สุดๆ บุคคลตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง นันทา หายทุกข์


2,574 ผู้ชม



สุดๆ บุคคลตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง นันทา  หายทุกข์

นางนันทา หายทุกข์ บุตรีคนที่ ๒ จากพี่น้อง ๔ คน ของครอบครัวพ่อหวนและแม่ เทียบ สุตลาวดี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๖ ปัจจุบันอายุ ๓๙ ปี สมรสกับนายสุควง หายทุกข์ มีทายาท ๓ คน

หลังจากจบการศึกษาแล้ว นันทาได้ออกมาช่วยครอบครัวทำนา ทั้งนี้เพราะความยากจนของครอบครัว เธอเลยต้องเสียสละ เพื่อให้พี่ชายคนโตได้มีโอกาสศึกษาต่อ ทั้งๆ ที่ตัวเธอเองนั้น เป็นคนที่ผลการศึกษาค่อนข้างดี

ช่วงวัยสาวของนันทา ในปี ๒๕๒๗ เธอได้บ่ายหน้าสู่เมืองหลวงเช่นเดียวกับหญิงสาวชนบทโดยทั่วไป โดยไปลูกจ้างอยู่ในโรงงานทำเชือกไนล่อน อยู่ละแวกพระประแดง
เป็นสาวโรงงานได้ ๓ ปี ก็พบรักกับเนื้อคู่ สุควง หายทุกข์ จึงได้ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน และกลับมาดำเนินวิถีตามรอยบรรพบุรุษที่บ้านถนนของเธอ

การทำนาของครอบครัวของนันทานั้น ก็เป็นเช่นเดียวกับเกษตรกรโดยทั่วไป คือทำนาเชิงเดี่ยวและยังต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกอยู่บ้าง
เข้าร่วมโครงการ

ก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ นันทาได้เข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้และธรรมชาติ อยู่ในละแวกหมู่บ้านของเธอ ซึ่งนับวันจะหดหาย และเธอเองก็ได้เป็นแกนนำในการดำเนินเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องบทบาทของหญิงชายในการจัดการทรัพยากรป่าไม้

สุดๆ บุคคลตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง นันทา  หายทุกข์การเข้าร่วมกิจกรรมหลายครั้งหลายหน ทำให้เกิดการตกผลึกทางด้านความคิดหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะถ้ามัวแต่ดูแลเรื่องป่า โดยไม่มีกินนั้น ก็ดูกระไรอยู่
การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้รู้ ทำให้นันทาหันมาสนใจที่จะพัฒนาผืนที่นาของตัวเองบ้าง

เริ่มจากการที่เคยใช้ปุ๋ยเคมี ๑๐-๒๐ กระสอบต่อปี ลดมาเป็น ๒ กระสอบต่อปี ในปี ๒๕๔๑ ปรากฏว่าผลผลิตยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมานัก
ในปีถัดมา จึงเลิกใช้ปุ๋ยเคมีโดยสิ้นเชิง
เข้าร่วมโครงการฯ

ปี ๒๕๔๔ นันทาได้เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการนำร่องฯ ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการนี้ ทำให้เธอได้รับแนวคิด และแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมค่อนข้างชัดเจน ทั้งในด้านวิชาการและประสบการณ์ตรง รวมไปถึงระบบการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ

แบบอย่างของเกษตรที่เธอได้ไปพบเห็นมาจากการศึกษาดูงานที่อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ บนผืนที่ราว ๙ ไร่ของพ่อสุวรรณ กันภัย ต้นแบบของนักสู้ชีวิตอย่างแท้จริง ที่สามารถพลิกผืนนาอันแห้งแล้งให้กลับฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ ด้วยสองมือ และถือเป็นต้นแบบของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จอย่างถึงที่สุด ของคำว่า “เกษตรแบบพอเพียง” ตามทฤษฎีของล้นเกล้าฯ ชาวไทยนี่เอง ที่ทำให้นันทามีความใฝ่ฝันว่า สักวัน จะต้องทำให้ได้อย่างพ่อสุวรรณ กันภัย

นอกเหนือจากนี้แล้ว อีกหลายๆ แห่ง ต่างกรรมต่างวาระ เธอก็ได้นำมาปรับประยุกต์ ทดสอบ ทดลองด้วยตนเอง และรอคอยผลแห่งความสำเร็จนั้นสุดๆ บุคคลตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง นันทา  หายทุกข์

