ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthemum grandifflora
ตระกูล Asteraceae
ชื่อสามัญ Chysanthemum morifolium
ถิ่นกำเนิด ในประเทศญี่ปุ่นและจีน
เบญจมาศ เป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขายปริมาณมากเป็นอันดับ 2 ในตลาดประมูลอัลเมีย ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้แก่ เนเธอแลนด์ แอฟริกาใต้ สเปน อิสราเอล สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกเบญจมาศประมาณ 1,400 ไร่ นิยมปลูกเบญจมาศดอกช่อ มาก กว่าดอกเดี่ยว เนื่องจากการดูแลรักษาง่ายกว่าสามารถผลิตเบญจมาศได้คุณภาพดีในช่วงฤดูการ ผลิต คือ ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงมีนาคม การผลิตนอกฤดูมักจะปลูกบนที่สูง หากปลูกในที่ราบ จะให้ผลผลิต ที่มีคุณภาพต่ำ ผลผลิตไม่ต่อเนื่อง คุณภาพไม่สม่ำเสมอ เป็นผลให้มีการนำเข้าเบญจมาศจากประเทศ มาเลเซียในปริมาณมาก
ประเทศไทย สามารถผลิตเบญจมาศเพื่อการค้าที่มีคุณภาพสูง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่ เหมาะสม การปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตเบญจมาศมีแนวโน้ม เพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น มีการพัฒนาทางด้านสายพันธุ์ใหม่ๆที่เหมาะสม และการผลิต ต้น พันธุ์ที่มีคุณภาพดี เพื่อให้ผลิตได้ต่อเนื่องตลอดปี
ประเภทของพันธุ์เบญจมาศ ที่จำแนกตามรูปทรง
รูปทรงของเบญจมาศนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของกลีบดอก และการจัดเรียงตัวของกลีบดอก มีแบบต่างต่างๆดังนี้
1. ซิงเกิ้ล (Singles) หรือดอกชั้นเดียวมีลักษณะคล้ายดอกเดซี่ ประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอก 1-2 ชั้น และกลีบดอกชั้นในแบนราบอยู่ส่วนกลางของดอก เช่น พันธุ์ เรแกน ไวท์ (Reagan White - สีขาว) โรสควีน (Rose Queen - ชมพู / ไส้เขียว) จูโน (Juno - สีชมพู ) โกลเด้น วา ลังเกน (Golden van Langan - สีเหลือง ) เป็นต้น
2. อมีโมน (Anemones) ลักษณะ คล้ายดอกชั้นเดียว แต่กลีบดอกชั้นในยาวกว่า โดยจะยืด ออก และมีลักษณะเป็นหลอดทำให้ส่วนกลางช่อดอกโป่งขึ้น บางครั้งกลีบดอกชั้น ในมีสีต่างไปจากกลีบดอก ชั้นนอก เช่น พันธุ์พูม่า (Puma - สีขาว) ซันนี่ พูม่า (Sunny Puma - สีเหลือง)
3. สไปเดอร์ (Spiders) หรือแมงมุม ประกอบด้วยกลีบชั้นนอกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีลักษณะ เรียว เล็ก และปลายโค้งคล้ายขาแมงมุม เช่น พันธุ์ เวสต์แลนด์วินเทอร์ (Westland Winter - ขาว) และเวส แลนด์รีเกิ้ล (Westland Regal - ชมพู) เป็นต้น
