การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของโลก - การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจโลก


8,511 ผู้ชม


การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

18 ส.ค.

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

องค์การสหประชาชาติ

ความร่วมมือระหว่างประเทศเริ่มตั้งแต่สมัยการประชุมแห่งเวียนนา (Congress of  Vienna)  เพื่อยุติสงครามนโปเลียน  จากนั้นก็ได้มีการพัฒนามาเป็นระยะ ๆ  จนก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้นมาคือ  องค์การสันนิบาตชาติ  (League  of  Nations)  ที่กำเนิดขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่  1  และองค์การสหประชาชาติ  (The  United  Nations)  เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่  2  จากนั้นก็มีการก่อตั้งองค์การต่าง ๆ  อีกหลายองค์การ

องค์การระหว่างประเทศ  คือ  หน่วยงานที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป  ทั้งทางด้านสังคม  เศรษฐกิจ  และการเมือง  บางองค์การก็เป็นความร่วมมือในระดับสากลหรือระดับโลก บางองค์การก็เป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาค  เช่น องค์การสหประชาชาติ  องค์การค้าโลก  องค์การนาโต้  สหภาพยุโรป องค์การโอเปคและองค์การอาเซียน  เป็นต้น

1. องค์การสหประชาชาติ  (The  United  Nations  :  UN)

ใน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่  2   สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ร่วมกันประกาศแถลงการณ์ที่เรียกว่า  กฎบัตร แอตแลนติค  (The  Atlantic  Chater)  เมื่อ  ค.ศ.1941  เพื่อเป็นหลักการสร้างสันติภาพให้แก่มวลมนุษยชาติ   และเพื่อยุติการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่  2  บรรดาประเทศสมาชิกได้ร่วมกันลงนาม  และร่วมมือกันดำเนินความพยายามที่จะสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง   ภายหลังประเทศสมาชิกจึงได้จัดประชุมตามมาอีกหลายครั้งเช่น  การประชุมที่กรุงวอชิงตัน  ดี. ซี.  ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยที่ประชุมกำหนดให้มีการตั้งองค์การของโลกขึ้นมาใหม่ แทนองค์การสันนิบาตชาติ  ต่อมาผู้แทนของ
ประเทศต่าง ๆ  51 ประเทศ ได้ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติและประกาศจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ  เมื่อวันที่  24  ตุลาคม  ค.ศ.  1945

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/index3.html

องค์การทางสังคมระหว่างประเทศ  หมายถึง  หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทาง เศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรมและมนุษยธรรม  อีกทั้งก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทางสังคม  และเศรษฐกิจของประชาชาติทั้งปวง

1.สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
(United Nations High Commissioner  for  Refugees  :  UNHCR )

โดยทั่วไปปัญหาผู้ลี้ภัยนั้นเกิดจากสงคราม  การปฏิวัติ  และภัยธรรมชาติ นอกจากนี้มีบุคคลบางจำพวกที่หวาดกลัวว่าตนเองจะถูกข่มเหง รังแก หรือถูกจำกัดด้วยเหตุผลความแตกต่างทางเชื้อชาติ  ศาสนา  หรือความคิดเห็นทางการเมืองจนไม่อาจยอมรับสภาพความเป็นอยู่บางอย่างได้จึง ได้เดินทางอพยพจากดินแดนประเทศของตนไปยังดินแดนประเทศอื่น  บุคคลเหล่านี้เรียกว่า “ผู้ลี้ภัย” ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติต้องให้ความคุ้มครองแก่ ผู้ลี้ภัย  และให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย
บทบาทและการดำเนินงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ  ในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยนั้น  มีจุดประสงค์ให้ผู้ลี้ภัยได้มีที่อยู่อาศัยอย่างถาวรได้รับสิทธิอยู่อาศัยใน ฐานะเป็นคนต่างด้าว เพราะเหตุที่พวกเขาไม่ได้รับความคุ้มครองจากตัวแทนรัฐบาลของประเทศตน ได้รับฐานะและสิทธิใกล้เคียงกับพลเมืองของประเทศที่ตนเข้าไปพักอาศัยโดย เฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในฐานะพลเมือง  สิทธิด้านเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  เป็นต้นสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ มีหลักการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยโดยทางตรงและทางอ้อม

โดยทางตรง  เป็นการให้ความช่วยเหลือป้องกัน  บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในกรณีการขอลี้ภัยไม่ให้ถูกขับไล่ หรือจากการถูกผลักดันโดยไม่สมัครใจให้กลับไปยังประเทศที่ตนได้หลบหนีออกมา  เป็นต้น   นอกจากนั้นยังรวมถึงการออกเอกสารบัตรประจำตัวและเอกสารหนังสือเดินทางให้ แก่ผู้ลี้ภัยด้วย
โดยทางอ้อม  เป็นการให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงข้อบังคับ  และกฎหมายอันเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยของประเทศต่างๆ ให้ได้มาตรฐานอันจะส่งผลให้ประเทศนั้น ๆ ยอมรับและเข้าเป็นคู่สัญญาตามข้อตกลงทางกฎหมายระหว่างประเทศมีการจัดตั้ง สำนักงานตามภูมิภาคต่าง ๆ  ทั้งในเอเชีย  ยุโรป  ลาตินอเมริกา  สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง  มากกว่า  50  ประเทศทั่วโลก

