ฟักข้าวคือ วิธีการปลูกฟักข้าว สถานที่ปลูกฟักข้าว


2,198 ผู้ชม


ฟักข้าว ผักดี ที่คุณผู้ชายต้องใส่ใจ
ฟักข้าว เป็นผักที่ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานบ้านเรากินกันอยู่เป็นประจำ โดยจะกินยอดอ่อนและผลอ่อน เป็นผักลวกนึ่งกินกับน้ำพริกหรือแกงกิน เรามักจะพบผลอ่อนและยอดอ่อนของฟักข้าววางขายอยู่ในตลาดตามชุมชนทางภาคเหนือ ในภาคอีสานนั้นชาวบ้านจะกินยอดอ่อนและผลอ่อนเป็นผักเช่นกัน โดยจะเรียกฟักข้าวว่า “หมากอูบข้าว” เนื่องจากลักษณะผลจะคล้ายคลึงกับ “อูบข้าว” ภาชนะใส่ข้าวเหนียวของคนอีสาน มีลักษณะคล้ายๆ กระติบข้าวแต่มีรูปทรงรีๆ กลมๆ นอกจากจะกินผลอ่อนและยอดอ่อนแล้ว ชาวบ้านแถวอีสานยังกินเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดงรสจืดๆ มันๆ เป็นของทานเล่น ส่วนเนื้อในเมล็ดก็มีหมอยาบางคนเอามากินเช่นกัน แต่ไม่นิยมกินกันในวงกว้างเท่าใดนัก
ฟักข้าว ผักรวย “ไลโคพีน”
กินลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
เมื่อไม่นานมานี้มีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับผักเวียดนามชนิดหนึ่งชื่อ “แกก (Gac)” ในการมีสรรพคุณต้านมะเร็งอย่างแพร่หลาย ผักที่ว่านี้คือฟักข้าวนั่นเอง ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่คนเวียดนามดูเหมือนจะนิยมกินฟักข้าวมากกว่าชนชาติอื่นๆ โดยมักปลูกฟักข้าวพาดพ้นไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหาร โดยจะเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อมเมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียวทำให้ข้าวมีสีแดง ใช้ในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้นเพราะเชื่อว่าสีขาวไม่เป็นมงคล ปัจจุบันพบว่าเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวสีแดงนั้นมีสารชื่อ “ไลโคพีน” โดยจะมีสารไลโคพีนสูงสุดในบรรดาผักผลไม้ที่ให้ไลโคพีนทั้งหลาย ดังนี้ มะเขือเทศสุก ๓๑ ไมโครกรัมต่อกรัม แตงโม ๔๑ ไมโครกรัมต่อกรัม ฝรั่ง ๕๔ ไมโครกรัมต่อกรัม ส้มโอ ๓๓.๖ ไมโครกรัมต่อกรัม เยื่อเมล็ดฟักข้าว ๓๘๐ ไมโครกรัมต่อกรัม เป็นต้น
ไลโคพีน เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น เมื่อร่างกายของเราได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ วงการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่ามีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร และที่สำคัญพบว่าไลโคพีนมักจะไปสะสมบริเวณต่อมลูกหมากและผิวหนัง อย่างไรก็ตามการต้านอนุมูลอิสระนั้นต้องทำงานกันเป็นทีม ดังนั้นควรจะรับประทานอาหารให้หลากหลาย ที่สำคัญคือรายงานการศึกษาสมัยใหม่มีความขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลาว่าปริมาณสารไลโคพีนมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากจริงหรือไม่ แต่เมื่อไม่นานนี้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารไลโคพีนมีปริมาณของสารที่เป็นตัวชี้วัดสุขภาพของต่อมลูกหมาก prostate-specific antigen (PSA) ลดลง ซึ่งหมายถึงสุขภาพของต่อมลูกหมากดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการรับประทานผักที่มีสารไลโคพีนสูงจึงมีประโยชน์ต่อผู้ชายซึ่งมักจะมีปัญหาของต่อมลูกหมากเมื่อสูงวัยขึ้น
ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยของฟักข้าวต่อการรักษาและป้องกันมะเร็งในประเทศต่างๆ เช่นจีน พบว่าโปรตีนจากเมล็ดฟักข้าวมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลอง ประเทศเวียดนามพบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ ประเทศไทยพบโปรตีนในเมล็ดฟักข้าวมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว
งานวิจัยอื่นในต่างประเทศพบว่า เมล็ดแก่ของฟักข้าวมีโปรตีนมอร์มอโคลซิน-เอส และโคลซินิน-บี มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิตกรดอะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ่งอาจนำไปใช้พัฒนาเภสัชภัณฑ์ต้านมะเร็งได้ในวันข้างหน้า ประเทศญี่ปุ่นทำการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง และน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยทำให้เซลล์แตกตาย จากการศึกษาที่ผ่านมาจะเห็นว่าในส่วนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งนั้นมาจากสารโปรตีนในเมล็ดแก่ น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ด น้ำสกัดจากผล แต่ในส่วนของเนื้อในเมล็ดนั้น เนื่องจากไม่มีการรับประทานกันทั่วไปอย่างกว้างขวาง จึงควรที่จะต้องศึกษาหาความปลอดภัยก่อนที่จะนำมาใช้กิน ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดนั้นมีการทำเป็นเครื่องดื่มออกจำหน่ายกันบ้างแล้วในต่างประเทศ สำหรับท่านที่ปลูกฟักข้าวไว้ ก็อาจจะรวบรวมสารเยื่อหุ้มเมล็ดตากเก็บไว้ชงน้ำกินเป็นเครื่องดื่มบำรุงสายตา บำรุงสุขภาพก็ได้ ในส่วนที่เป็นผลนั้นชาวบ้านกินกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว ดังนั้นการปลูกการกินฟักข้าวมีแต่ประโยชน์กับประโยชน์
ฟักข้าว ยาเย็นแก้ไข้ แก้พิษ
ฟักข้าวเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ มักจะพบการใช้เถา ราก หรือใบ เป็นส่วนประกอบของการรักษา การถอนพิษผิดสำแดง ดับพิษไข้ทั้งปวง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษอักเสบ แก้กษัย แก้พิษฝี แก้ฝีในท้อง แก้ปวดบวม ดูดหัวฝี แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ฆ่าเหา รวมทั้งใช้สระผมแทนแชมพู ส่วนของเมล็ดก็นิยมใช้เป็นยาทาภายนอกโดยตำผสมกับน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าวในการรักษาหูด อาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่างๆ
ฟักข้าว อาหารพื้นบ้าน ใครทานก็ติดใจ
ผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวรสชาติเหมือนมะละกอดิบ นิยมลวกหรือต้มให้สุก ต้มกะทิจิ้มน้ำพริก แจ่ว ป่น ลาบหรือแกงกิน ยอดอ่อน ใบอ่อนเช่นกันกับยอดบวบ ยอดฟักทอง นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก แจ่ว ป่น ลาบ หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค ผลสุกกินได้รสหวานปะแล่มๆ แต่เนื้อน้อยกว่าแตงไทยมาก เยื่อหุ้มเมล็ดนิยมนำมากินเล่น รสจืดๆ มันๆ สัตว์ป่าจำพวกหมูหริ่ง เก้ง บ่าง ชอบมากินผลสุกที่ร่วงลงมา แล้วช่วยกระจายพันธุ์ให้กับฟักข้าวในธรรมชาติ
    “ ฟักข้าวเป็นผักพื้นบ้านที่คนปัจจุบันหันกลับมาให้ความสำคัญกันมากด้วยกลัวการเป็นมะเร็ง นับเป็นปัญหาสุขภาพที่คร่าชีวิตคนไทยไปปีละไม่น้อยกว่า ๖๐,๐๐๐ คน นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้คนไทยได้หันกลับมาศึกษาภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย เพื่อนำมาปรับใช้กับสังคมสมัยใหม่อย่างรู้เท่าทันและเข้าใจ ”
สอบถามเพิ่มเติมกับเภสัชกรเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร โทร (๐๓๗) ๒๑๑๒๘๙
https://www.abhaiherb.com/