4. ปอมปอน (Pompon) มี ลักษณะเป็นลูกกลมคล้ายลูกฟุตบอล ประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอก ที่มีขนาดเท่าๆกัน โดยไม่ปรากฎให้เห็นกลีบดอกชั้นใน เช่น พันธุ์ กรีนพี (Green Pea - สีเขียว) โกลด์พี (Gold Pea - สีเหลือง)
5. เดคเคอเรทีฟ (Decoratives) หรือ ดอกซ้อน มีลักษณะคล้ายปอมปอน เพราะประกอบด้วย กลีบดอกชั้นนอกเป็นส่วนใหญ่ แต่กลีบดอกชั้นนอกๆยาวกว่าชั้นใน ทำให้ดูแบนกว่า เช่น พันธุ์ ฟิจิไวท์ (Fiji White - สีขาว) ฟิจิ ดาร์ค (Fiji Dark - สีชมพู)
6. พวกดอกใหญ่ (Large Floeered) ดอกที่บานแล้วจะมีขนาดใหญ่กว่า 4 นิ้ว ส่วนใหญ่แล้ว จะไม่เห็นกลีบดอกชั้นใน เช่น ไรวารี่ (Rivalry) ไข่ดาว (lnga) ปิงปอง (Ping pong)
ใน ปัจจุบันนิยมขยายพันธุ์เบญจมาศโดยการปักชำ จากต้นแม่พันธุ์ที่ปราศจากโรค และไวรัส โดยได้ต้นแม่พันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปฏิบัติดังนี้จะทำให้ได้ต้นแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพดี ปราศจากโรค
ขั้นตอนการขยายพันธุ์
1. ปลูกต้นแม่พันธุ์ที่ออกรากแล้วในแปลง โดยใช้ระยะปลูก 15x15 เซนติเมตร (ประมาณ 50 ต้น ต่อตารางเมตร) การให้แสงช่วงกลางคืนต้องให้ทันทีหลังปลูก และหลังจากปลูกแล้ว 5 -10 วัน จึงเด็ดยอดให้เหลือใบไว้กับต้นประมาณ 5 -6 ใบ
2. เก็บเกี่ยวกิ่งพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์ การเด็ดยอดต้นแม่พันธุ์เพื่อเป็นกิ่งปักชำจะเริ่มได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 หลังปลูก จนถึง สัปดาห์ที่ 20 หลังจากนั้น ควรรื้อและปลูกต้นแม่พันธุ์ใหม่ การเด็ดยอดจะเด็ด ให้ยอด เบญจมาศมี ความยาวประมาณ 5.5 -6 เซนติเมตร (ประกอบด้วยใบใหญ่ 2 ใบ และใบเล็ก 2 ใบ) และให้เหลือใบ ที่กิ่งเดิมอย่างน้อย 2 ใบ เพื่อให้แตกกิ่งใหม่
การเด็ดยอดควรทยอยเด็ดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง แล้วนำไปเก็บในห้องเย็น เพื่อให้ได ้ปริมาณ พอสมควร จากนั้นจึงนำไปปักชำพร้อมกันทุก 1-2 สัปดาห์ ผลิตเฉลี่ยจะได้ประมาณ 1.5 กิ่งต่อสัปดาห์ ต่อต้นแม่พันธุ์ 1 ต้น
โดยปกติจะปลูกต้นแม่พันธุ์ในแปลงเป็นเวลา 13-21 สัปดาห์ หากต้นแม่พันธุ์อยู่ในแปลง นานเกินไป กิ่งที่นำไปปลูกจะมีโอกาสสร้างตาดอกในช่วงวันยาวได้ กิ่งที่ยาวเกินขนาดบนต้นแม่พันธุ์ ที่มีอายุ เกิน 13 สัปดาห์ มีโอกาสที่จะสร้างตาดอกก่อนเวลาถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงวันยาวก็ตาม
3. การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยวกิ่งพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์
