เรียบเรียง! พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยสุโขทัย


5,638 ผู้ชม


เรียบเรียง! พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยสุโขทัย เรียบเรียง! พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยสุโขทัย เรียบเรียง! พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยสุโขทัย


พัฒนาการด้านเศรษฐกิจของไทยในสมัยสุโขทัย

                 เรียบเรียง! พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจสมัยสุโขทัย พัฒนาการทางด้านสังคมสมัยสุโขทัย

          จากหลักฐานศิลาจารึกหลักที่ 1 ทำให้เราทราบว่า  เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรือง  ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี  บ้านเมืองมมีความอุดมสมบูรณ์
          ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้สุโขทัยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าได้  มีหลายประเภทดังนี้
          1.  ภูมิประเทศ  สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ  ที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  และจับสัตว์น้ำ
          2.  ทรัพยากรธรรมราช  สุโขทัยมีพืชพรรณธรรมชาติต่าง ๆ อย่างอุดมสมบูรณ์  เช่น  ป่าไม้  สัตว์ป่า  และแร่ธาตุต่าง ๆ
          3.  ความสามารถของผู้นำ  กษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ปกครองกรุงสุโขทัยทรงมีพระปรีชาสามารถในการคิดริเริ่ม  และดัดแปลงสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของราษฎร  เช่น  สร้างทำนบกั้นน้ำไว้เพื่อเก็บกักน้ำ  ที่เรียกว่า  ทำนบพระร่วง  ส่งน้ำไปตามคูคลองสู่คูเมือง  เพื่อระยายน้ำสู่พื้นที่เกษตรกรรม  จึงทำให้ประชาชนมีน้ำใช้สอยอย่างเพียงพอ
               พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของสุโขทัยขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของประชาชน 3 อาชีพ  ได้แก่  เกษตรกรรม  หัตถกรรม  และค้าขาย

          1.  เกษตรกรรม
               สังคมสุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรม  อาชีพหลักของประชาชน  คือ  การเพาะปลูก  และเลี้ยงสัตว์  การเพาะปลูกจะมีทั้งการทำนา  ทำไร่  และทำสวน  พืชที่ปลูกกันมาก  เช่น  ข้าว  มะม่วง  หมากพลู  เป็นต้น  บริเวณที่ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก  ได้แก่  ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง  แม่น้ำยม  และแม่น้ำน่าน
               เนื่องจากสภาพทางธรรมราชของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดังกล่าวนี้ไม่เอื้ออำนวย ต่อการเพาะปลูก  เพราะมีน้ำน้อยในหน้าแล้ง  และเมื่อถึงฤดูน้ำจะมีน้ำปริมาณมากไหลบ่ามาท่วมขังเป็นเวลานาน  ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่อุดมสมบูรณ์  ดังนั้น  สุโขทัยจึงรู้จักการสร้างที่เก็บกักน้ำ  แล้วค่อท่อน้ำจากคูเมืองไปสู่สระต่าง ๆ เพื่อระบายน้ำไปสู่พื้นที่เกษตรกรรม  ทำให้สามารถผลิตผลผลิตได้อุดมสมบูรณ์

          2.  หัตถกรรม
               หัตถกรรมที่สำคัญของสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นการผลิต  เครื่องสังคโลก  หรือเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องสังคโลกของสุโขทัยที่ผลิตได้  คือ  จาน  ชาม  และถ้วยต่าง ๆ นอกจากนั้นยังนิยมผลิตเครื่องสังคโลกในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ซื้อ  เช่น  แจกัน  เหยือก  โถน้ำ  โอ่ง  ไห  เป็นต้น
               จากหลักฐานการขุดพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลก  หรือเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า  แหล่งที่ผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญมีอยู่ 2 แห่ง  คือ  กรุงสุโขทัย  และเมืองศรีสัชนาลัย
               และจากการพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลกขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก  ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเครื่องสังคโลกของสุโขทัยน่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับความ นิยมจากดินแดนต่าง ๆ ในสมัยนั้น

               3.  การค้าขาย
                    การค้าขายในสมัยสุโขทัยเป็นการค้าแบบเสรี  ทุกคนมีอิสระในการค้าขาย  รัฐไม่จำกัดชนิดสินค้าและไม่เก็บภาษีผ่านด่าน  ที่เรียกว่า  จกอบ  ผู้ใดอยากค้าขายอะไรก็ไม่มีการห้าม  มีการค้าสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย  เป็นต้น  ตลอดจนการค้าขายแร่เงินและแร่ทอง
                    นอกจากจะมีการค้าขายภายในราชอาณาจักรแล้ว  ยังมีการค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากับอาณาจักรต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกอาณาจักรสุโขทัยอีกด้วย  เช่น  เมืองหงสาวดี  ตะนาวศรี  ล้านนา  กัมพูชา  มะละกา  ชวา  และจีน  เป็นต้น  สินค้าออกที่สำคัญ  ได้แก่  เครื่องสังคโบก  พริกไทย  น้ำตาล  งาช้าง  หนังสัตว์  นอแรด  เป็นต้น  ส่วนสินค้าส่วนใหญ่เป็นพวกผ้าไหม  ผ้าทอ  อัญมณี  เป็นต้น