ความที่ครอบครัวมีพื้นที่เกษตรกรรมค่อนข้างมากและได้แบ่งที่ดินเป็น ๓ แปลงสำหรับทำนา ๑๖ ไร่ ที่อยู่อาศัย ๓ งาน และ และเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ๑๖ ไร่

ในส่วนบริเวณที่เข้าร่วมโครงการฯ นั้น เธอและครอบครัว ก็ได้ทำเกษตรแบบผสมผสานโดยมีทั้งพืชผักสวนครัว ไม้ผล และการปศุสัตว์ รวมถึงบ่อน้ำที่ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากโครงการฯ

ผืนที่แห่งนี้ปราศจากสารเคมีโดยสิ้นเชิง เศษไม้ ใบไม้ ที่ร่วงหล่นในบริเวณผืนป่าที่เธอกันเอาไว้ส่วนหนึ่ง ถูกนำมากองทับถมกัน ไว้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำปุ๋ย

มูลของสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย หมู ไก่ รวมถึงหมู่ป่า ก็ถือเป็นปุ๋ยคอกชั้นเยี่ยม
ดังนั้นในแต่ละปี พริก หอม กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ บวบ ฯลฯ รวมทั้งไม้ผลบางชนิด จึงมีหมุนเวียนเพื่อการบริโภคในครัวเรือนอย่างพอเพียง รวมไปถึงโปรตีนจากปลาในสระอีกด้วย
ถ่ายทอดภูมิปัญญา

ความรู้ต่างๆ ที่นันทาได้รับมานั้น ได้ถูกถ่ายทอดไปยังเพื่อนเกษตรด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตปุ๋ยหมัก หรือการเพาะชำกล้าไม้ และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ ทำให้นันทาได้รับการยอมรับจากเพื่อนเกษตรมากขึ้น
แบบอย่างของชุมชน

สิ่งที่นันทาได้ลงมือทำนั้น เธอบอกว่าอยากทำเป็นตัวอย่างให้คนในชุมชน ได้เห็นและเอาอย่างบ้าง แต่ถึงอย่างไร แรกๆ นั้น ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร แม้จะมีหลายคนได้หันเหมาเอาแบบอย่าง แต่ก็ยังบอกว่า ไม่ได้ทำตามเธอ เพราะของแบบนี้ ใครๆ ก็รู้ แต่ก็เป็นที่รู้กันโดยทั่วว่า ในชุมชนแห่งนี้เธอเป็นคนริเริ่ม
ปัญหาและอุปสรรค

ด้วยความเป็นคนของชุมชน นันทาต้องออกไปร่วมกิจกรรมภายนอกบ่อยครั้ง ทำให้เธอไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับแปลงมานัก นี่ก็เป็นปัญหาอีกประการหนึ่งของ เธอเสนอว่าถ้าหากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมุนเวียนกันหมู่สมาชิก โดยยึดพื้นที่ของแต่ละคนเป็นหลัก นั่นก็น่าจะเป็นทางออกที่น่าสนใจ เพราะการเข้าร่วมประชุมในแต่ละครั้งนั้น ก็เห็นแต่หน้าสมาชิกและห้องประชุมเท่านั้น

สุดๆ บุคคลตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง นันทา  หายทุกข์หากได้มีสับเปลี่ยนหมุนเวียนสถานที่ อาจจะทำให้เกิดมุมมองและรูปธรรมที่ชัดเจนมากกว่าที่เป็นอยู่
ปัญหาอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อปัจจัยการผลิตนั่นคือ หนูนาได้เข้ามาแทะทำลายคันสระ ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ตามความประสงค์ นั่นก็ทำให้พืชผักต้องเสียหายในบางช่วง

อย่างไรก็ดี ความตั้งใจของนันทาและรูปธรรมที่เป็นอยู่ และความสำเร็จเบื้องหน้าของตัวอย่างที่เธอพบประสบมา ทำให้อุปสรรคและปัญหาต่างๆ กลายเป็นแรงผลักที่จะทำให้เธอก้าวไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างไม่ยากเย็นนัก

https://www.kradandum.com/people/people_04.htm

อัพเดทล่าสุด