คำขวัญจังหวัดนครพนม | พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูภูไท เรือไฟโสภา งามตาฝั่งโขง | ข้อมูล | นครพนม เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง(ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามประวัติเล่ากันว่าเมื่อพญานันทเสนผู้ครองศรีโคตรบูรสวรรคต เสนาอำมาตย์และประชาชนต่างก็เห็นว่าบ้านเมืองเกิดเภทภัยหลายครั้ง ควรที่จะย้ายไปสร้างเมืองใหม่อยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีป่าไม้รวกขึ้นอยู่เป็นดงจึงได้เรียกชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “ มรุกขนคร ” หมายถึงเมืองที่อยู่ในดงไม้รวก มรุกขนครในสมัยพญาสุมิตรธรรมเมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ นั้นรุ่งเรืองมาก มีเมืองขึ้นมากมายและมีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย โดยการก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๒ แล้วสร้างกำแแพงล้อมรอบ มีงานสมโภชใหญ่โต หลังจากพญา สุมิตรธรรมแล้วก็มีผู้ครองนครต่อมาอีก ๒ พระองค์ แต่ก็เกิดมีเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรจนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ. ๑๘๐๐ เจ้าศรีโคตรบูรได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในพ.ศ. ๒๐๕๗ ผู้ครองเมืองมรุกขนครคือพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศ ราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น “ เมืองศรีโคตรบูร ” ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม ในยุคสมัยนี้ยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอีกด้วย ต่อมา พ.ศ. ๒๒๘๐ พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรองค์สุดท้ายได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วให้ชื่อว่า “ เมืองนคร ” ซึ่งก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายอีกหลายครั้ง ดังเช่น พ.ศ.๒๓๒๑ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งที่ บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางทิศเหนือ ๕๒ กิโลเมตร จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อผู้ครองเมืองนครถึงแก่พิราลัย เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยรัชกาลที่ ๑ พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “ นครพนม ” ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อนและมีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์จึงได้ใช้คำว่า “ นคร ” ส่วนคำว่า “ พนม ” ก็มาจากพระธาตุพนมปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บ้างก็ว่ามรุกขนครเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งอยู่ในบริเวณที่มี ภูเขาสลับซับซ้อนจึงนำคำว่า “ พนม ” ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า “ นคร ” ก็เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้คือเมืองมรุกขนคร นครพนมจึงหมายถึง “ เมืองแห่งภูเขา ” นั่นเอง จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ ๕ , ๕๑๒.๖๖๘ ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๗๔๐ กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ อำเภอ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม นาแก ท่าอุเทน เรณูนคร บ้านแพง ปลาปาก ศรีสงคราม นาหว้า โพนสวรรค์ นาทม และกิ่งอำเภอวังยาง อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ ท่าอุเทน ๒๖ กิโลเมตร ปลาปาก ๔๔ กิโลเมตร โพนสวรรค์ ๔๕ กิโลเมตร เรณูนคร ๕๑ กิโลเมตร ธาตุพนม ๕๒ กิโลเมตร ศรีสงคราม ๖๗ กิโลเมตร นาแก ๗๘ กิโลเมตร บ้านแพง ๙๓ กิโลเมตร นาหว้า ๙๓ กิโลเมตร นาทม ๑๓๐ กิโลเมตร กิ่งอำเภอวังยาง ๘๐ กิโลเมตร ระยะทางจากจังหวัดนครพนมไปยังจังหวัดใกล้เคียงมีดังนี้ สกลนคร ๙๓ กิโลเมตร มุกดาหาร ๑๐๔ กิโลเมตร อุบลราชธานี ๒๗๑ กิโลเมตร ขอนแก่น ๒๙๘ กิโลเมตร หนองคาย ๓๐๓ กิโลเมตร ท | การเดินทาง | รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธิน ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๐๗ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๒ ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๓ ผ่านจังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ แล้วแยกขวาเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์และผ่านจังหวัดสกลนคร ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม ตามทางหลวงหมายเลข ๒๒ รวมระยะทางประมาณ ๗๔๐ กิโลเมตร รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-นครพนม มีทั้งรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ๒ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดที่ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ นครพนม โทร. ๐ ๔๒๕๑ ๑๔๐๓ สำหรับบริษัทเอกชนติดต่อ บริษัท แสงประทีปเดินรถ จำกัด โทร. ๐ ๔๒๕๒ ๐๔๑๑ บริษัท ชัยสิทธิ์ จำกัด โทร. ๐ ๔๒๕๒ ๐๕๖๑ และบริษัทเชิดชัยทัวร์ จำกัด โทร. ๐ ๖๒๒๕ ๖๐๖๓, ๐ ๔๒๕๑ ๒๐๙๘ เครื่องบิน บริษัท พี บี แอร์ จำกัด เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดนครพนมทุกวัน สอบ-ถามรายละเอียดโทร. ๐ ๔๒๕๘ ๗๒๐๗ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๓๕ ๔๘๔๓-๔ หรือสามารถสำรองที่นั่งได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. ๑๕๖๖ , ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐ , ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ www.thaiairways.com การ เดินทางในตัวเมืองยังไม่มีรถโดยสาร หรือรถสองแถวประจำทางมีเพียงรถสกายแล็ปเท่านั้น ราคาแล้วแต่จะตกลงกัน ส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ ๑๐-๖๐บาทแล้วแต่ระยะทาง การเดินทางในตัวเมืองยังไม่มีรถโดยสารหรือรถสองแถวประจำทางมีเพียงรถสกายแล็ปเท่านั้น ราคาแล้วแต่จะตกลงกัน ส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ ๕ บาทไปจนถึง ๒๐ บา | |
สถานที่ท่องเที่ยว จ.นครพนม |
อำเภอเมือง - วัดมหาธาตุ - วัดโอกาสศรีบัวบาน - วัดศรีเทพประดิษฐาราม - วัดนักบุญอันนา หนองแสง - หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ - หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ - พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม - สวนสาธารณะและหาดทรายทองศรีโคตรบูรณ์ - ด่านตรวจคนเข้าเมือง - บ้านนาจอก บ้านท่านโฮจิมินห์ - สวนหลวง ร.9 จังหวัดนครพนม - สวนชมโขง หรือ เรือนจำเก่า อำเภอท่าอุเทน - พระธาตุท่าอุเทน - พระบางวัดไตรภูมิ อำเภอปลาปาก - วัดพระธาตุมหาชัย อำเภอโพนสวรรค์ - วัดโพธิ์ศรี อำเภอเรณูนคร - พระธาตุเรณู อำเภอธาตุพนม - พระธาตุพนม อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาแก - วัดภูถ้ำพระ - พระธาตุศรีคุณ - ดานสาวคอย อำเภอบ้านแพง - อุทยานแห่งชาติภูลังกา อำเภอนาหว้า - พระธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาทม กิ่งอำเภอวังยาง |
ประวัติจังหวัดนครพนม
จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง แรกทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอำเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามอุรังคนิทานหรือตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตรอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้เรียบเรียงไว้ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพุทธทำนายว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตรบูรณ์จักย้ายไปตั้งที่ “ป่าไม้รวก” มีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” ซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก ตามสภาพภูมิประเทศที่สร้างบ้านแปงเมืองนั้นเองประมาณ พ.ศ.500 สมัยพญาสุมิตรธรรม ผู้ครองเมืองมรุกขนคร เป็นกษัตริย์ผู้มีจิตศัรทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยก่อพระลานอูบมุง ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบมีงานฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ซึ่งพระอุรังคธาตุได้แสดงปาฎิหารย์อัศจรรย์ยิ่ง ทำให้พญาสุมิตรธรรมบังเกิดความปิติโสมนัสมาก นอกจากถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังมอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 7 แห่งในเขตแดนนั้น เป็นผู้ดูแลรักษาองค์พระธาตุ หลังจากพญาสุมิตรธรรม มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ ก็เกิดเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ จนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ.1800 เจ้าศรีโคตรบูรณ์ได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขกบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ใน พ.ศ. 2057 สมัยพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศราชธานีศรีโคตรบูรณ์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น เมืองศรีโคตรบรูณ์ ตรงตามชื่ออาณาจักรเดิม ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280 พระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น มีข้อสันนิษฐานประการหนึ่งว่า เมืองนครเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้ใช้ชื่อว่า นคร ส่วนคำว่า พนม ก็มาจากพระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ เดิมเมืองมรุกขนครตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อน จึงนำคำว่า พนม ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ นครพนม จึงหมายความถึง เมืองแห่งภูเขา นั้นเอง