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก  :
เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และคณะ . ประวัติศาสตร์ ป.4 . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์

//

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจของไทย 1.1  เศรษฐกิจไทยสมัยสุโขทัย                                                              
      สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจของกรุงสุโขทัย คือ ข้อความใน  หลักศิลาจารึกหลักที่ 1  กล่าวว่า "เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"  พื้นฐานทางเศรษฐกิจการยังชีพของกรุงสุโขทัยอยู่ที่การเกษตร การค้า และการทำเครื่องสังคโลก   
    1.1.1)   การเกษตรของกรุงสุโขทัย มีการผลิตแบบดั้งเดิม พึ่งธรรมชาติ พื้นที่เพาะปลูกเป็นที่ราบลุ่ม คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และที่ราบเชิงเขา ซึ่งดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีการสร้างเขื่อน(สรีดภงค์) หรือถนนพระร่วง พืชสำคัญที่ปลูกกันมาก คือ  ข้าว  มะม่วง  มะพร้าว  มะขาม      ขนุน หมาก พลู พืชไร่และไม้ผลอื่นๆ     
    1.1.2)  ด้านการค้า  มีการค้าภายในอย่างเสรี มีตลาดที่สำคัญ เรียกว่า ตลาดปสาน มีการติดต่อการค้ากับ ล้านนา  มอญ และอินเดีย ส่วนการค้าทางเรือมุ่งสู่จีน ญี่ปุ่น มลายู สุมาตรา และชวา  สินค้าส่งออกได้แก่ ผลิตผลของป่า เครื่องเทศ เครื่องสังคโลก เป็นต้น สมัยสุโขทัยใช้เงินพดด้วง เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าต่างๆ
1.2  เศรษฐกิจไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา 
    1.2.1) ด้านการเกษตรกรรม ขึ้นอยู่กับลักษณะการเกษตรแบบ ดั้งเดิม คือยังอาศัยธรรมชาติ พืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น   ข้าว  พริกไทย          ฝ้าย หมาก มะพร้าว ไม้ฝาง นอแรด หนังสัตว์ และงาช้าง 
   1.2.2) ด้านการต่างประเทศ กรุงศรีอยุธยาติดต่อค้าขายกับอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และอาหรับ การค้าขายกับจีน  เรียกว่า จิ้มก้อง (การยอมรับเป็นเมืองขึ้นของจีนโดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ แล้วจีนจะตอบแทนคืนที่มากกว่าในฐานะประเทศที่ยิ่งใหญ่)    สินค้าออก ที่สำคัญ  เช่น     ของป่า ดีบุก เงิน พลอย และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น  สินค้าเข้าที่สำคัญ เช่น แพร เครื่องถ้วยชาม ดาบ ทองแดง และเกราะ เป็นต้น การค้ากับชาติตะวันตก เริ่มปรากฏตั้งแต่หลังสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็นต้นมา ชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย ได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฮอลันดา ฝรั่งเศส และเดนมาร์ก สินค้าออกที่ชาวตะวันตกต้องการ เช่น งาช้าง ไม้กฤษณา ไม้จันทน์ และไม้หอม เป็นต้น สินค้าเข้า เช่น กระสุนดินดำ ปืนไฟ และกำมะถัน เป็นต้น           
                           ในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้มีการตั้ง พระคลังสินค้า  เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อขายสินค้า  ทำให้การค้า ของกรุงศรีอยุธยา เป็นระบบผูกขาดมากขึ้น   การค้ากับต่างประเทส ของกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองที่สุด ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและ สมเด็จพระเอกาทศรถ  และการค้ากับต่างประเทศของกรุงศรีอยุธยาเสื่อมลง  ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา เพราะนโยบาย ของผู้นำที่ไม่ต้องการจะคบค้ากับ ชาติตะวันตก   จนเกิดความขัดแย้งระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส
                    รายได้แผ่นดินของกรุงศรีอยุธยา    รายได้ของกรุงศรีอยุธยาแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ  3 ประเภท คือ  
 1.  รายได้จากภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ได้แก่                 
      1.1)  จังกอบ  คือค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ  รับจะเก็บจากราษฎรในอัตรา 10 ชัก 1  ถ้าเป็นภาษีขาเข้า เรียกว่า ภาษีร้อยชัก  ถ้าเก็บตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า ภาษีปากเรือ  หรือ ภาษีเบิกร่อง    
      1.2 )  อากร คือ การเก็บภาษีจากราษฎรที่ไม่ได้ประกอบอาชีพค้าขายโดยตรง  เช่น ทำนา ทำสวน และทำไร่  
      1.3)  ส่วย  คือการเก็บสิ่งของแทนการเกณฑ์แรงงานไพร่หลวง เช่น ดีบุก มูลค้างคาว รังนก และส่วยบรรณาการที่ได้จาก เมืองประเทศราช   
      1.4)  ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่รัฐเก็บจากประชาชนที่มาใช้บริการจากรัฐ เช่น การออกโฉนด และค่าธรรมเนียมในการฟ้องร้อง        2.  ผลกำไรจากการค้าขายพระคลังสินค้า  พระคลังสินค้ามีกำไรมากจากการซื้อขายสินค้าต้องห้าม  เช่น มูลค้างคาว งาช้าง และกระสุนดินดำ  ซึ่งถือว่าเป็นรายได้หลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของแผ่นดิน       
3. รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ กรุงศรีสอยุธยาค้าขายกับประเทศทั้งในเอเชียและยุโรป  จึงมีรายได้เข้าประเทศทั้งผลกำไร จากการค้า ภาษีขาเข้า และภาษีขาออก
      1.3  เศรษฐกิจไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์                                                                                                         ก่อนสนธิสัญญาเบาริ่ง ไทยมีการผลิตแบบเลี้ยงตัวเอง ประชาชนมีฐานะไม่แตกต่างกันมากนัก ราษฎรมีหน้าที่สำคัญคือ การถูกเกณฑ์แรงงาน รับใช้ราชการ และการเสียภาษีให้รัฐ ซึ่งตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นต้นมา  มีการเก็บภาษี 4 ประเภทใหญ่ๆ   คือ จังกอบ  (ภาษีสินค้าเข้า - ออก)  อากร(ภาษีจากการประกอบอาชีพต่างๆ)  ฤชา(ค่าธรรมเนียม)  และส่วย(เงินค้าราชการ)   หลังจากสนธิสัญญาเบาริง พ.ศ.2398 เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป เป็นการค้าเสรี ภาษีปากเรือถูกยกเลิกโดยเก็บเฉพาะภาษีขาเข้าร้อยละ 3  ทำให้พระคลังสินค้าต้องยกเลิกไป  ผลคือ การค้าขยายตัว และข้าวกลายเป็น สินค้าออกที่สำคัญ  ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ เปลี่ยนไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบการค้า การแลกเปลี่ยน เน้นการค้าขาย  ก่อให้เกิดอาชีพพ่อค้าคนกลางขึ้น และกลายเป็นนายทุน  ในเวลาต่อมา  การเกณฑ์แรงงานไม่เหมาะสมและในที่สุดเปลี่ยนเป็น การเกณฑ์ทหาร รัชกาลที่ 5 ทรงจัดระบบการเงินการธนาคาร โดยให้ผลิตเงินตราจำนวนมาก  ทรงตั้งโรงกษาปณ์ เปลี่ยนหน่วยเงินใหม่ เป็นบาท  สตางค์ ทรงตราพระราชบัญญัติธนบัตร พ.ศ. 2445  พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ พ.ศ. 2451  โดยให้เงินบาทอิงค่าเงินปอนด์       จัดตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ สมัยรัชกาลที่ 6ได้จัดตั้งธนาคาร ออมสินขึ้น และส่งเสริมเผยแพร่วิธีการสหกรณ์ สหกรณ์แห่งแรก คือ  สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้  จังหวัดพิษณุโลก  รัชกาลที่ 5 ยังทรงจัดระบบภาษี โดยจัดตั้ง หอรัษฎากรพิพัฒน์  เพื่อทำหน้าที่เก็บภาษี  ของแผ่นดิน ทั้งหมดและจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการ แทนเบี้ยหวัดรายปี ดังแต่ก่อน  ต่อมายกฐานะเป็น พระคลังมหาสมบัติ  ทำให้เก็บภาษี  ที่กระจัดกระจายได้มากขึ้น  และโปรดเกล้าให้จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2439 นอกจากนั้น     ยังปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  เช่น ตัดถนน ขุดคลอง  ตั้งกรมไปรษณีย์  สร้างทางรถไฟ                                   
        ในช่วงที่มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตกได้มีการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลายอย่าง ทั้งด้านการตัดถนน  การขุดคลองพัฒนาการขนส่งสื่อสารและคมนาคมในสมัยรัชกาลที่6ี่ได้มีการจัดตั้งกรมรถไฟขึ้นและขยายกิจการไป ทั่วประเทศ และตอนปลายรัชกาล  ประเทศไทยต้องสบภาวะขาดดุลการค้า    สมัยรัชกาลที่ 7  ทรงแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยการประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์และปลดข้าราชการ  พยายามเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.  2475  รัฐบาลหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองต้องรับภาระหนักในทางเศรษฐกิจ นายปรีดี  พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎร  ได้พยายามจัดทำเค้าโครงเศรษฐกิจโดยแก้ไขระบบเศรษฐกิจใหม่ ด้วยการโอนที่ดินและปัจจัย การผลิตมาเป็นของรัฐ รัฐจะประกันการมีงานทำ  และมุ่งพัฒนาประเทศโดยการพึ่งตนเอง  แต่เค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้  ซึ่งเรียกว่า สมุดปกเหลือง  ถูกคัดค้านเพราะมีหลักการ แบบ ลัทธิคอมมิวนิสต์  รัฐบาลต่อมาสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม  ได้หันมาใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีชาตินิยม            โดยชักชวนให้ชาวไทยหันมาประกอบ การค้า และอุตสาหกรรมมากขึ้น มีการตํ้งรัฐวิสาหกิจเช่น โรงงานยาสูบ   โรงกลั่นน้ำมัน  และตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม  เมื่อ พ.ศ.2485   หลังสงครามโลกครั้งที่  2 รัฐบาลส่งเสริมการพาณิชย์มากขึ้น มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนและพัฒนา  โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือ ทางหลวง เขื่อน องค์การระหว่างประเทศ เช่นองค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก เข้ามามีอิทธิพลต่อการจัดรูปแบบการพัฒนา ก่อให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ใกล้เคียงกับประเทศร่ำรวย  และประเทศไทยก็ได้เริ่มจัดทำแผนพัฒนาประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2504 และดำเนินต่อมาจนกระทั้งปัจจุบัน (แผนฉบับที่ 1 พ.ศ. 2501-2509 ใช้ชื่อว่า พัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีระยะเวลา 6 ปี ส่วนแผนฉบับที่ 2  พ.ศ. 2510-2514 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519  ฉบับที่ 4  พ.