เมื่อเด็ดยอดแล้วให้นำเข้าที่ร่มโดยเร็วและจุ่มผงฮอร์โมน (IBA) ร้อยละ 0.4 + สารกันรา เรียงใส่ถุงพลาสติกและเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นาน 3 สัปดาห์
4. การปักชำเพื่อผลิตกิ่งพันธุ์ดี
แปลงปักชำควรมีความกว้างไม่เกิน 1.5 เมตร วัสดุปักชำควรมีคุณสมบัติอุ้ม ความชื้น ได้และ ระบายน้ำดี เช่น ถ่านแกลบ ทราย + ถ่าน หรือ ถ่านแกลบ + ทราย + ขุยมะพร้าว ในสัดส่วน ที่เท่ากัน เป็นต้น ระยะปักชำ 4 x4 เซนติเมตร
เมื่อปักชำ เป็นเวลา 14 วัน กิ่งชำจะมีรากสมบูรณ์ และพร้อมปลูก หากไม่ปลูกทันที อาจเก็บไว้ในห้องเย็น 8 องศาเซลเซียส ได้เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ไม่ควรปล่อยกิ่งชำไว้ ในกระ บะชำเกิน 14 วัน
การเตรียมดิน
ขุดดินลึก 50 เซนติเมตร เพื่อระบายน้ำ เพิ่มความร่วนซุยในดินโดยผสมแกลบ และ ปุ๋ยหมัก (หรือปุ๋ยคอก) ในอัตราส่วนดังนี้
ดิน : แกลบ : ปุ๋ยคอก (หรือปุ๋ยหมัก) 3 : 2 : 1 ผสมให้เข้ากันในระดับ 20 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องพรวนดิน ตรวจวัดสภาพดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 5.8 - 6.5 และปริมาณเกลือ ในดิน (EC) 0.8 - 1.0 mS/cm (มิลลิเซียมต่อเซนติเมตร) หากดินเค็มเกินไปให้ชะเกลือ ออกโดย ใช้สปริงเกอร์ หลังจากนั้นปรับสภาพ ความเป็นกรดเป็นด่างด้วยโดโลไมล์ (หากดินเป็นกรด) หรือ กำมถันผง (หากดิน เป็นด่าง)
การปรับปรุงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
การปรับปรุงคุณภาพดินกรดก่อนปลูกพืชโดยโดโลไมท์ กำหนดค่าที่เหมาะสมในการ ปลูก ไม้ดอก pH =6.5 อัตราที่ใช้โดโลไมท์ 1.6 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพื่อให้ค่า pH เพิ่มขึ้น 0.5 หน่วย หรือใช้โดโลไมท์ อัตรา 32 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางเมตร
การให้น้ำ
เบญจมาศต้องการน้ำประมาณ 35 -40 ลิตรต่อตารางเมตรต่อสัปดาห์ ในระยะแรก ที่ปลูกใหม่ควรให้น้ำเช้า - เย็น เมื่อต้นตั้งตัวได้แล้วให้รดน้ำวันละ 5 -6 ลิตรต่อตารางเมตร หรือทุก 3 วัน (15ลิตรต่อตารางเมตร) แล้วแต่สภาพของดิน ไม่ควรรดน้ำติดต่อกันจนแฉะ ควรเว้นให้ดินแห้งบ้าง เพื่อให้รากได้ปรับอากาศ การรดน้ำควรรดในช่วงเช้า เพื่อหลีกเลี่ยง ไม่ให้ใบเปียกช่วงกลางคืน เป็นการป้องกันการระบาดของเชื้อรา ควรรดน้ำจนโชกเพื่อให้ น้ำ ซึมไหลผ่านลงในดินให้มากพอ ไม่ควรรดน้ำให้ถูกใบเพื่อป้องกันโรคที่เกิดเชื้อรา (อาจ ทำได้โดยให้น้ำแบบน้ำหยด
การปลูก แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
1.การปลูกแบบเด็ดยอด โดยเกษตรกรจะเด็ดยอดอ่อนหลัง จากต้นกล้าตั้งตัว ได้แล้ว
