่งต่ำจะยิ่งมีกำลังรวมแสงมาก ฐานตั้งกล้อง ฐานตั้งกล้องมีหน้าที่ยึดจับและรับน้ำหนักของกล้องโทรทรรศน์ ฐานตั้งกล้องสำหรับกล้องโทรทรรศน์มีความจำเป็นมาก เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์นั้นมักมีกำลังขยายสูงและมีขนาดใหญ่ และหนัก ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้กล้องโทรทรรศน์โดยปราศจากฐานตั้งกล้อง นอกจากนี้ในฐานตั้งกล้องบางระบบยังมีหน้าที่หันทิศทางกล้องเพื่อติดตามจับ ภาพดวงดาวให้คงที่อีกด้วย เนื่องจากดวงดาวนั้นมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาอันเกิดจากการหมุนรอบตัวเอง ของโลก หากเราซื้อกล้องโทรทรรศน์มาชุดหนึ่ง มักพบว่าราคาในส่วนของฐานตั้งกล้องนั้นจะสูงกว่าส่วนตัวกล้องเสียอีก มีนักดูดาวบางคนถึงกับกล่าวว่า "ใช้กล้องคุณภาพธรรมดากับฐานตั้งกล้องดี ๆ ยังดีกว่าใช้กล้องคุณภาพดีแต่ฐานตั้งกล้องไม่มีคุณภาพ" ฐานตั้งกล้องพอจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ตามลักษณะของแกนหมุนคือ แบบอัลตาซิมุท (Altazimuth) ฐานตั้งกล้องระบบนี้เป็นระบบที่เรียบง่ายที่สุด มีแกนหมุนสองแนวคือแนวราบ (azimuth) และแนวตั้ง (altitude) ฐานตั้งกล้องถ่ายรูปทั่ว ๆ ไปก็เป็นฐานตั้งกล้องแบบอัลตาซิมุทนี้นั่นเอง ฐานตั้งกล้องแบบนี้มีราคาถูก สร้างง่าย แต่ไม่เหมาะกับงานทางดาราศาสตร์นัก เนื่องจากทิศทางการหมุนของแกนนั้นไม่สอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนที่ของดวง ดาว แต่จะเหมาะการถ่ายภาพดาราศาสตร์บางอย่าง โดยเฉพาะภาพที่อิงขอบฟ้าโลก เช่นภาพปรากฏการณ์คอนจังก์ชันที่ขอบฟ้า ภาพดาวเคลื่อนที่เป็นเส้นยาว หรือภาพซึ่งใช้เวลาการเปิดหน้ากล้องค่อนข้างสั้น เช่น ภาพดวงอาทิตย์ ภาพดวงจันทร์ ภาพสุริยุปราคา หรือภาพจันทรุปราคา เป็นต้ แบบอิเควตอเรียล ฐานตั้งกล้องแบบอิเควตอเรียลจะมีแกนหมุนสองแกน แกนหนึ่งชี้ไปที่ขั้วท้องฟ้า (บริเวณใกล้ดาวเหนือ) เรียกว่าแกนขั้วฟ้า (Polar axis) แกนนี้จึงหมุนตามการเคลื่อนที่ของดวงดาว อีกแกนหนึ่งซึ่งตั้งฉากกับแกนขั้วฟ้า คือ แกนเดคลิเนชัน (Declination axis) แกนนี้จะหันกล้องไปในทางเดคลิ เนชันหรือตามแนวขั้วฟ้าเหนือ-ใต้นั่นเอง ในขณะที่ตั้งกล้องสังเกตวัตถุท้องฟ้านั้น วัตถุจะเคลื่อนที่ตามแนวเดคลิเนชันไปทางตะวันตกช้า ๆ ผู้สังเกตการณ์จึงต้องปรับที่แกนเดคลิเนชันตามตลอดเวลาเพื่อไม่ให้วัตถุตก ขอบจอภาพไป ถ้าเป็นฐานตั้งกล้องที่มีราคาจะมีมอเตอร์ไฟฟ้าหมุนแกนเดคลิเนชันด้วยความ เร็ว 1 รอบต่อ 1 วันตามความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้ผู้สังเกตการณ์สามารถสังเกตการณ์ได้นานต่อเนื่องกันโดยไม่ต้องคอยปรับ ตำแหน่งกล้องเรื่อย ๆ ฐานตั้งกล้องคุณภาพสูงมักเป็นแบบอีเควตอเรียลทั้งสิ้น ฐานตั้งกล้องแบบอิเควทอเรียลยังแบ่งย่อยไปได้อีกหลายชนิดตามโครง สร้างของกลไก ดังรูปทางด้านซ้าย ซึ่งแสดงฐานตั้งกล้องอิเควตอเรียลแบบต่าง ๆ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กที่สามารถขนย้ายได้มักจะใช้ฐานตั้งกล้องแบบเยอรมัน หรือแบบง่าม