คุณสมบัติผู้สมัครผู้ใหญ่บ้าน กรณีจบการศึกษาภาคบังคับ


9,104 ผู้ชม


สาระที่ต้อง การนำเสนอวันนี้  เป็นสิ่งที่เกิดจากการได้รับมอบให้ไปทำหน้าที่เป็นกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านของอำเภอเมืองพิษณุโลกแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขต พื้นที่  โดยอำเภอเมืองพิษณุโลกได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พิษณุโลก เขต 1 ให้ร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งกำหนดไว้ว่า "ต้องมีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ...."

ในความเข้าใจ ของตนเองในขณะที่ยังไม่สอบถามผู้ใด  คิดว่าการศึกษาภาคบังคับคือ ป.4 , ป.7 หรือ ป.6 แล้วแต่กรณี  โดยข้อมูลกว้าง ๆ ที่มีอยู่ คือ

1.แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479 ( ... - พ.ศ.2502) ประกาศใช้วันที่ 17 มีนาคม 2479 การศึกษาภาคบังคับ คือ ป.4

2.แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 ( .... - พ.ศ.2519) ประกาศใช้วันที่ 20 ตุลาคม 2503 การศึกษาภาคบังคับ คือ ป 7

3.แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520 ประกาศใช้วันที่ 31 มีนาคม 2520 การศึกษาภาคบังคับ คือ ป.6

เผอิญมีกรณี ตัวอย่างที่ต้องทบทวนหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ลึกซึ้งกว่าเดิม  เนื่องจากมีอดีตผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งมาสมัคร  แต่ช่วงที่จบการศึกษาภาคบังคับตามหลักฐานใบสุทธิ จบ ป.4  อยู่ในช่วง พ.ศ.2503 - 2519  ได้แสดงความเห็นแย้งว่า บุคคลนี้ขาดคุณสมบัติต้องจบการศึกษาอย่างน้อย ป.7  ซึ่งปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบงานช่วงนั้น  ได้หารือเพื่อทบทวนเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาของผู้สมัครรายนี้อีกครั้ง (เพราะ หากครั้งนี้บุคคลดังกล่าวสมัครไม่ได้ ย่อมหมายถึงการดำเนินการก่อนหน้านี้ย่อมบกพร่องไปด้วย) 

ข้อมูลที่นำ มาบอกกล่าวกัน คือ มีหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ ศธ 1404 / 37827 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535 ถึงอธิบดีกรมการปกครอง หารือเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับ  ซึ่งมีบทสรุปว่าการศึกษาภาคบังคับตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 ที่กำหนดให้จบชั้น ป.7 นั้น ในทางปฏิบัติจะมีนักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับ 2 แบบ คือ ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ขยายการศึกษา ภาคบังคับถึง ป.7  จะต้องจบ ป.7 จึงจะถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับ ส่วนนักเรียนที่มีภูมิลำเนานอกเหนือจากนี้ เพียงจบ ป.4 ก็ถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับ

และมีหนังสือ ของกรมการปกครอง ที่ มท 0309 / ว 27 ลงวันที่ 7 มกราคม 2536 แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด โดยมีประเด็นที่ให้พิจารณาคือ การจบการศึกษาภาคบังคับ นอกจากจะพิจารณาว่าผู้ใดจบการศึกษาปีใด ชั้นใดแล้ว  ต้องพิจารณาว่าในท้องที่ใดกำหนดให้จบการศึกษาชั้นใดด้วย 

ข้อมูลสองวรรค ข้างต้น  ทำให้ตัวเองต้องเร่งสอบถาม เสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ จากผู้รู้หลาย ๆ ท่าน อาทิ อ.กัลญาณี (ไม่ได้สอบถามนามสกุล * ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ) สำนักทดสอบทางการศึกษา และ นายสมศักดิ์ ทองรุ่ง , นายวสันต์ ศรีประดู่ รอง ผอ.สพท.พล.1 มาประกอบการดำเนินการ จนได้ข้อยุติในภาพใหญ่ ว่า