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/unhcr.html

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(International Labour Organization :  ILO)

เป็นทบวงชำนัญพิเศษหน่วยงานแรกขององค์การสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นในปี  ค.ศ.  1946  สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่  กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก  145  ประเทศ มีบทบาทและการดำเนินงานดังนี้  เพื่อวางมาตรฐานด้านแรงงานระหว่างประเทศ เป็นมาตรฐานทางด้านสิทธิมนุษยชน  เช่น  ความปลอดภัยในการทำงานค่าแรงที่ยุติธรรมและสภาพการทำงานที่เหมาะสม  เป็นต้น  ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิควิทยาการ  ได้แก่ ความช่วยเหลือในการยกร่างกฎหมายแรงงานภายในประเทศสมาชิกให้คำแนะนำในการ บริหารด้านแรงงานและให้ความช่วยเหลือทางเทคนิควิทยาการในการปรับปรุงสภาพ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิกและช่วยเหลือทางด้านการศึกษาและฝึกอบรมจัด ตั้งสำนักงานจัดหางานทั้งระดับชาติและระดับภูมิภาคให้การฝึกอบรมทางวิชาชีพ  และจัดตั้งศูนย์กลางการฝึกอาชีพชั้นสูงที่ เมืองตูริน ประเทศอิตาลี  รวมถึงให้ความร่วมมือทางด้านการวิจัยและข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งมีหลายหน่วยงาน  ได้แก่ สำนักงานข้อมูลข่าวสารและหอสมุดกลางหน่วยงานกลางในการวางแผนและการวิจัย ศูนย์สารนิเทศระหว่างประเทศเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน สำนักงานบรรณาธิการสิ่งพิมพ์และการแปลและสำนักงานสารนิเทศขององค์การ  ณ  กรุงเจนีวา  หน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้จะแปลและเผยแพร่มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศทั้งในรูปของอนุสัญญาและ ข้อเสนอแนะเผยแพร่ข่าวสารความเป็นไปทาง
ด้านแรงงานขององค์การและประเทศสมาชิกในรูปของเอกสารและสื่อต่างๆ
ILO  ได้ดำเนินกิจกรรมและบทบาทสำคัญเกี่ยวกับสิทธิขั้นมูลฐานของผู้ใช้แรงงาน  รวมทั้งบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมในการดำเนินงาน ของ  ILO ได้ประสบปัญหาในการดำเนินงานอันเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากลักษณะโครงสร้าง ขององค์การ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบไตรภาคี ทำให้ภาครัฐสามารถครอบงำผู้แทนฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง โดยกลุ่มประเทศโลกที่สาม  และกลุ่มสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มีเสียงข้างมากในองค์การ ทำให้กลุ่มประเทศตะวันตกและสหรัฐอเมริกาไม่พอใจรวมทั้งความยากลำบากในการ กำหนดมาตรฐานทางด้านแรงงานอันเป็นผลมาจากระดับการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาและการขาดอำนาจบังคับของ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/ilo.html

องค์การอนามัยโลก
(World  Health  Organization  :  WHO)

เป็น ทบวงชำนัญพิเศษที่จัดตั้งขึ้นในปี  ค.ศ.  1948  เพื่อเป็นองค์กรหลักในการดำเนินงานด้านอนามัย โดยการเสนอของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม  สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่  กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 151 ประเทศมีบทบาทและการดำเนินงานต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค ระบาดที่ติดต่อกันได้ เช่น โรคมาลาเรียวัณโรค  โรคเรื้อน  กามโรค  เป็นต้นด้านการสาธารณสุขให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกในด้านการสาธารณสุข พัฒนากิจการของโรงพยาบาลในประเทศต่าง ๆโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยที่พิการ การรณรงค์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอนามัยในการประกอบอาชีพและการกำหนดมาตรฐานยา และเวชภัณฑ์ให้การศึกษา ฝึกอบรม และเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยโดยให้การศึกษาและฝึกอบรมแก่บุคลากรทาง ด้านสาธาร-ณสุขให้กับประเทศสมาชิกให้ได้เรียนรู้ถึงเทคนิควิทยาการใหม่ๆ ทางการแพทย์และสาธาร-ณสุขเผยแพร่งานวิจัยและข้อมูลข่าวสาร ความรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพอนามัยให้กับประเทศสมาชิกด้วย

