ก็คือ... คห.13 ที่บอกว่า
เป็นวิศวะ จบไปคุมช่างอีกที เท่ดีนะ
ส่วนการบินพลเรือนจบไปเป็นช่าง... คือจะตอบให้หูตาสว่างเลยนะคับ
ว่า ที่จบมาเป็นวุฒปริญญาตรี สายการบินจะรับน้อย ยิ่งจบที่เกษตรนะคับ
คนจบก็เยอะ จบมา ก็มานั่งออฟฟิซ ลงมือทำก็ไม่ค่อยจะได้เพราะจบตรี เรียนแต่ทิษฎีการสร้าง แต่การบินทั่วโลก ต้องการ คนที่ลงมือปฏิบัติ ได้จริงๆ ไม่ใช่มานั่งคุมชาวบ้านในออฟฟิซอย่างเดียวผลาญเงินเดือนบริษัท แล้วอีกอย่าง ที่จบจาก ม.เกษตร จะไม่ได้ใบรับรองจาก ICAO นะคับ แต่การบินพลเรือนเค้ามีให้นะค้าบบ พูดง่ายๆ คือ ตลาดการบินทั่วโลกรวมถึงไทย เค้าต้องการ ช่าง ยิ่งมีประสบการณ์เยอะยิ่งดี นะคับ เค้าไม่ต้องการคนนั่งเต๊ะท่าในออฟฟิซทำเท่
บอกตรงๆว่าเปอร์เซนต์คนว่างงานของพวกจบวิดวะการบินมากกว่าช่างเยอะนะค้าบ
เท่ตอนเรียนว่า สาขาที่เรียนเป็นวุฒปริญญาตรี แต่จบมาหางานยากเดินเตะฝุ่น
นี่ก็แย่นะค้าบ
ส่วนสาขาในการบินพลเรือนที่หางานง่ายๆและตลาดต้องการ ก็คือ
ช่างบำรุงอากาศยาน(AMEL) และ ช่างบำรุงเครื่องมือสื่อสารการบิน(CM)
ส่วนแผนกที่เปิดใหม่ วิทยาศาสตร์การบินบัณฑิต อิเลคทรอนิค(AE) อันนี้จบมาเป็นวุฒ ป.ตรี ว.ท.บ. ยังไม่เป็นวิศวะนะคับ หางานค่อนข้างยาก แต่กำลังปรับเปลี่ยนให้เป็นวิศวะที่สามารถทำงานเหมือนช่างได้
ส่วนแผนก AMEL และ CM สามารถ ไปเรียนต่อเป็น ป.ตรี ได้ จบมาก็จะดีมาก เพราะเราเรียนมาแบบช่างแล้วมาเอาความรู้เพิ่มเติม ได้ป.ตรีมาประดับเล่นๆ ได้นะคับ การทำงานยิ่งเหนือกว่า พวกจบจาก วิดวะการบินธรรมดานะคับ
การบินพลเรือนเป็นสถาบันเฉพาะทางการบินโดยเฉพาะ ยังมี ICAO รับรองด้วย เทียบกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวะการบิน เรียนเรื่องสร้างเครื่องบิน เรียนเรื่องเครื่องบินสามารถบินได้อย่างไร
แล้วลองคิดถึงเวลาทำงานนะคับว่า เค้าจะสนใจจะรับคนลงมือเช็ค ซ่อม ดูแล เครื่องบินเป็น หรือ คนที่รู้ว่าเครื่องบินบินได้ยังไง สร้างมายังไง
เป็นคุณ คุณจะรับใครทำงานร่วมกับคุณ?
-----
การที่คนเราตัดสินใจเลือกเรียนที่ไหนแล้ว
ทุกคนก็ต้องการจบแล้วมีงานทำแต่ใครเล่าจะสมหวังกับความต้องการนี้
มีแนวความคิดหนึ่งที่ผมได้รับจากผู้ปกครองที่คุยให้ฟัง
จนผมต้องกลับมาคิดเพิ่มและต้องการบอกต่อให้ท่านได้พิจารณาดังนี้
การที่เราเรียนจบแล้วปัจจัยที่ทำให้เราประสบความสำเร็จโดยมีงานทำ
ประกอบด้วย
1.ความต้องการของตลาดแรงงานว่ามีปริมาณต้องการมากเพียงใด
และปริมาณผู้ที่มีคุณสมบัติมากเพียงใด
ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วคนที่มีคุณสมบัติโดยตรงด้านนี้ยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการ
ดูได้จากบางตำแหน่งต้องรับคนที่มีคุณสมบัติทั่วไปก่อนและต้องฝึกอบรมเพิ่มจึงสามารถทำงานได้
2.คุณสมบัติของเราเมื่อเทียบกับคนอื่นๆเราอยู่ในลำดับใดของกลุ่ม
ซึ่งถ้าเราพยายามทำคุณสมบัติจนอยู่ลำดับต้นๆอย่างน้อยก็ด้านความรู้(จบไม่เกินที่ 10 ของรุ่น)
ก็อาจสามารถถึงขั้นเป็นผู้เลือกหน่วยงานแทนที่จะเป็นผู้ถูกเลือกจากหน่วยงาน
นั่นก็หมายความว่าท่านมีงานทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวท่านเอง
3.การเตรียมตัวในการนำเสนอคุณสมบัติที่พร้อมในการทำงานกับองค์กรนั้นๆ
โดยการเตรียมตัวให้พร้อมเสนอ เอกสารประกอบสมบูรณ์ นำเสนออย่างเป็นระบบให้น่าสนใจ
ประกอบกับคุณสมบัติเด่นด้านอื่นๆก็สามารถประสบความสมหวังได้เสมอ
ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้สถาบันการบินพลเรือนมีให้ท่านแสวงหาพร้อมอบรมสั่งสมอย่างเพียงพอ
ดังนั้นเมื่อเรียนจบจากสถาบันการบินพลเรือนแล้ว
แต่ท่านที่ไม่สามารถสอบเข้าเรียนที่สถาบันการบินพลเรือนได้
ก็ไม่ใช่ว่าจะหมดหวังเพียงแต่ว่าเมื่อเรารู้ว่าองค์ประกอบต่างๆ
เราก็พัฒนาตัวเองให้มีโอกาสแข่งขันกับคนอื่นได้เช่นกัน
ถ้าสถาบันที่เรามีโอกาสได้เรียนไม่ได้เน้นองค์ประกอบเหล่านี้
ผมยังมั่นใจว่าโอกาสท่านมีมากกว่าแน่นอนครับ
โชคดีและสมหวังทุกคนครับ
-----
การเรียนด้านการบินจะได้เรียนรู้ในเรื่องของการอบรมและผลิตบุคลากรด้าน การบิน ซ่อมบำรุงเครื่องบินและบริการอื่น ๆ ด้านการบินทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยมาตรฐานระดับสากลตามที่องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กำหนดไว้
ตรวจสอบตนเอง
โดยพื้นฐานแล้ว ผู้ที่จะเรียนด้านการบิน เพื่อที่จะเป็นนักบิน จะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษดี และมีความรู้ พื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) และคณิตศาสตร์ ผ่านการตรวจร่างกายจาก สถาบัน เวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ ร่างกายแข็งแรง สายตาปรกติ การเรียนการสอน ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรเช่นที่สถาบันการบินพลเรือน
แนวทางอาชีพในปัจจุบัน
ผู้ที่จบการศึกษาจะแบ่งออกเป็นหลายสาขา อาทิเช่น สาขานักบินพาณิชย์ สาขาบริหารการบิน สาขาซ่อมบำรุงเครื่องบิน และอื่นๆ ตามสาขาที่เลือกเรียน โดยมีแนวโน้มว่าความต้องการบุคลากรทางด้านนี้ยังมีอยู่สูง ซึ่งก็หมายความว่าเรียนจบมาแล้วมีงานรองรับและมีรายได้ดีอย่างแน่นอน
การขนส่งและโลจิสติกส์ (สาขาวิชาวิทยาการจัดการโลจิสติกส์,สาขาวิชาการเดินเรือ,สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม, สาขาวิชาพาณิชย์นาวี)
โลจิสติกส์ ( logistics) หมายถึงกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่น ๆ โดยโลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ ดังนี้
1. วิศวกรรมศาสตร์ ในส่วนวิศวกรรมศาสร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ(Industrial Engineering) และ สาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering )โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงหรือเวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด
2. บริหารธุรกิจ สาขานี้จะมองในเรื่องของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศและการค้าระหว่าง ประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ
3. การจัดการสารสนเทศ ซึ่งจะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือบริการที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น
เตรียมพร้อมก่อนเรียน
หัวใจสำคัญของการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ คือการจัดหาสินค้าหรือบริการตามความต้องการของลูกค้าและส่งมอบสินค้าไปยัง สถานที่ที่ลูกค้าระบุไว้ถูกต้องตรงตามเวลา และสินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ผู้เรียนจึงควรมีพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ หรือการคำนวนต่าง ๆ รวมทั้งมีพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยี และด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
แนวทางอาชีพในปัจจุบัน
เนื่องจากโลจิสติกส์ยังอยู่ในวงจำกัด ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์มีจำนวนเล็กน้อย อุปสรรคที่สำคัญคือขาดแคลนอาจารย์ที่สอนด้านโลจิสติกส์หลักสูตรโลจิสติกส์ โดยตรงมีน้อย ทั้ง ๆ ที่ผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการจัดการโลจิสติกส์มาก แต่ยังไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันภาครัฐเองก็ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจด้านโลจิสติกส์ หรือที่มีความรู้ก็มีอยู่เพียงเล็กน้อยและไม่เพียงพอ ฉะนั้นผู้ที่จบการศึกษาด้านนี้ จึงเป็นที่ต้องการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการปรับตัวของโลกในอนาคต
อ่านเรื่องกระแส E-Commerce ได้ใน E-book สาขาแห่งอนาคต 2009 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ได้ด้านล่างนี้
--------
โลจิสติกส์
ในยุคของโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่การค้าระหว่างประเทศมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับนโยบายการเปิดเสรีการค้าตามข้อตกลง FTA ที่ประเทศไทยจะต้องเข้าร่วมทั้งในฐานะผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และนักลงทุน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนที่จะขับเคลื่อนสินค้าบริการ ข้อมูลและการเงิน จึงมีความสำคัญที่จะทำให้ประเทศสามารถแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้ โลจิสติกส์นับเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะนำมาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าซึ่งจะทำให้สินค้าและบริการมีต้นทุนถูกลง สินค้าและบริการถึงมือผู้บริโภคเร็วขึ้นและถูกต้องตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ซึ่งจะทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศขยายตัวและก่อให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ความหมายของโลจิสติกส์
The Council of Logistics Management (CLM) ได้ให้คำนิยามของโลจิสติกส์ ดังนี้
โลจิสติกส์ หมายถึงกระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
กระบวนการจัดการโลจิสติกส์จะครอบคลุมกิจกรรม 2 ประเภทดังนี้
1. กิจกรรมหลัก (Key Activities) ประกอบด้วย
1.1 การบริหารสินค้าคงคลัง
1.2 การบริหารการขนส่ง
1.3 การบริหารการสั่งซื้อ
1.4 การบริหารข้อมูล
1.5 การบริหารการเงิน
2. กิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities) ประกอบด้วย
2.1 การบริหารคลังสินค้า
2.2 การดูแลสินค้า
2.3 การบริหารการจัดซื้อ
2.4 การบริหารบรรจุภัณฑ์
2.5 การบริหารอุปสงค์
ดังนั้นหัวใจสำคัญของการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ คือการจัดหาสินค้าหรือบริการตามความต้องการของลูกค้า และส่งมอบสินค้าไปยังสถานที่ที่ลูกค้าระบุไว้ถูกต้องตรงตามเวลา และสินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
พัฒนาการของระบบโลจิสติกส์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมวลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ จากการศึกษาวิเคราะห์ระดับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศต่าง ๆ ได้รวม 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. Physical Distribution
เป็นการให้ความสำคัญเฉพาะด้านของการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยอาจครอบคลุมกิจกรรมต่างๆได้แก่ การขนส่ง การเก็บสินค้า การจัดการวัสดุ และการบรรจุบห่อเพื่อป้องกันการสูญเสียระหว่างการขนส่ง การพัฒนาระดับนี้ยังไม่มุ่งเน้นการลดต้นทุนในส่วนที่เป็นสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าระหว่างผลิต
2. Internally Integrated Logistics
เป็นการพัฒนาที่รวมกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการผลิต มีการเชื่อมโยงการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนถึงการจัดส่งถึงผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนจากการลดสินค้าคงคลังเป็นเพิ่มความถี่ในการระบายสินค้า การพัฒนาในขั้นตอนนี้จะมีการใช้ IT/Software จัดการกิจกรรมทั้งระบบ
3. Externally Integrated Logistics
