รอบรู้เรื่อง การเลี้ยงกระต่าย วิธีการเลี้ยงกระต่าย อุปกรณ์การเลี้ยงกระต่าย คู่มือการเลี้ยงกระต่าย


8,492 ผู้ชม


การเลี้ยงกระต่าย วิธีการเลี้ยงกระต่าย อุปกรณ์การเลี้ยงกระต่าย คู่มือการเลี้ยงกระต่าย 

การเลี้ยงกระต่าย

กระต่ายตัวเล็กๆที่นอนอยู่ในกรงขนาดเดียวกับตัว แทบกระดิกไม่ได้ ถูกวางขายตามตลาดนัด,ริมถนน  95%ล้วนเป็นกระต่ายเด็กทั้งสิ้น ไม่มีคนซื้อก็ไม่มีคนขายนะคะ  
กระต่ายเด็ก  คืออะไร คือกระต่ายที่ยังไม่หย่านมแม่ ไม่ได้รับสารอาหารที่ต้องการ ร่างกายจึงยังไม่แข็งแรง กระต่ายที่โตถึงวัยที่เหมาะสมพอจะซื้อมาเลี้ยงต้องอายุ 1 เดือนครึ่งขึ้นไป 
แล้วคุณจะรู้ได้ยังไงล่ะ ว่ากระต่ายที่คุณกำลังจะจ่ายเงินซื้อนั้น อายุถึงแล้ว? เอาวางบนฝ่ามือของคุณถ้าเล็กกว่า+ตาปรือๆดูไม่มีแรง ก็คือยังอายุไม่ถึง  ทีนี้คนขายก็จะบอกกับคุณ (เพราะเค้าอยากจะขาย)ว่า " น้อง นี่มันกระต่ายแคระตัวก็เลยเล็กน่ะ โตกว่านี้อีกนิดเดียว รับรองตัวไม่ใหญ่ " 
หลายๆคนที่หลงเชื่อ ซื้อกลับไปก็จะพบว่า เลี้ยงๆไปตัวมันใหญ่กว่าแมวที่บ้านอีกเนี่ย ส่วนมากแล้วจะเป็นกระต่ายพันธุ์ไทยค่ะ โตมาตัวใหญ่ หูงี้ยาวเชียวแหละ
**กระต่ายแคระจริงๆมีค่ะแต่ไม่ได้ขายราคา80-150 หรอกนะคะ ราคาหลักพันค่ะคือ nd ( Netherland Dwarfs)

คนขายเชื่อไม่ได้  หลังจากโกหกอายุแล้ว เค้าจะบอกวิธีเลี้ยงส่งๆไป เช่น ให้อาหารเม็ดอย่างเดียวก็ได้ หรือถ้าอยากให้ผักก็ให้ได้หมดทุกอย่าง เลี้ยงง่ายค่ะ ขอบอกว่าไม่จริง 
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการเลี้ยงกระต่าย  
จับหูกระต่าย ขอบอกว่าถึงตายเชียวค่ะ หูของกระต่ายมีเส้นประสาทเยอะมาก การจับหูหิ้ว จะเจ็บ และถึงกับตายได้
อย่าจับท้อง จริงๆแล้วจับได้ค่ะ แต่พอประมาณนะ จับท้องน่ะเค้ารำคาญ ก็เหมือนคน เวลาใครมาจับท้องเรา เราจะจั๊กกะจี๋หรือรำคาญนิดๆใช่มั้ยล่ะคะ 
อย่าจับเค้าบ่อยๆ เดี๋ยวเฉามือ จับได้ค่ะ กระต่ายเค้าชอบให้เราลูบตัวเบาๆ บางตัวถึงกับเคลิ้มเลยนะคะ เอานิ้วเกาหลังคอเบาๆ เพราะส่วนนั้นเค้าเลียตัวเองไม่ค่อยถึงน่ะค่ะ 
ให้กินผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กระถิน แตงกวา กะหล่ำปลี ตายแน่ๆค่ะ ผักบุ้งทั้งไทยและจีนมียางค่ะ อย่าไปให้เค้าเลย, แตงกวา น้ำเยอะ ท้องเสียได้ , กระถิน มีพิษ ท้องร่วง , ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ท้องอืด 
ให้กระต่ายกินนม ถ้าซื้อมาจากร้านแล้วถึงจะยังไม่หย่านมแม่ แต่เค้าก็ถูกที่ร้านจับหย่านมแล้วค่ะ ห้ามให้นมอีกเด็ดขาด เพราะจุลินทรีย์ในการย่อยนมของเค้าหมดไปแล้ว ถ้าคุณให้นมเค้าจะท้องเสียนะคะ
ให้กินขนมของคน เช่น ป๊อกกี้ หมูปิ้ง ข้าวสุก ขนมปัง เค้ก ช็อกโกแลต ห้ามเด็ดขาดนะจ๊ะ
เนื่องจากเค้าเป็นสัตว์ที่มีกระเพาะหมัก ย่อยได้แต่หญ้าและผัก เนื้อสัตว์และแป้งเป็นของต้องห้าม (บางคนบอกว่ามันน่ารักดีกินขนม บางคนก็รู้ว่าไม่ดี แต่บอกว่าเห็นมาดมๆขอกินก็ใจอ่อนให้ แต่ให้ไม่เยอะหรอกนะ)
 จะมากจะน้อยก็ไม่เป็นผลดีกับเค้า คุณอาจบอกว่าให้แล้วก็อยู่ได้ไม่เห็นตายนี่ ถูกค่ะ ยังไม่ตาย แต่อายุก็คงไม่ยืน ถ้าอยากให้เค้าอยู่กับเรานานๆก็หยุดตามใจเค้าเถอะค่ะ กระต่ายเนี่ยส่งอะไรให้เค้าก็กินหมดแหละ
ให้อยู่แต่ในกรง ถ้าให้คุณอยู่แต่ในห้องนอนห้ามออกไปไหนจะอึดอัดมั้ยคะ เช่นกันค่ะ เค้าก็อยากออกมาวิ่งเล่นบ้าง เป็นการออกกำลังกายด้วยนะคะ 
ปล่อยวิ่งเล่นเป็นบางเวลาก็พอค่ะ เช่น กลับมาจากที่ทำงานแล้วค่อยปล่อยเค้า ก่อนคุณนอนก็ค่อยเก็บเข้ากรง เป็นต้น ทั้งนี้จัดสรรเวลาตามสะดวกนะคะ