2. การปลูกแบบไม่เด็ดยอดหรือแบบต้นเดี่ยว จะใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่า การปลูกแบบเด็ดยอด จึงต้องมีการลงทุนที่สูงกว่า เพราะใช้ต้นพันธุ์มากกว่า แต่การ ปลูกแบบนี้จะมีช่วงเวลาการเติบโตสั้นกว่าและคุณภาพดอกจะดีกว่าอีกด้วย ปัจจุบัน เกษตรกรนิยมปลูกด้วยวิธีนี้
ข้อควรปฏิบัติในการปลูกเบญจมาศ
1. ควร ปลูกเบญจมาศทันทีหลังจากได้รับต้นกล้าในแปลงที่เตรียมไว้ก่อนปลูก ใช้ตะแกรงเหล็กหรือตาข่ายเชือกไนล่อนที่มีขนาดช่องเท่ากับระยะปลูกมาวางบน แปลงที่ เตรียมไว้ เพื่อสะดวกในการวัดระยะปลูก จากนั้นนำต้นกล้ามาปลูกให้ลึก ประมาณ 3/4 นิ้ว ถ้ามีแสง มากเกินไปควรพลางแสงให้ต้นกล้า เพื่อไม่ให้ต้นกล้าเหี่ยว แต่ทั้งนี้จะต้องให้แสง ในช่วงเวลากลางคืนทันที เพื่อยับยั้งการสร้างดอก
2. ปลูกให้ได้ระยะห่างที่เหมาะสม
- การปลูกแบบเด็ดยอด ใช้ระยะปลูก 25x20 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรงพุ่ม ของสายพันธุ์ที่ใช้ด้วย
- การปลูกแบบไม่เด็ดยอด ใช้ระยะปลูก 12.5x12.5 เซนติเมตร หลังจากปลูก แล้ว ให้ใช้ตาข่ายไนล่อนขนาดช่องเท่ากับระยะปลูก วางระดับพื้นดินเพื่อเป็นแนวในการ ปลูก จากนั้นให้ขับตาข่ายขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงของต้นทุกสัปดาห์
3. หลังการปลูกเสร็จแล้ว ควรรดน้ำเช้า - เย็น จนเมื่อต้นตั้งตัวได้แล้วจึงรดน้ำใน ช่วงเช้า วันละครั้งหรือ 2 - 3 วันครั้ง แล้วแต่สภาพความชื้นของดิน
4. ในการปลูกแบบเด็ดยอด หลังจากต้นตั้งตัวได้แล้ว (ประมาณ 10 - 15 วัน) จึง ทำการเด็ดยอดอ่อนให้เหลือใบไว้ประมาณ 6 ใบ และเมื่อกิ่งใหม่แตกควรเด็ดกิ่งที่ไม่ต้อง การทิ้ง ถ้าต้นเบญจมาศอยู่ที่ขอบแปลงให้เด็ดเหลือกิ่งที่แข็งแรงไว้ 3 กิ่ง แต่ถ้าต้นเบญจ มาศอยู่แถวในให้เด็ดกิ่งเหลือไว้ 2 กิ่ง
5. เมื่อต้นเดี่ยวหรือกิ่งที่แตกใหม่จากการเด็ดยอดเจริญได้ความสูง 30 - 35 เซนติ เมตร (ประมาณ 4 - 6 สัปดาห์) จึงงดให้แสงในช่วงกลางคืน เพื่อกระตุ้นการออกดอก ถ้า ต้องการดอกแบบชนิดเดี่ยว คือ มี 1 ดอกต่อกิ่ง ควรเด็ดดอกข้างครั้งแรกประมาณ 4 สัป ดาห์ หลังการงดให้แสงไฟและเด็ดครั้งที่ 2 ใน สัปดาห์ต่อไป การเด็ดดอกควรทำเมื่อดอกข้าง มีขนาดเท่ากับหัวไม้ขีดไฟ และเด็ดในตอนเช้า แต่ถ้าต้องการให้ได้ดอกช่อ ควรเด็ดดอกแรก ของช่อออกในขณะที่ดอกยังตูมอยู่
6. ในระยะที่ดอกเริ่มเห็นสีนั้น ถ้ามีแสงมากเกินไปควรพรางแสงด้วยผ้าขาวบาง หรือซาเรนพรางแสง 30% เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกไหม้
การให้ปุ๋ย
ก่อนปลูกควรคลุกเคล้าปุ๋ยรองพื้นในดิน โดยให้ทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0 - 46 -0) และแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSo) ดังตาราง
