คำขวัญจังหวัด คำขวัญจังหวัดตาก จังหวัดตาก สถานที่ท่องเที่ยว


1,990 ผู้ชม


คำขวัญจังหวัด คำขวัญจังหวัดตาก 	จังหวัดตาก สถานที่ท่องเที่ยว
ตราประจำจังหวัด

คำขวัญจังหวัด คำขวัญจังหวัดตาก

ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม


มืองตาก ในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปะมอญปรากฏอยู่ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านตาก เมืองนี้สร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาเมื่อได้สถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว เมืองตากมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ย้ายตัวเมืองตาก จากฝั่งขวาของแม่น้ำปิง มายังฝั่งซ้ายบริเวณตำบลล้านระแหง จนกระทั่งทุกวันนี้

จังหวัดตาก เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ของภาคเหนือ รองจากเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าเขาอันเป็นที่อยู่ ของชาวเขาเผ่าต่างๆ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านตัวจังหวัด และมีแม่น้ำเมย เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย กับพม่า ที่อำเภอแม่สอด ซึ่งเป็นศูนย์กลาง การค้าขาย ชายแดนระหว่างไทยกับพม่า

ตาก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 426 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 10,254,156 ไร่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็น ภูเขา และป่าไม้ เป็นจังหวัดที่มีอุทยานแห่งชาติหลายแห่งที่ยังคงความสมบูรณ์ของป่า และธรรมชาติ อาทิ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติลานสาง และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ตลอดจนมีน้ำตกที่ นักท่องเที่ยวรักการผจญภัย และนิยมการล่องแก่งต้องมาเยือนสักครั้ง คือ น้ำตกทีลอซู และน้ำตกทีลอเร นอกจากความสวยงามตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อทั้งดอกไม้ และผลไม้ โดยเฉพาะทับทิม ซึ่งเป็นพันธุ์ ที่มีผลใหญ่ และกำลังได้รับความนิยมมาก

 
ประวัติและความเป็นมา

จ.ตาก เป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุ เกินกว่า 2,000 ปี และเคยเป็นชุมชนโบราณ ที่มีการเพาะปลูก และ ล่าสัตว์ มีการปั้น เครื่องปั้นดินเผา และ หล่อโลหะ ประเภท สำริด จากหลักฐานการค้นพบซากโบราณวัตถุหลายชิ้น ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไม้สอย ในยุคโลหะตอนปลาย ก่อนประวัติศาสตร์ คือ ประมาณ 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว

เดิมที ชุมชน ตาก ในอดีต คงเป็นเมืองที่ชาวมอญ สร้างขึ้น และเป็นราชธานีของแคว้นแถบตอนเหนือ ที่มีกษัตริย์ปกครอง ต่อเนื่องกันมาหลายพระองค์ ในรัชสมัย พระเจ้าสักดำ ราวปี พ.ศ.560 เมืองตาก เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ มีอาณาเขตแผ่ไปไกล จนจดทะเลอันดามัน และมีการติดต่อค้าขาย กับเมือง อินเดีย ด้วย ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิส อพยพโยกย้ายผู้คน ไปสร้างราชธานีใหม่ ขึ้นที่ เมืองละโว้ ทางตอนใต้ของ เมืองตาก ทิ้งให้ ตาก กลายเป็นเมืองร้าง อยู่หลายร้อยปี

จนราวปี พ.ศ.1310 - 1311 พระนางจามเทวีวงศ์ พระราชธิดา ในกษัตริย์ เมืองละโว้ เสด็จตามลุ่มน้ำปิง ผ่าน เมืองตาก เพื่อไปปกครอง แคว้น หริภุญไชย หรือ ลำพูน ในปัจจุบัน ทรงพบร่องรอยกำแพงเก่า ตามริมฝั่งแม่น้ำ จึงโปรดฯ ให้สร้างเมืองแห่งนี้ขึ้นเป็นบ้านเมืองใหม่ เรียกกันว่า "บ้านตาก" ด้วยมีเรื่องเล่าว่า เป็นสถานที่ ที่พี่เลี้ยงของพระนาง ตากผ้า และสิ่งของที่เปียกชุ่ม ขณะเดินทางมาตามลำน้ำ

