รวมนิทานพื้นบ้าน 20 เรื่อง นิทานพื้นบ้านภาคต่างๆ ตัวอย่างนิทานพื้นบ้าน


8,827 ผู้ชม



นิทานพื้นบ้าน ๔๑...ถูกคำสาบาน
 
          มาตอนหลังเมื่อพระรามรบกับทศกัณฑ์ขนาดหนักเรื่องโบราณ  เรื่องในวรรณกรรมนั้น ตัวพระเอกกว่าจะใช้ของวิเศษก็ถึงคราวจำเป็นจริง ๆ เช่นเรื่องพระอภัยมณีก็เหมือน กว่าจะเป่าปี่นั้นหมดท่าจริง ๆ จึงใช้  เรื่องพระรามจึงยกศรกายสิทธ์ขึ้นตั้งจิตอธิษฐาน  แผลงไปให้ผลาญโคตรยักษ์ให้หมด  พาลีซึ่งสาบานไว้ตอนอุ้มเมียมาให้น้องก็ถูกศรพระนารายณ์
 
นิทานพื้นบ้าน ๔๒...พาลีสอนน้อง
 
          พอศรพระนารายณ์ลอยมาจะปักอก   พาลีมีฤทธิ์มากก็จับดอกศรไว้แล้วกวักมือเรียกน้องเข้ามาใกล้แล้วจึงสอนน้อง  มีหนังสือร้อยกรอง  กลอนดีมากและเป็นภาษิตสำหรับทหารสอนให้รักเจ้านาย  ให้อยู่ในระเบียบวินัย อย่าทรยศ   “ตอนหนึ่งว่า” พระกุมศรกรกวักอนุชาทั้งธิดาโอรสยศไกร  เจ้าพาลีเข้ามาพี่จะสอนสวงพระยาพาผู้พิสมัย  พี่ลาเจ้าเข้าสู่พิมานชัยเจ้าทรามวัยจงเป็นข้าพระจักรศรี ลฯ
 
นิทานพื้นบ้าน ๔๓...ความสัจจะ
 
          พระรามมาทันตอนที่พาลีกุมศรไว้ปลายศรจะเสียบอกแล้วพระรามจึงบอกพาลีว่าให้ปลายศรเฉียดพอเลือดซึม  พอยุงอิ่มก็พอแล้ว แต่พาลีไม่ยอม(เรื่องนี้คล้ายกับเรื่องพันท้ายนรสิงห์) เพราะถือสัจจะตามคำสาบานว่าหากทรยศเรื่องของฝากให้ตายกับศรพระนารายณ์
 
นิทานพื้นบ้าน ๔๔...เจ็บเพราะปาก
 
          เรื่องข้างบนนี้ เลข ๘ ที่นั่งราหูทิศพายับ  เรื่องมีว่าตอนทศกัณฑ์ลักนางสีดาพาเหาะไปพบนางสดายุ  สดายุนี้เป็นเกลอกับพ่อนางสีดามีฤทธิ์มาก จึงขัดขวางแย่งนางสีดาจากทศกัณฑ์รบกันกลางอากาศเอาแพ้ชนะกันไม่ได้  สดายุจึงพูดโม้ว่า  อาวุธในโลกนี้ทำอันตรายกูไม่ได้นอกจากธำมรงค์ของนางสีดา  ทศกัณฑ์รู้เช่นนั้นก็ถอดธำมรงค์นางสีดาขว้างสดายุปีกหักตกลง ทศกัณฑ์จึงพาสีดาเหาะไปเมืองลงกา  หากใครตกที่นั่งนี้ให้ระวังคำพูด
 
นิทานพื้นบ้าน ๔๕...มา ๔ เดือนกลางได้ครองเมือง
 
          ตัวกลาง คือ เลข ๕ ดีได้ครองเมือง เรื่อง  เฒ่าชรา
          สดายุตอนตัวนอกเลข ๗ อายุมากแล้วก็ไปตามสังขารหากเจ็บใช้ตัวนี้ให้ค้นหาต้นไม้ใหญ่อยู่ทิศพายัพกับเรือนจะให้โทษให้หมอทำน้ำปละเสนียดจัญไรเสียจะหาย
 
นิทานพื้นบ้าน ๔๖...เรื่องขออาสาผู้ใหญ่
 
          หนุมานเป็นลูกพระอาทิตย์เชื้อสายลิงมีอิทธิฤทธิ์มากมีตรี ๓ ง่ามเป็นอาวุธ  ยุดรถพระอาทิตย์ให้ชะลอไว้ได้ตอนไปหายามาช่วยพระลักษณ์   เลข ๖ ตัวในทิศอุดรเป็นที่นั่งหนุมาร ๔ เดือน แรกเข้าหาท่านผู้ใหญ่ดีท่านจะโปรดปรานรับไว้
 