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/who.html

องค์การอาหารและเกษตร

เป็นทบวงชำนัญพิเศษที่จัดตั้งขึ้นในปี  ค.ศ.  1946 โดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติมีมติรับรองให้เข้าร่วมในองค์การสหประชาชาติ   สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่   กรุงโรม ประเทศอิตาลีปัจจุบันมีสมาชิก 156  ประเทศ มีบทบาทและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหาร  อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรซึ่งมักจะเกิดขึ้นใน ประเทศกำลังพัฒนา โครงการที่ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารที่สำคัญคือ โครงการอาหารโลก  (World  Food  Program) เพื่อระงับปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างฉับพลัน เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตทางด้านอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร นอกจากจะช่วย แก้ปัญหาด้านอาหารแล้วยังให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาชุมชนโดยมีการสร้างโครง สร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กันไป บทบาทในการนำเอาเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ   มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การสนับสนุนงบประมาณการวิจัยและรวบรวมข้อมูลนอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการ สงวนพืชผลและพันธุ์ไม  ้ และกิจกรรมที่ส่งเสริมการปศุสัตว์   เผยแพร่ข้อมูลด้านการประมง  ปรับปรุงวิธีการและเครื่องมือการประมงให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ขึ้น ส่งเสริมการสงวนป่าไม้ การพัฒนาพื้นที่ป่า การอุตสาหกรรมป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากป่า การจัดประชุมระหว่างประเทศสมาชิกและให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิควิทยาการ ในโครงการต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/fao.html

องค์การศึกษา  วิทยาศาสตร์  และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

เป็นทบวงชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นในปี  ค.ศ.  1946 โดย
ได้รับความเห็นชอบจากสมัชชาแห่งสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส  ปัจจุบันมีสมาชิก  161  ประเทศ
UNESCO  จัดตั้งขึ้นเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ  เสริมสร้างสันติสุขและความมั่นคงของโลกโดยอาศัยการศึกษา  วิทยาศาสตร์  วัฒนธรรมและการติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนทั่วโลกเคารพความ ยุติธรรม  กฎหมาย สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพมูลฐานต่างๆตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และมีบทบาทที่สำคัญ ด้านการศึกษาลดอัตราผู้ไม่รู้หนังสือโดยได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์  เกษตรศาสตร์ สมุทรศาสตร์อุตุนิยมวิทยา ธรณีวิทยาคอมพิวเตอร์  และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ด้านวัฒนธรรม ได้แก่การอนุรักษ์มรดกของชาติ  ทั้งงานด้านศิลปะ สถาปัตยกรรมวรรณคดีภาษา หัตถกรรม นิทานพื้นบ้าน ความเชื่อ พิธีกรรม เป็นต้นงานอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมต้องอาศัยความร่วมมือของประชากรทั้งใน และระหว่างประเทศบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกัน โดยยอมรับว่าวัฒนธรรมของแต่ละสังคมมีคุณค่าเท่าเทียมกัน

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/unesco.html

องค์การค้าโลก

องค์การ ค้าโลก  เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากข้อตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือ แกตต์  (General  Agreement  on  Tariffs  and  Trade  :  GATT) เมื่อปี  ค.ศ.  1947 แต่ไม่มีสถานะเป็นสถาบันจนกระทั่งประเทศสมาชิกได้เปิดการประชุมครั้งที่  8  ใน  ค.ศ.  1986 ที่เรียกว่าการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย และผลของการประชุมส่วนหนึ่งคือ  การก่อตั้งองค์การค้าโลกขึ้นในปี  ค.ศ.1995  องค์การนี้สังกัดอยู่ในสมัชชาแห่งสหประชาชาติสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ปัจจุบันมีสมาชิก148  ประเทศ  โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่  59
องค์การค้าโลก  จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดอุปสรรคและหามาตรการลดการกีดกันทาง การค้าต่อกันเพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างประเทศ โดยออกกฎเกณฑ์ที่จะสร้างความเป็นธรรม  โปร่งใส เปิดกว้างไปสู่การค้าเสรีต่อกัน  เพราะการค้าเสรีจะช่วยให้ประชาชาติทั่วโลกสามารถพัฒนาความเจริญได้ทัดเทียม กัน มาตรการเดียวที่สหประชาชาติยังให้ประเทศต่าง ๆ  คงไว้คือ  มาตรการด้านภาษีศุลกากรเท่านั้นเมื่อเกิดองค์การค้าโลกขึ้นมาแล้วบรรยากาศ ทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศดีขึ้นมาก   การกีดกันทางการค้า  การเลือกปฏิบัติ  และการใช้แรงกดดันต่าง ๆ  ลดลงมาก
ผลกระทบต่อประเทศไทยคือ  สินค้าออกของไทยจะได้ราคาสูงขึ้นและถูกกีดกันน้อยลงสามารถขยายตลาดได้มาก ขึ้น  แต่ไทยจะต้องเปิดตลาดบริการในสาขาการเงิน  การคมนาคมขนส่ง ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา  เข้มงวดในเรื่องสิทธิบัตรยา  ลิขสิทธิ์คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์  และสื่อบันเทิงมากขึ้น ต้องยกเลิกมาตรการด้านการลงทุนต่างๆ  เช่น บังคับใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม   บังคับให้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ เป็นต้น   การเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นทำให้องค์การค้าโลกถูกกล่าวหา ว่าควบคุมระบบการค้าของโลกเพื่อผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจที่ร่ำรวย ซึ่งมีอยู่ในราว  20 – 30  ประเทศเท่านั้น  ประเทศร่ำรวยเหล่านี้ได้อาศัยการค้าเสรีแอบดูดดึงวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศ อื่นมากอบกินเป็นความมั่งมีศรีสุขของตน มันเป็นโลกที่ชาติด้อยพัฒนาจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของประเทศร่ำรวย

