การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของโลก - การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


1,066 ผู้ชม


กลุ่ม G-10

       เป็นกลุ่มประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก 10 ประเทศ เน้นการปกป้องและผลัก ดันเรื่อง non-trade concerns ให้เข้ามารวมอยู่ในการเจรจาสินค้าเกษตรมีสมาชิก ได้แก่ บัลกาเรีย ไอซ์แลนด์ อิสราเอล ญี่ปุ่น ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน และ มอริเชียส 

      กลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จี 20 ( Group of Twenty Finance Ministers and Central Bank Governors)  ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นกลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้บริหาร ธนาคารกลางจากประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 19 ประเทศ รวมกับสหภาพยุโรป (อียู)  ประเทศทั้ง 19 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ  (จี-7) คือ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศ ระบบเศรษฐกิจเกิด ใหม่ขนาดใหญ่อีก 12 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และตุรกี ประเทศในกลุ่มจี 20 มี ขนาดเศรษฐกิจรวมกันเท่ากับ 90 เปอร์เซ็นต์ ของเศรษฐกิจโลก และมีประชากรรวมกันประมาณ 2 ใน 3 ของโลก 

edit @ 16 Feb 2010 16:46:15 by ECONOMIC

1 Comments

การรวมกลุ่มในภูมิภาคลาตินอเมริกา

posted on 16 Feb 2010 16:03 by eco-cooperation

การรวมกลุ่มในภูมิภาคลาตินอเมริกา  (LATIN AMERICA INTEGRATION)

         การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของโลก - การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

           การรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคลาติ นอเมริกา มีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่  Latin American  Free Trade Association : LAFTA เป็นการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การผลิตและการค้า ซึ่งประเทศสมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นประเทศเล็ก มีการเจริญทางเศรษฐกิจต่ำและมีปัญหาขาดดุลชำระเงิน, กลุ่มอเมริการกลาง คือCaribbean Community and Common Market : CARICOM ,COMMON  American Common Market ,CACM โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดภาษีศุลกากร เพื่อประโยชน์ในการส่งสิ้นค้าออกเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา กลุ่มอเมริกาใต้ คือ MERCOSUR เป็นการรวมกลุ่มเเบบสหภาพศุลกากร และเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สมาชิกประกอบด้วย อาร์เจนติน่า บราซิล ปารากวัยและอุรุกวัย และ Latin American Integration Association : ALADI ซึ่งเป็นกลุ่มย่อย

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

หมายถึง การที่ประเทศมากกว่า หนึ่งประเทศขึ้นไป มารวมกันอย่างเป็นทางการ เพื่อความร่วมมือหรือรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน

ประเภทของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

การใหความร่วมมือทางเศรษฐกิจ มีหลายลักษณะ พอสรุปได้ดังนี้

1. เขตการค้าเสรี คือการยอเลิกภาษีนำเข้าและข้อจำกัดทางการค้าระหว่างสมาชิก

2. สหภาพศุลกากร คือ การกำหนดอัตราภาษีนำเข้าในอัตราเดี่ยวกันระหว่างสมาชิก ซึ่งมีผลต่อ

ประเทศที่มิใช่สมาชิก

3. ตลาดร่วม คือ การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน เทคโนโลยี และแรงงานระหว่างสมาชิกได้

อย่างเสรี

4. สหภาพเศรษฐกิจ คือ การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างสมาชิกได้อย่างเสรี มีการ

กำหนดนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมระหว่างประเทศสมาชิก และมีการใช้เงินตราสกุลเดียวกัน

องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)

เป็นองค์กรใรสังกัดสหประชาชาติ (UN) มีประเทศมากกว่า 154 ประทศ

หน้าที่หลัก ของ IMF คือ ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก ดังนี้

1. รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

2. ส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัวอย่างสม่ำเสมอ

3. ให้ประเทศสมาชิกกู้เงิน เมื่อเกิดปัญหาขาดดุลการชำระเงิน

ประเทศไทยกู้เงินจาก IMF ครั้งสำคัญเมือ พ.ศ. 2541 เพื่อแก้วิกฤตทางเศรษฐกิจจากการขาดดุลการชำระเงิน และขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ

ธนาคารโลก

ธนาคารโลก (International Bank for Reconstruction and Development:IBRD) หรือ ธนาคารโลก (Word Bank)

เป็นองค์กรในสังกัดสหประชาชาติ (UN) มีกระเทศสมาชิกมากกว่า 154 ประเทศ

หน้าที่ หลักของธนาคารโลก คือ ให้ประเทศกำลังพัฒนากู้เงินไปใช้จ่ายเพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคม และการสาธารณูปโภคต่างๆ ยกเว้นการกู้เพื่อนำไปใช้พัฒนาด้านความมั่นคง (ซื้ออาวุธและกิจการทหาร)

ประเทศ ไทยกู้เงินจากธนาคารโลก เพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น การสร้างถนน เขื่อน กิจการไฟฟ้า ประปา และมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค


อัพเดทล่าสุด