การเก็บเกี่ยว
การตัดดอกเบญจมาศจะตัดดอกเมื่อกลีบดอกบานเต็มที่ หรือประมาณร้อยละ 75 และก่อนที่เกษรตัวผู้ หรือกลีบดอกชั้นในจะบาน ควรตัดให้ช่อดอกยาว 70 -75 เซนติเมตร และทำให้เหลือตอไว้ 10 เซนติเมตร หากตัดต่ำกว่านี้ก้านจะแข็งเกินไป และดูดน้ำได้น้อย
หลักและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
1. กระตุ้นให้เบญจมาศดูดน้ำมากที่สุด
-เมื่อตัดดอกแล้วควรแช่น้ำให้เร็วที่สุดในที่ร่ม (ใช้น้ำสะอาดเท่านั้น) เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
- หากปลายก้านแข็งและไม่ดูดน้ำอาจจุ่มโคนก้าน (4 -5 เซนติเมตร) ในน้ำร้อน ประ มาณ 10 นาที
- อาจปรับน้ำให้มีสภาพเป็นกรดด้วยกรดมะนาว (ซิติกแอซิด) ให้สภาพความ เป็น กรดเป็นด่าง เท่ากับ 3.5 (pH) เนื่องจากน้ำที่เป็นกรดจะช่วยให้ก้านดูดน้ำได้ดีขึ้น
- ผสมสารจับใบอัตรา 0.01%โดยปริมาตร จะช่วยดูดน้ำได้ดีขึ้น
2.คัดขนาด เข้ากำ และห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือสวมด้วยซองพลาสติก ตามที่ต้องการ
3. ชลอการเจริญของดอกหลังตัด โดยการลดอุณหภูมิ (ลดการหายใจและการ คายน้ำ) โดยปฏิบัติดังนี้
- แช่เบญจมาศในน้ำสะอาด หรือสารละลายที่เตรียมไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิ 4 -8 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชั่งโมง ก่อนการขนส่ง
- ผสมสารฟอกสี (โซเดียมไฮโปคลอไรท์) ชนิดซักผ้าขาว (6%) ในอัตรา 0.5 -1.5 มิลลิลิตร (ซีซี) ต่อน้ำ 10 ลิตร ผสมสารฆ่าเชื้อ ป้องกันการเจริญของแบคทีเรียไม่ให้อุดตัน ท่อน้ำ
- อาจผสมน้ำตาล อัตรา 15 กรัม ต่อลิตร เพื่อให้ดอกสีไม่ซีด (หากใส่น้ำตาลมาก กว่า 30 กรัม ต่อลิตร จะทำให้ใบเหลืองเร็ว)
4. บรรจุกล่อง และขนส่ง
โรคและแมลงที่สำคัญ
1.โรคใบแห้ง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia chrysanthemi
ลักษณะอาการ อาการ เริ่มแรกยอดจะเหี่ยวในเวลากลางวันและฟื้นตัวในเวลากลางคืน ต่อมายอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาล ถ้าบีบลำต้นดูจะรู้สึกว่าต้นกรอบ ไส้กลวงของลำต้นมี สีน้ำตาลแดง โรคนี้จะระบาดได้เร็วในที่ที่มีอากาศร้อน ความชื้นสูง
การแพร่ระบาด จะติดไปกับเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร และส่วนมากเชื้อแบคทีเรีย จะเข้าทำลายได้ง่ายในพืชที่เป็นแผลหรือมีรอยแตก
การป้องกันกำจัด ถ้ามีโรคระบาดในแปลงควรเผาทำลายเสีย อย่าให้เชื้อแพร่กระจายไป และควรใช้กิ่งปักชำที่ปราศจากโรคหรือใช้สารเคมีประเภทสเตรปโตมัยซิน
2.โรคใบจุด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Septoria sp.