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/wto.html

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

กอง ทุนการเงินระหว่างประเทศ  เป็นองค์กรหนึ่งในสังกัดองค์การสหประชาชาติ เริ่มดำเนินการในปี  ค.ศ.  1947  มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่  กรุงวอชิงตัน  ดี. ซี.  ประเทศสหรัฐอเมริกา   มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเงินทุน ประเทศสมาชิกจะต้องนำมาฝากไว้เป็นกองทุนสำรอง  เมื่อมีความต้องการใช้เงินก็สามารถถอนเงินออกไปได้การดำเนินงานเช่นนี้เป็น ความร่วมมือกันเพื่อป้องกันปัญหาทางการเงินของประเทศสมาชิกอันเป็นการอำนวย ความสะดวกแก่การขยายและการเจริญเติบโตทางการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะแก่ ประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนัก
การให้ความช่วยเหลือสมาชิกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเงินระหว่าง ประเทศจะกระทำโดยผ่านการประชุมพิจารณาและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันนอก จากนี้กองทุนยังให้ความช่วยเหลือในด้านระบบการเงินและขจัดอุปสรรคทางด้าน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ อีกทั้งเป็นแหล่งเงินทุน (เงินกู้)  ชั่วคราวให้แก่ประเทศสมาชิกที่ขาดดุลการชำระเงินอย่างรุนแรงอีกด้วย  ปัจจุบันมีสมาชิก  184  ประเทศ

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/imf.html

ธนาคารโลก

ธนาคารโลก  หรือ  ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ  (International  Bank  for  Reconstruction  and  Development  :  IBRD)  ตั้งขึ้นในปี  ค.ศ.1946 ในสังกัดองค์การสหประชาชาติ  สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่  กรุงวอชิงตัน  ดี. ซี.  ประเทศสหรัฐอเมริกา  มีสมาชิก 135ประเทศ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม โลกครั้งที่  2 โดยให้สมาชิกกู้ยืมไปเพื่อพัฒนาและบูรณะประเทศ  ต่อมาได้้้ขยายขอบเขตของการบริการออกไปเป็นการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการ พัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนาตามลักษณะกิจการที่จะลงทุนอันจะทำ ให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเหล่านั้นดีขึ้นนอกจากนี้ธนาคารโลก ได้วางกฎเกณฑ์การแบ่งสรรค์เงินกู้ตามสภาพภูมิศาสตร์ ตามลักษณะกิจการที่จะลงทุนและตามความจำเป็นของโครงการในแต่ละปีเป็นการ กระจายการบริการเพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลประเทศสมาชิกนอกจากนี้ยังช่วยเหลือ สมาชิกด้วยการแนะนำและให้บริการความรู้เกี่ยวกับการวางแผนลงทุนและบริหารการ เงินเพื่อให้การลงทุนได้ผลเต็มที่
เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิกและเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก ซึ่งทุกประเทศที่เป็นสมาชิกจะต้องถือหุ้นของธนาคารมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ ฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ มูลค่าหุ้นละ 10,000  เหรียญสหรัฐฯ ประเทศที่ถือหุ้นมากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา  ประมาณร้อยละ  25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด  สำหรับประเทศไทยถือหุ้นประมาณ  115  ล้านเหรียญสหรัฐฯ  หรือร้อยละ  0.45 ของหุ้นทั้งหมด

