คำขวัญจังหวัดยะลา - ยะลาเอฟซี - ศอบต.ยะลา -ศอบต.ยะลาสมัครงาน


1,398 ผู้ชม


คำขวัญจังหวัดยะลา
ใต้สุดสยาม   เมืองงามชายแดน
 
เรื่องเล่า
คำว่า  "ยะลา”   มาจากภาษาพื้นเมืองเดิมว่า "ยะลอ"  ซึ่งแปลว่า "แห" เพราะสถานที่ตั้งเมืองเดิมคือ  บ้านยะลอ  (ตำบลยะลอในปัจจุบัน)  ต่อมาได้มีการย้ายมาตั้งเมืองใหม่หลายครั้ง ในที่สุดมาตั้งที่บ้านนิบงตำบลสะเตง ตราบเท่าทุกวันนี้       ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดยะลาในปัจจุบันแต่เดิมจะเป็นท้องที่ในบริเวณหนึ่งของเมืองปัตตานี ซึ่งในปลายปีพ.ศ. 2475  ได้ประกาศยกเลิกมณฑลปัตตานี  และได้มีการปรับปรุงการปกครองหัวเมืองตามพระราช อาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 จัดบริหารราชการส่วน จัดบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอมีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร  จังหวัดยะลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยสืบต่อมาจนทุกวันนี้

------

         "กริชมหากาฬ" ยะลา เอฟซี ทีมแกร่งในศึกฟุบอล ดิวิชั่น 2 ของโซนภาคใต้ เตรียมเปิดตัวความพร้อมของสโมสรและแข้งใหม่ ในวีกหน้านี้แล้ว เช่นเดียวกับ "เรือขุดมหากาฬ" พังงา เอฟซี ที่เตรียมจะเปิดตัวสโมสรในวันที่ 12 ก.พ. นี้ พร้อมกับเปิดคัดแข้งเลือดใหม่ด้วย

         ความเคลื่อนไหวของสโมสร "กริชมหากาฬ" ยะลา เอฟซี ทีมในศึกฟุบอล ดิวิชั่น 2 ของโซนภาคใต้ หลังจากเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมาถือว่าทำผลงานได้ไม่ดีนัก โดยจบลงด้วยอันดับที่ 12 ของฤดูกาล ซึ่งกับฤดูกาลแข่งขันที่กำลังจะเปิดขึ้นทางด้านของทีม "กริชมหากาฬ" ยะลา เอฟซี ก็มีความตั้งใจว่าจะทำผลงานให้ดีขึ้น โดยทางด้านของ คุณอนันต์ มะทา ปธ.สโมสร ยะลา เอฟซี มีแผนเตรียมที่จะมีการเปิดตัวสโมสรซึ่งได้มากล่าวว่า


         "ขณะนี้ทีมเราก็ได้ผู้เล่นเข้ามาเสริมทีมใหม่หลายคน เช่นกัน คาดว่าในฤดูกาลหน้าเราจะทำผลงานได้ดีกว่าเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา นอกจากนี้เราก็เตรียมที่จะมีการเปิดตัวสโมสรพร้อมกับผู้เล่นหน้าใหม่ในฤดู กาลหน้านี้ คาดว่าเมื่อทางด้านของผู้เล่นลงตัวอาจจะมีการเปิดตัวทีมอย่างแน่นอน คาดว่าในสัปดาห์หน้าอาจจะมีความชัดเจนกว่านี้"

ยะลา เอฟซี กริชมหากาฬ

www.fcyala.com/  

///

ตรวจสอบตำแหน่งงาน ได้ที่เว็บไซต์ https://www.sbpac.go.th

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2524 เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรัฐบาลในสมัยนั้นวิเคราะห์ว่า ในการแก้ปัญหาภัยคุกคามจะใช้การปราบปรามอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องใช้การพัฒนานำการปราบปราม และมีนโยบายการแก้ปัญหา เป็น 2 ด้านคือ การพัฒนา และ การปราบปราม โดยตั้ง ศอ.บต. ขึ้นอยู่กับรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ดูแลเรื่องการพัฒนา และตั้ง พตท.43 หรือ กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 ขึ้นอยู่กับแม่ทัพภาคที่ 4 ดูแลเรื่องการปราบปราม
ในปี พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเป็นองค์กรในระดับนโยบาย โดย ศอ.บต. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของปลัดกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบงานภารกิจงานด้านฝ่ายพลเรือนและตำรวจ
 
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2545 รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ปรับยุทธศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ยุบ ศอ.บต. และ พตท.43 ตามคำเสนอแนะของพล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2545 และให้โอนอำนาจของคณะกรรมการการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปเป็นของสภาความมั่นคงแห่งชาติ อำนาจของ ศอ.บต. เป็นของกระทรวงมหาดไทย และอำนาจของ พตท.43 เป็นของกองทัพภาคที่ 4 / กอ.รมน.ภาค 4
[แก้] การจัดตั้งหน่วยงานใหม่
ใน ปี พ.ศ. 2547 ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 69/2547 ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2547 ลงนามโดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ผู้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ส่วนหน้าใช้ชื่อว่า “กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นศูนย์ควบคุมและแกนหลักในการประสาน การปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และต่อมาได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 200/2548 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
สืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นและดำเนินการอย่างต่อเนื่องและความรุนแรงของการก่อเหตุในช่วงแรกยังอยู่ในระดับต่ำ แต่สันนิฐานว่า การปลูกฝังอุดมการณ์การปรับเปลี่ยน และการเตรียมจัดตั้งองค์กรใหม่ น่าจะอยู่ในช่วงแห่งการฝังตัว จนเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดเหตุปล้นกองพันพัฒนาที่ 4 อำเภอเจาะไอร้อง และเกิดเหตุการณ์กรือเซะ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 มีผู้เสียชีวิต 108 คน รวมทั้งเหตุการณ์ที่ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 มีผู้เสียชีวิต 85 คน จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นอีกครั้ง ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 จัดตั้ง ศอ.บต. ขึ้น และได้แต่งตั้งให้ ผอ.ศอ.บต. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ ภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้มีพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานสำนักงานคือ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นนิติบุคคล ไม่ขึ้นต่อสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี

อัพเดทล่าสุด