นิทานพื้นบ้าน ๔๗...เรื่องหนุมานไฟติดหาง
 
          ตัวกลางเลข ๘ หนุมานช่วยพระรามรบทศกัณฑ์    พวกยักษ์จับได้เอาผ้าร้ายห่อขี้ชันมันยางเข้าที่หางแล้วเอาหอกพิชัยวีให้เป็นไฟจุดหางหนุมาร หนุมานเที่ยวพาไฟที่หางเหาะเผาปราสาทเมืองยักษ์วอดวาย ที่นั่งนี้ระวังจะเกิดเรื่องเหมือนไฟติดหางเรื่องร้อน ๆ
 
นิทานพื้นบ้าน ๔๘...น้ำบ่อน้อย
 
ไฟติดหางหนุมานไม่ดับจึงเหาะไปถามพระฤษี ๆ ชี้ให้ไปแช่น้ำบ่อน้อย  หนุมารเที่ยวเหาะแช่หลายบ่อก็ไม่ดับจึงกลับไปถามให้ฤษีบอกให้ ก็หางเอาแยงเข้าปากไปจึงดับ
 
นิทานพื้นบ้าน ๔๙...เรื่องพ่อท่านพูดไม่ได้
 
          เรื่องที่วัดยางทองก็ท่านมหาเพชร  อาจารย์ยางทองบวชให้เริ่มแรกเป็นพระเณรและส่งไปเรียนจนได้มหาเปรียญ  แล้วท่านเห็นพระอื่นลาสิกขาบทกัน ท่านจะลาสึกบ้างวันนั้นดับหมากพลูใส่ขันขึ้นไปกราบท่านอาจารย์บอกว่าจะทำวัดลาสิกขาบท   ท่านอาจารย์  พระครูวิจิตรตอนนั้นยังเป็นท่านแก้วยังไม่รับยศ  ท่านนอนนิ่งตื่นอยู่แต่ไม่พูดจาสักคำเดียว ท่านมหาเพชรพูดซ้ำอีก ท่านก็นอนนิ่งเฉยพูดไม่ได้สักคำ
          ท่านมหาเพชรโมโหลุกขึ้นมาลุลี้ลุกลนไปหาไม้ค้อน ย้อนกลองใหญ่  ดึ่ง ๆ ๆ สะเทือนทั้งวัดชาวบ้านได้ยินกลองดังผิดปกติ เพราะกลองใหญ่หากไม่มีเหตุการณ์อะไรก็ไม่มีใครตี  ชาวบ้านวิ่งกันเข้าไปในวัดก็ท่านมหาเพชรก็เดินวนเวียนอยู่ประสาคนร้อนจะสึกจากพระ  ชาวบ้านถามท่านมหาว่า เสียงกลองใหญ่ดังมีเหตุอันใดหรือ  มหาเพชรตอบว่าท่านเจ้าวัดพูดไม่ได้
          ตามปกติธรรมดาเมื่อท่านเจ้าวัดเกิดโรคาอาพาตและอาการหนักพูดไม่ได้ลูกวัดจะย้อนกลองใหญ่ให้ชาวบ้านรู้ หรือฤดูน้ำหลากเมื่อน้ำไหลเข้าในวัดก็จะตีกลองใหญ่เช่นกัน  หรือก่อนวัดพระหัวค่ำสมัยก่อนจะตีกลองตึ้งท้องหัวค่ำแต่สมัยนี้ไม่ค่อยได้ยินเสียงกลอง
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๐...เรื่อง พ่อท่านลืมยะถา
 
          เป็นเรื่องท่านมาแล้ว  คือวันนั้นเป็นวันสำคัญทางศาสนา คนไปวัดเอาข้าวไปถวายพระกันมาก พ่อท่านพอฉันเสร็จแล้วก็พูดคุยกับสิกาเพลินจนชาวบ้านเตือนว่าพ่อท่านนิมนต์กรวดน้ำผู้นำชาวบ้านก็ขึ้นอุกาสอุธิทโสธะกังวะรัง
          ส่วนพ่อท่านนั้นลืมหัวข้อ  ยะถา  (ธรรมดาคนลืมเมือลืมแล้วจะนึกหัวข้อแรกขึ้นไม่ออก)  พ่อท่านครั้นจะหันไปถามลูกวัดก็อายคน ท่านไหวพริบดีเห็นข้าวเย็นตั้งอยู่ข้างหลังทั้งกากมะพร้าวด้วย ท่านก็เอามือไปปัดให้คว่ำลงไปข้างล่าง (ในดินใต้ถุนโรงครัว) หมาวัดเป็นฝูงก็แย่งกันฟัดกันเสียงดังสะเทือนกลบเสียงคนพูดหมด ท่านจึงสัพพีตีโยเลย เพราะ ลืมขึ้นต้นมาจับเอาตอนกลาง
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๑...เรื่อง ปลาอานนท์แปรตัว
 