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/ibrd.html

สหภาพยุโรป

สหภาพ ยุโรป  พัฒนามาจากประชาคมเศรษฐกิจยุโรป  (European  Economic Community  :  EEC)  ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เยอรมนี  อิตาลี เบลเยี่ยม         เนเธอร์แลนด์  ลักเซมเบิร์ก  อังกฤษ  ไอร์แลนด์ เดนมาร์ก  โปรตุเกส  สเปน  กรีซ  ออสเตรีย  สวีเดน  และฟินแลนด์
วัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มสหภาพยุโรป  เป็นการรวมกันในลักษณะตลาดร่วมลดกำแพงภาษีสินค้าระหว่างกันการเคลื่อนย้าย แรงงานเป็นไปอย่างเสรีโดยใช้อัตราเดียวกันในด้านการขนส่ง  ทุน  บริการ ค่าจ้าง  เงินเดือนเป็นต้น  องค์การนี้มีความร่วมมือกันมากขึ้นเรื่อย ๆโดยจะพัฒนาความร่วมมือกันในทางการเมือง  การต่างประเทศ ความมั่นคง และเศรษฐกิจ คล้ายกับเป็นประเทศเดียวกัน  และใช้เงินตราสกุลเดียวกันคือ  เงินยูโร  (EURO) โดยจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป(European  Central Bank  :  ECB) ซึ่งมีหน้าที่ออกเงินตราสกุลยูโรขึ้นใช้  โดยกำหนดค่าเงิน 1 ยูโร  มีค่าเท่ากับ  1.5 เหรียญสหรัฐฯ
แนวโน้มดังกล่าวทำให้สหภาพยุโรปสามรถเปิดระบบการค้าเสรีระหว่างกันได้อย่าง เป็นรูปธรรมพร้อมรับมือกับการแข่งขันในเวทีโลกมากยิ่งขึ้นเพราะสหภาพยุโรปจะ กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สำหรับประเทศไทยนั้นสหภาพยุโรปเป็นตลาดใหญ่ที่รองรับสินค้าเกษตรและ อุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สิ่งทอ  อัญมณี   และอาหาร  เป็นต้น โดยไทยส่งออกไปสหภาพยุโรปประมาณร้อยละ  15.9  ของมูลค่าการส่งออกในปี  ค.ศ.  1996 ใน ค.ศ. 2004 มีการรับประเทศยุโรปตะวันออก 10 ประเทศเป็นสมาชิก (รวมเป็น 25 ประเทศ) มีโปแลนด์ เอสโทเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย เชคสโลวะเกีย ฮังการี สโลวีเนีย มอลต้าและไซปรัส ประชากรรวมของ EU 450 ล้านคน

ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือหรือนาฟต้า

นาฟต้าจัดตั้งขึ้นในปี   ค.ศ.1992  ปัจจุบันมีสมาชิก  4  ประเทศคือ  สหรัฐอเมริกา   แคนาดา    เม็กซิโก   และชิลี  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าและบริการระหว่างประเทศสมาชิกยก เลิกภาษีศุลกากร  ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม ขยายโอกาสการลงทุน คุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา  และแก้ไขข้อพิพาททางการค้าในอนาคตนาฟต้าจะเป็นเขตการค้าที่ใหญ่มากมีจำนวน ประชากรและมูลค่าของสินค้าที่ผลิตได้มากกว่ากลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีข้อได้เปรียบที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำและวัตถุดิบราคาถูกจาก เม็กซิโกมีเงินทุนและเทคโนโลยีระดับสูงจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดาปัจจุบันมี นักลงทุนชาวอเมริกันและแคนาดาเข้าไปตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในเม็กซิโกเป็น จำนวนมาก  ทำให้ผลผลิตของนาฟต้าแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นาฟต้าเป็นตลาดสำคัญของไทยอีกแห่งหนึ่ง  โดยในปี ค.ศ. 1996 ไทยส่งออกสินค้าไปขายนาฟต้าประมาณร้อยละ 19.2  ของมูลค่าสินค้าส่งออกรวม เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป  เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า  อาหารทะเลกระป๋อง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง  อัญมณีและเครื่องประดับ  เป็นต้น

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/nafta.html

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หรือ  อาเซียน

สมาคม อาเซียนก่อตั้งขึ้นในปี   ค.ศ.   1967   โดยสมาชิกเริ่มแรก  5 ประเทศคือ อินโดนีเซีย  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์และไทยโดยมีสำนักงานเลขาธิการอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศ อินโดนีเซีย  ต่อมาบรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอันดับที่ 6 โดยมีเวียดนาม  ลาว  พม่า  และกัมพูชา  เข้าเป็นสมาชิกตามลำดับรวม  10  ประเทศวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมอาเซียนเพื่อความร่วมมือกันพัฒนาเฉพาะ ด้านเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒน-ธรรมเท่านั้น  โดยไม่มีความร่วมมือทางการทหาร ต่อมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในภูมิภาคนี้ คือสหรัฐอเมริกาได้ประกาศหลักการนิกสันใน ค.ศ. 1969 โดยการถอนทหารออก จากเวียดนามใต้      ส่งผลให้องค์การซีโต   (SEATO)  ล้มเลิกไปองค์การอาเซียนจึงรัหน้าที่ในความร่วมมือทางการเมืองเข้ามาเกี่ยว ข้องด้วย

