บทที่ ๑
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
การเรียนภาษาไทยมีบทเรียนที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะ บทเรียน เรื่อง คำราชาศัพท์ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำมีความคิดเห็นว่า คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่ศึกษาแล้วไม่ได้นำไปใช้ ดังนั้น ทางคณะผู้จัดทำ จึงได้จัดทำโครงงานภาษาไทยเรื่องคำราชาศัพท์ขึ้นเพื่อทำให้ผู้ที่ศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในคำราชาศัพท์มากขึ้น ทั้งยังได้รับความสนุกสนานจากเกม ที่ใช้เป็นสื่อ
ในการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ และผู้ที่ศึกษาจะได้มีความกระตือรือร้นในการศึกษามากยิ่งขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ความรู้ในเรื่องคำราชาศัพท์
๒. เพื่อนำคำราชาศัพท์ไปใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละโอกาส
๓. เพื่อทำให้ผู้ศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น
๔. เพื่อทำให้ผู้ศึกษามีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
๕. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผลงานในการทำโครงงาน
สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
ผู้ทำการศึกษาในเรื่องคำราชาศัพท์ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
๑. ศึกษาคำราชาศัพท์ ที่มีอยู่ในบทเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
๒. ศึกษาคำราชาศัพท์ จากอินเตอร์เน็ต
๓. ศึกษาคำราชาศัพท์จากหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ
บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่คนทั่วไปใช้เมื่อพูดกับหรือพูดกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หรือพระญาติของพระเจ้าแผ่นดิน คำที่ใช้กล่าวถึงสิ่งต่างๆที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ หรือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ต้องเป็นคำราชาศัพท์
ราชาศัพท์ที่ใช้ต่างกันตามพระอิสริยศักดิ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ราชาศัพท์ คำสามัญ
พระราชโองการ คำสั่ง
พระบรมราโชวาท โอวาท
พระราชดำรัส คำพูด(ใช้เมื่อพูดเป็นกลางๆ)
พระราชกระแสรับสั่ง คำพูด(ใช้เมื่อพูดกับผู้ใดผู้หนึ่ง)
วันพระบรมราชสมภพ วันเกิด
พระชนมพรรษา...พรรษา อายุ...ปี
พระมหากรุณาธิคุณ พระคุณ
พระมหากรุณา ความกรุณา
พระราชหัตถเลขา จดหมาย
พระบรมฉายาลักษณ์ รูปถ่าย
พระบรมสาทิสลักษณ์ รูปเขียน
พระปรมาภิไทย ชื่อ
พระบรมราชูปถัมภ์ การสนับสนุน
พระบรมราชานุเคราะห์ การอนุเคราะห์
อยู่งานพระกลด , กั้นร่ม
ถวายพระกลด
เสวย กิน
เสวยพระโอสถ กินยา
เสด็จพระราชสมภพ, เกิด
ทรงพระพิโรธ,ทรงพระโกรธ โกรธ
ขอพระราชทาน ขอ
ไม่ควรกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอโทษ
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ขออนุญาต
ขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวาย ขอให้
รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขอบใจ
ล้นเกล้าล้นกระหม่อม
ถวายคำนับ คำนับ
ทรงพระประชวร เจ็บป่วย
ทรงพระกรุณาโปรด,โปรด ชอบ
ทอดพระเนตร ดู
เสด็จพระราชดำเนิน เดินทาง
ทรงพระดำเนิน เดิน
ทรงพระเครื่องใหญ่ ตัดผม
ทรงพระราชวินิจฉัย ตัดสิน
สวรรคต,เสด็จสวรรคต ตาย
แต่งพระองค์ แต่งตัว
ทรงเครื่อง แต่งตัวมีเครื่องประดับ
ทรงพระราชนิพนธ์ แต่งหนังสือ
ทรงพระสุคนธ์,ทรงพระสำอาง ทาน้ำหอม
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทำบุญ
ทรงพระบรรทม นอน
ประทับ นั่ง
ทรงผนวช บวช
กราบบังคมทูลพระกรุณา บอก
เสด็จพระราชดำเนินไป ไป
เสด็จประพาส ไปเที่ยว
เสด็จเข้าที่พระบรรทม ไปนอน
ไปเฝ้า ไปหา
ทรงธรรม ฟังเทศน์
แย้มพระสรวล ยิ้ม
ทรงพระกรุณาโปรด รัก
ทรงพระกันแสง ร้องไห้
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท รู้
รับสั่งให้หา เรียกหา
ทรงศึกษา, ทรงเล่าเรียน เรียน
ทรงพระสรวล หัวเราะ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนาถ
ราชาศัพท์ คำสามัญ
พระราชเสาวนีย์ คำสั่ง
พระราโชวาท โอวาท
