แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ทักษะการตัดสินใจ
แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง ทักษะการตัดสินใจ
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. การตัดสินใจในวัยเด็กและวัยรุ่นแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
ก. แตกต่าง เพราะคนละวัยกัน
ข. แตกต่าง เพราะเรื่องที่ตัดสินใจจะมากและยุ่งยากขึ้น
ค. ไม่แตกต่าง เพราะเป็นการตัดสินใจที่มีขั้นตอนเหมือนกัน
ง. ไม่แตกต่าง เพราะการตัดสินใจเป็นพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
2. สิ่งแรกที่จะช่วยให้การตัดสินใจดีคืออะไร
ก. ข้อมูลต่าง ๆ
ข. การคิดถึงผลได้ผลเสีย
ค. การสร้างทางเลือกหลาย ๆ ทาง
ง. การไปปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
3. แนวทางการประเมินตนเองก่อนตัดสินใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ข้อใดสำคัญที่สุด
ก. จะมีผลกระทบต่อการเรียนหรือไม่
ข. คนทั่วไปเป็นปกติเช่นนี้หรือไม่
ค. จะมีผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่
ง. พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ต่อผลกระทบที่จะตามมาหรือไม่
4. การตัดสินใจของมนุษย์มีลักษณะเป็นเช่นไร
ก. เป็นหลักการ
ข. เป็นหลักเกณฑ์
ค. เป็นข้อเท็จจริง
ง. เป็นกระบวนการ
5. สิ่งที่จำเป็นต้องรู้เป็นลำดับแรกในการตัดสินใจคืออะไร
ก. จะตัดสินใจทำไม
ข. จะตัดสินใจอย่างไร
ค. จะตัดสินใจเรื่องอะไร
ง. การตัดสินใจครั้งนี้เกี่ยวข้องกับใครบ้าง
6. ในการพิจารณาทางเลือกนั้น ควรพิจารณาเรื่องใดเป็นสำคัญ
ก. ข้อมูลต่าง ๆ
ข. ผลดี ผลเสีย
ค. มีทางเลือกกี่ทาง
ง. พิจารณาตามความต้องการ
7. สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงให้มากที่สุดในการตัดสินใจคืออะไร
ก. ข้อมูล
ข. โอกาส
ค. ความเสี่ยง
ง. ทางเลือกต่าง ๆ
8. การตัดสินใจควรจะตัดสินใจตามข้อใด
ก. ตามความชอบ
ข. ตามความเชื่อ
ค. ตามความจำเป็น
ง. ตามความต้องการ
9. บุคคลที่ควรขอความช่วยเหลือเป็นคนแรกเมื่อเกิดปัญหาขึ้นคือใคร
ก. พ่อแม่
ข. ครูอาจารย์
ค. ญาติผู้ใหญ่
ง. เพื่อนที่ไว้ใจได้
10. เมื่อเกิดความผิดพลาดที่คิดว่าร้ายแรงในชีวิตของตนเองแล้ว ไม่ควรทำเช่นไรมากที่สุด
ก. หนีปัญหา
ข. ฆ่าตัวตาย
ค. ลงโทษตัวเอง
ง. หลบซ่อนตนเอง
--------------
แบบทดสอบลักษณะเฉพาะตัว บุิคลิกภาพ การตัดสินใจ
1. บุคลิกภาพของคุณเป็นอย่างไร?
I : ชอบสันโดษ, คิดก่อนทำ, มีแรงบันดาลใจหรือความคิดจากตัวเองเป็นใหญ่
E : ชอบเข้าสังคม, ชอบไปงานสังสรรค์, ทำก่อนคิด, มีแรงบันดาลใจหรือความคิดจาก คน. สิ่งของ, สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่
2. เมื่อคุณมีข้อมูลที่ต้องพิจารณา คุณจะพิจารณาข้อมูลเหล่านั้นอย่างไร?
S : ดูถึงรายละเอียดของข้อมูล, ดูถึงปัญหา ปัจจุบัน, ดูถึงหลักความเป็นจริง
N : ดูถึงภาพรวมหรือข้อสรุปของข้อมูล, คาดการณ์ล่วงหน้า, ดูถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น
3. คุณใช้อะไรในการตัดสินใจกับปัญหา?
T : ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ, ใช้หลักตรรก วิทยาความถูกต้อง, คิดถึงผลที่จะตามมา จากการตัดสินใจ
F : ใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจ, ตัดสินใจจาก ความชอบ, ความต้องการ, คิดถึงความต้องการ และการตอบสนองของตน
4. คุณมีวิธีการดำเนินชีวิตอย่างไร?
J : ชอบวางแผนในการใช้ชีวิตประจำวัน, ชอบตั้งเป้าหมาย ระยะเวลา วันที่ในการทำ, ชอบตัดสินใจเพื่อให้จบปัญหา
P : ยอมรับการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งรอบตัว, ไม่ยึดติด, มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์, รับฟังความคิดผู้อื่น
เฉลย
ISTJ - The Duty Fulfiller "ผู้สำเร็จ"
- มีสมาธิสูง, เงียบ, เป็นคนรักครอบครัว
- ละเอียด, จริงจัง และ ไว้ใจได้
- ทำงานหนัก, เจ้าระเบียบ และ มีความรับผิดชอบสูง
- อาจจะทำให้ถูกเอาเปรียบได้ เพราะความที่เขาซื่อสัตย์และเป็นที่พึ่งได้
- ไม่เก่งเรื่องของความรู้สึก
ISTP - The Mechanic "ช่างเครื่อง"
- เงียบ, ชอบผจญภัยและ กีฬา
- ชอบเสี่ยง, เป็นตัวของตัวเอง, แก้ปัญหาเก่ง
- มองโลกในแง่ดีแต่อาจโกรธง่ายตอนเครียด
- ปกติไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรให้คนอื่นอยู่ ทั้งดีและไม่ดี
ISFJ - The Nurturer "ผู้ดูแล"
- เงียบ, ใจดี, มีสติ
- มีความรับผิดชอบ แก่ภาระและหน้าที่
- คิดถึงคนอื่นก่อนตัว, จำคนเก่ง
- เสียกำลังใจเมื่อถูกวิจารณ์
- ชอบเก็บความรู้สึกไว้กับตัวเอง
ISFP - The Artist "ศิลปิน"
- เงียบ, ใจดี, จริงจัง และ อ่อนไหว
- ไม่ชอบการโต้แย้ง, ไม่ชอบระเบียบ
- ความคิดสร้างสรรค์ และ ไม่เหมือนใคร, รักขอบสวยของงาม
- เข้าใจยาก, เปิดเผยตัวเองกับคนใกล้ชิดเท่านั้น
- ใช้ชีวิตอย่างจริงจัง
INFJ - The Protector "ผู้ป้องกัน"
- ความคิดสร้างสรรค์, อ่อนไหว, เป็นตัวของตัวเอง
- เก่งเรื่องคน และ สถานการณ์
- เป็นคนลึกซึ้ง, ซับซ้อน, ชอบความเป็นส่วนตัว
- เข้าใจยาก, มีความมั่นใจในตัวเองสูง, ดื้อรั้นต่อความคิดของผู้อื่น
- ไม่ชอบการโต้แย้ง
INFP - The Idealist "นักอุดมการณ์"
- เงียบ, ซื่อสัตย์, ชอบอุดมการณ์
- ชอบช่วยเหลือ และ เข้าใจคนอื่น
- ไม่ชอบการโต้แย้ง
- ซื่อสัตย์ต่อตนเอง
- มีความคิดสร้างสรรค์
INTJ - The Scientist "นักวิทยาศาสตร์"
- ฉลาด, มุ่งมั่น, ไม่เหมือนใคร
- เป็นผู้นำที่ดี, มีความมั่นใจสูง, มองการณ์ไกล
- ชอบคิดคนเดียว และ ชอบอยู่คนเดียว, ชอบด่วนสรุป,ไม่ชอบรายละเอียด, คิดว่าตนเองถูกเสมอ
- บอกความรู้สึกไม่เก่ง, จะมีปัญหากับ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด
INTP - The Thinker "นักคิด "
- ความคิดสร้างสรรค์, เป็นตัวของตัวเอง, มีเหตุมีผลและมีความสามารถสูง
- ไม่อยากถูกนำหรือนำคนอื่น, ไม่ชอบระเบียบ
- ใช้เวลาในหัวตัวเองมาก, ไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
- เงียบ, ไม่ค่อยรู้ว่าคนอื่นรู้สึกยังไง
- มีอารมณ์ซับซ้อน, ไม่อยู่นิ่ง และ แปรปรวน
ESTP - The Doer "ผู้กระทำ"
- เป็นมิตร, ยืดหยุ่นง่าย, เข้าใจความรู้สึกของ ผู้อื่นเก่ง
- ไม่ชอบคำอธิบาย แต่ต้องการแค่ผลลัพธ์
- ใช้ชีวิตที่สนุกสนาน จึงทำให้ผ่านไปเร็ว
- รักสนุก, สามารถทำร้ายจิตใจผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว
- ไม่ชอบเคารพกฎระเบียบ
- เบื่อง่าย
ESTJ - The Guardian "ผู้พิทักษ์"
- มีระเบียบ, ซื่อตรง, ตรงไปตรงมา
- มีความมั่นใจในตัวเอง, มีความสามารถ, ทำงานหนัก , เป็นผู้นำ