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ
สสส. และ วิชาการดอทคอม
ที่มา
www.thaihealth.or.th




 ฟักข้าวคือ วิธีการปลูกฟักข้าว สถานที่ปลูกฟักข้าว           เจ้าผักลูกกลมๆ มีหนามเล็กๆ โดยรอบแลดูน่าตาตลกมากกว่าน่ากินชนิดนี้ถูกขนานนามด้วยหลายชื่อแตกต่างกันไป ตามภูมิภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “แก็ก”, “มะข้าว”, “ผักข้าว”, “ขี้กาเครือ” และที่คุ้นๆ หูก็คือ “ฟักข้าว”...ฟักข้าวเป็นพืชในตระกูลแตงกวา และมะระ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
          “มีงานวิจัยของต่างประเทศที่ระบุว่าสารไลโคปีน ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสามารถป้องกันความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ และระบุว่าสารนี้มีมากในมะเขือเทศ แต่จริงๆ แล้วในภูมิภาคบ้านเรายังมีพืชบางชนิดที่มีไลโคปีนสูงกว่ามะเขือเทศนับ 10 เท่า นั้นก็คือ “ฟักข้าว” นั่น เอง เราพบว่าในมะเขือเทศสุก 1 กรัม มีสารไลโคปีนอยู่ประมาณ 31 ไมโครกรัม ในขณะที่เยื่อเมล็ดฟักข้าว 1 กรัม ให้ไลโคปีนสูงถึง 380 ไมโครกรัมเลยทีเดียว” ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว แห่ง รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ให้ข้อมูล
          เภสัชกรหญิงคนเก่งรายนี้กล่าวต่อไปอีกว่า มีการศึกษาในสหรัฐฯ พบว่าไลโคปีนสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินมะเขือเทศวันละถ้วย อีกกลุ่มหนึ่งไม่ให้กิน ปรากฏว่ากลุ่มที่กินมะเขือเทศ เสี่ยงป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กิน ซึ่งจากการทดลองนี้แสดงให้เห็นชัดว่าไลโคปีนมีผลต่อการป้องกันความเสี่ยงใน การเป็นมะเร็ง
          “ปัญหาก็คือเราพบว่าคนไทยส่วนใหญ่จะกินของที่ดีมีประโยชน์ จากงานวิจัยของต่างชาติ คือถ้าไม่มีผลวิจัยจากต่างชาติก็จะไม่กิน พอกินก็กินเป็นกระแส ฮือฮากันได้สักพักก็จะเลิกเห่อไป อย่างมะเขือเทศกับไลโคปีน พอมีบทวิจัยก็เห่อกินกันทั้งที่มันก็เป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยมานาน และในฟักข้าวที่มีไลโคปีน คนไทยก็ไม่สนใจเพราะมันไม่มีงานวิจัย ทั้งๆ จริงๆ ดั้งเดิมก็กินมานานแล้ว เพื่อนบ้านเราหลายประเทศก็กินกันเป็นเรื่องปกติ”

          ภญ. ผกากรอง กล่าวว่า การ บริโภคฟักข้าวในเมืองไทยส่วนใหญ่จะไม่กินลูก หากจะกินส่วนยอด ลูกก็กินบ้างแต่กินดิบ แต่ไลโคปีนในฟักข้าวจะมีมากที่สุดที่เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง เมื่อขณะที่มันสุกเต็มที่ ที่เวียดนามจะรู้จักฟักข้าวในชื่อของ “เกิก” ข้าวชนิดหนึ่งของเวียดนามจะหุงด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงของฟักข้าว หุงเสร็จก็จะกลายเป็นข้าวสีออกส้มๆ แดงๆ


