ประเทศไทยกับการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 - ภาษาประชาคมอาเซียน MUSLIMTHAIPOST

 

ประเทศไทยกับการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 - ภาษาประชาคมอาเซียน


1,219 ผู้ชม


วันที่ 22 ส.ค. 2554
ioc.สขร.สปข.4 / เพลินพิศ ทองบำรุง


การ ก้าวเข้าสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 หรือในอีก 5 ปีข้างหน้า เรามักได้ยินบ่อย ๆ ว่า การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะส่งผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทย และประเทศไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

         

           ธนาคารเพื่อ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) โดยฝ่ายวิจัยธุรกิจได้เห็นความสำคัญในประเด็นดังกล่าวจึงทำการศึกษาเกี่ยว กับผลกระทบจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งพบว่ามีทั้งโอกาสและความ ท้าทาย
         

          โดยเริ่มตั้งแต่เป้าหมายหลักของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอา เซียน คือ "การเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตเดียวร่วมกัน จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานระหว่างประเทศในอาเซียนอย่างเสรี" ซึ่งหมายความว่า อาเซียน 10 ประเทศจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ฉะนั้นการค้าขายสินค้าและบริการแต่ละประเทศสมาชิกจะขยายกว้างขึ้น
ทั้ง นี้ปี 2552 ไทยส่งออกไปอาเซียนมากที่สุดถึง 21.3% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ สหรัฐ อียู ญี่ปุ่น ขณะที่การนำเข้าของไทย อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น 18.7% รองลงมา อาเซียน 18.5% จีน 12.7% อียู 8.8% ฉะนั้น เมื่ออาเซียนรวมตัวเป็นตลาดเดียวในปี 2558 ก็คาดว่าการค้าของไทยระหว่างอาเซียนด้วยกันเองจะใหญ่ขึ้น จึงเป็น "ความท้าทาย" ของผู้ประกอบการไทยในเรื่องของตลาด ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและการแข่งขันจะรุนแรงขึ้น ขณะเดียวกันก็จะเป็น "โอกาส" ที่มากขึ้นจากประตูการค้าที่เปิดกว้าง 
         

          นางขวัญใจ เตชเสนสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธสน.ระบุว่า จากการศึกษา "การเปิดเสรีการค้า" ในอาเซียน พบว่าสินค้าที่ไทยได้เปรียบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในกลุ่มนี้ เราต้องเร่งรุกตลาดและใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ขณะเดียวกันเราก็มีกลุ่มสินค้าที่ต้องปรับตัวรับการแข่งขันทางการค้าที่มี มากขึ้น คือ สินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม
"แนวทางการปรับตัวของ สินค้าเกษตร คือ ต้องเน้นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมควรหันไปแข่งขันเรื่องคุณภาพแทนด้านราคาที่เราอาจสู้ ไม่ได้ ซึ่งอาจต้องใช้ในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมต่าง ๆ มาเพิ่มมูลค่าสินค้า"
         

          แนวทางการดำเนินการด้านที่สองจะก้าวสู่การ เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การเปิดเสรีภาคบริการ อันนี้จะมีข้อกำหนดชัดเจนว่า ภายในปีนี้จะต้องลดหรือยกเลิกข้อจำกัดในภาคบริการใน 4 สาขาเร่งรัด สาขาแรก คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สุขภาพ ท่องเที่ยว และการขนส่งทางอากาศ นอกจากนี้จะเป็นเรื่องการผ่อนคลายการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนซึ่งจะสูงถึง 70% ในปี 2010 ส่วนโลจิสติกส์ ในปี 2013 เปิดให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 70% ส่วนสาขาอื่นจะเป็นปี 2558 ซึ่งเป็นปีเป้าหมาย ที่เราจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ส่วน "การเปิดเสรีภาคบริการ" จากการศึกษาพบว่าสิงคโปร์จะค่อนข้างเก่งในอาเซียนและในระดับโลก โดยปัจจุบันภาคบริการของสิงคโปร์คิดเป็นเกือบ 70% ของ จีดีพี และมีการส่งออกบริการถึง 40% เทียบกับไทยที่ส่งออกภาคบริการเพียง 10% และคิดเป็นเพียง 40% ของจีดีพี ยังค่อนข้างห่างมาก ดังนั้นคาดว่าเมื่อเปิดเสรีการค้าบริการเต็มรูปแบบสิงคโปร์จะเป็นประเทศที่ ได้ประโยชน์มากที่สุดในสาขาบริการ โดยเฉพาะโลจิสติกส์และการขนส่งทางอากาศ

         

          อย่างไรก็ตามไทยยังมีจุดแข็งในภาคบริการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีจุดแข็งการบริการด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาล การดูแลผู้สูงอายุ และด้านศัลยกรรมความสวยงามที่กำลังเติบโต จึงเป็นที่คาดว่า เมื่อมีการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียนภาคนี้จะเป็นภาคธุรกิจที่ได้รับ ประโยชน์ค่อนข้างมาก

         

          ขณะที่ "การเปิดเสรีด้านการลงทุน" ซึ่งจะครอบคลุมทุกประเทศในปี 2558 เมื่อถึงตอนนั้นจะทำให้การลงทุนโดยตรงระหว่างอาเซียนด้วยกันเพิ่มมากขึ้น โดยภาคธุรกิจที่นักลงทุนไทยมีศักยภาพ ได้แก่ ภาคเกษตร เกษตรแปรรูป รับเหมาก่อสร้าง และเหมืองแร่ ขณะที่ประเทศในอาเซียนหลายประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีการ พัฒนาประเทศค่อนข้างมาก ที่สำคัญประเทศเหล่านั้นมีนโยบายเปิดกว้างต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ด้วย ดังนั้นเราน่าจะได้ประโยชน์ทั้งการย้ายฐานการผลิตและการไปลงทุนต่างประเทศ เพิ่มขึ้น

         

          ส่วน เรื่อง "การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี" ภายในปีนี้จะมีการลงนามตกลงร่วมกัน 4 ฉบับที่จะตกลงร่วมกันที่จะเคลื่อนย้ายบุคลากรทักษะด้านวิศวกรรม สถาปนิก พยาบาล และการสำรวจ ก่อนจะขยายกว้างไปถึงแพทย์ ทันตแพทย์ รวมถึงนักบัญชี นักกฎหมาย และอื่น ๆ ไปถึงปี 2558
เป็นที่คาดว่า เมื่อมีการเปิดเสรีแรงงานเต็มที่จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะ อาทิ สถาปนิกและวิศวกรในอาเซียน ไปที่สิงคโปร์และมาเลเซียมากขึ้น แต่เมื่อกรอบการขยายบวกเป็นอาเซียนบวก 3 อาเซียนบวก 6 บุคลากรในภาคต่าง ๆ เช่น ภาคการเงิน ธนาคาร และไอที คาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาเมืองไทยมากขึ้น และแย่งงานคนไทยมากขึ้นและ ค่าจ้างอาจถูกลง

         

           สุดท้าย คือ "การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี" ยังไม่มีกรอบชัดเจน มีเพียงกรอบกว้างในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนา และการรวมตัวของตลาดทุนในอาเซียน ที่ยินยอมให้เคลื่อนย้ายเสรีเงินทุนมากขึ้น
โดยสรุปจากที่กล่าวมา ทั้งหมดเห็นได้ว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนับเป็น "จุดเปลี่ยน" ครั้งสำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านการค้าคงเป็นการค้าในภูมิภาคมากขึ้น แทนที่ตลาดหลักเดิม ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญอยู่ จุดยืนของไทยก็ควรรุกสินค้าที่เราได้เปรียบและขยายตลาดไปตามข้อตกลงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาเซียนบวก 3 บวก 6 และบวกอียูก็ตาม

          รื่อง ของภาคบริการ คาดว่าการเปิดเสรีจะทำให้แข่งขันมากขึ้น และภาคบริการจะมีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นด้วย เราคงต้องไปเน้นบริการที่เราเชี่ยวชาญ คือ ท่องเที่ยวและด้านสุขภาพ ส่วนการลงทุนโดยตรงควรกระตุ้นให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เสียเปรียบในการ ผลิตในประเทศย้ายฐานการผลิตออกไปในอาเซียนที่มีทรัพยากรหรือตลาดที่เอื้อมาก ขึ้น

         

           ด้านแรงงานจะมีการแข่งขันมากขึ้น เพราะว่านายจ้างมีทางเลือกจ้างงานในประชากรอาเซียนที่มีค่าแรงถูกกว่า เชิงของแรงงานทักษะทั้งหลายต้องเพิ่มความรู้ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาที่สอง หรือสาม หรือปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากลมากขึ้น และในกรณีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีคาดว่าจะทำให้เกิดความผันผวนเรื่อง ค่าเงินมากขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการต้องรู้จักบริหารต้นทุนและ ลดความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน

         

          ทั้ง หมดที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่ จะเกิดขึ้น เมื่ออาเซียนจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 การเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ จะเป็นโอกาสหรืออุปสรรค ขึ้นอยู่กับประเทศไทยจะปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างไร หรือ จะแสวงหาโอกาสได้มากน้อยแค่ไหน