ลักษณะอาการ ใบ เป็นจุดสีน้ำตาลไหม้ บางครั้งจะมีขอบแผลสีเหลือง ลักษณะแผลค่อนข้างกลมมีขอบแผลชัดเจน เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้น หรือ หลายๆแผลขยาย มาชนกัน จะทำให้ใบไหม้ แห้งและร่วงหล่นไปในที่สุด โรคใบจุดนี้จะเริ่มต้นที่ใบล่างๆที่ติด พื้นดินก่อนแล้วค่อยๆลามขึ้นไปจนถึงยอด
การแพร่ระบาด สปอร์ที่อยู่ตรงกลางแผลจะปลิวไปตามลมหรือถูกน้ำชะล้างให้กระเด็นจาก ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้ โรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝน
การป้องกันกำจัด ไม่ ควรปลูกต้นเบญจมาศชิดกันเกินไป เพราะจะทำให้อากาศไม่ถ่ายเท มีผลทำให้ความชื้นระหว่างโคนต้นสูง เหมาะแก่การแพร่ระบาดของโรคยิ่งขึ้น และควรพ่น สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แคบแทน มาเนบ หรือ ไซเนบ ให้ทั่วโดยเฉพาะบริเวณโคน ต้น
3.โรคราสนิมขาว
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Puccinia horiana
ลักษณะอาการ เริ่มแรกเกิดจุดสีเหลืองขนาดเล็ก บริเวณส่วนบนของใบ ซึ่งจะค่อยๆขยาย ใหญ่ขึ้นถึงเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนด้านใต้ใบที่ตำแหน่งเดียวกันเริ่ม แรกจะเห็นจุดสีขาวนวล ต่อมาเมื่อจุดนั้นขยายใหญ่ขึ้นเป็นนูนกลมออกสีชมพู และเปลี่ยน เป็นสีขาวเมื่อเจริญเต็มที่ ระบาดมากจะทำให้ใบมีสีเหลืองและลามแห้งไปทั่วทั้งใบ ในดอก จะมีการไหม้แห้งจากปลายกลีบดอกเข้ามา
การแพร่ระบาด เป็น โรคที่ระบาดรุนแรงในภาคเหนือช่วงฤดูหนาวขณะมีอากาศชื้น แต่เมื่อ อากาศร้อนและแห้งแล้งความรุนแรงจะลดลง สปอร์ของเชื้อราจะงอกที่อุณหภูมิระหว่าง 4 -24 องศาเซลเซียส สปอร์จะงอกได้เมื่อผิวใบเปียกน้ำ และในสภาพที่เหมาะสมสปอร์สา มารถ งอกได้ภายในเวลา 2 -2.5 ชั่วโมง
การป้องกันกำจัด เชื้อ ราสนิมขาวมักแพร่ระบาดโดยต้นพันธุ์ที่เป็นโรค หรือส่วนของพืชที่มี เชื้อราอยู่ สปอร์ของเชื้อราสนิมขาวนี้สามารถมีชีวิตอยู่บนใบที่ร่วงจากต้นได้เป็นเวลา นานถึง 8 สัปดาห์ จึงควรป้องกันดังนี้
- ควร ให้ต้นและใบเบญจมาศแห้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการรดน้ำถูกใบโดย เฉพาะในช่วงเย็น เนื่องจากใบที่เปียกเป็นสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรค และป้องกันน้ำ กระเด็นจากใบหนึ่งไปสู่อีกใบหนึ่ง
- หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำค้างเกาะที่ใบ หรือการมีน้ำจากหลังคาหยดลงใบ ควรระบายอา กาศหรือให้ความร้อนในโรงเรือนในช่วงเย็น