พระราชดำรัส คำพูด(ใช้เมื่อพูดเป็นกลางๆ)
พระราชกระแสรับสั่ง คำพูด(ใช้เมื่อพูดกับผู้ใดผู้หนึ่ง)
วันพระราชสมภพ วันเกิด
พระชนมพรรษา...พรรษา อายุ...ปี
พระมหากรุณาธิคุณ พระคุณ
พระมหากรุณา ความกรุณา
ลายพระราชหัตถ์ จดหมาย
พระฉายาลักษณ์ รูปถ่าย
พระสาทิสลักษณ์ รูปเขียน
พระนามาภิไธย ชื่อ
พระบรมราชินูปถัมภ์ การสนับสนุน
พระราชานุเคราะห์ การอนุเคราะห์
อยู่งานพระกลด , กั้นร่ม
ถวายพระกลด
เสวย กิน
เสวยพระโอสถ กินยา
เสด็จพระราชสมภพ, เกิด
ทรงพระพิโรธ,ทรงพระโกรธ โกรธ
ขอพระราชทาน ขอ
ไม่ควรกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอโทษ
ขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวาย ขอให้
รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขอบใจ
ล้นเกล้าล้นกระหม่อม
ถวายคำนับ คำนับ
ทรงพระประชวร เจ็บป่วย
ทรงพระกรุณาโปรด,โปรด ชอบ
ทอดพระเนตร ดู
สวรรคต,เสด็จสวรรคต ตาย
แต่งพระองค์ แต่งตัว
ทรงเครื่อง แต่งตัวมีเครื่องประดับ
ทรงพระราชนิพนธ์ แต่งหนังสือ
ทรงพระสุคนธ์,ทรงพระสำอาง ทาน้ำหอม
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทำบุญ
ทรงพระบรรทม นอน
ประทับ นั่ง
กราบบังคมทูลพระกรุณา บอก
เสด็จพระราชดำเนินไป ไป
เสด็จประพาส ไปเที่ยว
เสด็จเข้าที่พระบรรทม ไปนอน
ไปเฝ้า ไปหา
ทรงธรรม ฟังเทศน์
แย้มพระสรวล ยิ้ม
ทรงพระกรุณาโปรด รัก
ทรงพระกันแสง ร้องไห้
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท รู้
รับสั่งให้หา เรียกหา
ทรงศึกษา, ทรงเล่าเรียน เรียน
ทรงพระสรวล หัวเราะ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร
ราชาศัพท์ คำสามัญ
พระราชบัณฑูร คำสั่ง
พระราโชวาท โอวาท
พระราชดำรัส คำพูด
พระราชกระแสรับสั่ง คำพูด
วันพระราชสมภพ วันเกิด
พระชนมพรรษา...พรรษา อายุ...ปี
พระมหากรุณาธิคุณ พระคุณ
พระมหากรุณา ความกรุณา
ลายพระราชหัตถ์ จดหมาย
พระฉายาลักษณ์ รูปถ่าย
พระรูปเขียน รูปเขียน
พระนามาภิไธย ชื่อ
พระบรมราชินูปถัมภ์ การสนับสนุน
พระราชานุเคราะห์ การอนุเคราะห์
เสด็จพระราชสมภพ, เกิด
ทรงพระพิโรธ,ทรงพระโกรธ โกรธ
ขอพระราชทาน ขอ
ขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวาย ขอให้
รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขอบใจ
ล้นเกล้าล้นกระหม่อม
ทรงพระราชวินิจฉัย ตัดสิน
ราชาศัพท์ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นราชาศัพท์ที่กำหนดให้ใช้ต่างกันตามพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น คำราชาศัพท์อื่นๆ ไม่ได้กำหนดให้ใช้แตกต่างกันจึงไม่ได้นำมากล่าวในที่นี้
ข้อสังเกตบางประการในการใช้ราชาศัพท์
คำที่เป็นราชาศัพท์ ถ้าเป็นคำนามมักมีคำว่า พระ หรือ พระราช นำหน้า เช่น
พระองค์ พระพักตร์ พระเนตร พระบาท
พระราชทรัพย์ พระราชวินิจฉัย พระราชโทรเลข
ถ้าเป็นคำกริยา มักมีคำว่า ทรง ทรงพระ หรือ ทรงพระราช นำหน้า เช่น
ทรงยืน ทรงทักทาย ทรงเรือใบ ทรงม้า
ทรงพระสรวล ทรงพระดำริ ทรงพระอักษร
ทรงพระราชนิพนธ์ ทรงพระราชปรารภ ทรงพระราชวินิจฉัย
คำบางคำเป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องมี ทรง ทรงพระ หรือ ทรงพระราช นำหน้า เช่น
เสวย (กิน) บรรทม(นอน)
โปรด(ชอบ,รัก) พระราชทาน(ให้)
ประทับ(นั่ง) กริ้ว(โกรธ)
เสด็จพระราชดำเนิน(เดินทางไป) เสด็จขึ้น(ขึ้น)
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน
๒. ผู้ศึกษาร่วมกันประชุมวางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของโครงงาน
๓. ผู้ศึกษาร่วมกันค้นคว้าจากหนังสือต่างๆดังนี้หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆและจากอินเตอร์เน็ต
๔. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเพื่อมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาที่สำคัญที่จะนำมาจัดทำโครงงาน
๕. นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน
๖. จัดทำคู่มือเพื่อใช้สำหรับศึกษาและรายงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
๑. ปากกา
๒. ดินสอ
๓. ยางลบ
๔. ไม้บรรทัด
๕. กระดาษ A4
๖. ฟิวเจอร์บอร์ด
๗. คอมพิวเตอร์
๘. กรรไกร
๙. คัดเตอร์
๑0. กาว
๑๑. เทปใส
บทที่๔
ผลการศึกษา
ความหมายของคำราชาศัพท์
