ข่าวประชาคมอาเซียน การเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน- ประชาคมอาเซียน2558
เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ASEAN Economic
Community (AEC) 2015
อีก 4 ปีข้างหน้า คือปี 2015 ประเทศไทยจะต้องเปิดประเทศเข้าสู่ “ประชาคมอาเซียน” ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) มีอยู่ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียตนาม
ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล ผอ.ศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กล่าวว่า ภาคธุรกิจร้อยละ 80-90 ของไทยเป็นธุรกิจประเภท SME จึงถือว่า SME เป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจไทย แต่ปัญหาอันดับหนึ่งคือ มุ่งแข่งขันภายในประเทศเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ลืมมองเรื่องที่จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งตั้งเป้าว่าจะเกิดขึ้นในปี 2020 และไทยกับประเทศสมาชิก 5 ประเทศ กำหนดจะรวมตัวกันปี 2015 ประเด็นสำคัญก็คือ ลดอัตราภาษีลงเหลือศูนย์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทยหลายด้านโดยเฉพาะปัญหาแรงงานมีฝีมือมีจำกัด จะยิ่งไหลออกนอกประเทศ
ผอ.ศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน กล่าวอีกว่า ทางแก้ปัญหาของผู้ประกอบการคือ
1. เร่งสร้างบุคลากร
2. เน้นภาษาที่ต้องปรับตัวเอง
3. ติดตามข่าว เข้าใจประโยชน์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น ไทยจะเสียโอกาสหรือมีอุปสรรคอย่างไร โอกาสมักจะมาพร้อมกับอุปสรรค จึงต้องปรับตัว เช่น เรียนรู้การขายระบบออนไลน์ที่ต้องมีหลายภาษา ซึ่งเหลือเวลาเพียงอีก 4 ปีเท่านั้น
ดร.วิษณุ กล่าวด้วยว่า ภาครัฐยังให้ข้อมูลข่าวสาร ทำความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียนไม่ดีพอ รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาให้ความรู้เรื่องนี้ ต้องเปลี่ยนประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าหรือประเทศคู่แข่ง เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย มาเป็นพันธมิตร SME ส่วนใหญ่ของไทยส่งออกไปตลาดในกลุ่มประเทศที่สู้เราไม่ได้ ขณะที่ SME เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของอาเซียน จึงต้องเร่งให้ความรู้ประชาชน
นอกจาก SME ที่ภาครัฐต้องให้การดูแลแล้ว เยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ ส่วนใหญ่คือชนชั้นกลางที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว อาชีพที่ทำส่วนใหญ่จึงมักจะเป็น “มนุษย์เงินเดือน” หรือ “ลูกจ้างมืออาชีพ” ที่ทุกคนต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น มาตรฐานความสามารถทางด้านวิชาชีพของตัวเราเป็นอย่างไร ต้องพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอย่างไรบ้าง อย่างน้อยเพื่อให้เราถูกเลือกเข้าทำงาน เพราะคู่แข่งขันของเราจะเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว
The ASEAN Community by 2015 (มาฝึกภาษาอังกฤษกันครับ)
การ์ตูนอาเซียน
https://www.youtube.com/watch?v=YrnK5UQDdO0
---------
การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยาย พิเศษเรื่อง "การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาของไทย เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘" จัดโดยคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ณ ห้องรับรอง ๑-๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
รมว.ศธ. กล่าว ว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง ภายใต้ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์เดียว เอกลักษณ์เดียว และประชาคมเดียว เพื่อความเจริญมั่นคงของประชากร ทรัพยากร และเศรษฐกิจ
ภายใต้การก่อตั้งนี้จะต้องยึดหลักสำคัญ คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน การศึกษานั้นจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆมีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุกๆ ด้าน
สำหรับการเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทยนั้น ศธ.มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
๑. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub มี การเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด คือ แผนการศึกษาแห่งชาติ ที่จะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ของคนไทยในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้ เป็นคนของประชาคมอาเซียน พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา
๒. ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่าง กันในประชาคมอาเซียน มีการเพิ่มครูที่จบการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกระดับชั้นการศึกษา เพื่อให้นักเรียนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่าง ประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของ ประเทศในประชาคม
ส่วนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น จะพัฒนาตามหลัก 3N ได้แก่ Ned Net โครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ NEIS ศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NLC ศูนย์ เรียนรู้แห่งชาติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา มีการพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ความเอื้ออาทร โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ นักศึกษาที่จบจากอาชีวศึกษาจะต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะการทำงานร่วมกันในประชาคมอาเซียน
นอก จากนี้ ยังต้องส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้จะดำเนินงานภายใต้นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ ๖ เดือน ๖ คุณภาพของ ศธ. เพื่อพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนและสากลต่อไป.
ภาณุ วงษ์ถาวรเรือง
นงศิลินี โมสิกะ
สรุป/รายงาน