คำขวัญจังหวัดแพร่ จังหวัดแพร่ ที่นี้ เด่น เฟอร์นิเจอร์ ไม้ สัก จังหวัด แพร่


883 ผู้ชม


จังหวัดแพร่ เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตเป็นแหล่งไม้สักที่สำคัญของประเทศ มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบมีทิวเขาล้อมรอบ

คำขวัญจังหวัดแพร่ จังหวัดแพร่ ที่นี้ เด่น 	เฟอร์นิเจอร์ ไม้ สัก จังหวัด แพร่
ตราประจำจังหวัด

หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม

ข้อมูล
เมืองแพร่ สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ “พลนคร เมืองพล เมืองแพล” ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างปี พ.ศ.๑๔๗๐-๑๕๖๐ พระนางจามเทวีเข้าครอบครองแคว้นล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โกศัยนคร” หรือ “เวียงโกศัย” ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร นับแต่นั้นมาก็มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาโดยตลอด จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ (เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๑๘) เป็นเจ้าหลวงกำกับด้วยข้าหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้โปรดเกล้าฯให้พระยาไชยบูรณ์ข้าหลวงคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ พวกเงี้ยวได้ก่อการกบฏขึ้น โดยยึดสถานีตำรวจ ศาลากลางจังหวัด ปล้นเงินคลัง และปล่อยนักโทษออกจากคุก
พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยวจับตัวและบังคับให้ยกเมืองให้ แต่พระยาไชยบูรณ์ไม่ยินยอมจึงถูกจับประหารชีวิต เมื่อความทราบถึงในหลวงรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงเข้าปราบปรามพวกเงี้ยวจนราบคาบ เจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์เกรงพระราชอาญาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและถึงแก่พิราลัยลงในปี พ.ศ.๒๔๕๒ นับแต่นั้นมาก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกเลย
อาณาเขต
จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ ๖,๕๓๘.๕๙๘ ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำยมไหลผ่าน ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีที่ราบในหุบเขาอยู่ตอนกลางจังหวัด
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดลำปาง จังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดน่าน และจังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดลำปาง
การปกครอง
จังหวัดแพร่ แบ่งการปกครองเป็น 8 อำเภอ คือ
อำเภอเมือง
อำเภอสูงเม่น
อำเภอหนองม่วงไข่
อำเภอเด่นชัย
อำเภอร้องกวาง
อำเภอลอง
อำเภอสอง
อำเภอวังชิ้น
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอสูงเม่น ๑๑ กิโลเมตร
อำเภอหนองม่วงไข่ ๒๐ กิโลเมตร
อำเภอเด่นชัย ๒๔ กิโลเมตร
อำเภอร้องกวาง ๒๙ กิโลเมตร
อำเภอลอง ๔๐ กิโลเมตร
อำเภอสอง ๔๘ กิโลเมตร
อำเภอวังชิ้น ๔๙ กิโลเมตร
การเดินทาง
รถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑ ที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ผ่าน จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเข้าสู่ตัวจังหวัดแพร่ รวมระยะทาง ประมาณ ๕๕๑ กิโลเมตร
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟจากกรุงเทพฯไป อำเภอเด่นชัยทุกวัน จากนั้นต้องต่อรถประจำทางเข้าตัวเมืองแพร่ ซึ่งอยู่ห่างจากเด่นชัยประมาณ ๒๐ กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ หรือ www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดา และปรับอากาศบริการทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีเดินรถสายเหนือ หมอชิต ๒ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒–๖๖ บริษัท ขนส่ง จำกัด จังหวัดแพร่ โทร . ๐ ๕๔๕๑ ๑๒๗๖ หรือ www.transport.co.th บริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการไปจังหวัดแพร่ ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ จำกัด โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๐๑๙๙, บริษัท แพร่ ทัวร์ จำกัด โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๗๒๐ สาขาแพร่ โทร . ๐ ๕๔๕๑ ๑๓๙๒ และ บริษัท สมบัติ ทัวร์ จำกัด โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๔๙๕-๙๙ สาขาแพร่ โทร. ๐ ๕๔๕๑ ๑๔๒๑
จากตัวจังหวัดแพร่มีรถประจำทางไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงราย นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น นครพนม ระยอง เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีเดินรถโดยสารประจำทางจังหวัดแพร่ ถนนยันตรกิจโกศล โทร. ๐ ๕๔๕๑ ๑๘๐๐
สถานที่ท่องเที่ยว จ.แพร่
อำเภอเมือง
- พระธาตุช่อแฮ
- วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
- วัดพระธาตุจอมแจ้ง
- วัดจอมสวรรค์
- วัดหลวง
- วัดพระนอน
- วัดสระบ่อแก้ว
- อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์
- หลักเมืองจังหวัดแพร่
- บ้านประทับใจ (บ้านเสาร้อยต้น)
- บ้านวงศ์บุรี
- วนอุทยานแพะเมืองผี
- บ้านนาตอง
- น้ำตกตาดหมอก หรือ น้ำตกแม่คอย
- น้ำตกแม่แคม หรือ น้ำตกสวนเขื่อน
- ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่
- หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง
- คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่
อำเภอสูงเม่น
- วัดพระหลวงธาตุเนิ้ง
- ตลาดหัวดง
- พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
อำเภอหนองม่วงไข่
- ถ้ำจำปู
อำเภอเด่นชัย
- วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี
อำเภอร้องกวาง
- พระธาตุปูแจ
- ถ้ำผานางคอย
- น้ำตกห้วยโรง หรือ น้ำตกห้วยลง
- น้ำตกตาดซาววา
อำเภอลอง
- วัดพระธาตุศรีดอนคำ
- อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
- อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง
- หมู่บ้านทอผ้าตีนจก
- แก่งหลวง
- ถ้ำเอราวัณ
อำเภอสอง
- อุทยานลิลิตพระลอ
- อุทยานแห่งชาติแม่ยม
- แก่งเสือต้น
- พระธาตุพระลอ
- พิพิธภัณฑ์เงินตราสยามเวียงสรอง
อำเภอวังชิ้น

อัพเดทล่าสุด