เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ การชันสูตรพลิกศพ และ การตรวจสถานที่เกิดเหตุ


1,239 ผู้ชม


 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
 
บทที่ 2  การชันสูตรพลิกศพและการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
         Examination at the crime scene and crime scene investigation  
  โดย พลตำรวจโท เลี้ยง  หุยประเสริฐ พบ.,อว.(นิติเวชศาสตร์)

----------------------------------------------------

ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยยังแยกการชันสูตรพลิกศพกับการผ่าศพออกจากกัน  คือ ระบุว่าจะทำการผ่าศพต่อเมื่อเจ้าพนักงานผู้ชันสูตรเห็นควรส่งศพหรือชิ้นส่วนของศพให้แพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐทำการผ่าศพ หรือแยกธาตุ  ถ้าเจ้าพนักงานเห็นว่าการชันสูตรพอรู้สาเหตุการตายแล้ว ถือว่าการชันสูตรศพรายนั้นเสร็จสิ้นแล้วตามกฎหมาย  ทั้งๆที่วิชานิติเวชศาสตร์ในปัจจุบัน ถือว่าการชันสูตรพลิกศพแต่เพียงอย่างเดียวมักไม่เพียงพอ นิติพยาธิแพทย์ควรพิจารณาเป็นรายๆไปว่า จะมีเพียงบางรายเท่านั้นที่อาจไม่จำเป็นต้องผ่าศพ
         การชันสูตรพลิกศพคือการตรวจดูศพแต่เพียงภายนอก ซึ่งกฎหมายมีความมุ่งหมายให้ดำเนินการในสถานที่พบศพ ยกเว้นแต่ว่าการดูในสถานที่นั้นอาจจะทำให้การจราจรติดขัดมาก หรืออาจจะเป็นที่อุดจาด หรืออาจเป็นอันตรายต่อประชาชนทั่วไป ก็สามารถเคลื่อนย้ายไปทำยังสถานที่อื่นที่เหมาะสมได้  เห็นได้ว่าสภาพการจราจรในปัจจุบันทำให้อุบัติเหตุจราจรเกือบทุกรายต้องย้ายศพไปตรวจยังที่อื่น ซึ่งก็มักจะเป็นสถานที่ผ่าศพนั่นเอง
         ในกรณีที่แพทย์และพนักงานสอบสวนไปทำการชันสูตร ณ. ที่พบศพ  แพทย์และพนักงานสอบสวนต้องระมัดระวังที่จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อการตรวจหาพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่ตรวจสถานที่เกิดเหตุด้วย
        แพทย์สามารถใช้การตรวจสถานที่เกิดเหตุเป็นข้อมูลที่ช่วยประกอบการผ่าศพเพื่อที่จะสันนิษฐานพฤติการณ์ตายได้ใกล้เคียงขึ้น ดังคำว่า “การผ่าศพทางนิติพยาธิเริ่มตั้งแต่ที่เกิดเหตุ”       

         ในบทนี้จะขอกล่าวถึงการตรวจสถานที่พบศพอย่างพอสังเขป ซึ่งรวมถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติของพนักงานสอบสวนและแพทย์
การตรวจสถานที่พบศพหรือที่เกิดเหตุ (Crime scene investigation)
         การตรวจสถานที่พบศพเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน  ในประเทศไทย กำหนดให้เป็นหน้าที่ของตำรวจซึ่งประกอบด้วยตำรวจที่ทำหน้าที่พนักงานสอบสวนกับตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐานที่จะดำเนินการตรวจหาวัตถุพยานหรือพยานทางกายภาพอื่นๆ เมื่อเกิดอาชญากรรมขึ้นในทุกกรณีรวมทั้งการตายด้วย  ในอนาคตถ้าหาก ระบบนิติเวชศาสตร์ในประเทศไทยเปลี่ยนไป แพทย์อาจจะต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุในกรณีที่มีการตายก็ได้

หลักการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
1. การเตรียมการ        
   - ต้องมีการวางแผนการดำเนินการ      
    - เตรียมเครื่องมือการตรวจให้พร้อม
    - เตรียมการสำหรับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
2. การเข้าค้นหาพยานหลักฐานควรต้องทำให้เป็นระบบที่เตรียมการอย่างเคร่งครัด
3. ตรวจหาอาวุธ และวัตถุพยาน ฯลฯ        
4. ตรวจหาร่องรอยการต่อสู้ งัดแงะฯลฯ        
5. การดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุ        
6. การดำเนินการเกี่ยวกับผู้บาดเจ็บหรือศพ
หน้าที่ของพนักงานสืบสวนหรือสอบสวนที่เข้าถึงที่เกิดเหตุเป็นคนแรก
The first officer at the crime scene
         ไม่ว่าพนักงานสอบสวนหรือสืบสวนระดับชั้นยศใดก็ตาม  ถ้าบังเอิญประสบเหตุหรือถูกตามให้เข้าไปในสถานที่พบศพหรือสถานที่เกิดเหตุเป็นคนแรก  ควรปฏิบัติ  ดังต่อไปนี้