หลังจาก พ่อขุนรามคำแหง ชนช้างชนะ ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ในปี พ.ศ.1781 แล้ว พระองค์ได้ยกทัพผ่านลงมาทาง แหลมมลายู ปราบเมืองใหญ่น้อย ที่เคยเป็นอาณาจักร ทวารวดี และ ศรีวิชัย รวมเข้าเป็น อาณาจักร สุโขทัย เป็นผลให้มีการเปิดเส้นทางค้าขาย ทางบก ไปยังเมือง เมาะตะมะ ของ มอญ ซึ่งเป็นเมืองท่า ผ่านสินค้าต่อไปยัง อินเดีย เปอร์เซีย และ อาระเบีย โดยพ่อค้าไทย มักนำเครื่อง สังคโลก จาก สุโขทัย ผ่านแม่สอด ไปยัง เมาะตะมะ เพื่อส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ โดยทางเรือ ขณะเดียวกัน ก็นำสินค้าจากเมือง เมาะตะมะ และประเทศ ทางตะวันตก กลับมาขายด้วย

สมัย อยุธยา บ้านตาก เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ สำหรับป้องกันกองทัพ พม่า ที่ยกทัพเข้ามาทางด่าน แม่ละเมา มีแม่ทัพ นายกอง และไพร่พล จาก กรุงศรีอยุธยา มาประจำการ และยังเป็นที่ชุมนุมไพร่พล ทหารกล้า สำหรับการเดินทัพครั้งสำคัญ เพื่อเข้าตีเมือง เชียงใหม่ อีกหลายครั้ง ในสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ช่วงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นประเทศราช ขึ้นกับ พม่า สมัย พระเจ้าหงสาวดี ได้ย้ายเมือง จาก บ้านตาก ลงมาทางใต้ ประมาณ 25 กม. เรียกว่า "เมืองตากระแหง" ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตก ด้วยเหตุที่การ คมนาคมติดต่อ ระหว่างเมืองนี้ กับเมือง มอญ ใกล้กว่าที่เก่า

ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 เมือง ตากระแหง ถูก พม่า ตีแตก ผู้คนหนีไป บ้านเมืองร้าง จนถึงสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละ ได้รวบรวมชาว เมืองตาก เดิม ที่ บ้านตาก และ เมืองตากระแหง มาตั้งเมืองใหม่ โดยย้ายเมือง มาอยู่ฝั่งตะวันออก ของ แม่น้ำปิง เพื่อให้ ลำน้ำ เป็นปราการธรรมชาติ ที่ช่วยกั้นทัพ พม่า เมื่อ พม่า เป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ บ้านเมืองสงบ ปลอดศึกสงคราม ตาก เริ่มมีการค้าขาย กับ พม่า และเมืองทาง ภาคเหนือ โดยอาศัยลำน้ำปิง เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ ชุมชนจึงขยายตัว ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด ตาก ก็กลายเป็นศูนย์กลางการค้า ทางเรือ ระหว่าง เชียงใหม่ นครสวรรค์ และ กรุงเทพฯ

 
อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน และ จ.ลำปาง
ทิศใต้ ติดต่อกับ จ.กาญจนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จ.สุโขทัย จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์ และ จ.อุทัยธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า มีแม่น้ำเมย เป็นพรมแดน

จังหวัดตาก ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้และภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 16,406.650 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง อำเภอพบพระ และกิ่งอำเภอวังเจ้า

 
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 055)

งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท.