ผู้ที่จบการ ศึกษาภาคบังคับในช่วง พ.ศ.2505 - 2521 ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 ที่กำหนดให้จบ ป.7 เป็นเพียงบางพื้นที่ บางโรงเรียนเท่านั้นที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศในราชกิจจานุเบกษา  นอกเหนือจากนี้จบเพียง ป.4 ก็ถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับ  และตาม พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 ประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546  การศึกษาภาคบังคับต้องจบ ม.3 ครับ

ทั้งนี้ อ.กัลญาณี ได้อนุเคราะห์ส่งโทรสารเกี่ยวกับข้อมูลหัวข้อประกาศกระทรวงศึกษาธิการที่ กำหนดให้ขยายการศึกษาภาคบังคับจากประโยคประถมศึกษาตอนต้นเป็นประถมศึกษาตอน ปลาย ตั้งแต่ พ.ศ.2505 - 2519 รวม 25 รายการ และผมได้ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม  ดังไฟล์ *.xls ที่ตรงนี้ครับ   https://gotoknow.org/file/kaninu/pkmoe.xls  ** (ปรับปรุงข้อมูลใหม่ 22 เม.ย.2553)
   

ซึ่งมีเกร็ด น่าสนใจว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ พ.ศ.2505 - 2510 จะใช้ชื่อเรื่องว่า การเขยิบเกณฑ์ความรู้ขยายการศึกษาภาคบังคับ (ส่วนใหญ่ระบุเป็นรายตำบล) และประกาศ ฯ ตั้งแต่ พ.ศ.2511 เป็นต้นไป ใช้ชื่อเรื่องว่า ขยายการศึกษาภาคบังคับให้สูงขึ้น ครับ

กรณีที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดพิษณุโลก  ผมได้สำเนาไฟล์ราชกิจจานุเบกษาบางส่วนมาวางไว้แล้วครับ  ดังนี้

1.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 10 หน้า 164 วันที่ 29 มกราคม 2506
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk290106.pdf

2.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 9 หน้า 191 วันที่ 28 มกราคม 2507
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk280107.pdf

3.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 88 ตอนที่ 55 หน้า 1598 วันที่ 25 พฤษภาคม 2514
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk250514.pdf

4.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 72 หน้า 1196 ,1198 วันที่ 9 พฤษภาคม 2515
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk090515.pdf

5.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอนที่ 120 หน้า 8 วันที่ 25 กันยายน 2516
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk250916.pdf

6.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 129 หน้า 3047 วันที่ 30 กรกฎาคม 2517
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk300717.pdf

7.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 133 หน้า 3107 วันที่ 6 สิงหาคม 2517
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk060817.pdf

8.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 119 หน้า 1574 ,1575 วันที่ 24 มิถุนายน 2518
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk240618.pdf

9.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 106 หน้า 18 วันที่ 27 สิงหาคม 2519
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk270819.pdf

เชิญท่านผู้สนใจเข้าไปติดตามดูรายละเอียดต่าง ๆ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปนะครับ

** เพิ่มเติม วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553 **
ราชกิจจานุเบกษา  ฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องตามไฟล์ *.xls ด้านบน
ผมใช้เวลาค้นหาและมาวางไว้ที่นี้  เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้อ้างอิงยิ่งขึ้น ครับ

1.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 10 หน้า 190 วันที่ 29 มกราคม 2506
  https://gotoknow.org/file/kaninu/rk2290106.pdf

2.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 10 ฉบับพิเศษ หน้า 12 วันที่ 30 มกราคม 2507
  https://gotoknow.org/file/kaninu/rk300107.pdf

3.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 82 ตอนที่ 7  หน้า 121  วันที่ 19 มกราคม 2508
   https://gotoknow.org/file/kaninu/rk190108.pdf

4.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 83 ตอนที่ 3  หน้า 202  วันที่ 11 มกราคม 2509
  https://gotoknow.org/file/kaninu/rk110109.pdf

5.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 84 ตอนที่ 8  หน้า 266  วันที่ 24 มกราคม 2510
  https://gotoknow.org/file/kaninu/rk240110.pdf

6.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 38  หน้า 1282  วันที่ 30 เมษายน 2511
  https://gotoknow.org/file/kaninu/rk300411.pdf