         1.บันทึก วัน เวลา ที่เข้าไปในที่พบศพหรือที่เกิดเหตุ
         2.เข้าที่เกิดเหตุโดยหลีกเลี่ยงการอาจจะทำลายหลักฐานหรือวัตถุพยาน
         3.รักษาสถานที่เกิดเหตุมิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปเป็นอันขาด
         4.ถ้ามีผู้บาดเจ็บที่มีอาการหนัก จะต้องพยายามตามหน่วยรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องหรือที่อยู่ใกล้ที่สุดเพื่อนำผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว ถึงแม้กว่าการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บอาจจะทำลายพยานวัตถุบางอย่าง แต่เพื่อการรักษาชีวิต  และถ้าเป็นไปได้ควรมีผู้ร่วมทางไปกับผู้บาดเจ็บด้วย เนื่องจากอาจจะได้ปากคำของผู้บาดเจ็บในระหว่างทาง หรือในขณะกำลังจะเสียชีวิต  ซึ่งปากคำนั้นมีคุณค่าต่อการสอบสวนสืบสวนมาก
         5.ดำเนินการเกี่ยวกับผู้ตาย  เมื่อมีศพควรพยายามที่จะไม่ทำการใดใดเกี่ยวกับศพ  แต่จะต้องรายงานพนักงานสอบสวนผู้มีหน้าที่ให้ทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการเกี่ยวกับการชันสูตรตามกฎหมาย
         6.รายงานผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบ หรือผู้ร่วมงาน หรือแพทย์ผู้ชันสูตร  เพื่อทำการชันสูตรและขอกำลังสนับสนุน
         7.บันทึกเกี่ยวกับอาวุธที่พบในที่เกิดเหตุหรือที่พบศพ ตำแหน่งที่พบ และความสัมพันธ์ของท่าทางศพกับตำแหน่งของอาวุธ
         8.ในบางครั้งอาจพบผู้ต้องสงสัยในที่เกิดเหตุ ให้ดำเนินการจับกุมหรือควบคุมตัวไว้ก่อน เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือการทำลายหลักฐาน โดยแจ้งให้ทราบถึงข้อกำหนดตามกฎหมาย(ต่างประเทศ) จนกว่ากำลังสนับสนุนจะมาถึง
         9.สอบสวนผู้อยู่ในเหตุการไปพลางก่อน  มีใครบ้างในที่เกิดเหตุตอนที่พนักงานไปพบ  การถามให้ถามสั้นๆเท่านั้นเพราะหน้าที่หลักคือรักษาสถานที่เกิดเหตุ  ถ้ามีทั้งผู้ต้องสงสัยและพยานอยู่ในที่เกิดเหตุให้แยกที่กักตัวเท่าที่จะทำได้  อย่าแสดงความคิดเห็นต่อพยานหรือคนมุง แต่ให้พยายามฟังว่าเขาพูดอะไรกันบ้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับพนักงานสอบสวนมาก  ป้องกันสิ่งที่เป็นพยานไม่ให้หายไป ระหว่างรอกำลังสนับสนุนหรือผู้บังคับบัญชา  การติดต่อกรณีนี้ควรใช้โทรศัพท์ เนื่องจากมีนักข่าวสื่อมวลชนจำนวนมากที่มีวิทยุของตำรวจหรือใช้คลื่นตำรวจ  เพื่อป้องกันการมีคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชันสูตรมาอยู่ในที่เกิดเหตุมากเกินไป
         10.มอบการรักษาที่เกิดเหตุให้พนักงานสอบสวน เพื่อจะรักษาต่อไปจนกว่าการชันสูตรหรือตรวจสถานที่ ได้ทำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ซึ่งหมายความว่าจนกว่าการทำรายงานเกี่ยวกับสถานที่เสร็จสิ้นลงแล้ว ซึ่งอาจจะใช้เวลาหลายวัน

