ขั้นตอนการวิพากษ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (คลิป วีดีโอ)


1,241 ผู้ชม


https://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=2825#.T0Zs1kuizK4.google

การบัญญัติศัพท์

คำว่า "ประวัติศาสตร์" ในภาษาไทย เกิดจากการสมาสคำศัพท์ภาษาบาลี "ประวัติ" (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป และคำศัพท์ภาษาสันสกฤต "ศาสตร์" (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้

สำหรับศัพท์ "ประวัติศาสตร์" ในภาษาไทยถูกบัญญัติขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเทียบเคียงกับคำว่า "History" และเพื่อให้มีความหมายครอบคลุมมากกว่าคำว่า "พงศาวดาร" (Chronicle) ที่ใช้กันมาแต่เดิม[8]

สำหรับคำว่า history ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากคำว่า historia ในภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่าการไต่สวนหรือค้นคว้า Nineteenninetynine

[แก้] ความหมาย

อี. เอช. คาร์ นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 22 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง What is History?

"ประวัติศาสตร์" เป็นคำที่มีความหมายหลากหลาย แต่ความหมายที่สำคัญที่ใช้โดยทั่วไปคือ 1) เหตุการณ์ในอดีตทั้งหมดของมนุษย์ หรืออดีตทั้งหมดของมนุษย์ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมาในโลกจนถึงวินาทีที่พึ่ง ผ่านมา และ 2) หมายถึงเรื่องราวของบางเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตที่เรารู้หรือเข้าใจ นั่นคือสิ่งที่นักประวัติศาสตร์สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับอดีตที่ผ่านพ้นไป

นักปรัชญาประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงให้คำอธิบายถึงคำว่า "ประวัติศาสตร์" ไว้ เช่น

อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน ... โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับ ... พฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต (history is a kind of research or inquiry ... action of human beings that have been done in the past.)

อี. เอช. คาร์ (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต[9] (What is history?, is that it is a continuous process of interaction between the present and the past.)

ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกาอธิบายถึง คำว่าประวัติศาสตร์และเตือนผู้ศึกษา/อ่านประวัติศาสตร์ไว้น่าสนใจ ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."

[แก้] วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจาก นิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

นิตเช นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ตีความว่าข้อเท็จจริงคือคำอธิบายที่เกิดจากการตีความของเราเอง

ปัญหาเชิงปรัชญาประการหนึ่งเกี่ยวกับการแสวงหาคำตอบหรือคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-17 คือ การหาความจริงทางประวัติศาสตร์เป็นการหาความจริงแบบไหน? และสามารถพิสูจน์/เปรียบเทียบกับการหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร? ทั้งนี้ เพราะเชื่อกันว่าการหาความรู้/ความจริงแบบวิทยาศาสตร์เป็นการหาความรู้/ความ จริงที่ถูกต้อง มาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำถามที่ถกเถียงกันมากก็คือ ประวัติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ? และนักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามเสนอ (defense) โดยทำให้ประวัติศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ มีการนำวิธีการ "วิพากษ์" หลักฐานทางประวัติศาสตร์มาใช้ นักประวัติศาสตร์ในยุคนั้นพยายามทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเห็นว่าความเป็น "วัตถุวิสัย" ของประวัติศาสตร์ลดลง เช่นเดียวกันกับที่ยอมรับว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์[10]

การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

  • การรวบรวมหลักฐาน
  • การคัดเลือกหลักฐาน
  • การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  • การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  • การนำเสนอข้อเท็จจริง[11]

นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้

  • วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
  • นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
  • การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป
  • วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม

เบเนเดทโต โครเช่ (Benedetto Croce) นักปราชญ์ชาวอิตาลีต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ทั้งหมดคือประวัติศาสตร์ร่วมสมัย[12]

ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้า และสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน อันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยมในชาติหรือเผ่าพันธุ์ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา, การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายให้เป็น ประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิ เคราะห์ ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆ คุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคมที่ เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง

สำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย

  • มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
  • มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
  • มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
  • มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
  • มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
  • มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
  • มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
  • มีจินตนาการ (Historical imagination) [13]

[แก้] การจำแนกประเภทของการศึกษาประวัติศาสตร์

หากศึกษาพัฒนาการของการศึกษาประวัติศาสตร์ในดินแดนต่าง ๆ พบว่าการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของมนุษย์และสังคมของตนเริ่มจากสิ่งที่ อยู่ใกล้ตัวและค่อย ๆ ขยายไปสู่สังคมที่ไกลตัวออกไป ในอดีต การให้ความหมายต่อประวัติศาสตร์และประเด็นในการศึกษาประวัติศาสตร์คับแคบก ว่าในปัจจุบัน ธูซิดิดิส (Thucydides ประมาณ 460-395 ปีก่อน ค.ศ.) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกฟันธงอย่างกล้าหาญว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของการ เมืองและเรื่องของรัฐเท่านั้น ไช่เรื่องอื่นใดเลย[14]

โดยทั่วไปสามารถแบ่งขอบเขตการศึกษาประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การศึกษาเฉพาะพื้นที่และการศึกษาเฉพาะหัวข้อ

[แก้] การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะพื้นที่

คือการใช้พื้นที่ทางภูมิศาสตร์กำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยเน้นศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกรอบพื้นที่ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

คือการศึกษาเรื่องราวและพัฒนาการของสังคมโลกในลักษณะที่เป็นองค์รวม ไม่เน้นเขตพื้นที่ใดโดยเฉพาะ เช่น การศึกษาอารยธรรมโลก การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การขยายตัวของลัทธิล่าอาณานิคม สงครามโลก และสงครามเย็น เป็นต้น

คือการศึกษาเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ

คือการศึกษาประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่เฉพาะ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์เมือง/จังหวัด โดยเนื้อเรื่องที่ศึกษาอาจจะเน้นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กำเนิด/พัฒนาการของสถาบันใดสถาบันหนึ่งในท้องถิ่น อาชีพ กลุ่มชนต่าง ๆ เชื้อชาติ ศาสนา และประเพณีในท้องถิ่น ฯลฯ

[แก้] การศึกษาเฉพาะหัวข้อ

คือการศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะด้านในดินแดนต่าง ๆ เดิมแบ่งการศึกษาออกเป็นหัวข้อใหญ่ ดังนี้

  • ประวัติศาสตร์การเมือง
  • ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
  • ประวัติศาสตร์สังคม[15]

ต่อมา เมื่อการศึกษาประวัติศาสตร์มีพัฒนาการมากขึ้น ทำให้มีการศึกษาในหัวข้อเฉพาะและลึกซึ้งมากกว่าเดิม เช่น

  • ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม
  • ประวัติศาสตร์พรรคการเมือง
  • ประวัติศาสตร์การทหาร
  • ประวัติศาสตร์การทูต
  • ประวัติศาสตร์พัฒนาการของกลุ่มชาติพันธุ์
  • ประวัติศาสตร์สตรี
  • ประวัติศาสตร์ครอบครัว
  • ประวัติศาสตร์เพศวิถี (Sexuality), เพศสภาวะ (Gender)
  • ประวัติศาสตร์สงคราม
  • ประวัติศาสตร์ลัทธิทุนนิยม
  • ประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • ประวัติศาสตร์การละคร
  • ประวัติศาสตร์นิพนธ์
  • ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • ประวัติศาสตร์อนาคต
  • จุลประวัติศาสตร์ (Microhistory)

อัพเดทล่าสุด