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/asean.html

เขตการค้าเสรีอาเซียน  หรือ  อาฟต้า

อาฟต้า ก่อตั้งขึ้นในปี  ค.ศ.  1992 ตามคำเสนอแนะของนายอานันท์  ปันยารชุน  อดีตนายกรัฐมนตรี ของไทย โดยให้เหตุผลว่าอาเซียนควรจะรวมกลุ่มกันให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้เพราะความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่ผ่านมาดำเนินไปอย่างเชื่อง ช้ามากเกินไป การจัดตั้งเขตการค้าเสรีจะสามารถเปิดโอกาสให้สินค้าจากประเทศสมาชิกได้ค้า ขายกันโดยไม่เสียภาษีศุลกากรหรือไม่มีมาตรการ กีดกันทางการค้าต่อกัน  โดยจะทำการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนให้สำเร็จภายใน 15 ปี จะยกเลิกพิกัดภาษีศุลกากรในด้านอุตสาหกรรมก่อน  เช่น  สิ่งทอ อาหาร
แปรรูป ยานยนต์  เป็นต้น สำหรับสินค้าเกษตรกรรมจะพิจารณาเป็นลำดับท้ายๆ เพราะกลุ่มอาเซียนมีสินค้าเหล่านี้คล้ายคลึงกัน
การดำเนินการร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนตามที่กล่าวจะช่วยดึงดูดการลงทุน จากต่างประเทศ เพราะการที่กลุ่มอาเซียนลดอุปสรรคทางการค้าต่อกันในลักษณะต่างๆ จะทำให้เกิดตลาดที่กว้างขวางขึ้นเหมาะสมต่อการลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม ประชาชนในประเทศสมาชิกจะได้ซื้อสินค้าในราคาถูก เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกจะขยายตัวและเจริญก้าวหน้านอก จากนี้การตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนยังจะทำให้กลุ่มอาเซียนแข็งแกร่งทาง เศรษฐกิจเพื่อแข่งขันกับกลุ่มการค้าอื่น ๆ เช่น  NAFTA,  EAEG   (The  East  Asian  Economic  Group ประกอบด้วย ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  ไต้หวัน  ฮ่องกง)

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/afta.html

กลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก

หรือ เอเปค (Asia – Pacific  Economic  Co – operation  : APEC)

เอ เปคก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1987  โดยสมาชิก 12 ประเทศซึ่งประกอบด้วย อาเซียน 6  ประเทศแรก (บรูไน  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย)และประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญได้แก่  สหรัฐอเมริกา   แคนาดา  ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้  ต่อมามีประเทศเข้าร่วมอีกคือ  สาธารณรัฐประชาชนจีน  ฮ่องกง  ไต้หวัน เม็กซิโก  ปาปัวนิวกินี  |ชิลี  เวียดนาม  เปรู  และรัสเซีย  ปัจจุบันมีสมาชิกรวม  21 ประเทศวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์การเอเปค เพื่อให้มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก  โดยกำหนดเป้าหมายให้ประเทศอุตสาหกรรมเปิดเสรีภายในปี ค.ศ. 2010 และประเทศกำลังพัฒนาให้เปิดเสรีภายในปี ค.ศ.2020 ซึ่งหมายถึงทุกประเทศที่เป็นสมาชิกจะต้องกำจัดระบบกีดกันทางการค้าให้หมดไป ในอนาคต

https://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?action=post;topic=830.0;num_replies=12

องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันดิบเป็นสินค้าออก  หรือ  โอเปค