นิสัยของกระต่าย 
กระต่ายก็คือกระต่าย ไม่ใช่หมาแมว จะให้เรียกแล้วมาหา ยากค่ะ เป็นบางตัวเท่านั้นแล้วแต่อารมณ์ของเค้าด้วยนะ
เนื่องด้วยวงจรชีวิตเค้าจะเป็นสัตว์ที่ถูกล่า ดังนั้นแม้ว่าจะป่วย เค้าก็จะไม่แสดงอาการให้เห็น เมื่อเจ้าของมารู้อีกทีก็จะเป็นมากแล้วหรือบางครั้งก็มักจะสายเกินไป 
ดังนั้นจึงควรพาเจ้าตัวน้อยไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญสัตว์เล็กนะคะ 
ชอบอยู่ในที่แคบๆและมุมมืด เพราะเค้ารู้สึกปลอดภัย 
กลางวันนิ่ง กลางคืนคึก เพราะกระต่ายเป็นสัตว์หากินกลางคืนค่ะ กลางคืนเค้าอาจจะซนหรือทำเสียงดัง ให้คุณหงุดหงิด อย่าโกรธเค้าเลยนะคะ ต้องเข้าใจว่าเป็นนิสัยเค้า เหมือนกับคนที่ตื่นเช้า หลับกลางคืนจ้า
กระต่ายเป็นสัตว์อายุยืน 4-10 ปีขึ้นไป ดังนั้นก่อนเลี้ยงต้องคิดให้ดี ถ้าคุณจะต้องย้ายอพาร์ทเม้นท์ หรือไปอยู่ต่างจังหวัด หรือในอนาคตต้องไปเรียนต่อต่างประเทศ เค้าจะต้องถูกทอดทิ้งซึ่งน่าสงสารมากๆเลยค่ะ
กระต่ายอาจจะออกลูกได้ถึง 1-14 ตัวขึ้นไปในครอกเดียว (กรณี 21 ตัวเคยเกิดมาแล้ว)และถ้ามีการผสมต่อหลังคลอดก็จะติดทันที ดังนั้นหากไม่ต้องการมีภาระเลี้ยงลูกกระต่าย ต้องพาไปทำหมันหรือแยกกันปล่อยวิ่งนะคะ
อึกระต่ายไม่เหม็น (ยกเว้นอึพวงองุ่นซึ่งกระต่ายจะกินเข้าไปใหม่อีกครั้ง กินจากก้นเลยค่ะ ที่อยู่ข้างนอกเก็บทิ้งได้เลยจ้า) ฉี่ถ้าทิ้งไว้นานฉุนเอาเรื่องค่ะ 
หมั่นทำความสะอาดก็จะไม่เหม็นนะคะ ตัวเค้าก็ไม่เหม็นค่ะ เพราะกระต่ายจะเลียทำความสะอาดตัวเองตลอด แต่ถ้าสถานที่เลี้ยงเค้าเหม็นเพราะคุณไม่หมั่นทำความสะอาด ตัวเค้าก็จะเหม็นแน่ๆค่ะ
การอาบน้ำกระต่าย สามารถทำได้ แต่ไม่บ่อยนะจ๊ะ 3-4 เดือนอาบสักที และต้องเป่าให้แห้งด้วยนะ เดี๋ยวจะเป็นหวัด

ต้อนรับสมาชิกใหม่    คุณต้องให้เวลาค่ะ การเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ เค้าต้องใช้เวลาในการปรับตัว อย่าไปยุ่ง ไปวิ่งไล่จับ ปล่อยเค้าสักพัก ทำเหมือนไม่มีเค้าอยู่  ปล่อยให้เค้าวิ่งเล่น สำรวจสถานที่ และเข้าหาเราเอง เมื่อเค้ามาดมๆ เกาะขาเรา ก็ค่อยๆลูบตัวเบาๆ คือรอให้เค้าไว้ใจเราก่อนน่ะค่ะ แล้วทีนี้ก็เริ่มทำความรู้จักกับเค้าได้เลยน้า 
**แนะนำว่าให้เค้าอยู่ในกรงก่อนสัก 1 อาทิตย์ แล้วค่อยปล่อยออกมา
อย่าเปลี่ยนอาหารกะทันหันเค้าอาจท้องเสียได้ ค่อยๆผสมอาหารเดิมกับอาหารใหม่ เพื่อให้ร่างกายเค้าค่อยๆปรับตัวนะคะ
ให้น้ำจากกระบอกดีกว่าใส่ถ้วย นอกจากจะหกง่ายแล้ว การเอาหน้าจุ่มกิน จะทำให้ปากและคอเปียกชื้น เสี่ยงต่อการเป็นหวัดและเชื้อราได้ค่ะ
หากเลี้ยงที่ระเบียง หามุ้งมาครอบกรงกันยุงและแมลงต่างๆ ระวังมดด้วยนะคะ ผิวหนังกระต่ายบอบบางมากค่ะ อย่าลืมทำที่กั้นเพื่อกันฝนด้วยละ 
ที่สำคัญกระต่ายเป็นนักกระโดดสูงกว่าที่เราคิดไว้  นำสิ่งของที่คิดว่าเค้าจะกระโดดขึ้นไปถึงระเบียงได้ออกด้วยค่ะ กรณีกระต่ายตกตึกมีมาแล้วหลายราย ส่วนมากไม่รอดค่ะ  ที่รอดชีวิตมาก็ขาหัก พิการตลอดชีวิต และอายุไม่ยืน
หมา แมว ศัตรูอันดับ 1 ของกระต่าย มีหลายรายอีกเช่นกันที่หมาแมวที่ตัวเองเลี้ยงไว้ กัดน้องกระต่ายตาย บางทีเค้าอาจจะเล่น แต่มันแรงไปสำหรับกระต่ายนะคะ แมวข้างบ้านก็เช่นกัน มาคาบไปต่อหน้าต่อตาเจ้าของ หายไปเลยค่ะ
มีหลายรายที่เลี้ยงกระต่ายรวมกับหมา แมวได้ ไม่มีปัญหา จริงค่ะ แต่ส่วนมากจะเลี้ยงกระต่ายก่อนแล้วค่อยเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นทีหลัง แต่ทั้งนี้ก็มีวิธีที่จะเลี้ยงรวมกันได้ ขึ้นอยู่กับนิสัยแต่ละตัว รวมถึงเจ้าของระมัดระวังและควบคุมสัตว์เลี้ยงด้วยค่ะ
เวลาเดินในบ้าน โปรดใช้ความระมัดระวังด้วยนะคะ เนื่องจากเค้าเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ในขณะที่ปล่อยวิ่งเล่น เราอาจจะเผลอเหยียบเค้าได้ เพราะเจ้ากระต่ายเนี่ยวิ่งเร็วมากนะคะ เผลอแปบเดียวมาอยู่ข้างหลังเราแล้ว
สายไฟ กล่องกระดาษ รายงาน ชีทต่างๆ ยางลบ หนังสติ๊ก เศษลวดเย็บกระดาษ และอื่นๆ เก็บให้หมดค่ะ ยกขึ้นไว้ที่สูงเลย สัตว์ฟันแทะเนี่ย เป็นธรรมชาติของเค้าค่ะ เจ้าของจะมาโกรธหรือหงุดหงิดไม่ได้นะคะ
 ย้ำค่ะว่าต้องเก็บให้หมด โดยเฉพาะสายไฟ ไฟดูดเค้าได้เลยนะคะ เดี๋ยวนี้มีปลอกพันสายไฟขายแล้วค่ะ แก้ปัญหาได้ง่ายๆเลยนะ ส่วนจุดที่ไม่สามารถ เช่นซอกหลังตู้เย็น เป็นต้น ใช้วิธีหาอะไรมาอุดค่ะ 
เค้ามีความสามารถมากๆนะคะ คนเลี้ยงก็ต้องตามอุดรูกันไปแหละ