ฟักข้าวคือ วิธีการปลูกฟักข้าว สถานที่ปลูกฟักข้าว


          “ฟักข้าว เป็นพืชพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ อยากเชิญชวนให้นำมาทำเป็นอาหารบริโภค และอยากรณรงค์ให้บริโภคเป็นอาหาร เพราะเชื่อว่าธรรมชาติได้กำหนดสัดส่วนดีไซน์มาให้เรียบร้อยแล้ว การกินสารอาหารจากพืชผักจะให้ดีที่สุดควรกินเป็นอาหาร แต่ที่ห่วงคือส่วนใหญ่จะกินแบบง่ายๆ คือหาแบบที่เป็นสำเร็จรูป เป็นแคปซูล เป็นยาที่สกัดออกมาแล้ว ซึ่งเราไม่รู้ว่าการที่ผ่านกระบวนการต่างๆ เช่นทำให้แห้ง ทำให้เป็นผง หรือสกัดเอาแต่สารเพียวๆ นั้น จะทำให้โครงสร้างของสารนั้นๆ เปลี่ยนไปหรือไม่” ภญ.ผกากรอง แนะนำทิ้งท้ายฟักข้าวคือ วิธีการปลูกฟักข้าว สถานที่ปลูกฟักข้าว

          ด้าน “พี่ติ่ง” - พนิดา เกษรศรี แห่ง “บ้านฟักข้าว” อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ใน ฐานะของผู้ที่เคยกินฟักข้าวแล้วได้ผลดีจนกระทั่งเพาะขายเป็นกิจกรรมเล็กๆ ในครัวเรือน เท้าความให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้หนีอากาศร้อนมาเที่ยวภาคเหนือ ก็ไปเจอลูกฟักข้าวแก่จัดที่วางขายอยู่ในตลาด เห็นว่าแปลกดีจึงซื้อมาดูเล่น จากนั้นก็กลับไปหาข้อมูลว่าลูกฟักข้าวแก่จัดที่ได้มานั้นสามารถนำไปทำอะไร ได้บ้าง
          “เราก็หาในอินเทอร์เน็ต ก็พบงานวิจัยว่ามันมีไลโคปีนสูง มีสารมีประโยชน์ ก็เลยหาวิธีทำกินกันเองในบ้าน เราใช้เยื่อหุ้มเมล็ดมาทำเป็นน้ำผลไม้ แต่งรสด้วยน้ำตาลนิดหน่อย ดื่มเองในครอบครัว แล้วก็แจกคนรู้จัก หนักๆ เข้าหลายคนชอบก็ขอให้ทำให้บ้าง แนะนำให้ทำขายบ้าง เราก็หาข้อมูลเรื่อยมา ซื้อมาปลูก ตอนนี้ก็กลายเป็นกิจการเล็กๆ ของครอบครัวมา 2 ปีกว่าแล้ว คนให้ความสนใจมากขึ้น อาจจะเพราะว่าคนเริ่มหันมาสนใจสุขภาพแนวป้องกันมากขึ้นด้วย”
          พี่ติ่งขยายความอีกว่า คนในแถบภาคเหนือนิยมกินส่วนของยอดฟักข้าว โดยนำมาแกงใส่ปลาแห้งบ้าง นำมาลวกหรือต้มจิ้มน้ำพริกบ้าง ส่วนลูกอ่อนๆ ที่เนื้อแข็งๆ มาปอกแล้วหันเป็นชิ้นๆ ลงไปรวมกับผักอื่นๆ เป็นแกงแคบ้าง ส่วนลูกสุกไม่ค่อยมีคนกิน จะปล่อยให้สุกคาต้นเป็นอาหารของนก หนู กระรอกไปตามธรรมชาติ
          “จากประสบการณ์ตรงปรากฏหลังการดื่มน้ำจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวพบว่า รู้สึกว่าร่างกายแข็งแรงขึ้น คุณแม่พี่อายุ 50 กว่าแล้วก็บอกว่าดื่มระยะหนึ่งแล้วผมเริ่มกลับมาดำอีกครั้ง แล้วพวกเราทั้งบ้านก็ไม่ค่อยป่วย อย่างโรคหวัดนี่ไม่มีใครเป็นมาสักพักแล้วค่ะ”
          พี่ติ่งยังกระซิบอีกนิดสำหรับผู้ที่อ่านแล้วชักจะเห็นความสำคัญของผักพื้น บ้าน น่าตาน่าเอ็นดูชนิดนี้และอยากหามาปลูกบ้างว่า ฟักข้าวปลูกง่าย แค่โยนเม็ดลงดินก็ขึ้นแล้ว มีหลายสายพันธุ์ พันธุ์ลูกใหญ่เฉลี่ยน้ำหนักลูกละ 1 กิโลกรัม เหมาะแก่การปลูกลงดินเพราะรากจะขยายไปเรื่อยๆ แต่สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านน้อยๆ หรือคอนโดมิเนียมก็อย่าเพิ่งเสียใจไป เพราะพันธุ์พื้นบ้านดั้งเดิมที่ใบออกทรงกลมจะให้ลูกเล็กกว่าและมีขนาดต้น เล็กกว่า เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่จำกัดเช่นบนระเบียงในกระถาง ขนาดลูกก็เล็กตามไปด้วย ราวๆ ลูกเทนนิส ซึ่งเหมาะแก่กินคนเดียวหรือสองคนแบบฉบับครอบครัวสมัยใหม่ในเมืองใหญ่