- ปลูก เบญจมาศให้มีระยะห่างพอสมควร เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี หากการ ระบาดอยู่ในระยะแรก การเด็ดใบที่เป็นโรคออกจะช่วยควบคุมโรคได้
- ควรขุดหลุมลึกเพื่อฝังซากพืชที่มีอาการของโรค หรือเผาทำลาย
การ ใช้สารเคมี เนื่องจากการกำจัดทำได้ลำบาก จึงควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมีประ เภทสัมผัส เช่น คลอโรธาโลนิล สลับกับ แมนโคเซบ ฉีดพ่นทุก 7 วัน หากเกิดระบาดมาก การใช้สารเคมีประเภทดูดซึม จะได้ผลดีกว่า แต่เชื้อรามักจะต้านทานต่อสารเคมีประเภทนี้ ได้ง่าย โดยฉีดพ่นทุก 5 -7 วัน และเพื่อป้องกันการดื้อยา การฉีดพ่นสารเคมีทั้งเพื่อป้องกัน หรือกำจัด โรคราสนิมขาว ควรใช้สารเคมีซ้ำกันไม่เกิน 2 -3 ครั้ง เพื่อให้สารเคมีที่ใช้มีประ สิทธิภาพสูงสุด จากนั้นจึงควรเปลี่ยนกลุ่มสารเคมี
4.เพลี้ยไฟ
ทำลาย ชอบ ทำลายส่วนอ่อนและส่วนยอดของพืช จะทำลายดอกทันทีที่ออก ดอกเป็นตุ่มเท่าหัวไม้ขีด ดอกจะแคระแกรนไม่คลี่บานตามปกติ หรือทำให้กลีบดอกมีสีน้ำ ตาลไหม้ เหี่ยวแห้ง เนื่องจากเพลี้ยไฟมีขนาดเล็ก จึงมักซุกซ่อนหลบหลีกการสังเกต การใช้ สารเคมีฉีดพ่นทำได้ไม่ทั่วถึง
การป้องกันกำจัด
- ใช้กับดักกาวเหนียว ใช้ในการทำลายการระบาดเท่านั้น ยังไม่มีการทดลองนำกับดัก ชนิดนี้มาเพื่อใช้ลดปริมาณเพลี้ยไฟ
- ใช้สารสกัดจากสะเดา
- ศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงตัวห้ำ
- การ ใช้สารเคมี สารเคมีที่แนะนำใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เช่น คาร์บาริล เอ็นโดซัลแฟน กูซาไธออน - เอ มาลาไธออน เมทธิโอคาบ คาร์โบซัลแฟน โปรไธโอฟอส ฟอร์ มีทาเนต อะบาเมคติน เบนฟูราคาร์บ และฟิโปรนิล ซึ่งการใช้สารเคมีเหล่านี้ควรจะคำนึงถึง พืชที่จะพ่น สภาพและท้องที่การระบาด ตลอดจนความรุนแรงของการระบาดด้วย ถ้าอยู่ใน ช่วงที่มีการระบาดรุนแรงควรพ่นสารเคมีค่อนข้างถี่ คือ ประมาณ 3 -5 วัน โดยพ่นติดต่อกัน 2 -3 ครั้ง จนจำนวนเพลี้ยไฟลดลง แล้งจึงเว้นระยะห่างออกไป สำหรับพืชที่ต้องการดูแล เป็นพิเศษควรใส่ปุ๋ยใบพ่นให้พืชเพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
5.หนอนชอนใบ
ลักษณะการทำลาย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ โดยสังเกตเห็นเป็นทางเดินของหนอนภาย ในใบ
การแพร่ระบาด เป็นหนอนที่ทำความเสียหายเป็นอย่างมากในมะเขือเทศและดอก เบญจ มาศ
การป้องกันกำจัด โดยใช้สารเคมี เช่น อะบาเม็คติน หรืออ๊อกซามิล ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ติดต่อ กันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
https://www.the-than.com/FLower/29-1.html |
https://www.the-than.com/FLower/29-1.html