          พระสมัยก่อน  พระองค์หนึ่งจะต้องมีศิษย์ ๒ หรือ ๓ คน เพราะเด็กสมัยนั้นไม่มีโรงเรียนจะเรียนกันในวัด ให้พระสอนให้เพื่อจะเรียนหนังสือบวชได้  พ่อหลวงองค์นี้ก็เช่นกัน บวชอยู่หลายพรรษา   จึงมักมากในเรื่องขบฉันไปยืนบาตรหัวเช้ากับลูกศิษย์ได้ปลาทอดตัวดี ๆ เช่น ปลาบ่าวัน   ปลาทูตัวงาม ๆ เขาใส่บาตรมา  พ่อหลวงจะฉันจนลืมยั้งให้ลูกศิษย์ อยู่มาวันนั้นศิษย์คนหนึ่งไปยืนถ้าอยู่ที่กลองใหญ่กลางวัด  อีกคนหนึ่งยืนดูพ่อหลวงฉันอาหารพ่อหลวงเอาปลาตัวใหญ่ก่อนซีกหนึ่งหมดไปพอจะพริกอีกซีกก็เด็กที่ยืนดูอยู่ให้สัญญาณเพื่อนย้อนกลองใหญ่กลางวัดดั่งสนั่น  ชาวบ้านวิ่งมาถาม  เด็กวัด ๆ บอกว่าปลาอานนท์พริกตัว ชาวบ้านต่างก็หัวเราะกัน
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๒...เรื่องสุขสบายไม่เหมือนกัน
 
          เรื่องมีอยู่ว่าพระโยคีสององค์ บำเพ็ญตะบะอยู่ในป่าจน สำเร็จญาณชั้นสูง ต่างองค์ก็หมดบุญไป  องค์หนึ่งไปเกิดเป็นพระพรหมในชั้นฟ้า วันนั้นนึกถึงเพื่อนเกลอว่าไปเกิดที่ไหนก็สอดส่องตาพิทย์ดู ก็เห็นเพื่อนไปเกิดเป็นหนอนในเว็ดพระ (ส้วมสมัยก่อนไม่ใช่สวมหลุม)  ก็ทำอภินิหารลงมาถึงส้วมเรียกเพื่อนขึ้นมาบอกให้ทำสมาธิใหม่เพื่อจะได้ไปเกิดบนสวรรค์จะสุขสบาย  หนอนถามว่าสบายอย่างไรบนสวรรค์  เพื่อนก็สาธยายให้ฟังสุขสบายจะเอาจะกินอะไรก็นึกได้กินไดใช้ของทิพย์ถึงเวลาเที่ยวก็เที่ยวเวลานอนก็ไหว้พระสวดมนต์ เวลานัดประชุมก็ต้องไปประชุมพร้อมกัน ลฯ นี้ความสุขจิปาถะ
          หนอนในส้วมได้ฟังดังนั้นก็ตอบว่า เราสุขสบายกว่าไม่ต้องอธิษฐานเครื่องทิพย์พระเอามาส่งทุกเวลาไม่ต้องทรงเครื่อง  ไม่ต้องเข้าเฝ้า ไม่ต้องประชุมยุ่งมากเรื่อง  เราเท่าแต่กินกับนอนสบาย
          นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า สุขสบายแต่ไม่เหมือนกัน
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๓...ตาชีขี้โลภ
 