 
การตรวจสถานที่
         ก่อนเข้าสถานที่เกิดเหตุต้องคำนึงถึงอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น อันตรายจากก๊าซพิษและไฟฟ้าลัดวงจรกรณีที่มีเพลิงไหม้  อันตรายจากยานยนต์ในรายอุบัติเหตุจราจร อันตรายจากการระเบิดกรณีที่มีเหตุวางระเบิดซึ่งอาจจะมีระเบิดตกค้างอยู่  อันตรายจากตึกถล่ม ฯลฯ                                                                                                 
         สำหรับพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ผู้ชันสูตรพลิกศพควรระลึกไว้เสมอว่า การตรวจที่เกิดเหตุไม่ใช่สามารถตรวจครั้งเดียวจะเสร็จสิ้นได้เสมอไป บางครั้งอาจจะต้องกลับมาตรวจเพื่อหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง
         1.ถ่ายรูป วาดรูป วาดแผนผังของตำแหน่งศพและสถานที่
       2.ใช้จินตนาการความเป็นไปได้ในเหตุการณ์ทุกแง่มุมว่า อาจจะพบพยานหลักฐานในที่ใดได้บ้าง เพื่อหาวัตถุพยาน ทั้งที่จุด และรอบจุดที่เกิดเหตุ โดยละเอียดและเป็นระบบ
         3.พยายามไม่สัมผัสด้วยมือเปล่ากับสิ่งที่สันนิษฐานว่าอาจมีวัตถุพยานปรากฏอยู่ เช่นลูกบิดประตู หน้าต่าง ถ้วยชากาแฟ อาวุธ ฯลฯ
         4.บันทึกสิ่งที่ตรวจพบโดยละเอียดเพื่อที่ว่าเมื่อจำเป็นต้องกลับมาอ่านใหม่ในอีกหลายปีต่อมา ยังสามารถประมวลข้อมูลได้เหมือนเดิม
 การสืบสวนในกรณีที่มีการตาย (Death investigation)

         พนักงานสืบสวนสอบสวนที่แน่ใจว่าศพนั้นเสียชีวิตแล้ว ต้องแจ้งแพทย์ผู้มีหน้าที่ตามกฎหมาย ให้ร่วมทำการชันสูตรโดยไม่แตะต้องศพและไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดแตะต้องศพด้วย
         ผู้ทำการชันสูตรต้องถามตัวเองว่า เหตุตายคืออะไรตามสภาพที่เห็น(ซึ่งอาจจะไม่ใช่เหตุตายที่แท้จริงก็ได้ แต่จะเห็นได้ชัดว่า นักสืบที่รู้จักบาดแผลภายนอกว่าเป็นชนิดใดได้ถูกต้อง จะสามารถเข้าใจเหตุการณ์ได้ดีกว่า ในขณะนั้น)  เป็นการทำตัวเองได้หรือไม่(จากตำแหน่งบาดแผล ท่าทางของศพ)   มีร่องรอยการต่อสู้หรือไม่(คราบเลือด เส้นผม เศษกระดุมเสื้อ เครื่องใช้ที่ไม่ได้อยู่ในที่ปกติฯลฯ) มีอาวุธในที่เกิดเหตุหรือไม่ (อาวุธอยู่ที่ใดวางในสภาพอย่างไร ถ่ายรูปไว้)
         การตรวจศพในสถานที่เกิดเหตุนั้นพนักงานสืบสวนสอบสวนควรให้ความสนใจในเรื่อง
         1.ท่าทางของศพเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อมรอบข้าง และถ่ายรูปไว้ก่อนที่ขยับศพ
         2.เสื้อผ้าที่ติดอยู่กับศพ ว่าอยู่ในตำแหน่งใด  ถูกดึงรั้งส่วนไหน กางเกงในดึงลงมาเท่าไร  มีรูทะลุเข้าบาดแผลหรือไม่ (ห้ามใช้วัตถุใดใดแยงเข้าไปในบาดแผล เพราะอาจไปทำลายหรือเพิ่มเศษสิ่งบางอย่างในแผลได้) รวมถึงการตรวจค้นตามกระเป๋าเสื้อ-กางเกง
         3.จากนั้นจึงค่อยตรวจร่างกายทั่วไป หัวหันอย่างไร ตาลืม? ปากอ้า? มีน้ำ หรือของเหลวใด ที่อวัยวะหรือเสื้อผ้าส่วนใด มีบาดแผลใดบ้าง โดยเริ่มตั้งแต่ หัว ตัว แขน และขา ซึ่งการตรวจนี้ เป็นเพียงเพื่อเป็นแนวทางเท่านั้น ผลการตรวจละเอียดต้องรอจากการผ่าศพของนิติเวชแพทย์
         4.เก็บรักษาบางส่วนของศพแล้วแต่กรณี  เสื้อผ้าที่ใส่อยู่บนตัวศพ ห้ามถอดออก ต้องนำไปตรวจพร้อมกับศพเสมอ อาจจะต้องใช้ถุงกระดาษห่อหุ้มบางส่วนของศพเพื่อป้องกันการปนเปื้อนหรือการสูญหายของวัตถุพยาน บางกรณีอาจจะต้องห้ามการพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือไว้ก่อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเช่นกัน เช่น กรณีใช้อาวุธปืน ศพที่ถูกข่มขืนและฆ่า ฯลฯ จนกว่าการตรวจศพอย่างละเอียดเสร็จสิ้นแล้ว
         5.หลังเคลื่อนย้ายศพแล้ว ให้ประมาณปริมาณเลือดในที่เกิดเหตุอีกครั้งหนึ่ง
         6. กรณีที่พบศพที่เชื่อว่าถูกนำมาทิ้งจากที่อื่น  ตรวจสถานที่ให้ละเอียดเช่นกัน  ตรวจคราบเลือด หรือร่องรอยการเดินหรือเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่จะเข้าออกสถานที่นั้น(ซึ่งอาจจะมีอยู่จำกัด) รอยลู่ของหญ้า รอยเท้าหรือรอยลากบนพื้น กิ่งไม้ที่หักเป็นทาง ฯลฯ
         7.ถ้าศพพบที่กลางแจ้งการตรวจที่เกิดเหตุต้องรีบทำเพราะพยานหลักฐานต่างๆอาจจะถูก ลบเลือนได้ง่ายจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศเช่น ลม ฝน หิมะ ฯลฯ
 