แบบเยอรมันจะเหมาะกับการสังเกตการณ์ในประเทศใกล้ศูนย์สูตรเช่นประเทศไทย ฐานตั้งกล้องแบบง่ามจะเหมาะกับประเทศในแถบละติจูดสูง ๆ นักดูดาวในประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้ฐานตั้งกล้องแบบนี้มาก แต่สำหรับประเทศไทยไม่เหมาะกับฐานตั้งกล้องแบบนี้ ฐานตั้งกล้องแบบอังกฤษ แบบโย้ก และแบบเกือกม้านั้นเหมาะกับกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ตามหอดูดาวต่าง ๆ มากกว่ากล้องขนาดเล็ก มีจุดยืดบนพื้นสองจุดจึงมีความมั่นคงมาก ฐานตั้งกล้องแบบอังกฤษและแบบโย้กหาดูได้ยากและไม่เป็นที่นิยมแล้ว หอดูดาวสมัยใหม่นิยมใช้ฐานตั้งกล้องแบบเกือกม้า ซึ่งเป็นแบบที่พัฒนามาจากแบบโย้ก สามารถรับน้ำหนักกล้องได้มาก และสามารถหันกล้องส่องที่ขั้วเหนือได้ด้วย |
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล การควบคุมการทำงานของกล้องอวกาศฮับเบิล หน่วยงานที่รับผิดชอบภาระกิจการควบคุมกล้องฮับเบิล คือ ศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ขององค์การนาซาในรัฐมารี่แลน (Maryland) ประเทศสหรัฐอเมริกา สัญญาณทุกชนิดที่ส่งไปกลับจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจะต้องผ่านศูนย์นี้ ทั้งหมด วิศวกรประจำศูนย์นี้จะเป็นผู้ประสานงานระหว่างกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กับนักดาราศาสตร์ที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope Science Institute) ที่เมืองบัลติมอร์ (Baltimal) ในการควบคุมโปรแกรมการสังเกตการณ์ของกล้องโทรทรรศน์ ในการทำงานของกล้องฮับเบิลอาศัยพลังงานไฟฟ้าเพื่อควบคุมอุปกรณ์และ ระบบคอมพิวเตอร์จากแผงสุริยะที่ติดอยู่ นอกจากนี้ยังมีระบบที่ควบคุมการชี้ของกล้องไปยังวัตถุท้องฟ้าที่ต้องการ ที่เรียกว่า Reaction Wheels ภาพที่ถ่ายได้โดยผ่านดาวเทียมขนาดเล็กที่เรียกว่า “ Tracking and Data Relay Satellite ( TDRS) “ ที่รับสัญญาณได้ทั้งจากพื้นดินและกล้องโทรทรรศน์อวกาศอับเบิลได้ในเวลาเดียวกันข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล พื้นผิวของดาวพฤหัสบดีซึ่งถูกดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ชน
ภาพถ่ายก่อนและหลังจากปรับปรุงระบบทรรศนศาสตร์ ภาพจาก https://hubblesite.org - มวลของกล้อง 11 . 6 ตัน บรรยากาศ ของโลกมีผลอย่างมากต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ด้วยกล้องโทรทรรศ์หรือ กล้องดูดาว แม้ในคืนที่ฟ้าปลอดโปร่งและมืดสนิท แสงดาวจะลดลงอย่างมากเนื่องจากผลของบรรยากาศของโลก โดยแสงดาวจะลดลงมากที่สุด ณ บริเวณขอบฟ้า (Horizon) และจะลดลงน้อยที่สุดบริเวณกลางศีรษะ (Zenith) เพื่อขจัด ผลการลดของแสงดาวเนื่องจากบรรยากาศของโลก นักดาราศาสตร์จึงคิดสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่สามารถลอยอยู่เหนือบรรยากาศของ โลกได้ โดยในปี ค.ศ. 1990 ได้มีการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ชื่อ “ฮับเบิล” ขึ้นไปโคจรรอบโลก ณ ระดับความสูงเหนือชั้นเมฆ และชั้นบรรยากาศโลก ทำให้กล้องโทรทรรศน์ |