ฟักข้าวคือ วิธีการปลูกฟักข้าว สถานที่ปลูกฟักข้าว


          ในขณะที่หนึ่งใน “คนสีเขียว” อย่าง “พี่น้อง” - โสรัจ เบญจกุศล” แห่ง เครือข่ายตลาดสีเขียว เจ้า ของร้านวุ้นดอกไม้หวาน ที่หลงรักในคุณประโยชน์ของฟักข้าวเข้าอย่างจัง ได้แสดงความเป็นห่วงต่อการลดจำนวนลงอย่างฮวบฮาบของฟักข้าวว่า เพราะหลายคนมองว่ามันเป็นวัชพืช ทำให้มีการถอนทิ้งจนปัจจุบันหากจะซื้อฟักข้าวแต่ละครั้ง ต้องใช้บริการไกลถึงจังหวัดเชียงใหม่ให้จัดส่งเข้ามาในกรุงเทพฯ เพราะหาในแถบภาคกลางไม่ได้เลยฟักข้าวคือ วิธีการปลูกฟักข้าว สถานที่ปลูกฟักข้าว

          “เสียดายมาก เพราะเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก บ้านไหนมีอยากให้เก็บไว้ อย่าไปฟันทิ้ง และอยากให้ช่วยกันปลูกมากๆ เราจะได้มีพืชผักมีประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชนิดในสวยหลังบ้านของเรา”
          พี่น้องยังได้แนะนำสูตรน้ำฟักข้าวผสมเสาวรสรสเปรี้ยวจี๊ดชื่นใจอย่างไม่หวง ตำรา ว่า เป็นเครื่องดื่มปกติที่ทำดื่มเองอยู่แล้ว และมีประโยชน์ทั้งจากฟักข้าวและเสาวรส เนื่องจากฟักข้าวจริงๆ จะรสออกจืดๆ มันๆ ทำให้หลายคนที่ไม่คุ้นอาจจะไม่ชอบ การผสมน้ำเสาวรส หรือกระทั่งน้ำส้มหรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ จะทำให้ดื่มง่ายขึ้น
          “ใช้น้ำเสาวรสประมาณ 70% ผสมกับเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว30% เติมน้ำตาลชิมรสตามใจชอบ ถ้าวันไหนร้อนๆ ยิ่งแช่เย็นยิ่งชื่นใจค่ะ”
          ...แค่ฟังสูตรก็น้ำลายสอ ใครจะเอาไปทำพี่น้องไม่หวง แถมสนับสนุนให้ทำอีกต่างหาก เพราะอยากเห็นคนไทยห่างไกลมะเร็ง

อัพเดทล่าสุด