การตรวจศพในสถานที่พบศพ

         ให้แพทย์ทำการตรวจโดยคร่าวๆเท่านั้นว่า
         1.เป็นบาดแผลชนิดใด  ถูกของไม่มีคม, มีคม, กระสุนปืน
         2.จำนวนบาดแผลมีเท่าใด  อาจจะมีบาดแผลแห่งความไม่แน่ใจ(hesitation mark) หรือบาดแผลแห่งการป้องกันตัว(defense wound)
         3.ตำแหน่งบาดแผลอยู่ที่ใดบ้าง ทะลุเสื้อผ้าหรือไม่
         4.บาดแผลกระสุนปืน ระยะใกล้เท่าใด
         5.ตรวจระยะเวลาการตาย  ซึ่งต้องร่วมกับการสอบถามผู้ใกล้ชิดหรือพบเห็นด้วย

ข้อสังเกตลักษณะของบาดแผลเปรียบเทียบกับพฤติการณ์ที่ตาย
ฆาตกรรม       - บาดแผลเกิดบริเวณใดของร่างกายก็ได้
                      - มักมีหลายแห่ง
                      - มักทะลุเสื้อผ้า
                      - อาจจะมีบาดแผลหลายประเภท
                      - มักจะมีบาดแผลการป้องกันตัว       

ฆ่าตัวตาย       - บาดแผลจะเป็นตำแหน่งที่เลือกสรรแล้ว เช่น ยิงตัวตายมักยิงขมับ หรือเข้าปาก ใช้มีดจะเชือดคอ หรือ ข้อมือ
                        ด้านใน ถ้าแทงอาจจะแทงท้อง เป็นต้น
                      - อาจจะมีหลายแห่ง แต่มักมีแห่งเดียว
                      - มักไม่ทำทะลุเสื้อผ้า ถ้าแทงท้องก็มักเอาเสื้อออก จะปาดคอก็จะเอาเน็คไทออก เป็นต้น
                      - มักมีบาดแผลประเภทเดียวแต่อาจมี 2 ประเภท เช่น เชือดข้อมือไม่ตายจึงผูกคอตายตาม
                      - มักจะมีแผลแห่งความไม่แน่ใจ โดยเฉพาะเมื่อใช้ของแข็งมีคม
                      - ไม่มีบาดแผลแห่งการป้องกันตัว

อุบัติเหตุ         - บาดแผลเกิดบริเวณใดก็ได้แล้วแต่ลักษณะของอุบัติเหตุ
                      - มีหลายแห่งหรือแห่งเดียวก็ได้แล้วแต่ลักษณะของอุบัติเหตุ
                      - บาดแผลมักทะลุเสื้อผ้า
                      - มักมีบาดแผลประเภทเดียว
                      - ไม่มีบาดแผลแห่งการป้องกันตัวหรือแผลแห่งความไม่แน่ใจ
   ความสำคัญของพยานทางฟิสิกส์(physical evidences)