ศ.2520-2524  ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529 ฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534 ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535-2539   ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544 และฉบับที่ 9  พ.ศ. 2545-2549  ใช้ชื่อว่าพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีระยะเวลาแผนละ 5 ปี)  ตลอดระยะเวลา ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจไปตามแผน  ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้าน ด้านโครงสร้างการผลิต ขยายการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการบริการมากขึ้น  ทำให้ผลิตผลทางการเกษตร ที่เคยมีความสำคัญแต่เดิม  ลดความสำคัญลง  ด้านโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศ  มีสินค้า  ส่งออกมากขึ้น สินค้าการเกษตร เช่น ข้าวโพด  ปอ มันสัมปะหลัง  สินค้าอุตสาหกรรม  เช่น  สิ่งทอ  อาหารกระป๋อง  อัญมณี  มีการนำเข้าเครื่องจักร และเชื้อเพลิงมากขึ้น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไทยต้อง พึ่งพาต่างประเทศ พัฒนาการเมืองการปกครองของไทย   
1   การเมืองการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย   กรุงสุโขทัย เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อราว  พ.ศ. 1780  เมื่อ  พ่อขุนผาเมืองเจ้า เมืองราด  และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้รวมกำลังกันขับไล่ขอมสมาดโขลญลำพงออกจากกรุงสุโขทัยได้สำเร็จและได้ปราบดาภิเษกพ่อขุนบางกลางหาว เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย  ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  นับเป็นกษัตริย์พระองค์แรก แห่งกรุงสุโขทัย และเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง หรือราชวงศ์สุโขทัย      
       ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กรุงสุโขทัยแม้จะเป็นอิสระแต่ก็มีอาณาเขตไม่กว้างขวางนัก จนมาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง  ทางทิศเหนือขยายขึ้นไปจนจดอาราจักรล้านนา  ทางทิศตะวันออกไป เมืองแพร่ น่าน เวียงจันทน์ เวียงคำ   ทิศตะวันตก ได้หัวเมืองมอญ  และด้านทิศใต้ขยายลงไปตลอดแหลมมลายู  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ทรงสร้าง กรุงสุโขทัยให้เป็นปึกแผ่นเข้มแข็ง  มีการทำนุบำรุงวัฒนธรรมไทยด้านต่างๆ  ด้านการปกครองลูก โดยถือว่าผู้ปกครองเสมือนพ่อ ต้องให้ความคุ้มครอง ดูแลลูกที่อยู่ในปกครองให้มีความสุข และยุติธรรม การปกครองหัวเมือแยกเป็น เมืองลูกหลวง  เมืองพญามหานคร  และเมืองประเทศราช ซึ่งเป็นรูป  ของการปกครองแบบกระจายอำนาจ ทำให้บ้านเมืองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว        
       ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท กรุงสุโขทัยมีความเจริญด้าน วัฒนธรรมและอารยธรรมสูงสุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้าน พระพุทธศาสนา และศิลปกรรม  แต่ในทางการเมือง อำนาจของกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมลง  ซึ่งการเสื่อมของกรุงสุโขทัย มีสาเหตุ ดังต่อไปนี้    
      1.)  การควบคุมหัวเมืองแบบกระจายอำนาจการปกครอง ทำให้หัวเมืองต่างๆ มีโอกาสสะสมกำลัง และตั้งตนเป็นอิสระ  
      2.)  การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างเชื้อพระวงศ์ของกรุงสุโขทัย  ทำให้อำนาจปกครองอ่อนแอลง และเป็นเป้าหมายในการขยายอาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยา 
      3.)  กรุงศรีอยุธยา ซึ่งสถาปนาขึ้นทางตอนใต้ เมื่อ พ.ศ. 1893 มีความเข้มแข็งมากขึ้น  สามารถขยายอาณาจักรออกไปได้อย่างกว้างขวาง ในพ.ศ. 1921  กรุงสุโขทัยยอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีสอยุธยา  และเมื่อถึง  พ.ศ. 1981  ก็ถูกผนวกเป็นอาณาจักรเดียวกันกับกรุงศรีอยุธยา2   การเมืองการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยามีความเป็นปึกแผ่นมากที่สุดในพุทธ ศตวรรษที่ 21  อาณาจักรแผ่ขยายอย่าง กว้างขวาง  ดังนี้   ทิศเหนือ    ขยายเข้าไปในดินแดนสุโขทัยและล้านนา  ทิศใต้ ขยายเข้าไปในดินแดนนครสรี ธรรมราชและมลาายู    ทิศตะวันออก   ขยายเข้าไปในดินแดนเขมรและดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยปัจจุบัน   ทิศตะวันตก ขยายเข้าไปใน ดินแดนมอญ
       ความกว้างใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา  ทำให้ลักษณะการเมืองการปกครองของกรุงศรีอยุธยาแตกต่างไปจากกรุงสุโขทัย  พอสรุปได้ดังนี้  กรุงศรีอยุธยาปกครองด้วยระบบราชาธิปไตยหรือที่เรียกว่า  ระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์  พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ  แต่ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม ราชจรรยานุวัตรและจักรวรรดิวัตร  แนวคิดเทวราชานี้กรุงศรีอยุธยาได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์  ส่วนการสืบสันติวงศ์ก็เป็นไปตามจารีตธรรมเนียม ประเพณ
 รูปแบบการปกครอง  
 รูปแบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาแบ่งเป็น  3  สมัย  คือ