- ชอบความปลอดภัย และ ความสงบสุข
- บอกความรู้สึก และ ความห่วงใยไม่เก่ง
ESFP - The Performer "ผู้แสดง"
- อยู่คนเดียวในโลกไม่ได้, มีมนุษยสัมพันธ์ดี, รักสนุก และทำงานเป็นทีมได้ดี
- มองโลกในแง่ดี, ต้อนรับทุกคน แต่ก็เกลียดทุกคนได้เหมือนกัน
- ไม่ชอบงานประจำ, คิดมากเวลาเครียด
- รักสวยรักงาม
ESFJ - The Caregiver "นักใส่ใจ"
- มีน้ำใจ , คนชอบ , มีสติ , มีความรับผิดชอบ
- เก่งเรื่องคน , เข้าใจ, สนใจ และ ปรับตามคนได้
- ชอบให้คนชอบ, ชอบบริการผู้อื่นก่อนตนเอง
- รักสงบ และความปลอดภัย, ไว้ใจได้, กระตือรือร้น
- อ่อนไหว, ต้องการการเห็นด้วยจากผู้อื่น
ENFP - The Inspirer "ผู้มีแรงบันดาลใจ"
- มีความคิดสร้างสรรค์, กระตือรือร้น, ยืดหยุ่น
- ต้อนรับไอเดียใหม่ ๆ เสมอ แต่จะเบื่อกับ รายละเอียด
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี, ชอบให้คนชอบแต่ก็ สามารถหลอกใช้ผู้อื่นได้ด้วย
- เป็นคนร่าเริง และชอบเป็นอิสระ
ENFJ - The Giver "ผู้ให้"
- มีมนุษยสัมพันธ์ดีมาก, ห่วงใยความรู้สึก ของผู้อื่นเสมอ
- ไม่ชอบอยู่คนเดียว, ต้องการอยู่กับผู้อื่น ตลอดเวลา
- มีความสามารถที่จะทำในสิ่งที่เขาชอบ หลาย ๆ อย่าง
- มีความมั่นใจในตัวเอง, เจ้าระเบียบ
ENTP - The Visionary "ผู้มีวิสัยทัศน์"
- มีความคิดสร้างสรรค์, ฉลาด , แก้ปัญหาเก่ง
- ชอบไอเดียใหม่, ไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ
- ชอบคุย, คุยเก่ง, หัวไว
- ไม่สนใจเรื่องความรู้สึก แต่เพียงจะให้งานสำเร็จ
- บางครั้งอาจจะเคร่งครัดกับคนรอบข้าง
ENTJ - The Executive "ผู้บริหาร"
- เป็นผู้นำตั้งแต่เกิด, พูดต่อหน้าคนเก่ง, ฉลาด, มีความรู้
- เห็นความสำคัญในความรู้ และ ความสามารถ, ไม่มีความอดทนกับคนทำงานไม่เก่ง
- แก้ปัญหาเก่ง, สามารถเข้าใจปัญหาซับซ้อน
- เจ้ากี้เจ้าการ, ไม่มีความอดทน, เด็ดขาด, น่าเกรงขาม
------
การตัดสินใจ (Decision Making)
ความหมายของการตัดสินใจ
การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึงกระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือประเมินอย่างดีแล้วว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ และเกี่ยวข้องกับ หน้าที่การบริหาร หรือการจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม การตัดสินใจได้มีการศึกษามานาน
ความหมายของการตัดสินใจ นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันดังนี้
บาร์นาร์ด (Barnard, 1938) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า คือ "เทคนิคในการที่จะพิจารณาทางเลือกต่างๆ ให้เหลือทางเลือกเดียว"
ไซมอน (Simon) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจ เป็นกระบวนการของการหาโอกาสที่จะตัดสินใจ การหาทางเลือกที่พอเป็นไปได้ และทางเลือกจากงานต่าง ๆ ที่มีอยู่
มูดี (Moody) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจเป็นการกระทำที่ต้องทำเมื่อไม่มีเวลาที่จะหาข้อเท็จจริงอีกต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อใดถึงจะตัดสินใจว่าควรหยุดหาข้อเท็จจริง แนวทางแก้ไขจะเปลี่ยนแปลงไปตามปัญหาที่ต้องการแก้ไข ซึ่งการรวบรวมข้อเท็จจริง เกี่ยวพันกับการใช้จ่ายและการใช้เวลา
กิบสันและอิวาน เซวิช (Gibson and Ivancevich) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า เป็นกระบวนการสำคัญขององค์การ ที่ผู้บริหารจะต้อง กระทำอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร (information) ซึ่ง ได้รับมาจากโครงสร้างองค์การ พฤติกรรมบุคคล และกลุ่มในองค์การ