วิธีการเลี้ยงกระต่าย

วิธีการเลี้ยงกระต่าย
วิธีการเลี้ยงกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับ การเลี้ยงกระต่ายและพัฒนาพันธุ์กระต่าย ถ้าเราอยากให้การเลี้ยงกระต่ายของเราสมบูรณ์แบบยิ่งๆขึ้นไป แข็งแรง น่ารัก และน่าเอ็นดู เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกระต่ายกันเสียก่อนว่า เจ้ากระต่ายน้อย
ชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรเป็นพิเศษ อะไรที่สามารถทานได้ แล้วอะไรที่ทานไม่ได้ เราถึงจะได้ดูแลเจ้ากระต่ายน้อยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาหารสำเร็จรูป หญ้า ผัก ผลไม้และน้ำ รวมถึงวิธีการให้อาหารด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้องรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับการเลี้ยงกระต่าย ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้กระต่ายมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ อาหารกระต่าย น้ำ
น้ำเป็นโภชนาการที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ต้องการเลี้ยงกระต่ายจะละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด ถ้าหากการเลี้ยงกระต่ายขาดน้ำกระต่ายจะไม่ยอมทานอาหารอะไรเลย จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็นนะครับ นอกจากนี้
อาทิตย์หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่าย
ได้รับวิตามินบางตัวที่ไม่มีในอาหาร ยกตัวอย่างเช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำสามารถช่วยลดอาการ เครียดและเป็นผลดีต่อแม่กระต่าย พันธุ์ที่ผสมติดต่อกันหลายครอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกระต่ายมากๆ
ของกระต่ายและโดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่ายนั้นมีคุณภาพที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อน ข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็น ช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ตาม ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดเมตาโบลิซึมของการสร้าง ขนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันก็เป็นไปได้
อาหารสำเร็จรูป
อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีสัดส่วนที่พอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ ของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีนอยู่ที่ 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ขายกันมากมายตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วนอย่างพอเหมาะอยู่ แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงก็ยังสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆ เพิ่มเติมอีกได้ด้วย โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่ เหมาะสมที่สุดสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับ อาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆ และเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอดอย่าให้ขาด เมื่อกระต่าย อายุมากขึ้น
การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่าง ยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการเลี้ยงกระต่ายคือการให้อาหารกระต่ายก็ คือ การให้อาหารมากจนเกินไป ถ้าเราให้อาหารเจ้ากระต่ายน้อยมากจนเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดย ตรงกับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็จงต้องจำกัดปริมาณอาหาร อย่างเคร่งครัด สูตรง่ายๆ ของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน
การเลี้ยงกระต่ายขนาดเล็กเล็ก เช่น โปลิช และดัทช์ ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
การเลี้ยงกระต่ายหูตกพันธุ์เล็ก เช่น ฮอลแลนด์ลอป และอเมริกันฟัซซี่ลอป ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
การเลี้ยงกระต่ายแคระ สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ให้ทาน 35 กรัมต่อมื้อ
หญ้าขน สำหรับการเลี้ยงกระต่าย
หญ้าขนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมโภชนาการของกระต่าย เพราะหญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดี ซึ่ง
ช่วยให้การเลี้ยงกระต่ายมีระบบการย่อยอาหารที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรมีหญ้าขนที่สดและสะอาดไว้ในกรงตลอด
เวลา หญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายกินควรจะทำความสะอาดเสียก่อน โดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้อย่างน้อยที่สุด
30 นาที ถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการมียาฆ่าแมลงตกค้างก็ควรจะเลี่ยงหรือ แช่ให้นานกว่านั้น เพราะ
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ไวต่อสิ่งมีพิษและอาจจะตายได้ในทันที นอกจากนี้หญ้าขนยังจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกระต่ายพันธุ์ขน
เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอาการขนพันกันแล้ว หญ้าขนยังมีส่วนช่วยในการงอกใหม่ของขนอีกด้วย
หญ้าขนให้ได้ อัลฟัลฟ่าและฟางไม่สมควรให้ อัลฟัลฟ่าเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม และกระตุ้นการกิน
อาหารของกระต่าย แต่ไม่ควรให้มากหรือบ่อยเกินไป เพราะอัลฟัลฟ่ามีโปรตีนสูง ซึ่งจะมีผลต่อไตของกระต่าย
อาจะทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะการเลี้ยงกระต่ายพันธุ์เล็ก โปรตีนที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อไตและ อวัยวะภายในอื่นๆ กระต่ายที่ได้รับโปรตีนสูงเกินไป อาจจะมีอาการชักกระตุก หายใจถี่ น้ำมูกไหล และตายอย่างเฉียบพลันได้ในที่สุด ฟางก็ไม่สมควรให้เป็นอาหารกระต่าย เพราะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆเลย
ผลไม้
การเลี้ยงกระต่ายสามารถทานผลไม้ได้บางชนิดเท่านั้น เช่น แอ็บเปิ้ล กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฝรั่ง ส้ม แครอท สับปะรด สำหรับผลไม้ที่มีน้ำเยอะๆ ยกตัวอย่างเช่น แตงโม แตงกวา ไม่สมควรให้เพราะอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ โดยเฉพาะ กล้วยน้ำว้าเหมาะสมสำหรับกระต่ายเล็กที่เพิ่งเริ่มหัดทานอาหารอื่น นอกจากนมแม่แล้ว อายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะว่ากล้วยน้ำว้ามีโปรตีน แคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของการเลี้ยงกระต่ายเด็ก มะละกอ
เป็นผลไม้ที่มีความจำเป็นสำหรับกระต่ายมากๆ เพราะว่าช่วยป้องกัน อาการเกิดก้อนขนไปอุดทางเดินอาหาร (Hair Ball) มะละกออบแห้ง เพียงชิ้นเล็กๆ ต่อวัน เป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน นอกจากนี้ น้ำสับปะรดยังช่วย บรรเทาอาการเกิดก้อนขน ด้วยเช่นกัน
ผักที่เหมาะกับการเลี้ยงกระต่าย
สำหรับผักที่เหมาะสำหรับกระต่าย มีหลายอย่างด้วยกันเช่น ใบกะเพรา (ป้องกันกระต่ายท้องอืด) ผักกาดหอม ถัวฝักยาว และผักบุ้งไทย ส่วนผักบุ้งจีนไม่สมควรให้เพราะว่ามียางเยอะเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ มีข้อสังเกต
ง่ายๆ ผักสีเขียวเข้มทานได้ ผักสีเขียวอ่อนควรหลีกเลี่ยง
อาหารเสริมที่เหมาะกับการเลี้ยงกระต่าย
อาหารเสริมที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงกระต่าย เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดทานตะวัน (ช่วยบำรุงขน) โดยเฉพาะข้าวเปลือก ซึ่งมีวิตามินบี เพื่อช่วยให้พ่อ พันธุ์สมบูรณ์พันธุ์ก่อนผสม
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ภาชนะที่ใส่อาหาร เช่น ภาชนะดินเผา กระเบื้องเคลือบหรือกล่องใส่อาหารอัตโนมัติ และ
กระบอกน้ำหรือถังจ่ายน้ำอัตโนมัติ ควรจะดูแลเรื่องความสะอาดอย่างดีและพิเศษที่สุดเท่าทีจะสามารถทำได้ ภาชนะควรทำความ สะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละสองสามครั้งเป็นอย่างต่ำ เพื่อล้างคราบสกปรกเช่นปัสสาวะและอุจจาระที่อาจจะกระเด็นหรือตกค้างอยู่ โดยส่วนตัวอยากแนะนำให้ใช้ภาชนะที่ทำความสะอาดและแห้งได้ง่าย เพื่อลดโอกาสที่กระต่ายจะเกิด อาการท้องเสีย จากเชื้อรากรณีที่ภาชนะไม่แห้งสนิทได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะต้องหมั่นสังเกตุกระบอกน้ำด้วย ว่า
กระต่ายสามารถเลียหรือดูดน้ำได้หรือไม่ โดยดูดจากปริมาณน้ำที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นจุกน้ำ
อัตโนมัติ ผู้ที่ทำการเลี้ยงกระต่ายต้องหมั่นสังเกตตลอดเวลา หากจุกน้ำรั่วหรืออุดตันก็อาจจะส่งผลเสียหรืออันตรายกับชีวิตน้อยๆ
เหล่านี้ ได้

