ประวัติบุคคลสําคัญสมัยรัตนโกสินทร์ - ชื่อบุคคลสําคัญสมัยรัตนโกสินทร์


1,150 ผู้ชม


ประวัติบุคคลสําคัญสมัยรัตนโกสินทร์ - ชื่อบุคคลสําคัญสมัยรัตนโกสินทร์

พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระศรี สุเรนทรามาตย์ ณ พระราชวังเดิม ธนบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ขณะประสูติสมเด็จพระราชบิดาดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ เฉลิมพระบรมนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว จึงเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมหาราชวัง

              เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาเฉลิมพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร ทรงได้รับการศึกษาเยี่ยงขัติติยราชกุมารตั้งแต่เสด็จประทับ ณ พระราชวังเดิม ทรงศึกษาวิชาสำคัญต่าง ๆ เช่นการฝึกหัดอาวุธ วิชาคชกรรม และทรงสนพระทัยในการศึกษาภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก

             ด้านพุทธศาสนา เมื่อพระชนมายุครบอุปสมบทก็ทรงผนวช และผนวชอยู่นานตลอดรัชการที่ 3 ระหว่างจำพรรษา ณ วัดราชาธิวาสได้ทรงศึกษาวิชาการทางพุทธศาสนา ทรงแตกฉานในรพระไตรปิฎกเพราะทรงเชี่ยวชาญภาษาบาลีเป็นอย่างยิ่ง ทรงเห็นการปฏิบัติอันหย่อนยานของสงฆ์บางส่วนในสมัยนั้น จึงได้ทรงตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นเพื่อเป็นแบบอย่างแก่สงฆ์ ที่เคร่งครัดการปฏิบัติต่อไป

              ในด้านวิชาการทั่วไป ทรงศึกษาวิชาโหราศาสตร์ภาษาละติน ภาษาอังกฤษ และความรู้ทั่วไปที่ถือกันว่าทันสมัย รวมทั้งทรงสนพระทัย เหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นรอบบ้านเมืองของเราตลอดเวลา

              เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต บรรดาพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ เสนาบดี และ ข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งปวง ได้พร้อมกันอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 4แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นเวลา 18 ปี จึงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411

ประวัติบุคคลสําคัญสมัยรัตนโกสินทร์ - ชื่อบุคคลสําคัญสมัยรัตนโกสินทร์

              พระราชกรณียกิจต่าง ๆ นอกจากด้านการต่างประเทศ การพระศาสนา การทะนุบำรุงพัฒนาบ้านเมืองบำรุงศิลปวัฒนธรรมแล้วยังทรงสนพระทัยด้านวิทยา การแผนใหม่อย่างยิ่ง ในสมัยของพระองค์ นับเป็นอรุณรุ่งแห่งการนับอารยะธรรมตะวันตก ด้วยทรงถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับปรุงกิจการบ้านเมืองให้ก้าวหน้าทันกันความ เปลี่ยนแปลงในโลก ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษา ศิลปวิทยาแผนใหม่ทั้งหลายที่มีประโยชน์ต่อการสร้างความเจริญให้แก่ประเทศดัง ปรากฎว่ามีสิ้งริเริ่มใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่น วิชาการต่อเรือใบ เรือกลไฟ เรือรบ การสั่งซื้อเครื่องจักรเข้ามาผลิตเหรียญกษาปณ์ การฝึกหัดทหารและได้จัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อย่างยุโรป

              พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับยอกย่องในพระราชสมัญญานามว่า พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยเพราะทรงพระปรีชาสามารถ ทรงศึกษาเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น บาลี อังกฤษ ละตินเป็นพิเศษ สำหรับพระปรีชาสามารถและอัจฉริยะทางดาราศาสตร์ ทรงศึกษาโดยพระองค์เองจากตำราไทยและมอญ ซึ่งแปลจากตำราโบราณของฮินดู และทรงศึกษาตำราดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์จากยุโรป จนสามารถคำนวณได้ล่วงหน้าถึง 2 ปีว่า จะเกิดสุริยุปราคาเต็ม ดวงในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 และเห็นได้อย่างชัดเจนในประเทศไทยที่บ้านคลองลึก ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ดังกล่าวมาแล้วในตอนต้นเป็นเหตุให้ทรงได้รับการ ยกย่องจากวงการวิทยาศาสตร์ของชาติมหาอำนาจในยุคนั้นเป็นอย่างสูง

อัพเดทล่าสุด