02-250-5500 ต่อ 1555-1563 , 02-694-1222 ต่อ 8

ททท.ภาคเหนือ เขต 4

055-514-341-3

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

055-513-584

ตำรวจทางหลวง จ.ตาก

055-511-340

ตำรวจทางหลวง อ.แม่สอด

055-532-222

สภ.อ.เมือง

055-511-355

สภ.อ.ท่าสองยาง

055-589-013 , 055-589-123

สภ.อ.บ้านตาก

055-591-009

สภ.อ.พบพระ

055-569-108

สภ.อ.แม่ระมาด

055-581-253

สภ.อ.แม่สอด

055-531-122 , 055-531-130

สภ.อ.อุ้มผาง

055-561-011 , 055-561-112

รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ

055-511-024-5 , 055-513-983-4

รพ.ท่าสองยาง

055-589-020 , 055-589-125 , 055-589-255-6

รพ.บ้านตาก

055-591-435

รพ.พบพระ

055-569-023 , 055-569-211-2

รพ.แม่ระมาด

055-581-136 , 055-581-229

รพ.แม่สอด

055-531-224 , 055-531-229

รพ.สามเงา

055-599-072 , 055-549-257-8

รพ.อุ้มผาง

055-561-016 , 561-270-2

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดตาก


สะพานมิตรภาพไทย-พม่า

ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด สุดทางหลวงหมายเลข 105 (สายตาก-แม่สอด) เป็นสะพานสร้างข้ามแม่น้ำเมยระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กับ เมืองเมียวดีสหภาพเมียนมาร์ (หรือพม่าเดิม) มีความยาว 420 เมตร กว้าง 13 เมตร สร้างเพื่อเชื่อมถนนสายเอเซียจากประเทศไทยสู่สหภาพเมียนมาร์ ตลอดจนภูมิภาคเอเซียใต้ ถึงตะวันออกกลางและยุโรป เป็นประตูสู่ อินโดจีนและอันดามัน แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน เป็นเส้นกั้นเขตแดนไทย เมียนมาร์ที่ยาวถึง 327 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้แปลกกว่าแม่น้ำทั่วไปคือไหลขึ้นทางทิศเหนือ โดยมีจุดกำเนิดที่บ้านน้ำด้น (เป็นน้ำที่ผุดขึ้นจากใต้ดิน) อำเภอพบพระ ไหลผ่านอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำภอท่าสองยาง ผ่านบ้านสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บรรจบกับแม่น้ำสาละวิน ไหลเข้าเขตพม่าลงอ่าวมะตะบัน


สวนเทพพิทักษ์

อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่สอด เส้นทางตาก – พบพระประมาณ 28 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้าย เข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการโดย คุณไพรัตน์ คุณบุปผา ไชยนอก เจ้าของสวนเริ่มปลูกและพัฒนาพันธุ์ทับทิมขึ้นมาใหม่ ชื่อ “ทับทิมศรีปัญญา” เมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งทับทิมที่ไร่เทพพิทักษ์จะออกลูกตลอดทั้งปีและมีผลผลิตที่มีคุณภาพ ผลใหญ่ เนื้อแดงเข้ม รสชาติหวานจัดชาวจีนถือเป็นผลไม้มงคลและเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งทานได้ ทั้งผลสุก และน้ำทับทิม ปัจจุบันสวนเทพพิทักษ์ได้พัฒนาทับทิมพันธ์ใหม่ ชื่อ “ทับทิมศรีสยาม” เป็นทับทิมไร้เมล็ด เริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และได้ผลผลิตมากขึ้นในปี พ.ศ. 2548 นี้ ทับทิมที่สวนเทพพิทักษ์มีผลผลิตทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน – เดือนมิถุนายน และช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม จะมีผลผลิตออกมามากเป็นพิเศษ


อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ

อุทยาน แห่งชาติน้ำตกพาเจริญ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ และตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่กุ ตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด มีพื้นที่ 534,375 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,765 เมตร สภาพทั่วไปส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเขาสน ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ
น้ำตกพาเจริญ เป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำห้วยน้ำไหลมารวมกับแหล่งน้ำซับแล้วไหลลงสู่ชั้นน้ำตกที่
นับ รวมได้ถึง 97 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปีแต่จะสวยงามในช่วงปลายฤดูฝน การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1090 สายแม่สอด-อุ้มผาง มีทางแยกซ้ายกิโลเมตรที่ 37 เข้าไปอีกประมาณ 700 เมตร
บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ อุณหภูมิของน้ำวัดได้ 60 องศาเซลเซียส ปัจจุบันอำเภอพบพระได้จัดศาลาพักผ่อนใกล้บ่อน้ำร้อน ด้านที่ติดกับถนนรพช. สามารถเที่ยวชมได้ตลอดปี การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1206 สายพบพระ-บ้านช่องแคบ มีทางแยกขวาก่อนเข้าอำเภอพบพระเพื่อไปหมู่บ้านห้วยน้ำนัก
จุดชมวิวดอยเกี๊ยะ ตั้งอยู่ในเขตป่าแม่สอด หมู่ที่ 4 ตำบลพบพระ เป็นจุดสูงสุดชายแดนไทย-สหภาพพม่า มีความสูงประมาณ 512 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์บริเวณป่าของพม่าได้ บางส่วนเป็นสันเขา และมีอากาศเย็นสบาย ในฤดูหนาวมีทะเลหมอกเหนือแม่น้ำเมย ที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย-สหภาพพม่า
น้ำตกป่าหวาย ไป ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1090 สายแม่สอด-อุ้มผาง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 43 แยกซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้านประมาณ 16 กิโลเมตร ทางคดเคี้ยว การชมน้ำตกต้องเดินจากชั้นล่างของน้ำตก ฝ่ากระแสน้ำขึ้นไปชมน้ำตกชั้นบนแล้วเดินต่อไปอีกประมาณ 30 เมตร จะพบปล่องภูเขากว้างประมาณ 10 เมตร มีน้ำไหลลงสู่ปล่องแล้วหายไปในบริเวณใต้ภูเขา น้ำตกป่าหวายเกิดจากลำห้วยป่าหวายมีน้ำไหลตลอดปี บริเวณโดยรอบมีไม้หวายเป็นจำนวนมากจึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตก การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1090 สายพบพระ-อุ้มผาง เลี้ยวซ้ายก่อนถึงกิโลเมตรที่ 42 เข้าไปประมาณ 20 กิโลเมตร
น้ำตกสายฟ้า และ น้ำตกสายรุ้งเป็น น้ำตกที่มีละอองน้ำตกลงมากระทบแสงแดด เหมือนรุ้งกินน้ำ มีน้ำไหลตลอดปี การเดินทาง อยู่ระหว่างเส้นทางสายพบพระ-อุ้มผาง ทางหลวงหมายเลข 1090 เลยอำเภอ
พบพระไป 11 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกสายฟ้า และน้ำตกสายรุ้ง
สถานที่พักอุทยานฯ มีบ้านพักบริการ จำนวน 2 หลัง หรือกางเต็นท์พักแรมแต่ต้องนำอุปกรณ์มาเอง ติดต่อรายละเอียดได้ที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ กิโลเมตรที่ 37 หมู่ 6 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ
จังหวัดตาก 63160 โทร. 0 5550 0906 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760www.dnp.go.th
การเดินทางอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1090สายแม่สอด-อุ้มผาง ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 37มีทาง
แยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 700 เมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
อ่านต่อ


วัดดอนแก้ว

ตั้ง อยู่หลังที่ว่าการอำเภอแม่ระมาด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันเป็นปฏิมากรรมของชาวพม่าที่มีอยู่ 3 องค์ในโลก แกะสลักจากหินอ่อนทั้งแท่ง โดยองค์แรกประดิษฐานที่ประเทศอินดีย องค์ที่สองประดิษฐานที่ประเทศปากีสถาน และองค์ที่สามประดิษฐานที่วัดดอนแก้ว หมู่ที่ 6 อำเภอแม่ระมาด โดยเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2465 ขุนระมาดไมตรี และชาวแม่ระมาดได้ไปติดต่อขอเช่าบูชามาจากพม่าในราคา 800 รูปี มีขนาดหน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สูงจากฐานถึงเศียร 63 นิ้ว โดยนำมาทางเรือผ่านเมืองมะละแหม่ง แล้วเดินทางต่อจนถึงท่าเรือจองโต ท่านครูบาขาวปี ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านและชางเมืองเหนอได้ไปรับพระพุทธรูปหินอ่อนแล้ว อัญเชิญขึ้
นบนเกวียนผ่านเมืองกรุกกริก บ้านจ่อแฮ (บ้านกะเหรี่ยง) การเดินทางยากลำบาก และล่าช้าเพราะเป็นภูเขาสูงชันต้องนอนพักแรมระหว่างทางถึงหมู่บ้านป๋างกาง การเดินทางจึงรวดเร็วขึ้นเพระาเป็ฯพื้นราบกระทั่งถึงหมู่บ้านเมียวดี ริมฝั่งแม่น้ำเมย เขตประเทศสหภาพเมียนมาร์ และข้ามแม่น้ำเมยเข้าสูประเทศไทยที่บ้านท่าสายลวด เขตแม่สอด และเดินทางไปยังอำเภอแม่ระมาดจึงอัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อนประดิษฐาน ณ วิหารวัดดอนแก้ว ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2465 รวมเวลาที่ไปอัญเชิญพระพุทธรูปหินอ่อนในครั้งนี้เป็นเวลา 12 วัน