1.  สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 - สมเด็จเจ้าสามพระยา  การปกครองของกรุงศรีอยุธยาสมัยนี้เป็นนแบบการกระจายอำนาจ แบ่งเขตการปกครองเป็น 4 เขต ดังนี้   
     1.1)    ราชธานี  ได้แก่ กรุงศรีอยุธยา  ปกครองแบบ จตุสดมภ์  หมายถึงหลักทั้ง 4  ได้แก่ เวียง  วัง  คลัง  นา   
     1.2 )   เมืองเล็กๆ ที่รายรอบราชธานี  เช่น นครนายกและปราจีนบุรี  ราชธานีจะส่งขุนนางไปปกครอง และขึ้นตรงต่อราชธานี   
     1.3)   เมืองต่างๆ  ในดินแดนแกนกลางของอาณาจักร  ซึ่งต่อมาคือเมือง ลูกหลวง ได้แก่  เมืองสุพรรณบุรี  ลพบุรี  สรรค์  และชัยนาท  ส่วนเมืองหลานหลวง ได้แก่ เมืองอินทบุรี  และพรหมบุรี  ผู้ที่จะปกครองเมืองเหล่านี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะเมือง  ถ้าเมืองไหนมีความสำคัญมาก  ราชธานีจะส่ง เจ้านายชั้นสูงไปปกครอง  เมืองลูกหลวงและหลานหลวงมีอำนาจในการปกครองตนเอง เกือบเป็นอิสระ   
     1.4)   เมืองประเทศราช  อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงและ หลานหลวงออกไป  ให้เจ้านายเชื้อสายเดิมปกครองแต่ต้องส่ง เครื่องราชบรรณาการ ให้กรุงศรีอยุธยา ตามที่กำหนดไว ้                                          
2. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ - สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองใน  พ.ศ. 1998 รูปแบบการปกครองเป็นการรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง   ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญของการปฏิรูป ได้ดังนี้   
    2.1  การปกครองส่วนกลาง  แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ    
         1)  กรมกลาโหมมีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหพระกลาโหมซึ่งเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหารทั้งหมด            
         2)  กรมมหาดไทย มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหนายกหรือตำแหน่งพระยาจักรีเป็นผู้ดูแลฝ่ายพลลเรือน และจตุสดมภ์ ทั้งหมด  นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อจตุสดมภ์ทั้ง 4 ฝ่าย  คือ เวียง วัง คลัง นาเป้นนครบาลธรรมาธิกรณ์ โกษาธิบดี และเกษตราธิการ                              
     2.2  การปกครองส่วนภูมิภาค  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ยกเลิกการปกครองแบบเมืองลูกหลวงหลานหลวง  ที่เคยใช้ในสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนต้นเป็น ดังนี้    
          1)  หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองจัตวามีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง เขตเมืองจัตวาได้แก่ ทิศเหนือจดชัยนาท ทิศตะวันออกจด ปราจีนบุรี  ทิศตะวันตก จดสุพรรณบุรี  และทิศใต้จดกุยบุรี
             2)  หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร คือเมืองประเทศราชในสมัยอยุธยาตอนต้น  หัวเมืองชั้นนอกที่สำคัญ ได้แก่พิษณุโลก นครศรีธรรมราช สุโขทัย  และกำแพงเพชร  ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้คือเข้านายหรือขุนนางจากกรุงศรีอยุธยา 
             3)  หัวเมืองประเทศราช คือเมืองต่างชาติต่างภาษา เช่น เขมร มอญ และมลายูให้เจ้านายเชื้อสายเดิมปกครองตนเอง  
      การปฏิรูปการเมืองการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถส่งผลให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นศูนย์กลางมีอำนาจ   ในการปกครองเมืองต่างๆ  เพิ่มมากขึ้นและทำให้เกิดระบบราชการที่มีขุนนางเป็นกลไกลที่สำคัญ
3. สมัยสมเด็จพระเพทราชา - สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์   การปกครองในสมัยนี้ยึดตามแบบสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นส่วนใหญ่  แต่ในสมัยนี้ได้รวมทหารพลเรือนเข้าด้วยกัน  และให้สมุหพระกลาโหมดูแลการทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกดูแลการทหาร และพลเรือน ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระคลังหรือโกษาธิบดีดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก3  การเมืองการปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
       ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนากับชาวเอเชียมาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 21   ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม  ทำให้ความต้องการสินค้าและตลาดการค้ามากขึ้น  พ่อค้าชาวโปรตุเกส  ฮอลันดา  ฝรั่งเศส  เดินทางมามีสัมพันธ์ไมตรีกับกรุงสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ระยะนั้นชาติตะวันตกไม่ได้มุ่งที่จะยึดครองจนเป็นเมืองขึ้น  ลัทธิจักรวรรดินิยมหรือลัทธิ ล่าอาณานิคม  กลายเป็นนโยบายสำคัญของชาติตะวันตกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24  และประเทศต่างๆในทวีปเอเชียพากันได้รับผลกระทบรวมทั้งประเทศ ไทยด้วย 
        ในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3)  อังกฤษ ฝรั่งเศส มีอำนาจมาก อังกฤษทำสงครามชนะพม่า  ชนะจีนในสงครามฝิ่น และขยายอิทธิพลเข้าไปในมลายู  โดยเจรจาขอให้ไทยยอมรับฐานะของอังกฤษในปีนัง  และขอแก้ไขการค้าที่ไทยผูกขาด  อยู่ต่อมาส่ง  ร.อ.เฮนรี่  จอห์นเบาริ่ง  เป็นผู้นำ  รัชกาลที่ 4  ทรงทราบสภาวการณ์ขณะนั้นและทรงพิจารณาอย่างรอบคอบจึงทรงเตรียมต้อนรับคณะทูตอย่างสมเกียรติ  การเจรจาบรรลุข้อตกลง เมื่อวันที่ 18  เมษายน  พ.ศ. 2398  สนธิสัญญาเบาริง มีสาระสำคัญสรุปว่า
        1.  ไทยกับอังกฤษจะเป็นมิตรต่อกัน
        2.  ไทยยอมให้อังกฤษตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯได้
        3.  คนอังกฤษตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยได้ตามที่ต้องการ
        4. ให้เลิกภาษีปากเรือแล้วเก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 3 แทน
        5. อังกฤษต้องได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ไทยให้แก่ประเทศอื่น
          6. สนธิสัญญานี้ไม่มีกำหนดเวลา
             ผลของสนธิสัญญานี้ทำให้ไทยต้องเปิดประตูการค้ากับยุโรป  อำนาจรัฐที่เคยผูกขาดการค้าหมดไปที่สำคัญคือ ไทยต้องสูญเสียสิทธิ ิสภาพนอกนอกอาณาเขตให้แก่อังกฤษ  ในระยะเวลาเดียวกันนี้ฝรั่งเศสก็เข้าไปมีอิทธิพลในเขมรจนไทยต้องยอมรับว่าเขมรอยู่ในอาณัติของฝรั่งเศส และยกเลิก ข้อตกลงที่ว่าเขมรเป็นเมืองขึ้นของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5)  อังกฤษผนวกพม่าเป็นของตน  ฝรั่งเศสขยายอำนาจเหนือดินแดนลาว  และเสนอให้ไทยเป็นรัฐกันชนระหว่างเมืองขึ้นของอังกฤษกับฝรั่งเศส  ระหว่างยึดดินแดนลาวเจ้าหน้าที่ไทยขัดขวาง  ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย และเกิดสู้รบกัน  ฝรั่งเศสเรียกร้องขอดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง  ขอค่าปรับ 3 ล้านฟรังค์ และยึดจันทรบุรีไว้เป็นประกัน  ไทยไม่อาจต้านทานได้  รัชกาลที่ 5 จำต้องยอมรับข้อเรียกร้องโดยไม่มีเงื่อนไข  เรียกเหตุการณ์นี้ว่า  วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112  ทรงพยายามสร้างความมั่นคงให้ประเทศโดยเสด็จประพาสยุโรปเพื่อ ผูกมิตรไมตรีเพื่อแสดงท่าทีเป็นกลางโดยเคร่งครัด  จนนานาชาติสรรเสริญพระปรีชาสามารถและให้เกียรติไทยเสมอนานาอารยประเทศ  ยุโรปยุติความคิด จะยึดครองไทย  อย่างไรก็ตามไทยยังต้องสูญเสียดินแดนอีกในปี  พ.ศ. 2450  คือเสียพระตะบอง  เสียมราฐให้ฝรั่งเศส  และ พ.ศ. 2452 เสียกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี  ปะลิส ให้อังกฤษ  ประเทศไทยยังคงรักษาเอกราชไว้ได้  สาเหตุสำคัญเนื่องจาก
        1.  มีความมั่นคงภายในประเทศทั้งด้านกำลังทหาร  การเมือง  และเศรษฐกิจ
        2. พระมหากษัตริย์ทรงมีพระปรีชาสามารถ อาทิ รัชกาลที่ 3  มีพระปรีชาด้านการบริหาร  รัชกาลที่ 4 ทรงแตกฉาน วิทยาการของ ตะวันตก และทรงมีความสามารถทางการทูต รัชกาลที่ 5ทรงเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่ที่ศึกษาวิทยาการตะวันตกและสามารถผูกมิตรกับตะวันตก ได้
       3. มหาอำนาจแข่งขันกันเอง โดยตกลงให้ไทยเป็นรัฐกันชนการคุกคามของจักวรรดินิยมตะวันตกทำให้ไทยปรับปรุง
 ประเทศครั้งใหญ่เพื่อให้ทันสมัย
         การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาระบอบประชาธิปไตยรัชกาลที่ 5  ทรงตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  ขึ้นในปี พ.ศ. 2417  เพื่อถวายคำปรึกษางานราชการแผ่นดินและยับยั้งหากพระมหากพระราชดำริของพระองค์ไม่เหมาะสม   และทรงตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ขึ้นด้วย  เรียกว่า  สภาองคมนตรี  ต่อมาได้มีกลุ่มบุคคลกราบบังคมทูลเสนอแนวคิด ประชาธิปไตยแบบตะวันตกและขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ  แต่ทรงพิจารณาว่าในขณะนั้นยังไม่เหมาะสม  การเปลี่ยนแปลงไม่อาจทำในทันทีได้  แต่ทรงมี ีพระราชดำริปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินก่อน  ด้วยการยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์และหัวเมืองแบบเดิม  มาเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการ แผ่นดินส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นแทน  โดย ส่วนกลาง  จัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม   ครั้งแรก มี 12 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กลาโหม การต่างประเทศ  นครบาล  เกษตรพนิชการ  พระคลังมหาสมบัติ  วัง  ยุติธรรม  ยุทธนาธิการ  โยธาธิการ  ธรรมการ  และมุรธาธร    ส่วนภูมิภาค จัดปกครอง แบบเทศาภิบาล รวมหลายเมืองเป็นมณฑลแยกย่อยเป็นเมือง  อำเภอ  ตำบล  และหมู่บ้าน   ส่วนท้องถิ่น ทรงจัดตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก ที่ตำบลท่าฉลอม  สมุทรสาคร  โดยให้กรรมการในท้องถิ่นรับผิดชอบกันเอง