         คำว่าพยานทางฟิสิกส์ในที่นี้แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า”physical evidences” ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับภาษาที่ใช้ทางกฎหมายในประเทศไทย  
         physical evidencesหมายถึงพยานหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวกับคดี จะเป็นอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศพ รถ เศษผ้า กลิ่นน้ำหอม กลิ่นสารเคมี ภาพวิดีโอ ฯลฯ
         1.พยานทางฟิสิกส์เป็นเครื่องช่วยชี้ว่ามีการก่ออาชญากรรมแน่นอน เช่น ผู้เสียหายแจ้งว่าถูกข่มขืน และตรวจพบว่าผู้เสียหายมีเสื้อผ้าฉีกขาดมีแผลช้ำตามร่างกายหลายแห่งน่าจะแสดงว่ามีการก่ออาชญากรรมขึ้นแล้วจริงมิใช่เป็นการกล่าวหาลอยๆ หรือเจตนาใส่ร้าย
         2.พยานทางฟิสิกส์สามารถชี้ว่าผู้ต้องสงสัยได้อยู่ในที่เกิดเหตุ เช่นตรวจได้ขนแมวที่ขากางเกงของผู้ต้องสงสัยที่ผู้ต้องสงสัยอธิบายที่มาไม่ได้และบ้านที่ผู้เสียหายถูกข่มขืนเลี้ยงแมวไว้2ตัว
         3.พยานทางฟิสิกส์ที่ชี้ว่าบุคคลนั้นเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้น เช่น พบลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องสงสัยในด้านในของถุงมือที่ถอดทิ้งไว้ในบ้านที่ถูกโจรกรรม
         4.พยานทางฟิสิกส์สามารถกันผู้บริสุทธิ์ออกไป เช่น เด็กหญิง2คนพี่น้องกล่าวหาว่าผู้ต้องสงสัยวางยาแล้วทำมิดีมิร้าย แต่การตรวจทั้งเลือดและปัสสาวะของเด็กแล้วไม่พบสารใดใด
         5.พยานทางฟิสิกส์สามารถยืนยันคำให้การของผู้เสียหาย เช่น ผู้เสียหายอ้างว่าถูกผู้ต้องสงสัยแทงมือ  ผู้เสียหายจึงเอามือที่เลือดออกป้ายไปบนแขนเสื้อของผู้ต้องสงสัย จากการตรวจพบว่าคราบเลือดบนแขนเสื้อของผู้ต้องสงสัยเป็นเลือดของผู้เสียหายจริง
         6.ผู้ต้องสงสัยที่ถูกยันด้วยพยานทางฟิสิกส์อาจจะสารภาพ เช่น คดีเจนจิรา เมื่อพิสูจน์ได้ว่าผู้ตายเสียชีวิตเพราะถูกยิง ในขณะที่ผู้ต้องหาให้การกับตำรวจก่อนหน้านี้ว่าฆ่าโดยการบีบคอ  ผู้ต้องหาจึงสารภาพ
         7.พยานทางฟิสิกส์มีค่ามากกว่าประจักษ์พยานเพราะเคยมีการทดลองแล้วพบว่าประจักษ์พยานอาจให้การคลาดเคลื่อนไปได้ เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเดือน หรือ เป็นปี
         8.พยานทางฟิสิกส์ได้รับความเชื่อถือจากศาลมากขึ้นเรื่อยๆ
         9.ลูกขุน(ในระบบศาลลูกขุน)ก็ต้องการพยานทางฟิสิกส์
         10.การไม่พบพยานทางฟิสิกส์ช่วยยืนยันว่าไม่มีอาชญากรรม เช่น แจ้งว่าถูกลักทรัพย์แต่ตรวจแล้วไม่มีร่องรอยงัดแงะและทรัพย์ที่ว่ายังอยู่