ศาลเจ้าพ่อพะวอ

ตั้ง อยู่บนเนินดินเชิงเขาพะวอ ถนนสายตาก - แม่สอด บริเวณกิโลเมตรที่ 62 - 63 ศาลนี้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองตาก และชาวอำเภอแม่สอดมาก เล่ากันว่าท่านเป็นนักรบชาวกะเหรี่ยง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงแต่งตั้งให้เป็นนายด่านอยู่ที่ด่านแม่ละเมา เพื่อคอยป้องกันข้าศึกมิให้ข้ามเขามาได้ เดิมทีศาลเจ้าพ่อพะวออยู่อีกด้านหนึ่งของเขา แต่เมื่อตัดถนนไปทางใหม่จึงได้มาสร้างศาลขึ้นใหม่ มีผู้เล่าว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใครไปล่าสัตว์ในบริเวณเขาพะวอแล้วมักจะเกิดเหตุต่างๆ เช่น รถเสีย เจ็บป่วย หรือหลงทาง และเพราะเหตุที่เจ้าพ่อพะวอเป็นนักรบ จึงชอบเสียงปืน ทำให้ผู้ที่เดินทางมาสักการะมักยิงปืนถวาย จุดประทัด หรือบีบแตรถวายท่านเป็นการแสดงความเคารพ


เขื่อนภูมิพล

เรียก อีกชื่อหนึ่งว่า เขื่อนยันฮี เป็นเขื่อนเอนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย สร้างเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ จัดอยู่ในอันดับ 8 ของโลก มีความสูงจากฐานถึงสันเขื่อน 154 เมตร กั้นแม่น้ำปิงที่เขาแก้ว อำเภอสามเงา สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า และด้านชลประทาน ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 207 กิโลเมตร รอบบริเวณเขื่อนภูมิพลเป็นแหล่งพักผ่อน และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดด้วย นอกจากนั้นทางเขื่อนภูมิพลได้จัดทำ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ สองฝั่งลำน้ำปิงเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ตื่น เป็นเส้นทางเดินศึกษาสภาพความหลากหลายของพื้นที่ป่าดิบเขา และการฟื้นฟูสภาพป่า ตลอดจนการศึกษาลักษณะสภาพป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ความหลากหลายของภูเขาหิน ลำห้วย และน้ำตก เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์
อาคารเฉลิมพระเกียรติ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสวนน้ำพระทัย จ้ดสร้างขึ้นในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ภายในอาคารจัดแสดงเรื่องราวการก่อสร้างเขื่อนและนำเสนอประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อม
ที่เกิดจากเขื่อนภูมิพล เรื่องในหลวงกับ กฟผ. การจำหน่ายผลผลิตจากโครงการหลวง ภายนอกอาคารจัดแสดงการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา
สนามกอล์ฟเขื่อนภูมิพล เป็นสนามภูเขาที่มีความท้าทายท่ามกลางธรรมชาติ และภูมิทัศน์ที่สวยงาม ระยะ 6,065 หลา พาร์ 71 จำนวน 18 หลุม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและจองที่พักได้ที่เขื่อนภูมิพล โทร. 0 5554 9509-10, 0 5559 9093-7, ต่อ 2521


อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช

มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตป่าแม่ท้อ ตำบลแม่ท้อ ตำบลพะวอ อำเภอเมือง และป่าแม่ละเมา อำเภอแม่สอด มีเนื้อที่ 165,250 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2524 ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชัน มีภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าสมบูรณ์ เป็นอุทยานฯ ที่มีป่าหลายชนิด เช่น ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ อุทยานฯ มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ส่วนฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม จะมีอุณหภูมิ 6 องศาเซลเซียส
พื้นที่ ป่าแห่งนี้ในอดีตเคยใช้เป็นเส้นทางเดินทัพของไทย และพม่า ในปี พ.ศ. 2305 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างยกทัพกลับทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ในป่านี้
สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯได้แก่
ต้นกระบากใหญ่ เป็นต้นไม้ที่ขึ้นในบริเวณหุบเขาของป่าดงดิบ เป็นพันธุ์ไม้เนื้ออ่อนมีลักษณะลำต้นตรงเปลา (คือ ลำต้นสูงชะลูดไม่มีกิ่งที่ลำต้น) เรือนยอดเป็นพุ่มกลมเปลือกสีน้ำตาลปนเทา มีอายุประมาณ 700 ปี มีขนาดวัดโดยรอบได้ 16.40 เมตร หรือราว 14 คนโอบ สูง 50 เมตร เป็นต้นกระบากที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผู้ค้นพบคือ นายสวาท ณ น่าน ช่างระดับ 2 สถานีโทรคมนาคม จังหวัดตาก เส้นทางเดินที่ลงไปชมต้นกระบากใหญ่ทางอุทยานฯ ได้จัดทำเป็น เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมระบบเชิงนิเวศของป่าด้วย ผู้ที่จะเดินลงไปชมต้นกระบากใหญ่ควรมีความพร้อมทางร่างกาย เพราะทางเดินค่อนข้างชัน การเดินทาง ต้นกระบากใหญ่อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นทางรถยนต์ประมาณ 3 กิโลเมตร และเป็นทางเดินเท้าลงเขาชันอีกประมาณ 1 กิโลเมตร
สะพานหินธรรมชาติ มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่เชื่อมหน้าผาสองแห่งเข้าด้วยกัน มีความกว้าง และความสูงประมาณ 25 เมตร เบื้องล่างมีลำธารไหลผ่าน ถัดออกไปประมาณ 50 เมตร มีถ้ำที่มีหินงอกหินย้อย การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 35 ให้แยกเข้าศูนย์เพาะชำกล้าไม้ตาก และตรงไปประมาณ 6 กิโลเมตร จากนั้นให้เดินเท้าต่อไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงสะพานหินธรรมชาติ
น้ำตกปางอ้าน้อยเป็นน้ำตกขนาดกลางมีน้ำไหลตลอดทั้งปี สูงประมาณ 20 เมตร อยู่ห่างจากต้นกระบากใหญ่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร
น้ำตกปงอ้าใหญ่ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ความสูงประมาณ 80 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 24 กิโลเมตร การเดินทาง ควรติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เป็นผู้นำทางสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานฯ โทร. 0 5551 1429 หรือกรมอุทยานฯ โทร. 0 2562 0706
ถ้ำธารลอดผาขาว-ผาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการ 35 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยผาขาว-ผาแดง มีความสูง 30 เมตร มีถ้ำธารลอดเกิดจากลำห้วยผาแดง ซึ่งไหลเลาะลงถ้ำด้านล่าง ภายในถ้ำมีหินงอก หินย้อยสวยงาม
น้ำตกแม่ย่าป้า เป็นน้ำตกขนาดกลางที่เกิดจากลำห้วยแม่ย่าป้า อยู่ในป่าทึบ มีน้ำไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นตามร่องห้วย แล้วไหลลงสู่ลำห้วยแม่ท้อ การเดินทาง ไปน้ำตกแม่ย่าป้านั้นยังไม่สะดวกนัก นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเดินป่าควรติดต่อขอคนนำทางกับเจ้าหน้าที่ของ อุทยานฯ ก่อน
น้ำตกสามหมื่นทุ่ง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยสามหมื่นหลวง มีความสูง 30 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี
อัตรา ค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย เด็ก ราคา 10 บาท ผู้ใหญ่ ราคา 20 บาท ชาวต่างประเทศ เด็ก ราคา 100 บาท ผู้ใหญ่ ราคา 200 บาท รถยนต์ 4 ล้อ ราคา 30 บาท (ไม่รวมคนขับ)
สถานที่พัก อุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 8 หลัง ราคาหลังละ 500-1,000 บาท มีเรือนนอน พักได้ 60 คน ราคา 2,000 บาท นอกจากนี้ยังมีค่ายพักแรมที่เล่นแค้มป์ไฟได้ และนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเอง ทางอุทยานฯ ได้จัดสถานที่ตั้งเต็นท์ไว้เสียค่ากางเต็นท์ 100 บาท/คน/คืน และอุทยานฯ มีร้านอาหารบริการแต่ต้องติดต่อล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ตู้ ปณ. 10 อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000 โทร. 0 5551 1429 หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ https://www.dnp.go.th
การเดินทาง
รถยนต์ ใช้เส้นทางสายตาก-แม่สอด ทางหลวงหมายเลข 105 ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 26 มีทางแยกขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
รถประจำทาง มีรถตู้วิ่งประจำทาง สายตาก-แม่สอด มาลงที่ปากทางแยกเข้าอุทยานฯ บริเวณกิโลเมตรที่ 26 แล้วจากนั้นจะต้องเดินเท้าเข้าไปอุทยานฯ อีก 2 กิโลเมตร
อ่านต่อ