๑) คำ “ราชาศัพท์” นี้พระยาอุปกิตศิลปสาร ได้อธิบายไว้ในหนังสือวจีวิภาคของท่านว่า หมายถึง ศัพท์สำหรับพระราชาหรือศัพท์หลวง แต่ปัจจุบัน หมายถึง ระเบียบการใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคลได้แก่บุคคลที่เคารพตั้งแต่พระราชา พระราชวงศ์ พระภิกษุ ข้าราชการ รวมถึงคำที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไป
๒) คำราชาศัพท์ ตามตำราหลักภาษาไทย หมายถึง ศัพท์หรือถ้อยคำเฉพาะ บุคคลทั่วไป ซึ่งใช้กับบุคคล ๕ ระดับ คือ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ พระภิกษุ ข้าราชการ และสุภาพชน
๓) คำราชาศัพท์ในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง ถ้อยคำสุภาพถูกแบบแผน สำหรับใช้กับบุคคลและสรรพสิ่งทั้งปวง
ที่มาของคำราชาศัพท์
๑) มาจากการเทิดทูนพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขของชาติ
๒) มาจากคำไทยดั้งเดิม เช่น พระปาง เส้นพระเจ้า พระเจ้าพี่ยาเธอ เป็นต้น ๓) มาจากคำไทยที่รับมาจากภาษาอื่น อันได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และ ภาษาเขมร เช่น พระบิดา พระปิตุฉา พระเนตร พระหัตถ์ เป็นต้น
ความสำคัญของคำราชาศัพท์
๑) เพื่อให้เราใช้ถ้อยคำในการพูดจาได้ไพเราะ ถูกต้องตามกาลเทศะและฐานะแห่งบุคคล เพราะราชาศัพท์มิได้หมายถึงคำพูดที่เกี่ยวกับพระราชาเท่านั้น
๒) ราชาศัพท์ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาติ การใช้ราชาศัพท์ที่ถูกต้องเป็นการแสดงความประณีต นุ่มนวล น่าฟังของภาษาอย่างหนึ่ง ตลอดจนเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของเรา
๓) การเรียนรู้ราชาศัพท์ย่อมทำให้เราเข้าถึงรสของวรรณคดี เพราะในวรรณคดีมีราชาศัพท์ปนอยู่มาก จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ราชาศัพท์เพื่อช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในรสคำประพันธ์นั้นๆ
๔) การเรียนรู้ราชาศัพท์ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้กับตนเอง ทำให้เข้าวงสมาคมได้โดยไม่เคอะเขิน ไม่เป็นที่เย้ยหยันของบุคคลที่พบเห็น การติดต่อกับบุคคลทั่วไปทั้งในวงสมาคมและ
วงราชการ หากไม่รู้จักใช้คำสุภาพตามฐานะแล้ว ย่อมได้รับการดูหมิ่นว่าไร้การศึกษา
บทที่ ๕
สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
จากการทำโครงงานวิชาภาษาไทย เรื่องคำราชาศัพท์ ได้มีการสำรวจความพึงพอใจจากนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และจากผลการสำรวจจะเห็นได้ว่า ผู้ประเมินมี
ความพึงพอใจในผลงานและการนำเสนอ ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังมีความพึงพอใจในเนื้อหาสาระ ได้รับความสนุกสนานจากการทำกิจกรรม มีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับคำราชาศัพท์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังได้รับความพึงพอใจในความเหมาะสม ที่จัดเป็นสื่อการเรียน
อภิปรายผล
จากการศึกษาค้นคว้าโครงงานเรื่องการศึกษาคำราชาศัพท์
ราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่คนทั่วไปใช้เมื่อพูดกับหรือพูดกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หรือพระญาติของพระเจ้าแผ่นดิน คำที่ใช้กล่าวถึงสิ่งต่างๆที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ หรือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ต้องเป็นคำราชาศัพท์
ประโยชน์ที่ได้รับ
๑. ได้รับความรู้ในเรื่องคำราชาศัพท์
๒. สามารถนำคำราชาศัพท์ไปใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละโอกาสได้
๓. ผู้ที่ศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากยิ่งขึ้น
๔. ผู้ที่ศึกษาได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
๕. เกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม
ข้อเสนอแนะ
๑. ควรมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนในเรื่องอื่น ๆ อีก
๒. ควรหาคำราชาศัพท์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
๓. ควรปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามอักขระวิธี
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทย