จดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ ตําแหน่ง เลขานุการ - การเขียนจดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ


16,979 ผู้ชม


---- ตัวอย่าง จดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ ตําแหน่ง เลขานุการ

Sample Executive Assistant Resume Cover Letter
Richard Anderson
1234, West 67 Street,
Carlisle, MA 01741,
(123)-456 7890.
Date: 1st January 2009
Justin Holloway
XYZ Music Store,
1234 Archer Road,
Gainesville, Fl 32607,
(352)-555 1635.
Dear Mr. Justin,
Last week, I had done a hunt for an executive assistant position. Only for such a position, I am here in the market, full time, part-time. The details of responsibilities match my experience and personality perfectly. I am excellent with the people, have ability for managing files and planning employee training days.
I have an experience in executive assistance as working with executive assistants in the public relations at 2 advertising organizations more than the past 3 years. I am looking forward to hear from you soon. Please contact me on cell-phone: 785 897 3434 to arrange a meeting if you had akin to consider me for this job position.
I am really thankful for your valuable time to read this cover letter and having my resume your consideration.
Thank you!
Sincerely,
(Signature)
Richard Anderson.
Enclosure Resume.

---- ตัวอย่าง จดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ ตําแหน่ง เลขานุการ

Executive Assistant       Cover Letter
Your Name
Your Address
Your Contact details (phone and email)
Date
Mrs Mary Stevens
Hiring Manager
ABC Company
15 South Parkway
Long Island, NY 11551
Dear Mrs Stevens
It is with great interest that I respond to your recent advertisement in XYZ for an Executive Assistant. I am enthusiastic about the scope of the position and I am confident that my experience and abilities closely match your criteria. Please allow me to highlight my skills as they relate to your stated requirements.
    Over six years experience effectively supporting executive level staff including the CFO and CEO
    Proficient management and preparation of correspondence and communications
    In depth collection, analysis and integration of information
    Efficient scheduling and organizing of meetings, appointments and travel arrangements
    Proven success in the development and implementation of administrative processes
    Thorough knowledge and application of MS Office Suite
    A reputation as a self-directed worker who uses her initiative to get the job done in a fast-paced work environment with demanding deadlines
I believe I can make a positive contribution to your company and I would welcome the opportunity to meet with you for an in-depth discussion. I am available for an interview at your earliest convenience, please contact me via phone or email to arrange a time and date for us to meet.
Thank you for your time and consideration and I look forward to speaking with you soon.
Sincerely
Jane Jobseeker
Enclosure

---- ตัวอย่าง จดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ ตําแหน่ง เลขานุการ

จดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ ตําแหน่ง เลขานุการ  - การเขียนจดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ

---- ตัวอย่าง จดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ ตําแหน่ง เลขานุการ

From : https://jobnewtips.blogspot.com
This is one of the best Sample Executive Secretary Job Application Cover Letter based on Resume and Curriculum Vitae (CV) Examples that might be very useful for you, as the fresh graduate or the experienced one, and can use as the reference,guidelines and recommendation when you want to write an impressive cover letter to get your dreamed job.
This Sample Job Application Cover Letter for Executive Secretary has been proved to be very effective to help many job seekers in getting their job. Please feel free to edit and customize this Sample Job Application Cover Letter for Executive Secretary. All Samples Job Application Cover Letter for Executive Secretary should be at least as the following:
========================================================================
Cover Letters for Executive Secretary Jobs
Job Application
Santos,
1234, West 67 Street,
Carlisle, MA 01741,
(123)-456 7890.
Date: 1st June, 2008
Mr. Ronaldo
Personel Manager
ABC Company
12345 Lackey Blvd.
Landsville, USA 12345
Dear Mr.Ronaldo:
With reference to your advertisement in today’s issue in atoznewtips.com, I should like to apply for the position of a executive secretary you offered.
I graduated from a qualified Secretary Academy with the best predicate. I have experience in handling Executive secretary’s jobs for the last two years (see my resume for the detail) and am now interested in joining your team taking responsibility for Executive Secretary. I believe I have the skill set and the experience you’re looking for.
I would appreciate the opportunity to discuss how my education and experiences will be helpful and useful for you as the further consideration. I will be contacting you tomorrow morning on phone to talk about the possibility of arranging an interview. Thank you for your attention and consideration.
Sincerely Yours,
Santos
 
Enclosures:
1. Resume
2. Letter of appreciation
3. Letter of recommendation

-------- งานในหน้าที่ เลขานุการ-Secretary
ชื่ออาชีพ
      เลขานุการ Secretary
    เลขานุการ
นิยามอาชีพ
      ผู้ปฏิบัติเลขานุการ-Secretary เป็นผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริหารขององค์กรในการบริหารจัดการงานขององค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามนโยบาย และเป้าหมายขององค์กร ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการให้เป็นไปด้วยความราบรื่น และรวดเร็ว
ลักษณะของงานที่ทำ
      ตรวจสอบงานเป็นประจำ เพื่อป้องกันความผิดพลาด ทำการนัดหมาย และจัดตารางการนัดหมายให้ผู้บังคับบัญชาเตือนการนัดหมายให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงกำหนดการนัดหมายให้ทราบล่วงหน้าติดต่อสอบถามงานทางโทรศัพท์ หรือทางอินเตอร์เน็ต บันทึกงานจากผู้บังคับบัญชาโดยใช้ชวเลขแล้วนำมาจัดพิมพ์ ร่างจดหมายโต้ตอบทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่องค์กรใช้เป็นประจำ ดูแลรับผิดชอบ จัดแฟ้มเอกสาร จัดการประชุม เตรียมเอกสารในการประชุมของผู้บังคับบัญชา การจัดทำรายงานการประชุม จัดการ และดูแลเอกสารที่เป็นส่วนตัวและที่สำคัญแก่ผู้บังคับบัญชาเจรจาโต้ตอบ และการนัดหมายธุรกิจ ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้บังคับบัญชา ต้องมีความเข้าใจถึง ธรรมชาติ และภาระหน้าที่ของทั้งผู้บังคับบัญชา และองค์กรที่ตนปฏิบัติอยู่และรู้จักการแก้ไขปัญหาข้อ ขัดแย้ง เมื่อปฏิบัติงานจนได้รับความวางไว้ใจของผู้บังคับบัญชาแล้วอาจได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนได้ในบางกรณี
สภาพการจ้างงาน
      ในส่วนงานราชการจะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา แต่ในองค์กรธุรกิจเอกชนจะได้รับเงินเดือนมากกว่า 1 ถึง 2 เท่าคือประมาณ 8,000-15,000 บาท อาจมีค่าล่วงเวลา และโบนัส และได้รับสวัสดิการตามระเบียบของทางราชการ หรืออย่างต่ำตามกฎหมายแรงงาน สำหรับภาคเอกชนถ้าจะต้องติดตามผู้บริหารไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่ หรือในต่างประเทศก็จะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าเดินทาง
เวลาทำงานเป็นไปตามกฏเกณฑ์ขององค์กร ซึ่งมีชั่วโมงทำงานปกติไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละไม่เกิน 48 ชั่วโมง แต่ผู้ปฏิบัติงานเลขานุการ-Secretary อาจจะต้องทำงานนอกเวลาทำงานปกติและวันหยุด ขึ้นอยู่กับภาระกิจของผู้บริหาร หรือผู้บังคับบัญชา
สภาพการทำงาน
      ต้องทำงานภายใต้สภาวะความกดดัน เนื่องจากต้องมีความรับผิดชอบสูง และต้องพบกับบุคคลหลายประเภท ซึ่งมีบุคลิก และอารมณ์ที่แตกต่างกัน อีกทั้งต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บังคับบัญชา และองค์กรจึงต้องใช้ความสุขุม ละเอียดรอบคอบ และอดทน นอกจากนี้ต้องทำงานให้เสร็จทันต่อเวลา เมื่องานไม่เสร็จในเวลาที่มอบหมายก็ต้องทำงานนอกเวลา เพื่อให้งานที่รับมอบหมายแล้วเสร็จ
ประสานงานทั้งภายใน และภายนอกองค์กรด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพื่อให้งานสำเร็จตาม เป้าหมายต้องทำหน้าที่เสมือนเป็นประชาสัมพันธ์ให้ผู้บังคับบัญชา และองค์กร เมื่อทำการนัดหมาย ติดต่อทางธุรกิจ และอาจจะต้องมีการเดินทางไปทำงานในต่างจังหวัด และต่างประเทศได้ในบางโอกาส
