กำเนิดอาเซียน
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือ กำเนิดขึ้นโดยมี รัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียน ได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับ สหภาพยุโรป มากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียน ได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน ปี พ.ศ. 2558
อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งได้ลงนามกันที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ความเข้าใจ อันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความ เจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค และ ผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2510 อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาว และ พม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ สถานการณ์ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนผ่านจากสภาวะแห่งความตึงเครียด และการเผชิญหน้าในยุค สงครามเย็น มาสู่ความมีเสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน ซึ่งทำให้อาเซียนกลาย เป็นภูมิภาค ที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเป็นตัวอย่างของการรวมตัวของกลุ่มประเทศ ที่มีพลังต่อรอง ในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความก้าวหน้าของอาเซียนมีปัจจัยสำคัญจาก ความไว้ใจกันระหว่าง รัฐสมาชิก อันก่อให้เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์และเอื้อต่อการเพิ่มพูน ความร่วมมือระหว่างกัน ไม่นานมานี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายให้ภายในปี 2558 อาเซียนสามารถรวมตัวกันเป็น “ประชาคมอาเซียน” ทั้งในแง่การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม โดยยึดประโยชน์สุขของ ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นศูนย์กลาง นอกจากการเป็นสมาชิกก่อตั้งของอาเซียนแล้ว ตั้งแต่เดือน กรกฎาคมของปีที่แล้วจนถึงสิ้นปีนี้ ไทยยังดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนอีกด้วย โดยในฐานะประธานอาเซียน ไทยมีโอกาสเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกเราได้จัดไปแล้วเมื่อเดือน
กุมภาพันธ์ที่ อ. ชะอำ และ อ. หัวหิน และเรากำลังจะจัดอีกครั้งระหว่าง วันที่ 23-25 ตุลาคม ศกนี้ นอกจากนี้ การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย ในช่วงหนึ่งปีครึ่งนี้ยังเป็นช่วงจังหวะเดียวกับที่อาเซียนมีผู้บริหาร สำนักเลขาธิการ เป็นคนไทย ซึ่งก็คือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี เป็นคนไทยคนที่สองที่ได้ดำรงตำแหน่งในองค์กรนี้ โดยคนไทยคนแรกคือ แผน วรรณเมธี (2532-2536)
ภูมิหลัง
เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสาร วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 เพื่อกำหนดเป้าหมายว่า
ภายในปีค.ศ. 2020 (2563) อาเซียนจะเป็น
1) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - A Concert of Southeast Asian Nations
2) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต - A Partnership in Dynamic Development
3) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก - An Outward-Looking ASEAN
4) ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร - A Community of Caring Societies
ในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้ตอบสนองต่อการบรรลุ
วิสัยทัศน์ อาเซียนเพิ่มเติม โดยได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ประชาคมอาเซียนนี้จะประกอบด้วย 3 เสาหลัก (pillars) ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ต่อมา ในระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ที่เวียงจันทน์ ผู้นำอาเซียนได้รับรองและลงนามเอกสารสำคัญที่จะวางกรอบความร่วมมือเพื่อบรรลุการ ประชาคมอาเซียนต่อไป ได้แก่
1) แผนปฏิบัติการของประชาคมความมั่นคงอาเซียน
2) กรอบความตกลงว่าด้วยสินค้าสำคัญซึ่งจะช่วยเร่งรัดความร่วมมือด้านสินค้าและบริการ 11 สาขา
(Wood-based products and automotives, Rubber-based products and textiles and apparels, Agro-based products and fisheries, Electronics, e-ASEAN and healthcare, Air Travel and tourism) ภายในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553)
3) แผนปฏิบัติการประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
ในระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 ผู้นำอาเซียนยังได้รับรอง แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์
(Vientiane Action Programme - VAP) เป็นแผนดำเนินความร่วมมือในช่วงปี พ.ศ. 254 7- 2553
โดยได้กำหนดแนวคิดหลักหรือ Theme ของแผนปฏิบัติการฯ ไว้ว่า “Towards shared prosperity destiny in an integrated, peaceful and caring ASEAN Community” VAP จึงเท่ากับเป็นการจัดลำดับความสำคัญของ แผนงานและโครงการของ ประชาคมอาเซียนที่จะเร่งปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตาม theme ดังกล่าว ที่ประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 เห็นชอบให้จัดตั้ง กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน (ASEAN Development Fund) โดยแปลงจากกองทุนอาเซียนเดิม เพื่อนำมาเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของแผน ปฏิบัติการเวียงจันทน์ (VAP) อันจะเป็นการส่งเสริมการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน และเป็นกองทุนที่สามารถ ระดมความสนับสนุนทั้งจากประเทศ คู่เจรจา และแหล่งทุนอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ใน ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกองทุนดังกล่าว ได้ภายในปีนี้ โดยจะมีการลงนามความตกลง จัดตั้งกองทุนดังกล่าว ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 ในเดือนกรกฎาคม 2548
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และ
การบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน กับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
- มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่น ในหลัก ความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะ (1) ใช้เอกสาร ทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายใน ภูมิภาค รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบ ค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และการ ขจัดอาวุธ ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (2) ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคง และกำหนด รูปแบบ ใหม่สำหรับความร่วมมือ ในด้านนี้ ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานการป้องกัน การเกิดข้อพิพาท การแก้ไข ข้อพิพาท และการส่งเสริมสันติภาพ ภายหลังจาก การเกิดข้อพิพาท (3) ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคง ทางทะเล ซึ่งอาเซียนยังไม่มีความร่วมมือด้านนี้ ทั้งนี้ ความร่วมมือ ข้างต้นจะไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ และความร่วมมือทางทหารของประเทศสมาชิกกับประเทศนอกภูมิภาค
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC)
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กำหนดวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย
(1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
และ การลดปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี ค.ศ. 2020
(2) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ
ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว
(3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ
CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทาง เศรษฐกิจของอาเซียน
(4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้าน การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการ ศึกษาและการพัฒนาฝีมือ
- ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญจำนวน 11 สาขา
ให้เป็น สาขานำร่อง ได้แก่ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ /
ยานยนต์ / อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ,
ท่องเที่ยวและการขนส่ง ทางอากาศ (การบิน) ซึ่งอาเซียนได้ดำเนินการดังนี้ - กำหนดให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Roadmap ในแต่ละสาขา ได้แก่
* ไทย : ท่องเที่ยวและและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)- พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
- อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
- มาเลเซีย : ยางและสิ่งทอ
- ฟิลิปปินส ์: อิเล็กทรอนิกส์
- สิงคโปร์ : เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการด้านสุขภาพ
- จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขาดังกล่าว คือ Framework
Agreement for the Integration of the Priority Sectors และพิธีสาร สำหรับแต่ละสาขา คือ
ASEAN Sectoral Integration Protocol อีก 11 ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการ ร่วมที่จะใช้ในการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขา โดยมีมาตรการสำคัญคือ
การเปิดเสรีการค้า สินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้าน การค้า
และ การลงทุน การส่งเสริมการค้า และการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่นๆ - กำหนดให้ปี ค.ศ. 2010 เป็น deadline สำหรับการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขา
ดังกล่าว โดยให้มีการผ่อนปรนสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)
ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC)
- ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (social security) โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ
(1) การพัฒนาสังคม โดยการ ยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่อาศัยในถิ่นทุระกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่าง แข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม
(2) การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่าการพัฒนา ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม
(3) การส่งเสริมความร่วมมือใน ด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่นโรคเอดส์ และ โรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง
(4) การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
(5) การส่งเสริม การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค - แผนปฏิบัติการของประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน เน้นการดำเนินการใน 4 ประเด็นหลัก คือ
(2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยสร้างฐานทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถแข่งขัน ได้ดีและ มีระบบการป้องกันทางสังคมที่เพียงพอ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมแรงงาน และเสริมสร้าง ความร่วมมือ ในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวัสดิการสังคม วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และ สาธารณสุข (ปัญหาที่มา กับโลกาภิวัต เช่น โรคระบาด โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ)
(3) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง โดยมีกลไกที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ ์สำหรับจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจนการป้องกันและขจัดภัยพิบัติด้าน สิ่งแวดล้อม
(4) เสริมสร้างรากฐานที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.2020 ซึ่งจะเป็นภูมิภาคที่ประชาชนตระหนักถึงอัตลักษณ์ (identity) ร่วมกันของภูมิภาคท่ามกลางความหลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริม ความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับและวงการต่างๆ การเรียนรู้ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน และ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของกันและกัน (การส่งเสริมด้านวัฒนธรรมและสนเทศ)