คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวในเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี


1,996 ผู้ชม


ตราประจำจังหวัดเพชรบุรี
รูปเขาวัง ผืนนา และต้นตาลโตนด
    เขาวัง หมายถึง เขาที่ตั้งของพระนครคีรี ซึ่ง ร. 4ทรงสร้างและพระเจดีย์พระธาตุจอมเพชร นับเป็นเจดีย์คู่บ้านคู่เมือง
    ผืนนา หมายถึง เมืองเกษตรกรรมและความอุดมสมบูรณ์
    ต้นตาลโตนด หมายถึง ต้นไม้สัญลักษณ์ของจังหวัด
จังหวัดเพชรบุรี ใช้อักษรย่อว่า "พบ"
คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี
" เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม "

 คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวในเพชรบุรี 	สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

  งานประจำปี พระนครคีรี เขาวัง เมืองเพชรบุรี

คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวในเพชรบุรี 	สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

   พระราชวัง รามราชนิเวศน์  คนเพชร เรียก วังบ้านปืน ครับ

คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวในเพชรบุรี 	สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

     ภายในพระอุโบสถ  วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี

 คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวในเพชรบุรี 	สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

      ภายใน ถ้ำเขาหลวง อยู่ใกล้ กับ เขาวัง ครับ

 คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวในเพชรบุรี 	สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

      พระราชวังค่าย มฤคทัยวัน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

 คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวในเพชรบุรี 	สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

      หอพระไตรปิฎก กลางน้ำ วัดใหญ่สุวรรณาราม  จ.เพชรบุรี

 คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยวในเพชรบุรี 	สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

      การแข่งขัน วัวเทียมเกวียน กีฬาพื้นบ้าน อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี


ธงประจำจังหวัดเพชรบุรี
ต้นไม้ประจำจังหวัด
        ชื่อพรรณไม้ หว้า
        ชื่อวิทยาศาสตร์ Sysygium cumini

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี  วัฒนธรรม  และการละเล่นพื้นเมืองประจำจังหวัด

                จังหวัดเพชรบุรี มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และการละเล่นพื้นเมืองที่สำคัญ ที่นิยมปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน   ดังนี้

            1.  งานพระนครคีรีเมืองเพชร   จะจัดวันศุกร์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ มักตรงกับเทศกาลตรุษจีน  เป็นงานประจำปี  เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์เมืองเพชร ตลอดจนเพื่อเผยแพร่สิ่งที่ดีงามในทุกด้านให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

            2. ประเพณีวัวลาน  เป็นการละเล่นของสังคมชาวนาเมืองเพชรบุรีหลังฤดูเก็บเกี่ยว  ขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชายเมืองเพชรต้องเคยผ่านการร่วมแข่งขันวัวลานมาบ้างแล้ว เป็นการละเล่นที่มีวิวัฒนาการมาจากการนวดข้าว ซึ่งจะต้องต้อนวัวโดยการผูกติดกันเป็นพรวนให้ย่ำไปบนข้าว และบังคับให้เดินเป็นวงกลม ชาวเมืองเพชรจึงนำวิธีการดังกล่าวมาปรับเป็นการแข่งขัน 

โดยการปักหลักเกียด    ซึ่งเป็นหลักไม้ไว้กลางลาน    แล้วนำวัวตัวผู้มาผูกติดเป็นรัศมีออกไปยาวประมาณ  19  ตัว  และจะแบ่งวัวออกเป็น  2 ฝ่าย คือ  วัวรอง  และวัวนอก (ตัวที่อยู่นอกสุด)     ในการแข่งขันถือว่า  วัวฝ่ายใดวิ่งแซงอีกฝ่ายหนึ่งได้ถือว่าฝ่ายนั้นชนะ    ปัจจุบันประเพณีนี้จะจัดขึ้นเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานพระนครคีรีเมืองเพชร

              3.  ละครชาตรี ละครชาตรีเป็นละครรำที่เก่าแก่ที่สุด  ได้รับวัฒนธรรมจากละครของอินเดีย  เข้ามาสู่เมืองเพชรบุรีตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน  มีเพียงประวัติว่า  “หม่อมเมือง”  ซึ่งเป็นหม่อมในรัชกาลที่  5 เป็นคนเพชรบุรี        ด้วยเป็นผู้มีความสามารถในการเล่นละครชาตรี   จึงมักเล่นถวายหน้าพระที่นั่งทุกครั้งที่เสด็จมา   จนได้รับพระราชทานบริเวณ  “หน้าพระลาน”  เพื่อเป็นที่แสดงละครเป็นประจำ     ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6  มีผู้นำละครนอกมาประสมกับละครชาตรี    เรียกว่า ละครเข้าเครื่องหรือละครชาตรีเครื่องใหญ่  เป็นละครที่รวมศิลปะการร้อง  และการรำเข้าด้วยกัน  และได้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน

                 4. ไทยทรงดำ  หรือไทยดำ  หรือไทยโซ่ง  หรือลาวโซ่ง    เป็นชื่อกลุ่มชนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่งในท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี   ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอำเภอเขาย้อย  อาชีพหลักของชาวไทยทรงดำ คือทำนา  ทำไร่  หาของป่า  และจับสัตว์ป่า  นอกจากนี้ยังมีความสามารถเป็นพิเศษในการจับปลาตามห้วย  หนอง  ลำคลอง  ส่วนอาชีพรอง คือ อาชีพจักสานเป็นอาชีพที่แพร่หลายของชาวไทยทรงดำในเขตอำเภอเขาย้อย  โดยเฉพาะการจักสานหลัวหรือเข่ง  ภาษาของชาวไทยทรงดำ  มีลักษณะคล้ายกับภาษาไทยอื่น  ๆ ทั่วไป แต่มีลักษณะเฉพาะในการออกเสียงและศัพท์เฉพาะบางคำ  และมีอักษรเขียนของตน   ซึ่งปัจจุบันมีผู้อ่านได้น้อยลง  ทรงผมเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ        โดยเฉพาะทรงผมของผู้หญิงมีถึง  8  แบบ    แต่ละแบบจะบ่งบอกถึงสถานภาพของสตรีผู้นั้น

อัพเดทล่าสุด