      ไทยได้รับอิทธิพลแนวความคิดแบบประชาธิปไตยจากตะวันตก มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และได้มีการเรียกร้องให้กษัตริย์อยู่ภาใต้รัฐธรรมนูญ จากกลุ่ม ร.ศ. 103  ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าขณะนั้นยังไม่พร้อม ความคิดประชาธิปไตยนี้แพร่ขยายไปสู่ข้าราชการและสามัญชน  ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6)  ก็ยังมิได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแต่ทรงสร้างเมืองจำลองดุสิตธานี  ขึ้นเพื่อทดลองรูปแบบประชาธิปไตย ต่อมาเกิดการ รวมตัวของทหารและพลเรือนเพื่อจะลดอำนาจกษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงการปกครอง  คือ กลุ่ม ร.ศ. 130  แต่ถูกจับกุมก่อน  ระยะนี้หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพมาก และเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2  ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ  ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 7  ความต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองทวีความรุนแรงขึ้น  ทรงมีพระราชดำริ ิพระราชทานรัฐธรรมนูญ  แต่พระบรมวงศานุวงศ์คัดค้าน  ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์  สภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำทหให้ ต้องปลดข้าราชการออกและลดรายจ่ายส่วนพระองค์   ซึ่งไม่เป็นที่พอใจของราษฎรและเกิดการรวมตัวกันของ  คณะราษฎร  ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ  พลเรือน  ทหารบกและทหารเรือ   เมื่อวันที่  24  มิถุนายน  พ.ศ.  2475  คณะราษฎรได้เข้ายึดสถานที่สำคัญของราชการ แล้วประกาศเปลี่ยนแปลงการ ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย  มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎสูงสุดและพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ  การยึดอำนาจครั้งนี้ไม่มีการต่อต้าน  รัฐกาลที่ 7  ทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้  และในวันที่ 27  มิถุนายน  2475  ทรงลงประปรมาภิไธย ใน พระราช บัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วชคราว  และทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบัยถาวร  เมื่อวันที่  10  ธันวาคม  พ.ศ. 2475  การเปลี่ยนแปลง ครั้งนี้ก่อให้เกิดระบบการเมืองแบบใหม่ที่มีรัฐสภาทำหน้าที่ฝ่านนิติบัญญัติ  คณะรัฐมนตรีทำหน้าที่  ฝ่ายบริหาร  และศาลทำหน้าที่ด้านตุลาการ
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ1.ความสัมพันธ์กับพม่า
    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี ปรากฏอยู่ในรูปของความขัดแย้งและโดยไทยเป็นฝ่ายตั้งรับการรุกรานของพม่า หลังจากได้รับเอกราชมีการสู้รบกันถึง 9 ครั้ง (พ.ศ.2311-2319)ส่วนใหญ่พม่าเป็นฝ่ายปราชัยต้องถอยทัพกลับไป
    สงครามไทยกับพม่าในสมัยธนบุรีครั้งสำคัญที่สุด คือ
    ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี(ร.1)และเจ้าพระยาสุรสีห์สองพี่น้องได้ร่วมกันป้องกันเมืองพิษณุโลก
    อย่างสุดความสามารถ แต่พม่ามีกำลังไพร่พลเหนือกว่าจึงตีหักเอาเมืองได้
2. ความสัมพันธ์กับกัมพูชา
    สภาพการเมืองภายในกัมพูชาไม่สงบราบรื่น เจ้านายเขมรมักแตกแยกความสามัคคีและแย่งชิงอำนาจกันอยู่เนืองๆ บางกลุ่มนิยมไทยแต่บางกลุ่มฝักใฝ่กับฝ่ายญวน เมื่อไทยติดศึกกับพม่า เขมรมักตั้งตัวเป็นอิสระและคอยหาโอกาสซ้ำเติมไทยอยู่เสมอ
    ไทยทำสงครามขยายอาณาเขตในดินแดนกัมพูชา รวม 3 ครั้ง กองทัพไทยยกไปตีกรุงกัมพูชาในสองครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2312 และ พ.ศ.2314 เป็นผลให้กัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของไทย
    การจลาจลแย่งชิงอำนาจในหมู่เจ้านายเขมร ใน พ.ศ.2322 พระราชวงศ์เขมรแย่งชิงอำนาจกันเอง สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่1)ยกทัพไปควบคุมสถานการณ์แต่เกิดเหตุวุ่นวายในกรุงธนบุรี พระยาสรรค์ก่อกบฏ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงต้องยกทัพกลับ
3. ความสัมพันธ์กับลาว
    ไทยเป็นฝ่ายทำสงครามขยายอาณาเขตในดินแดนลาว 2 ครั้ง ครั้งแรกสงครามตีเมืองจำปาศักดิ์ พ.ศ.2319 เกิดจากลาวก่อกบฏต่อไทย ชัยชนะของกองทัพกรุงธนบุรีครั้งนี้ ทำให้เมืองจำปาศักดิ์และหัวเมืองลาวตอนล่างตกอยู่ใต้อำนาจของไทยตั้งแต่บัดนั้น
    สงครามตีเมืองเวียงจันทน์ พ.ศ.2321 เกิดความขัดแย้งระหว่างเสนาบดีกับเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ จึงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบเป็นผลให้ลาวตกเป็น
    ประเทศราชของไทยทั้งหมด แม่ทัพไทยยังได้อัญเชิญพระแก้วมรกดและพระบางมาไว้ที่ไทยด้วย
 4. ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา
    นครเชียงใหม่ ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา นับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา เชียงใหม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าและไทยสลับกัน โดยพม่าใช้เชียงใหม่เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารทุกครั้งที่ยกทัพมาตีไทย
    กองทัพกรุงธนบุรียกไปตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.2317 สามารถขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ ล้านนาจึงตกอยู่ใต้อำนาจไทยอีกครั้ง
5. ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู
    หัวเมืองมลายูตกเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกจึงแยกตัวเป็นอิสระ