ตัวอย่างสิ่งที่ตรวจหา
         ตัวอย่างการตรวจสถานที่เกิดเหตุหรือสถานที่พบศพ ว่าควรตรวจอะไรบ้าง และสิ่งใดอาจจะช่วยในการจับตัวผู้กระทำผิด รวมถึงรักษาสถานที่เกิดเหตุต่อไป จนกว่าจะเสร็จรายงาน และต้องเก็บวัตถุพยานไว้จนกว่าคดีจะสิ้นสุด
รอยเลือด  ดูทางเท้า ทางเข้าที่เกิดเหตุ บันได ลิฟท์ ฯลฯ  รูปร่างของหยดเลือดเป็นอย่างไร?
ประตูหน้าต่าง  ดูการล็อคว่าเป็นจากด้านใน? รอยงัดแงะ? ตำแหน่งของประตูหรือหน้าต่าง(เปิดครึ่งทาง เปิดเต็มที่ แง้มอยู่) สภาพการมองเห็นจากทางด้านนอก? ตำแหน่งของม่านหรือบังตา ประตูระหว่างห้องล็อคทางด้านไหน?
ตู้รับจดหมาย  วันที่จดหมายมาถึง? จดหมายในตู้รับยังเรียงตามลำดับการรับก่อนหลังอยู่
เครื่องใช้ไฟฟ้า ไฟฟ้า หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เปิดหรือปิดอยู่? เครื่องอาจจะดับ(เพราะเสียเนื่องจากเปิดทิ้งไว้ตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ)จึงต้องตรวจที่สวิตช์ด้วยว่าอยู่ใน ตำแหน่งที่เปิดหรือปิด?
ครัว  บนเตามีอะไร? จำนวนจานที่ยังไม่ได้ล้าง? เศษอาหารที่เหลือ?
กลิ่น  มีกลิ่นใด? ก๊าซ? น้ำหอม? บุหรี่?
นาฬิกา เดินหรือไม่? ตายเวลาเท่าใด? เดินตรงเวลาที่เป็นอยู่ในวันที่ตรวจหรือไม่? ถ้าเป็นนาฬิกาปลุก ตั้งไว้เวลาเมื่อใด?
ถ้าเป็นงานปาร์ตี้   มีเหล้ากี่ขวด? ขวดอะไรบ้าง? กี่ใบ? ข้างในขวดมีของเหลือหรือไม่? ที่เหลือเป็นอะไร? มีการหกเลอะเทอะ? เศษก้นบุหรี่ตามพื้น? ลายมือบนภาชนะ? เป็นปาร์ตี้สำหรับกี่คน? น่าจะมีคนมาในงานกี่คน?
ที่เขี่ยบุหรี่  มีก้นบุหรี่เท่าไร? กี่ชนิด? สูบเหลือเท่าไร? มีก้านไม้ขีดหรือไม่ลักษณะเป็นอย่างไร?
ลิ้นชักตามตู้โต๊ะ ล็อคอยู่? กุญแจอยู่ที่ใด? มีร่องรอยรื้อค้น? มีเงินหรือของมีค่า?
ถังขยะ มีเศษอาหารเท่าไร? อะไรบ้าง? หรือ เศษกระดาษอะไร?
ห้องน้ำ ครัว นอน   ตรวจผ้าต่างๆในห้องเช่น ผ้าม่าน ผ้าปูเตียง ผ้าเช็ดพื้นฯลฯ  เครื่องใช้ที่อยู่ในห้อง  ฝาผนัง  อ่างน้ำ  ส้วม  เปื้อนอะไร?  มีการกระเซ็นหรือไม่ กระเซ็นอย่างไร? มีลายนิ้วมือหรือไม่? มีอะไรค้างในคอห่าน? หรือที่ดักน้ำใต้อ่าง?(ถ้าจำเป็นอาจจะต้องทุบส้วมอย่างกรณีเจนจิรา)
เสื้อผ้า ที่ถอดออกแล้งวางไว้อย่างไร ถูกถอดแล้ววางอยู่อย่างกลับด้านหรือไม่? วางหรือแขวนหรือโยน? หรือหมก? มีร่องรอยการต่อสู้? หรือเจ้าของไม่มีระเบียบเอง?
การยิง  ยิงกี่นัด? ปลอกกระสุนพบเท่าไร? มีกระสุนฝังหรือผ่านวัตถุใดบ้าง? (จำนวนยิงมักจะไม่เท่ากับแผลที่พบในศพ)
จดหมายลาตาย เป็นลายมือของผู้ตายหรือไม่? ปากกาที่ใช้เขียนยังอยู่หรือไม่? มีกี่ฉบับ? มีลายนิ้วมือคนอื่นในกระดาษหรือไม่?
จุดที่อาจใช้ซ่อนอาวุธอย่างฉุกละหุก  หลังตู้สูง ซอกระหว่างเฟอร์นิเจอร์กับผนัง ซอกระหว่างหนังสือในตู้ทุกอัน ในเตาไฟ เตาอบ เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น หม้อข้าวฯลฯ

บรรณานุกรม
1. Knight, Bernard., SIMPSON’S FORENSIC MEDICINE.,11th edition, Arnold publisher, New York, 1997.
2. Spitz, Wernerd., SPITZ AND FISHER’S MEDICOLEGAL INVESTIGATION OF DEATH, 3rd edition, Etales Thomas Pub., New York. 1993.
3. สุวรรณจูฑะ,ทัศนะ., พล.ต.ต., นิติเวชศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่สาม บริษัทบพิตรการพิมพ์, กรุงเทพฯ 2536.
4. Arne Svenson, Otto Wendel, Bary A.J. Fisher., TECHNIQUES OF CRIME SCENE INVESTIGSTION, 3rd edition, Elsevier, New York. 1982
  ที่มาเว็บ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

แนวข้อสอบการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
การตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีจราจร
การตรวจสถานที่เกิดเหตุกรณีระเบิด

การตรวจสถานที่เกิดเหตุเกี่ยวกับทรัพย์
แบบฟอร์มบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
ระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
การตรวจสถานที่เกิดเหตุ พ.ต.ท.สมชาย เฉลิมสุขสันต์

หนีงสือที่น่าสนใจเรื่อง " วิธีการสอบสวน คดีเกี่ยวกับ รถชนกันฯ "  

รายละเอียด
 
จำนวน :  226 หน้า
ผู้แต่ง :  พล.ต.ต. ธวัชชัย พิทักษ์
ขนาดรูปเล่ม :  185 x 257 มิลลิเมตร
ความหนา :  10 มิลลิเมตร
เนื้อในพิมพ์ :  ขาว-ดำ
 


สารบัญ
 
วิธีการสอบสวน คดีเกี่ยวกับ รถชนกันฯ

๐ รถชนกัน ชนบุคคล หรือทรัพย์เสียหาย
๐ มูลเหตุที่ทำให้รถชนกัน
๐ วิธีทำแผนที่แสดงสถานที่เกิดเหตุ และการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
๐ การสืบสวนสอบสวนพยาน การตั้งประเด็น
๐ การยึดรถและคืนรถ
๐ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง เกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญา
๐ คำพิพากษาศาลฎีกา ตัวอย่างคดี

สารบัญ

วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบสวนคดีรถชนกัน หรือชนบุคคลหรือทรัพย์เสียหาย

มูลเหตุที่ทำให้รถชนกัน

หลักการปฏิบัติในที่เกิดเหตุ

เครื่องมือเครื่องใช้

การออกไปสถานที่เกิดเหตุ

ทำแผนที่แสดดงสถานที่เกิดเหตุ

การถ่ายรูปประกอบสำนวนการสอบสวน

การสืบสวนสอบพยาน

บันทึกสภาพและพฤติการณ์เกี่ยวกับรถ

การตรวจสภาพของรถ

การกลับจากตรวจสถานที่เกิดเหตุ

การรวบรวมสำนวนการสอบสวน

รายละเอียดเหตุภยันตรายเกิดจากยวดยานในถนน

หลักการสอบสวน

การตั้งประเด็น

วิธีดำเนินการ

การดำเนินคดีกับผู้ต้องหา

การเรียกค่าเสียหาย

การยึดรถหรือคืนรถ

การรายงานอุบัติเหตุการจราจรทางบก

หลักสำคัญเกี่ยวกับการสอบสวนคดีอุบัติเหตุเกี่ยวกับการจราจร

กฎหมายและระเบียบที่ควรศึกษา

ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา

คำสั่งกรมตำรวจ  เรื่อง มาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา

ระยะเวลาการสอบสวนคดีอาญา

การสอบสวนคดีอาญากรณีพิเศษ

การรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและการควบคุมตรวจสอบเร่งรัดการสอบสวน

การตรวจและติดตามผลการปฏิบัติ

การสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

คำสั่งกองบัญชาการตำรวจนครบาล ฯ  เรื่อง  การคุมสำนวนการสอบสวนคดี

คำอธิบายการเขียนสมุดบัญชีท้ายคำสั่ง 

เรื่อง ห้ามผู้แทนบริษัทประกันภัยเข้ามายุ่งเกี่ยวในคดีรถชนกัน

ระเบียบกรมตำรวจ  : ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับรถโดนกัน ชน หรือ ทับบุคคลหรือทรัพย์

กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522

ข้อพิจารณากรณีขับรถเร็วหรือไม่เพียงใด

ระยะตัดสินใจ

ระยะหยุด

ระยะห้ามล้อ

ระยะตัดสินใจ

บันทึก ฯ

อำนาจเปรียบเทียบคดีอาญาของพนักงานสอบสวน

คดีที่พนักงานสอบสวนไม่ต้องส่งสำนวนการเปรียบเทียบให้พนักงานอัยการ

ระเบียบกรมตำรวจ  ว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์ การรับ การเก็บรักษา และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายรถ ฯ

ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี

ลักษณะ 13 การรายงานคดีอาญา บทที่ 2 การรายงานคดีอุบัติเหตุการจราจรทางบก

คำอธิบายการรายงานคดีอุบัติเหตุจราจรทางบก

คำชี้แจงการกรอกแบบรายงานคดีอุบัติเหตุจราจรทางบก

ลักษณะ 36 บทที่ 77 กำหนดหลักเกณฑ์การรับ การรักษา และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายรถฯ

มอบอำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายรถ

บันทึกการพิสูจน์เครื่องกลและเครื่องอุปกรณ์

ผลแห่งการตรวจทดลองและพิสูจน์

บันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีจราจร

แผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุ

หมายตำรวจ

คำเตือนสติผู้รับหมาย

หมายจับ

เห็นเหตุผลอันสมควร  กล่าวคือ ...

ตำหนิรูปพรรณผู้กระทำผิด

บันทึกการจับกุม

บันทึกการมอบตัวผู้ต้องหา

บันทึกการแจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา

บันทึกการชี้ตัวผู้ต้องหา

บัญชีของกลางคดีอาญา

บัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้าย

บัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายได้คืน

บัญชีของกลางคดีอาญา

บัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้าย

บัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายได้คืน

บันทึกเสนอสัญญาประกัน

คำร้องขอประกัน

กำหนดเวลาให้ผู้ประกันส่งผู้ต้องหาต่อผู้ให้ประกัน

บัญชีทรัพย์สินของผู้ประกันรับรองว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียว

บันทึกการควบคุมผู้ต้องหา

หนังสือแจ้งทหารกระทำผิดอาญา ให้ฝ่ายทหารไปร่วมฟัง

การสอบสวนและรับตัวผู้ต้องหา

หนังสือมอบและรับตัวทหารกระทำผิดอาญา

หนังสือสำคัญสำหรับรับตัวทหาร

รายงานการชันสูตรพลิกศพ

ความเห็นของแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุ

ใบนำส่งผู้บาดเจ็บหรือศพให้แพทย์ตรวจชันสูตร

ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลหรือศพของแพทย์

บันทึกการรับมอบศพ

บันทึกการให้ค่าทดแทนผู้เสียหาย

บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งกันไม่ได้

แบบรายงานแผนประทุษกรรม  และบันทึกส่งตัวผู้ต้องหา

รายละเอียดของแผนประทุษกรรม

ประวัติของผู้ต้องหา

คำร้องขอผัดฟ้องและฝากขัง

คำร้องขอผัดพ้องและฝากขัง (ครั้งอื่นๆ)

คำร้องฝากขัง (ครั้งแรก)

คำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหา

ระเบียบกรมตำรวจ  ว่าด้วย อำนาจการสอบสวน

ลักษณะ 8 การสอบสวน บทที่ 2 อำนาจการสอบสวน

คำสั่ง เรื่อง กำชับไม่ให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจสอบทำการสอบสวนคดี

การวางตัวของพนักงานสอบสวนและปัญหาบางประการเกี่ยวกับการสอบสวนคดีอุบัติเหตุจราจร

ความสำคัญในการวางตัวของพนักงานสอบสวน

ท่าทีของพนักงานสอบสวน

การใช้ยานพาหนะไปดูที่เกิดเหตุ

การทำแผนที่เกิดเหตุและปัญหาบางประการ

พนักงานสอบสวนรีบด่วนชี้ว่าใครผิดใครถูก

การแจ้งข้อหาแก่ผู้ขับรถ

แจ้งข้อหาแล้วจะควบคุมตัวหรือไม่

ปัญหาเรื่องการเรียกค่าเสียหาย

ปัญหาเรื่องคู่กรณีมีนามบัตรผู้ใหญ่มาแสดง

ปัญหาเรื่องการยึดรถของกลาง

ปัญหาเรื่องสอบสวนล่าช้า

ข้อบกพร่องบางประการ

ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติขนส่งทางบก

ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง มอบอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ (รถยนตร์)

คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับความผิดฐานกระทำโดยประมาท (เกี่ยวกับรถยนต์)


ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ คือ
กฎ จราจร สอบ ใบขับขี่
วินัยจราจร
เครื่องหมายกฎจราจร
สัญลักษณ์ จราจร ภาษา อังกฤษ
การแก้ไขปัญหาจราจร
กล้องวงจรปิด จราจร
ความหมายจราจร
ความหมายของป้ายจราจร
กระจกโค้งจราจร
เกมตํารวจจราจร
ป้าย จราจร พร้อม ความ หมาย
ความหมายของจราจร
กฎหมายจราจรเบื้องต้น
พรบ จราจรทางบก 2553
การแก้ปัญหาจราจร
ใบสั่งจราจร
เงินรางวัลจราจร
ปัญหาจราจรติดขัด
กฎหมายจราจร ในชีวิตประจําวัน
เครื่องหมายจราจรและความหมาย
พรบ.จราจรทางบก


 

อัพเดทล่าสุด