อาหารของกระต่ายตามช่วงอายุ  
แรกเกิดถึง 1 เดือนครึ่ง - นมแม่กระต่าย (ถ้าแม่ไม่เลี้ยงหรือน้ำนมไม่พอให้ป้อนนมแพะแทน)
1 เดือนครึ่ง - 2 เดือน - นมแม่กระต่าย เสริมด้วยหญ้าแห้งแพงโกล่า อัลฟัลฟ่า และอาหารเม็ด
2 เดือน - 4 เดือน   - หญ้าแห้งแพงโกลา อัลฟัลฟ่า อาหารเม็ด
4 เดือน - 6 เดือน   - หญ้าแห้งแพงโกลา อัลฟัลฟ่า อาหารเม็ด หญ้าขน ผักต่างๆ
6 เดือน - 1 ปี   - หญ้าแห้งแพงโกลา หญ้าแห้งทิโมธี หญ้าขน ผักต่างๆ อาหารเม็ดลดน้อยลง งดอัลฟัลฟ่า
1 ปีขึ้นไป    - หญ้าแห้งแพงโกลา หญ้าแห้งทิโมธี หญ้าขน ผักต่างๆ อาหารเม็ดแค่หยิบมือเล็กๆหรืองดให้

อาหารของกระต่าย 
ผักที่ปลอดภัย - ผักกาดหอม ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า ผักชีฝรั่ง ใบบัวบก แครอท (กะเพราให้อาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 2-3 ใบ เพื่อช่วยเสริมในการแก้ท้องอืด)
ผักอันตราย - ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว กระถิน
ผลไม้ที่ปลอดภัย - แอปเปิล สาลี่ ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ สับปะรด และผลไม้ตระกูลเบอรี่ต่างๆ
ผลไม้อันตราย - กล้วย ส้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
การให้ผลไม้กระต่าย ควรให้สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 1-2 ชิ้นเล็กๆเท่านั้น 