    กองทัพกรุงธนบุรีไม่พร้อมที่จะยกไปปราบ เนื่องจากหัวเมืองมลายูอยู่ห่างไกลเกินไป ตลอดรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงปล่อยให้เป็นอิสระ
 พัฒนาการด้านสังคม1. พัฒนาการทางด้านศาสนาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา บ้านเมืองอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนต่างหนีเอาตัวรอด เมื่อพระเจ้าตากสิน ฯ ได้รวบรวมกำลังกู้เอกราชของชาติกลับคืนมาได้จนเป็นปึกแผ่นแล้ว ในปีเดียวกันนั้นคือปี พ.ศ. 2310 ก็ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปกติสุขเช่นที่เคยเป็นมาก่อน จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระศรีภูริปรีชา ให้สืบเสาะหาพระเถระผู้รู้อรรถรู้ธรรมให้มาประชุมกันที่ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) พระเจ้าตากสิน ฯ ได้ทรงตั้งพระอาจารย์ดี วัดประดู่กรุงเก่า ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้สูงและมีอายุพรรษามากด้วย ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระพระเถระอื่น ๆ ขึ้นเป็นพระราชาคณะฐานานุกรมน้อยใหญ่ เหมือนครั้งกรุงศรีอยุธยาให้สถิตอยู่ในพระอารามต่าง ๆ ในกรุงธนบุรี ให้สั่งสอนคันถธุระและวิปัสสนาธุระ แก่ภิกษุสามเณรโดยทั่วไป
เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา นอกจากบ้านเมือง ปราสาทราชวัง วัดวาอาราม จะถูกเผาพลาญโดยสิ้นเชิงแล้ว บรรดาคัมภีร์พระไตรปิฎกก็พลอยถูกเผาสูญหายหมดสิ้นไปด้วย พระองค์จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สืบหารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกที่หลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงกรุงกัมพูชา แล้วเอามาคัดลอกสร้างเป็น พระไตรปิฎกฉบับหลวงไว้ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน2. พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรมโครงสร้างทางสังคมไทยสมัยธนบุรีประกอบด้วยชนชั้นต่างๆ ได้แก่
-พระมหากษัตริย์ เป็นผู้ที่มีพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
-พระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ บรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดา
-ไพร่ ได้แก่ คนธรรมดาสามัญที่เป็นชายฉกรรจ์ ส่วนเด็ก ผู้หญิงหรือคนชราถือเป็นบริวารของไพร่
-ทาส หมายถึง บุคคลที่มิได้เป็นไทแก่ตนเองโดยสิ้นเชิง
-พระสงฆ์ เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเป็นผู้อบรมสั่งสอนคนในสังคมให้เป็นคนดี2.1 สภาพสังคมสมัยธนบุรี เนื่องจากบ้านเมืองตกอยู่ภาวะสงคราม ทางราชการจึงต้องควบคุมกำลังคนอย่างเข็มงวดเพื่อเตรียมสำหรับต้านภัยพม่า มีการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวง โดยการสักเลกที่แขนเพื่อป้องกันการหลบหนี2.2 การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีความเสื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงฟื้นฟูกิจการพระพุทธศาสนาเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจแก่ราษฏร ดังนี้
    การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพระสังฆราชและพระราชาคณะขึ้นปกครองคณะสงฆ์ และให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ทั้งหมด พระสงฆ์ที่มีการประพฤติไม่อยู่ในพระวินัยก็ให้สึกออกเสีย
    การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เช่น วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) และวัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆังโฆสิตาราม) เป็นต้น
     การตรวจสอบและคัดลอกพระไตรปิฏก เพื่อให้พระธรรมวินัยมีความบริสุทธิ์ โดยใช้ต้นฉบับพระไตรปิฏกจากวัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช
2.3 งานสร้างสรรค์ศิลปะและวรรณกรรม
    ความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปแขนงต่างๆ ในสมัยธนบุรีไม่ปรากฏเด่นชัดนัก เนื่องจากบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดรัชกาล ความบีบคั้นทางเศรษฐกิจและบรรดาช่างฝีมือถูกพม่ากวาดต้อนไปจำนวนมาก
    งานสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นงานซ่อมแซมบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ และงานก่อสร้างพระราชวังเดิม
    งานวรรณกรรม ได้แก่ ลิลิตเพชรมงกุฏ (หลวงสรวิชิต),และโคลงยอพระเกียรติ์พระเจ้ากรุงธนบุรี(นายสวนมหาดเล็ก) เป็นต้น
3. ด้านการศึกษา
    วัดเป็นสถานศึกษาของเด็กไทยในสมัยธนบุรี พระสงฆ์เป็นผู้สอนให้ความรู้ทั้งด้านหนังสือและอบรมความประพฤติ และเด็กชายเท่านั้นที่มีโอกาสได้เล่าเรียน
    การเรียนวิชาชีพ เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ซึ่งจะถ่ายทอดวิชาชีพตามบรรพบุรุษของตน เช่นวิชาช่างปั่น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง เป็นต้น
    การศึกษาสำหรับเด็กหญิง
    มีการเล่าเรียนการเย็บปักถักร้อย การปรุงแต่งอาหารและวิชางานบ้านงานเรือนสำหรับกุลสตรี ซึ่งถ่ายทอดกันมาตามประเพณีโบราณ มีเฉพาะในหมู่ลูกหลานขุนนางและพระราชวงศ์ ส่วนวิชาหนังสือไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียน

อัพเดทล่าสุด