          สมัยก่อนชาวบ้านป่า ๆ ตามหัวเมืองทางเมือง โดยมากไม่มีวัด ไม่มีพระสงฆ์องค์เจ้า  จึงบังเกิดมีชีปะขาวขึ้น  สมัยนั้น เขาเรียกว่า ตาชี ตาซี อยู่กุฏิคล้าย ๆ โยคีถือบวชสวดมนต์ ยืนบาตรและมีเวทมนต์คาถาดี ๆ บางองค์ชาวบ้านนับถือกันมาก มีงานการก็นิมนต์ท่านไปฉันอาหารเพื่อได้บุญและเป็นมงคลของงาน
          ท่านตาชีขี้โลภองค์นี้ ชาวบ้านนับถือกันพอสมควรแต่เวลาชาวบ้านมานิมนต์ท่านมักถามว่า มนต์ไปฉันท์ของกู่ข้าวอะไรมั่ง  ชาวบ้านก็ตอบไปตามตรง  บางบ้านก็แกงวัว บางบ้านก็หมูท่านรับไว้ทั้งหมดแต่พอวันไปก็เลือกไป ปล่อยให้ข้างหนึ่งว่าง อยู่มาวันหนึ่งชายทลึ่งสองคนอยู่คนละหมู่บ้านคิดกันไปนิมนต์วันเวลาตรงกันแต่คนหนึ่งแกงหมู อีกคนแกงวัว  พอถึงวันเวลาตาชีก็จัดแจงแต่งตัวเพราะใกล้เที่ยงแล้วก็เดินลกลักไปถึง ๓ แยก แยกหนึ่งไปบ้านแกงวัว ท่านก็ตัดสินใจไปที่แกงวัว เพราะมากพอได้กินพอเดินไปสักพักนึกได้ว่า มากถ้าหมูมันกว่า  จึงเดินย้อนกลับไปบ้านที่เขามนต์บอกว่าแกงหมู  เดินไปคิดไป ถึงมันถ้าไม่มากจึงเดินย้อนมาบ้านแกงวัวอีก คือ อยู่คนละทิศกัน ส่วนชายผู้นิมนต์คนทะลึ่งนั้นก็มาซุ่มมอยู่ก่อนที่ ๓ แยกแล้วเห็นชีปะขาวเดินไปมาต่างก็ออกมาพร้อมกัน คนหนึ่งจับแขนซ้าย  คนหนึ่งจับแขนขวาของตาชีคนละข้างแล้วลาก  เมื่อคนข้างวัวลาก ข้างหมูก็หย่อนให้เล็กน้อย  พอคนข้าแกงหมูลากอีกข้างวัวก็หย่อนให้เล็กน้อย  ลากไปลากมาที่ 3 แยกนั้นปากก็พูดว่าไปบ้านผม ๆ และพ่อตา  ตาชีแค่ได้ใจเห็นแย่งแกไปมายิ้มเหงือกแดง ๆ  แย่งกันไปแย่งกันมากลับไปกลับมาหลายเที่ยว เงยแลตะวันพ้นเที่ยงขาดเพลเสียแล้วตกลงอด
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๔...สมัยจุดเกียงป๋อง
 
          พ่อหม้ายเจ้าสำนวนคนหนึ่งอายุเกือบ ๘๐ แล้วแต่ท่านยังเดินเหินได้อยู่     วันนั้นหลานบ่าวห่าง ๆ ถามท่านว่า พ่อลุง ๆ ถ้าหลานหาแม่หม้ายสวย ๆ ให้สักคนจะเอาเลยไหม  พ่อลุงว่าอย่าหาให้ดีกว่าหลานเณรเหอ ถึงทำไรไม่รอดพ่อลุงข้องใจ จุดเกียงป๋องแลจนรุ่ง เดี๋ยวจุดเดี๋ยวนอนไม่ลุกขึ้นจุดแล เพราะข้องใจ  กูอีโหย๊ะสั้นเสียเปล่า ๆ
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๕...เพลงรำวงสมัยสงคราม
 
          สมัยแรกบังเกิดรำวง สมัยจอมพล.ป. สงครามโลกครั้งที่ ๒  ท่านตั้งปลัดตำบลทั่วประเทศให้ชาวบ้านปลูกผักสวนครัวตลอด   ข้าราชการทุกชั้นก็ให้ปลูกสำหรับครอบครัว และท่านให้จัดการสนุกรำวงกันทั้งหญิงชาย ทั้ง ๆ เสื้อผ้า ยารักษาโรค เครื่องอุปโภค บริโภคทุกอย่าง  ขาดแคลนแต่ให้สนุกกัน  เพลงรำวงรุ่นแรก ว่า
          ดี ๆ ๆ วันนี้วันดีมีการฟ้อนรำ คนไทยมีวัฒนธรรม  ถ้าใครไม่รำขาดความสามัคคี  แล้วคนบ้านเรา ดูเหมือนคุฯลุงทองแก้ว  ท่านต้นชิดท่านเอาไปแผลงว่า  ดี ดี ดี ลืมเหล็กไฟตี ไว้หนำเณรพลับไฟยังจุดมั่งแลเณรกูไปหนำเณรพลับ ลืมเหล็กไฟตี (ก็สมัยสงครามใช้เหล็กกล้ากับหิน ชื่อว่า เหล็กไฟตี)
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๖...เรื่อง ขี้คร้านพูดยาว
 