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
      1. ผู้ที่ปฏิบัติงานเลขานุการ-Secretaryต้องมีวุฒิการศึกษาอย่างน้อยประกาศนียบัตรวิชาชีพทางเลขานุการ จนถึงปริญญาตรี หรือปริญญาโทขึ้นอยู่กับลักษณะงานขององค์กร ขนาดขององค์กร และระดับผู้บริหาร
2. มีความรู้งานขององค์กรที่ทำงานอยู่
3. สามารถใช้ชวเลข และใช้ภาษาได้มากกว่าหนึ่งภาษาคือ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น หรือ จีน เป็นต้นขึ้นอยู่กับการประกอบธุรกิจขององค์กรนั้น ซึ่งต้องสื่อสารได้ทั้งการเขียน และการพูด
4. เป็นผู้มีบุคลิก และอุปนิสัยที่ดี มีกาลเทศะและมีปฏิภาณไหวพริบ คล่องแคล่วทุกด้าน
5. มีความรับผิดชอบงานดีมาก อดทน ทำงานภายในสภาพกดดันสูงได้ และมีมนุษยสัมพันธ์ดี
6. ต้องใช้อุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นต่องานและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่างๆ ได้
7. สามารถให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้บังคับบัญชา ตลอดจนการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของงานในความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา
8. มีความสามารถในการเก็บความลับของผู้บังคับบัญชา และองค์กร
9. มีความสามารถในการต้อนรับผู้มาติดต่อ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของผู้บังคับบัญชา และองค์กร
10. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล หรือองค์กรที่มาติดต่อ
11. มีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ เพื่อประโยชน์ของผู้บังคับบัญชา และองค์กร
12. เป็นผู้อุทิศเวลาให้แก่การทำงาน
ผู้ที่จะประกอบเลขานุการ-Secretary ควรเตรียมความพร้อมคือ : สำหรับผู้จบการศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับสาขาวิชาเลขานุการ ทั้ง ปวส. หรือ ในระดับปริญญาตรี สามารถเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเลขานุการระยะสั้น จากโครงการการศึกษาต่อเนื่องตามมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองเพิ่มเติมได้
โอกาสในการมีงานทำ
      ปัจจุบันองค์กรทั้งที่เป็นองค์กรธุรกิจเอกชน และรัฐวิสาหกิจทางธุรกิจ และรัฐวิสาหกิจ ต้องการผู้มีความสามารถในการทำงานตำแหน่งเลขานุการเฉพาะด้านมากขึ้นตามประเภทธุรกิจขององค์กร คือองค์กรประกอบธุรกิจด้านใดก็ต้องการผู้มีคุณสมบัติการศึกษาทางด้านนั้น ๆ
บางองค์กรจะรับเลขานุการที่จบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้แต่ต้องพูด อ่าน เขียนภาษาต่างประเทศ และสื่อสารได้ดี แนวโน้มในการว่าจ้างเลขานุการในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบ และงานธุรกิจขององค์กร คือมีการว่าจ้างผู้ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนหรือจบสาขาวิชาชีพเลขานุการเสมอไปแต่ผู้สนใจในเลขานุการ-Secretaryควรที่จะเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเลขานุการ เพื่อเรียนรู้การทำงาน