7.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 67  หน้า 2448  วันที่ 30 กรกฎาคม 2511
  https://gotoknow.org/file/kaninu/rk300711.pdf

8.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 86 ตอนที่ 20  หน้า 849  วันที่ 11 มีนาคม 2512
  https://gotoknow.org/file/kaninu/rk110312.pdf

9.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 86 ตอนที่ 33  หน้า 1481  วันที่ 15 เมษายน 2512
  https://gotoknow.org/file/kaninu/rk150412.pdf

10.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอนที่ 133  หน้า 3401  วันที่ 16 ตุลาคม 2516
    https://gotoknow.org/file/kaninu/rk161016.pdf

11.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 133  หน้า 3108  วันที่ 6 สิงหาคม 2517
    https://gotoknow.org/file/kaninu/rk2060817.pdf

12.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 97 หน้า 14  วันที่ 29 กรกฎาคม 2519
    https://gotoknow.org/file/kaninu/rk290719.pdf

***  เพิ่มเติม ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2553 ***
1. ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520
ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอนที่ 31 หน้า 337 ลงวันที่ 12 เมษายน 2520
https://gotoknow.org/file/kaninu/pk_plan2520.pdf

2. พระราชบัญญัติประถมศึกษา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2521 
ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 40 ฉบับพิเศษ หน้า 5  วันที่ 5 เมษายน 2521
https://gotoknow.org/file/kaninu/prb_pratom2521.pdf

***  เพิ่มเติม ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2553 ***
หนังสือกรมการปกครอง ที่ มท 0309 / ว 27 ลงวันที่ 7 มกราคม 2536 ครับ
หน้า 1 https://gotoknow.org/file/kaninu/mt0309.pdf
หน้า 2 https://gotoknow.org/file/kaninu/mt03092.pdf

**** เพิ่มเติม ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2553 ****
จากข้อคำถามของคุณปูเป้  ทำให้ผมต้องไปค้นหารายละเอียดพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 และฉบับแก้ไขต่าง ๆ (ถึงฉบับที่ 12 พ.ศ.2552) แม้จะ ทราบว่าประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ตอนที่ เมื่อใดแล้ว แต่หาในเวบไซด์ราชกิจจานุเบกษาไม่เจอครับ  มาเจอสารสนเทศเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่ปรับปรุง หลอมรวม พ.ร.บ.ฉบับต่าง ๆ ที่แก้ไขไว้ในฉบับเดียวกัน  ทำให้สะดวกต่อการอ้างอิง เพราะมีหมายเหตุด้านล่างของแต่ละหน้าให้ดูว่าถูกยกเลิก แก้ไข ปรับปรุง โดย พ.ร.บ.ฉบับใด หน่วยงานที่เผยแพร่สารสนเทศนี้คือ สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย  https://www.law.moi.go.th/law.htm ครับ  นำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผมนำมาวางให้แล้วอีกทางหนึ่งที่นี่   https://gotoknow.org/file/kaninu/prb_area2547.pdf

***** เพิ่มเติม ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2553 *****
พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 128 ก หน้า 11 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2545  บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546
ผมนำมาวางไว้ให้แล้วที่นี่ครับ https://gotoknow.org/file/kaninu/prb_ed2545.pdf

****** เพิ่มเติม ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2553 ******
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ.2551 https://gotoknow.org/file/kaninu/rabaib_mt_select2551.pdf

*******  เพิ่มเติม ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2553 *******
พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540  https://www.erc.or.th/ERCWeb/Front/webpagelaw/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%20%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%202540.pdf

หรือวางไว้แล้วในบล๊อกแห่งนี้  https://gotoknow.org/file/kaninu/prb_data40.pdf

******** เพิ่มเติม ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2554
สำเนาหนังสือ สปช. ที่ ศธ 1404 / 37827 ลงวันที่ 1 ธค. 2535
เรื่อง หารือเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับ
https://gotoknow.org/file/kaninu/37827.pdf

Source: https://www.gotoknow.org/blogs/posts/329844

อัพเดทล่าสุด