          น้าดำแกชาวเลยสิงหนคร สมัยสงครามท่านมาค้าขายอยู่คลองรำ ไปซื้อของคลองแงะ ตำรวจสมัยนั้นแข็งแรงตรวจค้นร่างกายในตลาด ถามว่ามาจากไหน  น้าดำว่า จากคลองรำ  ตำรวจว่าคอนลังหรือ  เออ คับ ควนลังไม่ต้องพูดยาว
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๗...เรื่องไม่รู้ตื้นลึก
 
          น้าดำคนนี้เหมือนกัน  ฤดูน้ำท่วมทุ่งนาสมัยนั้น สองคนพี่เณรเอี่ยม เดินขึ้นเหนือน้ำที่หนองโต้ทิด  เพื่อว่ายตัดไปขึ้นถนนน้ำเชี่ยวมาก  พี่เณรเอี่ยมว่ายถึงก่อน  ส่วนน้าดำนั้นว่ายจนหมดแรง ขอช่วยน้องเอี่ยมช่วย  แล ๆ จมเสียงหลงเพระไม่รู้ตรงไหนตื้นไหนลึก  ที่ไหนได้ที่แกร้องให้ช่วยนั้นน้ำสูงแค่เอวเท่านั้น  พี่เณรเอี่ยมว่าคุณลองยืนเสียท้า  น้าดำหมดแรงนั่งล่อน้ำแค่คอเท่านั้น
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๘...น้ำคลองว่ายหนักตัว
 
          ไม่เหมือนน้ำทะเลหลายรายแล้วสมัยก่อนคนที่กล้ากับน้ำทะเลมาว่ายน้ำคลองเกือบตายหลายราย  อีกรายว่ายตัดหนองโต้แก่นน้ำเชี่ยวพัดหายไป  ลูกหลานร้องกันแซ่  เณรทิ่มว่า กูว่าได้กินหมู (หมายถึงหมูกับข้าวงานศพ) ดีที่ไปติดต้นไม้จึงไม่ตาย
 
นิทานพื้นบ้าน ๕๙...ได้คาถาเหาะ
 
          น้าเณรแดงถึกแกล่ำใหญ่รักข้าพเจ้ามาก ท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่ากูได้คาถาเหาะ ข้าพเจ้าดีใจเพราะเป็นคาถาผีบอกให้  แกว่าแกฝันว่าคนแก่ท่าทางน่านับถือบอกคาถาเหาะให้  ให้ขึ้นไปนั่งบริกรรมบนหัวปลวกสูง แล้วว่า ๗ คาม เหาะลงจากปลวก  น้าเณรแดงว่า กูเข็ดเอวอยู่หลายวัน
 
นิทานพื้นบ้าน ๖๐...เสกคนให้เหาะ
 
          มีงานใหญ่ในวัด กำนันแสงยอดกำนันภาคใต้ท่านหัวแหลมมาก คิดหาเงินเข้าวัดให้กรรมการผู้จัดการงานวัดคั้นผ้าเก็บค่าผ่านประตูเหมือนฉายหนัง  คนเข้าไปเต็มเข้าไปดูคนเหาะ เพราะท่านกำนันท่านจะเสกให้เหาะท่านก็แต่งตัวคนที่ให้เหาะผ้าคล้ายขนนดใส่ปีกใส่หาง  ส่วนผ้านุ่งก็ใจผ้ายาวโจงกระเบนเหมือนแต่งตัวโนรา แล้วท่านให้คนผู้นั้นยืนบนลูกขี้ถังใส่ยางมอต๋อย ท่านก็ขึ้นไปนั่งข้างใช้ผ้าพาดบ่าเหมือนตาหมอเฒ่า  จุดธูปเพื่อนั่งบริกรรมคาถา  มีคนถือที่หลังเอวของคนที่เสกให้เหาะพอเสกหลายคาบเสกเป่า เสกเป่า  ท่านก็เร่งเป่าชักผ้ายาวที่นุ่งให้สั้นเข้า ๆ พอได้ที่ท่านก็ดึงผ้าผืนนั้นหมดแรงเกิดผ้าหลุดติดมือท่านมา คน ๆ นั้นก็วิ่งหายไป เพราะล่อนจ้อน

อัพเดทล่าสุด