การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ - การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของไทย


806 ผู้ชม


การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของไทยในภูมิเอเชีย

1. องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC)

เกิด จากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศในประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 12 ประเทศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2532 สมาชิกก่อตั้ง คือ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และไทย ประเทศที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกในเวลาต่อมาคือ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เม็กซิโก ปาปัวนิวกีนี และชิลี ล่าสุด คือเปรู สหพันธ์รัฐรัสเซีย และเวียดนาม เอเปคจึงมีสมาชิกทั้งสิ้น 21 ประเทศเป็นองค์การทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก
วัตถุประสงค์สำคัญ ของเอเปคเพื่อให้เป็นเวทีปรึกษาหารือกันในด้านการส่งเสริม และลดอุปสรรคทางด้านการค้าและการลงทุน การร่วมมือในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก การถ่ายทอดเทคโนโลยี ฯลฯ เอเปคมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
2. สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน(Association of Southeast Asian Nations : ASEAN)
ก่อ ตั้งเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยลงนามกันที่กรุงเทพฯ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของ 5 ประเทศ คือไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดสมาคมนี้ คือประเทศไทย ปัจจุบันสมาคมอาเซียนมีสมาชิก 10 ประเทศโดยรับบรูไนเข้าเป็นสมาชิกเมื่อพ.ศ.2527  เวียดนามในพ.ศ.2538 ลาวและพม่าในพ.ศ.2540 และกัมพูชาในพ.ศ. 2541 ก่อนตั้งกลุ่มอาเซียนประเทศไทย ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เคยร่วมกันก่อตั้งสมาคมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาสา (Association of South East Asia : ASA) เมื่อพ.ศ. 2504 แต่เกิดความขัดแย้ง ต่อมาประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ก่อตั้งกลุ่มประเทศมาฟิลินโด (Maphilindo) ขึ้นแต่ก็ล้มเลิกไปอีก จนในที่สุด 5 ประเทศได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มอาเซียนสำเร็จ
วัตถุประสงค์สำคัญของ สมาคมอาเซียนคือ เพื่อเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาทางวัฒนธรรมในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่สำคัญได้แก่
1. เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) เป็นความร่วมมือทางการค้าที่เกิดขึ้นในพ.ศ. 2535 หลักการสำคัญคือ ลดภาษีศุลกากรระหว่างกันเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2536-2544)
2. โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Project : AIP) เป็นโครงการขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในแต่ละประเทศ เพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่อยู่ในความต้องการ ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยตกลงให้อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย ฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และไทยผลิตหินเกลือโซดาแอช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงความตกลง คือ ฟิลิปปินส์ผลิตทองแดงแปรรูป สิงคโปร์ยกเลิกโครงการ ไทยทำเหมืองแร่โพแทชที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ โดยได้รับความเห็นชอบจากอาเซียนพ.ศ.2534 ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิตปุ๋ยยูเรียต่อไป
3. โครงการความร่วมมือทางอุตสาหกรรมของอาเซียนหรือไอโก (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) เป็นโครงการแบ่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแล้วส่งออกไปขายในอาเซียน โดยผู้ผลิตจะต้องเป็นภาคเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัทจากประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ สินค้าในโครงการจะได้รับการลดภาษีอากรเหลือร้อยละ 0-5 ทันที ภาคเอกชนของไทยได้ร่วมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ
4. เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investiment Area : AIA) ตั้งขึ้นพ.ศ. 2533 เพื่อส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน เพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจกรรมด้านการลงทุน ส่งเสริมการไหลเวียนของเงินทุน
3. เขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area: AFTA)
ใน การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมากราคม 2535 ที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน ซึ่งขณะนั้นประกอบด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บูรไนและไทยได้ลงนามในการตกลงที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการค้าสินค้าภายในกลุ่มอาเซียนเป็นไปโดยเสรี เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติสู่ภูมิภาคอาเซียน และเพื่อรองรับสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่จะเสรียิ่งขึ้น
เนื่อง จากสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจการค้าเกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก และกลุ่มประเทศสังคมนิยมเริ่มมีการปรับตัวสู่ระบบเศรษฐกิจเสรี ทำให้การแข่งขันในตลาดโลกทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางด้านการส่งออกและการลงทุนของอาเซียน ประเทศสมาชิกลุ่มอาเซียนจึงได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น โดยมีข้อตกลงจะลดอัตราภาษีศุลกากรภายในกลุ่มประเทศอาเซียนให้อยู่ในระดับ ร้อยละ 0-5 ภายใน 15 ปีโดยเริ่มจากวันที่ 1 มกราคม 2536 ต่อมาได้ย่นระยะเวลาลงเหลือ 10 ปีโดยให้สิ้นสุดการลดภาษีในพ.ศ.2546 ยกเว้นสมาชิกใหม่ของอาเซียนได้รับการผ่อนผันขยายเวลาออกไป
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
1. เพิ่มอำนาจต่อรอง การรวมกลุ่มเป็นอันเหนึ่งอันเดียวกันย่อมเป็นการเพิ่มพลังทางเศรษฐกิจของ ประเทศสมาชิก และเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศคู่ค้าในอันที่จะติดต่อค้าขายให้เป็นประโยชน์ แก่ประเทศสมาชิก
2. เพิ่มปริมาณการค้า การที่ประเทศสมาชิกของกลุ่มผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทางการค้า การลดกำแพงภาษีและด้านการตลาดให้แก่กันและกัน ย่อมเป็นการส่งเสริมให้ปริมาณการค้าของประเทศสมาชิกขยายตัว
3. เพิ่มการผลิตสินค้าเฉพาะอย่าง การตกลงให้ประเทศสมาชิกทำการผลิตสินค้าเฉพาะอย่างที่ตนถนัดและมีทรัพยากรที่ เหมาะสม จะช่วยให้มีต้นทุนต่ำผู้ผลิตมีกำไรดีขึ้นจากการผลิตปริมาณมากอย่างมี ประสิทธิภาพ
4. เพิ่มขนาดของตลาด การลดเงื่อนไขทางการค้าและการลดหย่อนภาษีให้แก่ประเทศสมาชิกในกลุ่มและ นอกกลุ่ม ช่วยให้ประเทศต่าง ๆมีตลาดที่จะส่งสินค้าออกไปขายได้กว้างขวางมากขึ้น เช่น กลุ่มอาเซียนและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจประกาศลดหรือยกเลิกภาษีสำหรับสินค้านำ เข้าจากประเทศสมาชิกในกลุ่มและนอกกลุ่มบางประเทศ ทำให้สินค้าเกษตรของไทยมีตลาดกว้างขวางมากขึ้น