อุปกรณ์การเลี้ยงกระต่าย

คู่มือการเลี้ยงกระต่าย


แนะวิธีเลี้ยงกระต่ายถูกวิธี เสริมมงคลรับปีเถาะ "ไม่ใช่แค่เลี้ยงง่าย แต่ต้องดูแลให้ดีที่สุด" (โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน)
            ปีนี้เป็น "ปีกระต่ายทอง" ปีมงคลที่คนจำนวนไม่น้อยนิยมมอบกระต่ายเป็นของฝากแก่กัน หลายคนเชื่อว่าจะเป็นสัตว์นำโชคและสามารถเสริมดวงเรื่องโชคลาภ ความรัก ความร่ำรวยได้ ทำให้แหล่งขายกระต่ายแทบทุกแห่งในปีนี้ยอดรายได้ทะยานลิ่วอย่างไม่น่าเชื่อ...
            สำหรับมือใหม่ที่อยากเลี้ยงกระต่าย อย่าคิดเพียงว่าเป็นแค่สัตว์เล็กที่เลี้ยงง่ายเท่านั้น ก่อนนำมาเลี้ยงควรพิจารณาหลายสิ่งหลายอย่างประกอบด้วย เพราะกระต่ายต้องการการดูแลอย่างถูกวิธี อีกทั้งเรื่องความรับผิดชอบต่อชีวิตสัตว์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากทำให้เขาต้องจากโลกนี้ไปก่อนวัยอันควร หรือเบื่อแล้วปล่อยทิ้งขว้างไม่ไยดี คงไม่ใช่เป็นการเสริมดวงแต่จะสร้างบาปกรรมให้กับผู้เลี้ยงมากกว่า....
            วันนี้ สัตวแพทย์หญิง ลลนา เอกธรรมสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการสัตว์เลี้ยงพิเศษ (Exotic Pet) โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูกระต่ายอย่างถูกวิธีมาฝากว่า "นอกจากสุนัขและแมวแล้ว กระต่ายถือเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมอันดับต้น ๆ ที่คนสนใจ สังเกตได้ว่ากลุ่มของคนเลี้ยงกระต่ายมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน และรู้สึกดีที่เห็นคนหันมาเลี้ยงกระต่ายมากขึ้น ความจริงแล้วธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้อายุไม่ยืนนัก อายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5-10 ปี กระต่ายเป็นสัตว์ที่ไม่ได้เลี้ยงยาก เลี้ยงได้เหมือนสัตว์เลี้ยงทั่วไป เพียงแต่ต้องทราบว่าเขาต้องการอาหารและสิ่งแวดล้อมแบบไหนที่เหมาะสม"
            "ธรรมชาติของกระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แพร่พันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว ออกลูกครอกหนึ่งประมาณ 6-10 ตัว ถ้าไม่ต้องการเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์ก็ควรทำหมันเสีย ไม่เช่นนั้นภายในหนึ่งปีจะมีจำนวนมากทีเดียว กระต่ายเป็นสัตว์สุภาพ ชอบอยู่เงียบ ๆ เป็นฝูง อาหารส่วนใหญ่จะเป็นหญ้าและอาหารเม็ด 



            การเลี้ยงควรให้หญ้าสดและหญ้าแห้งเป็นอาหารหลัก เสริมผักและผลไม้เล็กน้อย การให้หญ้ามีประโยชน์กับกระต่ายมาก เพราะส่งผลต่อสุขภาพและการขับถ่าย ช่วยในการลับฟันตลอดจนป้องกันปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับฟัน นอกจากนี้ในฤดูฝนและหนาวกระต่ายจะเป็นหวัดและปอดบวมง่าย มีปัญหาเรื่องผิวหนัง ความอับชื้นและเชื้อรา ส่วนฤดูร้อนจะมีปัญหาเรื่อง Heat Stroke หรือการช็อคจากความร้อน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรเอาใจใส่และดูแลเขาเป็นพิเศษในฤดูกาลต่าง ๆ "
            สัตวแพทย์สาว ยังกล่าวต่อด้วยว่า  ผู้เลี้ยงทั่วไปมักคิดว่ากระต่ายเป็นสัตว์ที่ตายง่าย แค่ตกใจก็ตายแล้ว ความจริงก็ไม่ถึงขนาดนั้น แล้วแต่ตัวมากกว่า เคยมีกระต่ายหลายตัวที่มารับการรักษาทำแผลซึ่งเจ็บมาก แต่ก็ถึงกับไม่ช็อคตาย คงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และลักษณะของภูมิอากาศ ณ จุด ๆ นั้นด้วย เพราะส่วนใหญ่กระต่ายจะช็อคได้ถ้าร้อนมาก ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าอาการช็อคหรือตกใจง่ายจนตายจะเป็นกับกระต่ายทุกตัวเสมอไป
            "อีกอย่างการหิ้วหูกระต่ายเป็นสิ่งไม่ควรทำ เพราะบริเวณหูมีเส้นเลือดเยอะมาก หากไปหิ้วหูจะทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้นฉีกขาด หูจะช้ำ การจับที่ถูกต้องคือให้จับบริเวณหนังด้านท้ายทอยและช้อนก้นเพื่อช่วยรองรับน้ำหนัก ส่วนสถานที่เลี้ยงต้องไม่ร้อนจัด ไม่ชื้นแฉะ ลมไม่พัดแรง มีอากาศถ่ายเทสะดวก กรงต้องสะอาดและการให้อาหาร การเปลี่ยนน้ำต้องสะอาดเสมอ สิ่งสำคัญควรปล่อยให้กระต่ายได้วิ่งเล่นออกกำลังกายบ้าง จะทำให้เขามีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสและไม่เหงาเกินไป"
            นอกจากนี้ การเลี้ยงกระต่ายควรต้องระวังโรคด้วย เพราะจะมีโรคทั้งที่คนติดจากสัตว์และโรคที่สัตว์เป็นแล้วไม่ติดคน  สำหรับโรคที่พบในกระต่ายส่วนใหญ่ จะมีโรคท้องเสียจากเชื้อบิด ซึ่งจะทำให้หูแดงคัน หรือบิดเบี้ยว โรคติดเชื้อราบริเวณฟันของกระต่าย ฯลฯ สำหรับคนก็สามารถเป็นภูมิแพ้ เช่นแพ้ขนกระต่าย เป็นต้น กรณีที่เลี้ยงกระต่ายร่วมกับสุนัขและแมวควรนำมาฉีดวีคซีนป้องกันพิษสุนขบ้าด้วย ซึ่งการฉีดวัคซีนสามารถทำได้เมื่อกระต่ายอายุ 4 เดือนขึ้นไป หากในบ้านมีเด็กและใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ



            ปัจจุบันกระต่ายมีหลากหลายพันธุ์ให้เลือก การที่จะตัดสินใจเลี้ยงกระต่ายสักตัว ควรเข้าใจถึงธรรมชาติของเขา ศึกษาถึงการดำรงชีวิตและลักษณะและนิสัยของพันธุ์นั้นด้วยว่าเป็นอย่างไร โดยทำความรู้จักให้ดีก่อนรับมันเข้าบ้าน ส่วนการเลือกซื้อกระต่ายควรเลือกเมื่ออายุประมาณหนึ่งเดือนครึ่งขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่หย่านมและเริ่มกินอาหารปกติได้แล้ว จะช่วยลดปัญหาเรื่องเลี้ยงกระต่ายเด็กเกินไปแล้วเสียชีวิต ลักษณะกระต่ายที่ดีคือต้องแจ่มใส ตาไม่ขุ่น ไม่มีขี้ตา ไม่มีน้ำมูก ดูก้นว่าสะอาดไม่เลอะเทอะ ตามตัวไม่มีบาดแผล สะเก็ดหรือขนร่วง อาการขาแป  ฯลฯ เป็นต้น
            สัตวแพทย์ลลนา ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ให้ผู้เลี้ยงควรสังเกตกระต่ายเป็นประจำด้วยว่ามีอาการป่วยเกิดขึ้นหรือไม่ เช่นไม่ดื่มน้ำ ไม่กินอาหาร ขนร่วง ซึม เป็นแผล มีขี้มูกขี้ตา  บางตัวอาจเป็นไรในหู คือขี้หูรวมตัวเป็นแผ่นหนา ซึ่งกระต่ายจะคันมาก หรือในกรณีที่กระต่ายเป็นตาฝ้า ลูกตามีหนองอยู่ข้างใน หรือมีน้ำตาไหล อาจเกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ ขนทิ่มตา ท่อน้ำตาตัน ฝุ่นผงควัน ฯลฯ ก็ไม่ควรปล่อยไว้ควรพามาให้สัตวแพทย์ตรวจหาความผิดปกติเพื่อรักษาได้ทันการณ์
            "กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่อง ไร้เดียงสาและน่ารัก ส่วนใหญ่มีชีวิตที่น่าเศร้าเพราะอยู่ในป่ามักเป็นผู้ถูกล่า หรือไม่ก็เป็นสัตว์ทดลองในห้องแล็ป วันนี้กระต่ายอาจกลายเป็นสัตว์นำโชคของมนุษย์โดยไม่รู้ตัว หากเลี้ยงเพื่อเสริมดวงก็ควรดูแลเอาใจใส่เขาอย่างดีที่สุด ทำให้เขามีความสุข ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อเขาจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ"  สัตวแพทย์สาว กล่าวสรุป
รอบรู้เรื่อง การเลี้ยงกระต่าย	วิธีการเลี้ยงกระต่าย	อุปกรณ์การเลี้ยงกระต่าย	คู่มือการเลี้ยงกระต่าย สิ่งที่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย
            1.ดูแลและสังเกตเป็นประจำ ถ้าเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อยต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์
            2.ให้สัมผัสอย่างเบามือ
            3.ทำความความสะอาดบริเวณกรงอย่างสม่ำเสมอ
            4.ควรให้อาหารที่เหมาะสม
            5.ควรให้ถ่ายพยาธิหรือตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง
รอบรู้เรื่อง การเลี้ยงกระต่าย	วิธีการเลี้ยงกระต่าย	อุปกรณ์การเลี้ยงกระต่าย	คู่มือการเลี้ยงกระต่าย สิ่งที่ไม่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย
            1.อย่าหิ้วหูกระต่ายเด็ดขาด
            2.อย่าให้อาหารประเภทขนมที่เป็นแป้ง คาร์โบไฮเดรต เพราะจะเกิดผลเสียกับเขา  
            3.อย่าเลี้ยงกระต่ายเป็นแฟชั่น ให้เลี้ยงเพราะว่าอยากจะเลี้ยง 
            4.อย่าอาบน้ำให้กระต่ายบ่อยเกินไป ประมาณ  3-4 เดือน/ครั้งก็พอ
            5.หากที่บ้านมีแมว ไม่ควรเอาห้องน้ำแมวที่มีสารดับกลิ่นมาใช้กับกระต่าย ควรใช้ขี้เลื่อยหรือหนังสือพิมพ์แทน