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง

มี พื้นที่ 1,619,280 ไร่ เป็นเขตป่าอนุรักษ์เพื่อการสงวน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นผืนป่าตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของแหล่งมรดกโลก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน อากาศจะหนาว และเย็นมากในระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ พรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ เสือลายเมฆ สมเสร็จ เลียงผา เหยี่ยว นกกระทุง ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง เมื่อ พ.ศ. 2532
สถานที่น่าสนใจในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ได้แก่
น้ำตกทีลอซู คำว่า " ทีลอซู " เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก ติดอันดับ 1 ใน 6 ของโลก ซึ่งการเดินทางไปชมน้ำตกแต่ละชั้นบางครั้งจะต้องเดินผ่านสายน้ำตก ควรใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ
การเดินทาง รถยนต์ จากอำเภออุ้มผางใช้เส้นทางสายอุ้มผาง-แม่สอด ถึงหลักกิโลเมตรที่ 161 มีทางแยกซ้ายที่บ้านแม่กลองใหม่ไปด่านเดลอ หรือจุดตรวจ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง” เป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวที่ขับรถเข้าน้ำตกทีลอซูควรใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อที่มีสมรรถนะสูงเท่านั้น ในช่วงฤดูฝนรถยนต์ไม่สามารถเข้าได้หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์ จะเดินทางเข้าชมน้ำตกทีลอซูจะต้องล่องแพยางและเดินเท้า ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และเดินเท้าเข้าชมน้ำตกอีกประมาณ 3 กิโลเมตรค่าธรรมเนียมเข้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ 20 บาท/ คน รถยนต์ 30 บาท/ คัน ล่องแพ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อผ่านบริษัททัวร์ที่จัดล่องแพในอำเภออุ้มผางได้ โดยติดต่อได้ที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผาง โทร. 0 5556 1338


น้ำตกทีลอซู

ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก ติดอันดับ 1 ใน 6 ของโลก
น้ำตกทีลอซูคำ ว่า ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง การเดินทางใช้เส้นทางบ้านแม่กลองใหม่-บ้านเปิ่งเคลิ่ง ระยะทาง 20 กม. ถึง ด่านป่าไม้เดลอแยกซ้ายมือจากถนนใหญ่ เป็นทางลำลองประมาณ27 กม. ถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางเดินเท้าอีก 3 กม. ถึงน้ำตก ทีลอซู ลักษณะเป็นน้ำตกเขาหินปูนขนาดใหญ่กลางป่าตะวันตก ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อทอ มีน้ำไหลตลอดปี ความกว้างของน้ำตกประมาณ 500 เมตร แวดล้อมด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์สวยงาม ติดอันดับ 1 ใน 6 ของโลก และสวยที่สุดในประเทศไทย รถยนต์(ควรใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อที่มีสมรรถนะสูงเท่านั้น)สามารถเข้าถึงที่ทำการเขตฯ เฉพาะในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม เท่านั้น ในช่วงเดือนอื่นๆ จะต้องใช้วิธีล่องแก่งแล้วเดินเท้าแทน
ล่องแพ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อผ่านบริษัททัวร์ที่จัดล่องแพในอำเภออุ้มผางได้ โดยติดต่อได้ที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผาง โทร. 0 5556 1338
การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยว ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง หรือน้ำตกทีลอซู นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องดำเนินการขออนุญาตก่อน โดยผ่านการประทับตรา สป. 7 จากกรมป่าไม้ (แบบฟอร์มดังกล่าวสามารถติดต่อผ่านชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผาง) เพราะพื้นที่นี้ไม่ใช่พื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการอนุญาตให้เข้าไปในฐานะผู้ศึกษาธรรมชาติ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเทศกาลวันหยุดจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ในเขตอำเภ
ออุ้มผางโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น้ำตกทีลอซูเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาความแออัดในแหล่งธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาเรื่องขยะรวมถึงห้องสุขาไม่เพียงพอ และถนนเสียหาย