องค์ การโอเปคจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1960 โดยประเทศที่เป็นเจ้าของแหล่งน้ำมัน 5 ประเทศ ได้แก่ เวเนซูเอลา อิรัก อิหร่าน คูเวตและซาอุดิอาระเบีย  ต่อมาสมาชิกได้เพิ่มขึ้นเป็น  13 ประเทศ   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการลดและขจัดอิทธิพลของบรรษัทข้ามชาติที่เข้า มาลงทุนขุดเจาะน้ำมันดิบในประเทศเหล่านี้ด้วยราคาถูกและไม่ยุติธรรมจัดการ ควบคุมปริมาณการขุดเจาะน้ำมันของแต่ละประเทศ  กำหนดราคาน้ำมันกันเองรวมทั้งเคยใช้น้ำมันเป็นเครื่องมือทางการเมืองด้วย การควบคุมปริมาณการผลิต  (Quota)  ของประเทศสมาชิก  ทำให้ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกมีจำนวนไม่มากเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อราคาน้ำมันที่จะพุ่งสูงขึ้น และยังจะช่วยสงวนน้ำมันให้มีในประเทศได้นานวันมากยิ่งขึ้นด้วย
แต่จากมาตรการดังกล่าว  สมาชิกบางประเทศไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้  เพราะยังมีความต้องการเงินตราเข้าประเทศเพื่อการพัฒนาจึงเกิดการลักลอบขุด เจาะน้ำมันเกินโควต้า  ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลง   สมาชิกเกิดโต้เถียงขัดแย้งกันจนบางประเทศประกาศลาออกจากองค์การโอเปค  เช่น กาบองและเวเนซูเอลาสมาชิกในปัจจุบันประกอบด้วยซาอุดิอาระเบีย  สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์    แอลจิเรีย   เอกวาดอร์   อิหร่าน   อิรัก   คูเวต ลิเบีย   ไนจีเรีย   การ์ตา   และอินโดนีเซีย กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันนี้มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบอย่างมหาศาล เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจของทุกประเทศล้วนแต่ต้องใช้น้ำมันเป็นพลังงานทั้งสิ้น
สำหรับประเทศไทยนำเข้าน้ำมันในปริมาณที่สูง  ในปี  ค.ศ.1999 เมื่อกลุ่มโอเปคประชุมจำกัดโควตาการขุดเจาะน้ำมันได้สำเร็จทำให้ราคาน้ำมัน สูงขึ้นมาก ประเทศไทยต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายขึ้นอีก ในปี ค. ศ. 2000 โอเปคสามารถควบคุมปริมาณการขุดเจาะน้ำมันลงมาได้ในอัตราวันละ  22.97  ล้านบาร์เรล   ( 1  บาร์เรล  =  158.98 ลิตร) ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก แม้ประเทศนอกกลุ่มโอเปคจะมีปริมาณการขุดเจาะอีกวันละ 2.1 ล้านบาร์เรลก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก นับตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงถึงบาร์เรลละ  34  เหรียญสหรัฐ คือสูงขึ้นกว่าปกติถึง 3 เท่าประเทศไทยและคนไทยได้รับผลกระทบกระเทือนกันทั่วหน้าคนไทยเริ่มใช้ มาตรการประหยัดการใช้น้ำมันร่วมกับประเทศอื่นทั่วโลก เพราะมีผู้คาดการณ์เอาไว้อีกประมาณ 30 – 40  ปีข้างหน้านั้น น้ำมันของกลุ่มโอเปคจะหมดไป สถานการณ์ใน ค.ศ. 2006 ราคาน้ำมันขยับสูงขึ้นเกิน 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลราคาน้ำมันในประเทศและทั่วโลกได้กลายเป็นปัจจัยลบต่อ เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/opec.html

กลุ่มชาติอุตสาหกรรมทั้งเจ็ด       (Group  of   Seven   :  G 7)

G 7  เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7  ชาติคือสหรัฐอเมริกา    อังกฤษ  ฝรั่งเศส   เยอรมนี   อิตาลี  แคนาดา  และญี่ปุ่นโดยรวมกลุ่มขึ้นในปี ค.ศ.1975 และจัดประชุมกันทุกๆ ปี วัตถุประสงค์สำคัญคือมุ่งสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สมาชิกคุ้มครองสภาพแวดล้อมธรรมชาติ  ส่งเสริมการค้าเสรีและให้ความร่วมมือประเทศยากจนตลอดจนการร่วมมือกันจัด ระเบียบโลกและร่วมแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงของโลกนอกจากนี้ยังเน้น นโยบายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและจัดระเบียบของโลก เช่น จัดสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศนอกจากนี้ยังพิจารณาถึงปัญหาทางการเมือง ของโลกอยู่เสมอ เช่น การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่อดีตประเทศ
สหภาพ โซเวียตปัญหาผู้ก่อการร้ายในประเทศต่าง ๆ เป็นต้น  ปัจจุบันกลุ่ม  G7 ได้เชิญประเทศรัสเซียเข้าร่วมประชุมผู้นำของ G7 เพื่อรับความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจเป็นประจำทุกปี จึงมีผู้เรียกการประชุมนี้ว่า การประชุม  G 8

https://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/g7.html 

                  IMF      กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ International Monetary Fund (IMF) คือองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เพื่อดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2489 (ค.ศ. 1946) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ

บทบาท หน้าที่

สนับ สนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศผ่านสถาบันถาวร ซึ่งเป็นเวทีการหารือและร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการเงินระหว่างประเทศ สนับสนุนให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่าง สมดุล เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และป้องกันการแข่งขันกันลดค่าเงิน (competitive devaluation) เพื่อ ชิงการได้เปรียบทางการค้า ดูแลให้ประเทศสมาชิกมีระบบการชำระเงินระหว่างประเทศที่มีระเบียบ โดยหลีกเลี่ยงการมีข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการปริวรรตเงินตรา หรือการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้นำไปสู่ระบบเสรี ฯลฯ

แหล่งเงินทุน
เงินทุนของ IMF ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิก นอกจากนั้น ยังได้จากการกู้ยืมจากรัฐบาลของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 11 ประเทศ (G-10) นอกจากนี้ ยังสามารถกู้เงินจากรัฐบาลหรือองค์กรทางการเงินของประเทศสมาชิกเพื่อโครงการ เงินกู้เฉพาะการ (specific programs) ซึ่งเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสมาชิก
SDR — Special Drawing Rights คือ สิทธิพิเศษถอนเงินเป็นสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศที่สร้างขึ้นโดย IMF เมื่อปี 2517 ปัจจุบัน SDR 1 หน่วย มีมูลค่าประมาณ 1.3 ดอลลาร์ สรอ.