ในหน่วยงานของภาคราชการนั้น ไม่มีตำแหน่งเลขานุการของผู้บริหารโดยเฉพาะแต่ผู้บริหารอาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ใดก็ได้ให้ทำหน้าที่เลขานุการของตนได้ สำหรับรัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ก็เป็นเช่นเดียวกันกับภาคราชการ ส่วนในองค์กรเอกชนอาจจะมีการว่าจ้างงานผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งเลขานุการของผู้บริหารระดับต่างๆ เช่น เลขานุการของกรรมการบริหาร เลขานุการ ผู้จัดการประจำฝ่ายหรือแผนก หรือเลขานุการฝ่าย หรือแผนกที่สำคัญๆ ในองค์กร คือจะทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนกลาง เช่น เลขานุการฝ่ายการตลาด เลขานุการฝ่ายขาย หรือเลขานุการกองบรรณาธิการ
สำหรับผู้บริหารระดับสูงในองค์กรใหญ่ๆ หรือนักธุรกิจข้ามชาติจำเป็นต้องมีเลขานุการตำแหน่งละ 1 คน หรืออาจมีเลขานุการส่วนตัวด้วยทำให้มีการว่าจ้างงานในตำแหน่งเหล่านี้อยู่ในเกณฑ์สูงขององค์กรธุรกิจนั้นๆ ซึ่งต้องการผู้มีประสบการณ์ ในหน้าที่เลขานุการอย่างน้อย 3-5 ปี
ผู้สนใจในการประกอบเลขานุการ-Secretaryอาจสมัครงานกับบรรษัทข้ามชาติ ธนาคาร และองค์กรด้านการเงินบริษัท ห้างร้านในนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทั่วทุกภาค ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าโอกาสในการมีงานทำของเลขานุการ-Secretaryยังคงมีอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ดีผู้ประกอบเลขานุการ-Secretaryจะมีความก้าวหน้าในการทำงานได้ต้องขวนขวายหาความรู้หรือศึกษางาน เพื่อตามให้ทันเหตุการณ์ของโลก หรือหน่วยราชการที่ตนสังกัดอยู่จะได้นำมาใช้ประโยชน์ในงานที่ตนรับผิดชอบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และรวดเร็ว
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
      เมื่อมีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 2-5 ปี ขึ้นไป อาจเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขานุการของผู้บริหาร (Secretary to Executive) หรือถ้ามีประสบการณ์มาก อาจได้เลื่อนตำแหน่งเป็น เลขานุการของกรรมการผู้จัดการ ( Secretary to Managing Director ) หรือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งจะได้รับเงินเดือนตามอายุการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสูงสุด คือประมาณ ตั้งแต่ 15,000-80,000 บาท หรืออาจมากกว่านี้ในบรรษัทข้ามชาติ เช่นบริษัทน้ำมัน ธนาคาร บรรษัทอุตสาหกรรม เป็นต้น
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
      องค์กรมืออาชีพอิสระที่จัดการประชุมระดับชาติหรือนานาชาติ จะจัดจ้างผู้ที่ทำหน้าที่เลขานุการในการประชุมใหญ่ๆ ไว้บริการเฉพาะกิจ ในศูนย์การจัดประชุมระดับชาติ ซึ่งเลขานุการเหล่านี้จะได้รับค่าจ้างที่ค่อนข้างสูงอันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทำงานที่ท้าทาย นอกจากนี้ ผู้ที่มีความสามารรถทางภาษาอาจใช้ความรู้ความชำนาญทำงานแปลเอกสาร หรือทำงานเป็นล่ามเฉพาะบุคคล กลุ่มบุคคล หรือในที่ประชุมนานาชาติ
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ
      ผู้สนใจเลขานุการ-Secretaryจะหาได้จากหนังสือพิมพ์ และแหล่งงานทางอินเตอร์เน็ต การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) สมาคมเลขานุการแห่งประเทศไทย

------ การเขียนจดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ

หวังว่าคงเป็นประโยชน์ค่ะ credit: hxxp://english-madmonster.blogspot.com/2009/08/email-pattern.html
คำขึ้นต้น
Formal email ใช้ Dear name, To name,
Informal email ใช้ Hi name, Helo name,
ประโยคขึ้นต้น ที่ใช้อ้างถึงอะไรสักอย่างเพื่อจะทวนความจำ หรือทำให้ผู้รับรู้ว่าเรากำลังจะพูดถึงอะไรต่อไป
Formal email ใช้
With reference to + noun, …
With regards to + noun, …
Regarding + noun, …
I’m writing with regard to + noun เช่น I’m writing with regard to your recent email.
Further to + noun, …
Thank you for + noun … เช่น Thank you for email of 2 November.
As per your request, … เช่น As per your request, I’ve attached a copy of the agenda.
Informal email ใช้
Re + noun, … เช่น Re your email, …
In reply to + noun, … เช่น In reply to your email, …
Thanks for + noun. เช่น Thanks for your email.
(It was) Nice to hear from you yesterday. …
As requested, … เช่น As requested, here is my monthly status report.
Request
I’d appreciated it if + sentence เช่น I’d appreciated it if you could join us in the meeting on Tuesday. เป็น indirect sentence ที่ทำให้นุ่นนวลขึ้น แต่ก็จะทำให้ฟังห่างเหินขึ้นด้วย
Do you think you could (possible) + verb เช่น Do you think you could help me work out how to fix this bug? (indirect)
Would it be possible to + verb เช่น Would it be possible to extend the deadline until next Friday?
Could you (please) + verb เช่น Could you meet with everyone for a meeting on Tuesday? (สำหรับ routine request คือ คำขออันที่เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเค้า หรือเป็นคำขอปกติ ควรละ please ไว้ เนื่องจากไม่ควรใช้ flowery language มากเกินไป ซึ่งจะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการประชดประชันได้)
Would you mind + Ving เช่น Would you mind sending me another copy of the agenda?
Please + verb
Attachment
Please find attached my report (ระวัง attached ก็เป็นช่อง 3)
I have attached sth. for your perusal.
I have attached sth.
Thank you
I really appreciate + noun เช่น I really appreciate your help.
I appreciate + noun เช่น I appreciate your help on this.
Thank you for + noun เ่ช่น Thank you for your assistance in this matter. หรือ Thank you for your help.
Thank you.
Thanks.
Diplomatic สำหรับกรณีที่มีความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นของเรา หรือของเค้า ก็ควรเขียนอย่างสุภาพ คือเราจะไม่บอกตรงๆ นะเอง
I’m afraid + sentence เช่น I’m afraid that we haven’t received the payment yet. หรือ I’m afraid there will be a small delay.
It seems + sentence เช่น It seems we have a slight problem. (แปลว่า เรามี problem นะเอง)
I think + sentence เช่น I think there may be an issue here. (แปลว่า เราไม่เห็นด้วย)
To be honest, I’m not sure + sentence เช่น To be honest, I’m not sure we can do that (แปลว่า เราไม่สามารถทำแบบนั้น อาจจะเราทำไม่ได้ หรือเราไม่ทำ ก็ได้)
Perhaps we should think about + Ving – ออกแนวชักชวน ของแนวร่วม เช่น Perhaps we should think about cancelling the project. (แปลว่า อยากจะ cancel แหละ แต่บอกว่า ลองคิดดูมั้ย สำหรับ cancel นี้ประหลาดค่ะ สำหรับ British ใช้ cancelling เป็น ll แต่ American ใช้ canceling ก็นะ อยู่ที่เราจะใช้ตามหลักของอะไร)
Wouldn’t it be better to + verb เช่น Wouldn’t it be better to ask Paul. (แปลว่า ไปถาม Paul ซะ ไป๊)
Unfortunately, + sentence – ออกแนวโทษโชคชะตา ซะงั้น ไม่มีใครผิดหรอก
I apologize for + noun เช่น I apologize for any inconvenience caused. อันนี้ขอโทษกันตรงๆ (อย่าลืมว่า caused ข้างหลังเป็นช่อง 3 นะคะ)
หรือ ตัวอย่างประโยคอื่นๆ เช่น
Actually, that doesn’t give us much time (แปลว่า เรามีเวลานิดเดียวเอง จริงๆ นะ)
That might be quite expensive. (แปลว่า That’s very expensive แต่บอกอ้อมๆ ว่า น่าจะแพงทีเดียวนะ — ตอแหลจริงๆ)
For future contact
I look forward to + Ving เช่น I look forward to receiving your reply.
Look forward to + Ving เช่น Look forward to seeing you next week.
I’m looking forward to + Ving เช่น I’m looking forward to seeing you in the meeting สำหรับการใช้ looking แทน look เป็นการแสดงว่ากำลัีงใจจดใจจ่อ รอจะพบคุณอยู่นะ มันเห็นภาพมากกว่า look เฉยๆ
Looking forward to + Ving เช่น Looking forward to hearing from you.
I hope to + verb เช่น I hope to hear from you soon.
Hope to + verb เช่น Hope to see you then. (informal)
See you then. (informal)
If you would like any additional information, please do not hesitate to contact me.
If you have any questions/queries, please feel free to contact me.
If you have any questions/queries, please feel free to let me know. (informal)
Let me you if you require any further information.
คำลงท้าย
Sincerely yours,
Best regards,
Regards,
Cheers, (informal)

อัพเดทล่าสุด