หมายเหตุ :
เขต รักษาพันธุ์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จะปิดเส้นทางเดินรถยนต์ จากหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยหนองหลวงถึงน้ำตกทีลอซู รวมระยะทาง 25 กิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 30 ตุลาคม เนื่องจากเป็นฤดูฝน ทำให้การสัญจรเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเป็นการพักฟื้นผืนป่าให้สัตว์ป่าออกหากินและขยายพันธุ์โดยไม่ถูกรบกวน
การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวน้ำตกทีลอซูในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถเดินทางเข้าไปได้ด้วยกัน 2 เส้นทางด้วยกัน คือ
• เส้นทางที่ 1 ล่องเรือยางจาก อ.อุ้มผาง ขึ้นที่ท่าทราย เดินเท้าต่อไปยังน้ำตกทีลอซู ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง
• เส้นทางที่ 2 เดินเท้าตามเส้นทางรถจากห้วยหนองหลวงถึงน้ำตกทีลอซู ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะเดินทางเข้าไปในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางก่อนทุกครั้ง
สอบ ถามรายละเอียดได้ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง โทร. 0-5550-0919-20 และที่ทำการชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์อุ้มผาง โทร. 0-5556-1338
อ่านต่อ


อำเภอแม่สอด

อยู่ ห่างจากอำเภอเมืองตาก 86 กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 เดิมชื่อพระหน่อเก่ ตัวอำเภออยู่ในที่ราบระหว่างภูเขา ส่วนหนึ่งเป็นเทือกเขาในฝั่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นเทือกเขาฝั่งสหภาพพม่า อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 2,600 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีทั้งชาวเขา และคนที่อพยพจากอำเภอเมืองเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยา และบุตรเป็นคนไทยด้วยประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดนั้น ยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชนที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัย หรือไม่ ยังไม่มีผู้ใดพิสูจน์ได้ เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้น ไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของสุโขทัยได้เลย ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกัน ขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าทึบ ในท้องที่อำเภอแม่ระมาด อาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยก็ได้


วัดพระบรมธาตุ


ตั้ง อยู่ที่ตำบลเกาะคา ใจกลางเมืองตากเก่า เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของปีมะเมีย (แทนเจดีย์ชะเวดากอง) ซึ่งองค์เจดีย์มีลักษณะทรางสี่เหลี่ยม ต่อมาพระครูพิทักษ์บรมธาตุ (ทองอยู่) ได้บูรณะใหม่โดยสร้างครอบองค์เดิมไว้ สูงประมาณ 20 เมตร มีลักษณะทรงแปดเหลี่ยม ศิลปะล้านนา ภายนอกบุด้วยทองดอกบวบ (ทองเหลืองผสมทองแดง) มีเจดีย์องค์เล็ก 16 องค์ ซุ้มสำหรับบรรจุพระพุทธรูป 12 องค์ ซึ่งซุ้มสำหรับใส่ปั้นอ้อนช้อย สวยงามมาก วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดเก่า ได้รับ การปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง ตัวอุโบสถมีประตูเป็นไม้แกะสลักที่วสยงาม หน้าบันและจั่วเป็นไม้ หน้าต่างแกะสลักเป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันได เป็นนาค วิหารของวัดเป็นวิหารเก่ามีเพดานสูง 2 ชั้นมีช่องลมอยู่โดยรอบ ทำให้อากาศภายในวิหารเย็นสบาย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองและมีวิหารอีกหลังหนึ่ง ซึ่งมีพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองชื่อ หลวงพ่อทันใจ ซึ่งเป็นที่เคารพสักกาะของประชาชน ทั้งในจังหวัดตากและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีวิหารไม้เก่าแก่ ที่มีลายแกะสลักไว้ให้ชม นับเป็นวัดที่มีคุณค่าในทางโบราณคดีมาก
มีการจัดพิธีสมโภชและสักการะพระธาตุในวันขึ้น 14และ 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี
การเดินทางจาก ตัวเมืองตากไปตามทางหลวงหมายเลข 1107 ประมาณ 35 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสูทางหลวงหมายเลข 1175 อีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดพระบรมธาตุอยู่ทางซ้ายมือ หรือหากใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ตรงกิโลเมตรที่ 442 เข้าอำเภอบ้านตากผ่านสะพานข้ามแม่น้ำปิ แล้วเลี้ยวขวาผ่านวัดท่านา จนถึงสามแยกแล้วเลี้ยวซ้าย 200 เมตร ถึงวัดพระบรมธาตุอยู่ทางซ้ายมือ


ที่มา https://www.tat.or.th/travelplace.asp?prov_id=63

อัพเดทล่าสุด