-------------

ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC)  
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และ
การบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเท

  • มีวัตถุประสงคที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่น ในหลัก ความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะ (1) ใช้เอกสาร ทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายใน ภูมิภาค รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบ ค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และการ ขจัดอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง  (2) ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคง และกำหนด รูปแบบ ใหม่สำหรับความร่วมมือ ในด้านนี้ ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานการป้องกัน การเกิดข้อพิพาท การแก้ไข ข้อพิพาท และการส่งเสริมสันติภาพ ภายหลังจาก การเกิดข้อพิพาท (3) ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคง ทางทะเล ซึ่งอาเซียนยังไม่มีความร่วมมือด้านนี้ ทั้งนี้ ความร่วมมือ ข้างต้นจะไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ และความร่วมมือทางทหารของประเทศสมาชิกกับประเทศนอกภูมิภาค

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC)

  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำหนดวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย
    (1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
    และ การลดปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี ค.ศ. 2020
    (2) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ
    ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว
    (3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ
    CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทาง เศรษฐกิจของอาเซียน
    (4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้าน การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการ ศึกษาและการพัฒนาฝีมือ
  • ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญจำนวน 11 สาขา
    ให้เป็น สาขานำร่อง ได้แก่ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ /
    ยานยนต์ / อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ,
    ท่องเที่ยวและการขนส่ง ทางอากาศ (การบิน) ซึ่งอาเซียนได้ดำเนินการดังนี้
  • กำหนดให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Roadmap ในแต่ละสาขา ได้แก่  
         * ไทย :
    ท่องเที่ยวและและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
    •  พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
    •  อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
    •  มาเลเซีย : ยางและสิ่งทอ
    •  ฟิลิปปินส ์: อิเล็กทรอนิกส์
    •  สิงคโปร์ : เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ
  • จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขาดังกล่าว คือ Framework
    Agreement for the Integration of the Priority Sectors และพิธีสาร สำหรับแต่ละสาขา คือ
    ASEAN Sectoral Integration Protocol อีก 11 ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการ ร่วมที่จะใช้ในการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขา โดยมีมาตรการสำคัญคือ
    การเปิดเสรีการค้า สินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้าน การค้า
    และ การลงทุน การส่งเสริมการค้า และการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ 
  • กำหนดให้ปี ค.ศ. 2010 เป็น deadline สำหรับการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขา
    ดังกล่าว โดยให้มีการผ่อนปรนสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)

                           

ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC)

  • ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน  มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
    อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (social security) โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ
    (1) การพัฒนาสังคม โดยการ ยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่อาศัยในถิ่นทุระกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่าง แข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม 
    (2) การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่าการพัฒนา ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม 
    (3) การส่งเสริมความร่วมมือใน ด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่นโรคเอดส์ และ โรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง
    (4) การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
    (5) การส่งเสริม การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค
  • แผนปฏิบัติการของประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน เน้นการดำเนินการใน 4 ประเด็นหลัก คือ 

(1) สร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร  โดยเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน เสริมสร้างความเสมอภาค และการพัฒนามนุษย์  อาทิ การพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน การส่งเสริม สวัสดิการสังคม การพัฒนาชนบทและ ขจัด ความยากจน การพัฒนาการศึกษา และสาธารณสุข และการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์  (human security) ในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการปราบปรามอาชญากรรม ข้ามชาติและการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ
(2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยสร้างฐานทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถแข่งขัน ได้ดีและ มีระบบการป้องกันทางสังคมที่เพียงพอ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมแรงงาน และเสริมสร้าง ความร่วมมือ ในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวัสดิการสังคม  วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และ สาธารณสุข (ปัญหาที่มา กับโลกาภิวัต เช่น โรคระบาด โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ)
(3) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง โดยมีกลไกที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ ์สำหรับจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจนการป้องกันและขจัดภัยพิบัติด้าน สิ่งแวดล้อม
(4) เสริมสร้างรากฐานที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.2020 ซึ่งจะเป็นภูมิภาคที่ประชาชนตระหนักถึงอัตลักษณ์ (identity) ร่วมกันของภูมิภาคท่ามกลางความหลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริม ความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับและวงการต่างๆ การเรียนรู้ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน และ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของกันและกัน (การส่งเสริมด้านวัฒนธรรมและสนเทศ) 
 

Source: https://www.ceted.org/tutorceted/index.htm

อัพเดทล่าสุด