โจนส์ (Jones) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจองค์การว่าเป็นกระบวนการ ที่จะแก้ไขปัญหาขององค์กร โดยการค้นหาทางเลือก และเลือกทางเลือกหรือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การที่ได้กำหนดไว้
จากคำนิยามข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า มีมุมมองของนักวิชาการที่แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดแต่ประเด็นหลักที่มองเหมือนกันคือ
1.การตัดสินใจเป็นกระบวนการ (process) นั่นหมายความว่าการตัดสินใจต้องผ่านกระบวนการคิด พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์แล้ว ค่อยตัดสินใจเลือก ทางที่ดีที่สุด มีหลายท่านคิดว่าการตัดสินใจไม่มีขั้นตอนอะไรมากคิดแล้วทำเลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการคิดก็ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (search) การออกแบบ (design) และการเลือก (choice) เพื่อให้สามารถเลือกทางเลือกได้ดีที่สุด
2.การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับทางเลือก (solution) การตัดสินใจเป็นการพยายามสร้างทางเลือกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทางเลือกที่น้อยอาจปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือทางเลือกที่ดีกว่าได้ ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมีการฝึกฝนการสร้างทางเลือกที่มากขึ้น หลากหลายด้วยวิธีการคิดแบบริเริ่ม (initiative) และคิดแบบสร้างสรรค์ (creative thinking)
3. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับโครงสร้างขององค์การ จะเห็นว่าผู้บริหารในแต่ละระดับชั้นก็มีหน้าที่ในการตัดสินใจต่างกัน กล่าวคือ ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางที่ถูกต้องเพื่อใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่กำหนดไว้ ผู้บริหารระดับกลางจะตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (management decision) เป็นการตัดสินใจเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารระดับต้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ (Operational decision) เป็นการตัดสินใจดำเนินการควบคุมงานให้สำเร็จตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้
4. การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมคน จะเห็นว่าการตัดสินใจเกี่ยวข้องตั้งแต่คนเดียว กลุ่มและทั้งองค์การ ซึ่งพฤติกรรมคนแต่ละคนก็แตกต่างกัน ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความเข้าใจและมีจิตวิทยาเกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่ม และองค์การที่ดีพอจึงจะทำให้การตัดสินใจประสบผลสำเร็จได้
ดังนั้นกล่าวได้ว่า การตัดสินใจ คือ ผลสรุปหรือผลขั้นสุดท้ายของกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อเลือกแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ทรัพยากร และบุคคล สามารถนำไปปฏิบัติและทำให้งานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ
การตัดสินใจ เป็นส่วนหนึ่งของบทบาทของผู้บริหารที่เกิดจากตำแหน่งและอำนาจที่เป็นทางการ คือบทบาทการเป็นผู้ประกอบการ(Enterpreneur) บทบาทผู้จัดการสถานการณ์ที่เป็นปัญหา(Disturbance Handler) บทบาทผู้จัดทรัพยาการ(Resource Allocator) และบทบาทผู้เจรจาต่อรอง(Negotiator)