เป็นการพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงใช้รูปแบบ (Mode) การขนส่งทุกรูปแบบ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การมีจุดขนถ่ายสินค้าที่มีมาตรฐาน มีระบบ IT ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบริษัท นอกจากนี้ยังมีการใช้ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์เฉพาะด้าน เช่น Third Party Logistics Provider เป็นต้น
4. Global Logistics Management
เป็นการพัฒนาที่เกิดจากการตื่นตัวของบริษัทข้ามชาติที่กำลังเผชิญกับปัญหากำไรลดลงในประเทศที่ตนตั้งอยู่ ดังนั้นจึงเริ่มหาแหล่งจัดซื้อที่ถูกกว่าในต่างประเทศ ลักษณะของการพัฒนาในขั้นตอนนี้คือ การจัดซื้อวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าจะครอบคลุมแหล่งวัตถุดิบทั่วโลก ด้านการขนส่ง การเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการท่าเรือ ขั้นตอนการส่งสินค้าชายแดน การให้ความสำคัญกับผลกระทบของการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านการขนส่ง ด้าน IT มีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศและมีการพึ่งพาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
ในส่วนของประเทศไทยระดับการพัฒนาโลจิสติกส์ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น คืออยู่ในขั้นตอนระหว่างการพัฒนาจากช่วง Physical Distribution เข้าสู่ช่วง Internally Integrated Logistics
ประเทศไทยกับการพัฒนาโลจิสติกส์
ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมามีการกล่าวขานถึงโลจิสติกส์กันมากทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยยังไม่มีนโยบายโลจิสติกส์ที่ชัดเจนและไม่มีกลไกในการผลักดันนโยบายดังกล่าว หน่วยงานของภาครัฐและเอกชนต่างเดินไปกันคนละทิศละทางขาดการประสานงานกัน ต่อมารัฐบาลเริ่มเห็นความสำคัญในการพัฒนาโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ เนื่องจากเมื่อพิจารณาต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของไทย สูงถึงร้อยละ 25-30 ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วจะอยู่ระหว่างร้อยละ 7 - 11 จากปัญหาดังกล่าวสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปีข้างหน้า ระบบโลจิสติกส์ไทยจะมีต้นทุนที่ร้อยละ 15 ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 ทั้งนี้ มีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านโลจิสติกส์ จำนวน 4 ชุด จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชน อาทิ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข) กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท) ทำการศึกษา ด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลโลจิสติกส์ และการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยมีแนวทางสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
1. โครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้
1.1 การปรับปรุงการบริหารจัดการรูปแบบการขนส่งที่สำคัญที่ยังมีการใช้งานน้อย อาทิ การขนส่งระบบรางและการขนส่งทางน้ำ ที่จะช่วยประหยัดต้นทุนด้านการขนส่ง
1.2 การปรับปรุงจุดเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบ (Mode) การขนส่งให้สามารถเปลี่ยนถ่ายจากการขนส่งรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขนส่งสินค้าทางบกไปยังคลังสินค้าสู่ท่าเรือและลงเรือสินค้าเพื่อส่งสินค้าไปยังลูกค้า ได้ทันเวลาและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
1.3 การพัฒนาเส้นทางการขนส่งให้เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม
ดังนั้นเพื่อที่จะให้โครงสร้างพื้นฐานรองรับโลจิสติกส์ จึงจำเป็นต้องเร่งให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการและให้ความร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง
2. การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูล
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเอกสารการค้าระหว่างประเทศที่ผู้ส่งออก/นำเข้าต้องมีการติดต่อกับหน่วยราชการหลายหน่วยงาน รวมทั้งต้องกรอกข้อมูลในเอกสารต่าง ๆ หลายชุดทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้นการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การนำเข้า การส่งออก และโลจิสติกส์จะต้องมีแนวทางดังนี้