สมาชิกไอเอ็มเอฟ
สมาชิก ภาพ ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ในปัจจุบันกองทุนการเงินฯ มีสมาชิก 182 ประเทศ สมาชิกล่าสุดคือ ประเทศ Palau
ส่วน หุ้น หรือจำนวนโควตาของประเทศสมาชิกกำหนดจากขนาดของเศรษฐกิจ เงินสำรอง รวมทั้งฐานะและความผันผวนทางดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศนั้น ๆ ปัจจุบันประเทศที่ถือโควตามากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีโควตาร้อยละ 17.68 ของโควตาทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ญี่ปุ่นร้อยละ 6.33 เยอรมนี ร้อยละ 6.19 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรร้อยละ 5.11 ขณะที่ คะแนนเสียง สมาชิกแต่ละประเทศจะได้รับคะแนนเสียงเบื้องต้นเท่ากัน จำนวน 250 คะแนน บวกด้วยคะแนนเสียงที่คิดตามสัดส่วนของโควตาของแต่ละประเทศนั้น ๆ ในอัตรา 1 คะแนน ต่อโควตา 100,000 SDR
ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีคะแนนเสียงสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 17.35 ของคะแนนเสียงทั้งสิ้น รองลงมาคือ ญี่ปุ่นร้อยละ 6.23 เยอรมนีร้อยละ 6.08 ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ร้อยละ 5.02

IMF กับประเทศไทย

ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิก IMF เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2492 เป็นสมาชิกลำดับที่ 44 โดยมีโควตาปัจจุบันเท่ากับ 1,081.9 ล้าน SDR คะแนนเสียง 11,069 คะแนน หรือเทียบเท่ากับร้อยละ 0.52 ของคะแนนเสียงทั้งสิ้น นับตั้งแต่เป็นสมาชิก IMF ประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ตามโครงการเงินกู้ Stand-by รวม 5 ครั้งด้วยกันในวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR โดยเข้าโครงการ Stand-by ครั้งแรกเมื่อปี 2521 จำนวนเงิน 45.25 ล้าน SDR ต่อมาในช่วงที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2524 -2529 ประเทศไทยได้เข้าโครงการ Stand-by 3 ครั้ง รับจำนวนเงินทั้งหมด 1,486 ล้าน SDR และล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2540 ไทยได้รับความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,900 ล้าน SDR

ประโยชน์จากการได้รับความช่วยเหลือจาก IMF

ด้าน วิชาการ คือการได้รับคำแนะนำด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงิน เพื่อให้เศรษฐกิจปรับสู่เสถียรภาพโดยเร็วที่สุด ประโยชน์ทางอ้อม คือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด และอาจช่วยให้ประเทศสามารถกู้ยืมเงินจากตลาดทุนเอกชนได้เองเร็วขึ้น

การเข้าโครงการ Stand-by ครั้งล่าสุดของไทย

คณะ รัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทยร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงขอกู้เงิน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2540 และคณะกรรมการบริหาร IMF ได้อนุมัติวงเงินให้กู้แก่ประเทศไทยรวม 2.9 พันล้าน SDR หรือเทียบเท่าประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540 โดยเป็นโครงการเงินกู้แบบ Stand-by Arrangement ที่มีระยะเวลาเบิกถอน 34 เดือน จนถึงเดือนมิถุนายน 2543 แต่เนื่องจากฐานะดุลการชำระเงินดีขึ้นมาก รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจไม่เบิกถอนเงินกู้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 ทั้งนี้ Financing Package มีจำนวนรวมถึง 17.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นความช่วยเหลือจาก IMF 4.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. JEXIM 4.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. World Bank 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ADB 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และธนาคารกลางในภูมิภาค 6.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

                        ประโยชน์จากการได้รับความช่วยเหลือจาก IMF ได้แก่

1.  ด้าน วิชาการ คือการได้รับคำแนะนำด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงิน เพื่อให้เศรษฐกิจปรับสู่เสถียรภาพโดยเร็วที่สุด

2.  ประโยชน์ทางอ้อม คือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด และอาจช่วยให้ประเทศสามารถกู้ยืมเงินจากตลาดทุนเอกชนได้เองเร็วขึ้น

3.  การเข้าโครงการ Stand-by ครั้งล่าสุดของไทย

อัพเดทล่าสุด