2.1 การให้บริการที่ไม่ยึดรูปแบบการแบ่งส่วนราชการ แต่มุ่งสร้างพันธกิจในลักษณะให้บริการครบวงจรจากจุดเดียว
2.2 สร้างมาตรฐานกลางและกลไกการทำงานระหว่างระบบ เช่น มาตรฐานระบบข้อมูล มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานที่ภาคเอกชนจะพัฒนาระบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป
ดังนั้น การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลจึงมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านเอกสารและบุคลากร ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการกรอกข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพบริการ ตลอดจนสร้างความเป็นสากลที่จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับต่างประเทศ
3. ฐานข้อมูลโลจิสติกส์
ประเทศไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาโลจิสติกส์ ดังนั้นข้อมูลโลจิสติกส์ยังเป็นที่รับทราบอยู่ในวงจำกัดหรืออาจจะกระจัดกระจาย จึงจำเป็นต้องสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและระดับจุลภาค โดยมีแนวทางดังนี้
3.1 การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์และส่วนผลกระทบที่มีต่อมวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ซึ่งจำเป็นต้องสร้างแบบจำลองในการคำนวณต้นทุนดังกล่าว
3.2 สำรวจการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อจะทำให้ทราบทิศทางรูปแบบ และปริมาณการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในประเทศจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคโดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โลจิสติกส์ในภาพรวม เพื่อที่จะเห็นช่องทางการเคลื่อนย้ายสินค้าในรูปแบบขนส่งต่าง ๆ คลังสินค้า และการขนถ่ายสินค้า
3.3 การจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานของบุคลากรด้านโลจิสติกส์
3.4 การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ของแต่ละอุตสาหกรรม
4. การพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์
เนื่องจากโลจิสติกส์ยังอยู่ในวงจำกัด ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์มีจำนวนเล็กน้อย อุปสรรคที่สำคัญคือขาดแคลนอาจารย์ที่สอนด้านโลจิสติกส์ หลักสูตรโลจิสติกส์โดยตรงมีน้อย ผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการจัดการโลจิสติกส์แต่ยังไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันภาครัฐยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจด้านโลจิสติกส์หรือมีความรู้ก็มีอยู่เพียงเล็กน้อย สำหรับแนวทางในการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์มีดังนี้
4.1 สร้างบุคลากรภาครัฐและนักเรียนนักศึกษา อาทิ ให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการและอาจารย์มหาวิทยาลัยไปศึกษาระดับปริญญาด้านโลจิสติกส์
4.2 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและต่างประเทศ รวมทั้งแลกเปลี่ยนผู้วชาญต่างประเทศทางด้านโลจิสติกส์
4.3 สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการในเรื่องการจัดการโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
4.4 ยกระดับบุคลากรบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์เพื่อให้บุคลากรมีความ สามารถในการให้บริการกิจกรรมที่มีความซับซ้อนหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น
บทสรุป
การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของประเทศจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ในการจัดการกระบวนการโลจิสติกส์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องให้เป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน อาทิ การบริหารสินค้าคงคลัง การบริหารการสั่งซื้อ การบริหารข้อมูล การบริหารการเงิน การบริหารคลังสินค้า การดูแลสินค้า การบริหารการจัดซื้อ และการบริหารบรรจุภัณฑ์ ซึ่งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทยจะต้องทำความเข้าใจปรับแนวคิดทางด้านโลจิสติกส์ที่จะเป็นแนวบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ ของโลจิสติกส์ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนสินค้าที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอันจะทำให้เกิดความคล่องตัวในทางการค้า และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้าระหว่างประเทศของไทยให้เติบโตต่อไป
ขอขอบคุณ :https://www.eduzones.com