การเลือกซื้อกระต่าย
การเลี้ยงกระต่ายเพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย ปัจจัยแรกคือ การเลือกซื้อกระต่ายที่จะนำมาเลี้ยง ส่วนใหญ่มักหาซื้อจากตำแหน่งต่างๆซึ่งมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอๆก็คือผู้ที่เริ่มเลี้ยงกระต่ายยังขาดหลักการและประสบ การณืในการเลือกซื้อกระต่าย ทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อกระต่ายที่ดีตามความต้องการได้
ดังนั้นในขั้นแรกจึงควรจะทราบรายละเอียดและทำความเข้าใจในหลักการเลือกซื้อ กระต่ายเสียก่อน การเลือกซื้อกระต่ายควรมีหลักการพิจารณา ดังนี้
   1. เลือกพันธุ์ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง เช่นเมื่อต้องการเลี้ยงกระต่ายเนื้อก็ควรเลืกพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์หรือแคลิ ฟอร์เนีย ถ้าต้องการเลี้ยงเพื่อเอาขนควรเลือกพันธุ์แองโกร่า แต่ถ้าต้องการเลี้ยงไว้ดูเล่นควรเป็นกระต่ายที่สวยงาม เช่น พันธุ์เซเบิล ( Sable )   2. รูปร่างลักษณะของกระต่าย ถ้าเป็นพันธุ์แท้ต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์กระต่ายตัวเมีย ควรมีเต้านมอย่างน้อย 8 เต้า มีอวัยวะเพศภายนอกปกติ กระต่ายตัวผู้ควรมีอัณฑะเต็มทั้ง 2 ข้าง และไม่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์   3. สุขภาพ กระต่ายจะต้องมีสุขภาพดี ท่าทางตื่นตัว ไม่หงอยเหงา หรือเซื่องซึม ไม่มีโรคของระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และโรคของผิวหนังรวมทั้งไร ขี้เรื้อนต่างๆ   4. ประวัติ ควรซื้อจากแหล่งที่มีประวัติการเลี้ยงดี กระต่ายเติบโตเร็วและไม่มีโรค   5. อายุ ควรเป็นกระต่ายที่หย่านมแล้ว มีอายุเกิน 6 สัปดาห์ เพราะกระต่ายมีอายุน้อยกว่านี้จะอ่อนแอและมีความต้านทานโรคต่ำ
หลังจากเลือกซื้อกระต่ายได้แล้ว การขนย้ายกระต่ายเพื่อนำไปเลี้ยงจำเป็นจะต้องทำอย่างระมัดระวังและรวดเร็ว ในขณะที่อากาศยังไม่ร้อนในช่วงเช้าๆ หรือตอนเย็น หรือกลางคืน พยายามอย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง และมีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้กระต่ายเครียดเกินไป
ช่วงที่นำกระต่ายมาเลี้ยงใหม่ๆ ควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะกระต่ายมักจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ควรที่จะผสมวิตามินในน้ำให้กระต่ายกินประมาณ 3-5 วัน ถ้ามีการนำกระต่ายใหม่มาเลี้ยงก่อนที่จะนำมาเลี้ยงรวมกัน ควรทำการกักโรคประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่ากระต่ายที่ซื้อมาใหม่จะไม่นำโรคเข้ามา
พันธุ์กระต่ายกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ ดังนี้
    * พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ ( Newzealand White ) เป็นกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด มีขนสีขาวตลอดตัว ตาสีแดงหน้าสั้น มีสะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง ส่วนหลังและสีข้างใหญ่มีเนื้อเต็ม ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 4.1-5.0 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5-5.5 กิโลกรัม    * พันธุ์แคลิฟอร์เนีย ( Californian ) มีขนสีขาวตลอดตัวยกเว้นที่บริเวณใบหู จมูก ปลายเท้าและปลายหางจะมีสีดำ ลำตัวท้วมหนา สะโพกกลม ช่วงไหล่และช่วงท้ายใหญ่ ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.0-5.0 กิโลกรัม    * พันธุ์แองโกร่า ( Angora ) เลี้ยงกันมากทางภาคเหนือ มีขนฟูยาว ขนสีขาว สีดำหรือสีอื่นๆ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 2.4-3.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.5-3.8 กิโลกรัม    * พันธุ์พื้นเมือง มีหลายสีเช่น สีเทา ขาว น้ำตาล ฯลฯ ตาสีดำ หน้าแหลม เลี้ยงลูกเก่ง ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม ปัจจุบันมีการผสมข้ามพันธุ์กับกระต่ายพันธุ์อื่น จนหากระต่ายพื้นเมืองแท้ได้ยาก
โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง
   1. โรงเรือน ลักษณะของโรงเรือนที่ดีควรตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกกับตะวันตก มีลวดตาข่ายล้อมรอบเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์ ซึ่งจะทำอันตรายและนำโรคมาสู่กระต่าย หลังคาของโรงเรือนจะต้องกันแดดและฝนได้ดี พื้นภายในโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อไม่ให้เปียกชื้นและทำความสะอาดได้ง่าย กรณีที่ผู้เลี้ยงมีพื้นที่ในบ้านมากพอสมควร และกระต่ายที่เลี้ยงมีจำนวนไม่มากนัก ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือน   2. กรง ขนาดของกรงจะขึ้นอยู่กับจำนวนกระต่าย ถ้าเป็นกรงเดี่ยวควรมีขนาดกว้าง 50 - 60 เซนติเมตร ยาว 60 - 90 เซนติเมตร สูง 45 - 60 เซนติเมตร ถ้าต้องการเลี้ยงกระต่ายหลายตัวอาจทำเป็นกรงตับและซ้อนกัน 2 - 3 ชั้น หรือถ้าจะขังหลายๆตัวรวมกัน กรงที่ใช้จะต้องใหญ่พอที่กระต่ายจะอยู่ด้วยกันได้โดยไม่หนาแน่นเกินไป วัสดุที่ใช้ทำกรงอาจใช้ไม้ระแนง หรือลวดตาข่ายที่มีช่องกว้างประมาณ ? - ? นิ้ว ถ้าเป็นกรงสำหรับแม่กระต่ายเลี้ยงลูก ลวดตาข่ายที่ใช้บุพื้น ควรมีช่องขนาด ? นิ้ว เพื่อป้องกันขาของลูกกระต่ายติดในร่องของลวด ถ้าเลี้ยงกระต่ายไม่กี่ตัว อาจซื้อกรงสำเร็จรูปที่มีขายตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ทั่วไป แต่ต้องไม่ลืมว่ากรงที่ใช้จะต้องมีขนาดใหญ่พอที่กระต่ายจะอยู่ได้อย่างสบาย และต้องแข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน   3. อุปกรณ์ การให้อาหาร ควรใช้ถ้วยดินเผาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และมีน้ำหนักมากพอที่กระต่ายจะไม่สามารถทำล้มได้ อาจใช้กล่องใส่อาหารที่ทำด้วยอลูมิเนียมเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปครึ่งวงกลมผูกแขวนติดข้างกรง ถ้าเป็นกระต่ายขุนอาจใช้กล่องอาหารอัตโนมัติเพื่อที่กระต่ายจะได้กินอาหาร ตลอดทั้งวัน   4. อุปกรณ์ การให้น้ำ มีหลายแบบด้วยกัน เช่น ดินเผาใส่น้ำ แต่มีข้อเสียคือ กระต่ายอาจถ่ายมูลหรือปัสสาวะลงในถ้วยทำให้สกปรกได้ หรืออาจใช้ขวดอุดด้วยจุกยาง ซึ่งมีรูสำหรับสอดท่อทองแดง วิธีใช้ให้นำขวดไปเติมน้ำจนเกือบเต็มขวดแล้วคว่ำขวดแขวนที่ข้างกรงกระต่าย ให้ปลายท่อทองแดงสูงระดับที่กระต่ายกินน้ำได้สะดวก ควรตัดท่อทองแดงให้โค้งพอเหมาะ น้ำจึงจะไหลได้ดีถ้าเลี้ยงกระต่ายเป็นจำนวนมากๆอาจใช้อุปกรณ์ให้น้ำแบบ อัตโนมัติก็ได้ เพื่อประหยัดแรงงานและอุปกรณ์ แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง   5. รังคลอด ควรมีขนาดกว้างพอที่แม่กระต่ายและลูกกระต่ายอยู่ได้อย่างสบาย โดยทั่วไปรังคลอดควรมีขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 40 เซนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร พื้นรังคลอดบุด้วยลวดตาข่ายขนาด ? นิ้ว หรือใช้ไม้ตีปิดพื้นให้ทึบ ปูพื้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
การทำความสะอาดโรงเรือนและกรงควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง เพื่อลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากมูลกระต่าย ส่วนภาชนะใส่น้ำและอาหารควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
อาหารกระต่าย
อาหาร มีความสำคัญต่อการเลี้ยงกระต่ายอย่างยิ่งเพราะต้นทุนในการเลี้ยงกระต่าย มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้เป็นค่าอาหาร การที่จะเลี้ยงกระต่ายให้เติบโตเร็ว มีสุขภาพดีและให้ผลผลิตสูงจำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของกระต่ายอาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
   1. อาหารหยาบ ( Roughage ) หมายถึง อาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยื่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไปแล้วเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืชตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วซีราโต ถั่วไกลซีน ถั่เทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้นพืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้ อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ควรหั่นเป็นท่อนๆได้ยาวพอควร   2. อาหารข้น ( Concentrate ) แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัยอาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลผลิตเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น ( Concentrates ) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารข้นนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ         1. อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คือ อาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล ( คาร์โบไฮเดรต ) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น และไขมันจากพืชหรือสัตว         2. อาหาร ที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น สำหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายไม่ได้เสริมด้วยอาหารข้นควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่าๆกัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามใจชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกในการกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย   3. อาหารสำเร็จรูป ( Complete feed ) เกิดจากการนำอาหารข้นและหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการเลี้ยงทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหารสำเร็จรูปในปริมาณมาก พอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จะเป็นอย่างเพียงพอ
การให้อาหารกระต่ายควรพิจารณาปริมาณที่ให้โดยให้พอดีกับความต้องการของกระต่ายซึ่งขึ้นอยู่กับ ระยะการเจริญเติบโตของกระต่าย น้ำหนักตัวและสภาพเฉพาะของกระต่ายแต่ละตัวด้วย
   1. กระต่ายตั้งท้อง ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15 % วันละ 4.5 % ของน้ำหนักตัว หรือให้ในปริมาณ 120 - 180 กรัมต่อวัน โดยเริ่มให้ตั้งแต่ตรวจพบว่าตั้งท้องหรือท้องประมาณ 15 วันจนถึงวันคลอด   2. กระต่ายเลี้ยงลูก ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 17 % วันละ 4.5 % ของน้ำหนักแม่รวมกับน้ำหนักลูก หรือให้ในปริมาณ 50 - 150 กรัมต่อวัน   3. กระต่ายหลังหย่านม ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 16 % วันละ 5 % ของน้ำหนักตัว หรือให้ในปริมาณ 50 -150 กรัมต่อวัน   4. พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15 % วันละ 3.5 - 4 % ของน้ำหนักตัว หรือให้ในปริมาณ 90 - 140 กรัมต่อวัน ปริมาณอาหารสำหรับพ่อและแม่พันธุ์ควรปรับตามสภาพร่างกาย เพื่อควบคุมไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้ผสมติดยาก
วิธีจับกระต่ายกระต่ายเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย ดังนั้นการจับกระต่ายจะต้องทำด้วยความนุ่มนวลและถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยของ ตัวกระต่ายและตัวผู้จับด้วย ไม่ควรจับกระต่ายโดยการหิ้วหูเพราะจะทำให้กระต่ายเจ็บปวด และอาจเป็นสาเหตุทำให้กระต่ายหูตกได้ การจับกระต่ายที่ถูกวิธีมีดังนี้
   1. ลูกกระต่าย ใช้มือที่ถนัดจับหนังบริเวณสะโพกให้มั่นคง แล้วยกขึ้นตรงๆ   2. กระต่าย ขนาดกลาง ใช้มือขวา ( หรือมือที่ถนัด ) จับหนังเหนือไหล่ให้มั่นคง อาจรวบหูมาด้วยก็ได้ มือซ้ายรองใต้ก้นให้ด้านหน้าของกระต่ายหันออกนอกตัวผู้จับ   3. กระต่าย ใหญ่ ใช้มือขวาจับแบบวิธีที่ 2 แล้วยกอ้อมขั้นมาทางซ้ายมือใช้แขนซ้ายหนีบให้แนบชิดลำตัว โดยใช้มือซ้ายช่วยประคองก้น ให้หน้ากระต่ายหันไปทางหลังของผู้จับและขากระต่ายชี้ออกนอกตัวผู้จับ
การดูเพศกระต่ายกระต่ายที่โตแล้วสามารถที่จะดูเพศได้อย่างชัดเจน โดยที่ตัวผู้จะเห็นลูกอัณฑะอยู่นอกช่องท้องชัดเจน และตัวเมียเห็นอวัยวะเพศอยู่ใต้ทวารหนัก แต่การดูเพศในลูกกระต่ายนั้นจะต้องอาศัยความชำนาญ ความแม่นยำทางสายตาและแสงสว่างที่เพียงพอ ลูกกระต่ายที่จะดูเพศได้อย่างชัดเจน ควรมีอายุเกิน 2 สัปดาห์
วิธีการ จับลูกกระต่ายนอนหงายในฝ่ามือ ใช้นิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือของอีกมือหนึ่งลูบ และกดเบาๆที่ข้างๆอวัยวะเพศ จะเห็นอวัยวะเพศอยู่เหนือทวารหนัก ถ้าเห็นเป็นแท่งกลมยื่นออกมาแสดงว่าเป็นตัวผู้ ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นรอยผ่ายาวจนเกือบถึงทวารหนัก
การขยายพันธุ์กระต่ายที่จะนำมาผสมพันธุ์ควรมีอายุอย่างน้อย 5 - 7 เดือน ขึ้นอยู่กับพันธุ์หรือมีน้ำหนักมากกว่า 2.5 กิโลกรัม อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์คือ 1 ต่อ 8 - 10 ตัวและพ่อพันธุ์หนึ่งตัวไม่ควรผสมเกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ กระต่ายตัวเมียจะมีรอบการเป็นสัตว์ประมาณ 16 วัน ควรผสมพันธุ์เมื่อตัวเมียเป็นสัตว์เต็มที่ โดยดูที่อวัยวะเพศ ซึ่งจะบวมแดง มีเมือกเยิ้ม และกระต่ายอาจแสดงอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องหรือใช้เท้าตบพื้นกรง ถ้าเลี้ยงไว้หลายตัวรวมกัน ตัวที่เป็นสัดอาจขึ้นขี่ตัวอื่น เมื่อตัวเมียเป็นสัดเต็มที่แล้วให้จับกระต่ายตัวเมียไปใส่ในกรงตัวผู้ ตัวเมียจะยกก้นให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์เสร็จแล้วตัวผู้จะตกจากหลังตัวเมีย และมักส่งเสียงร้องพร้อมกับใช้เท้าตบพื้นกรง
แม่กระต่ายจะตั้งท้องประมาร 29 - 35 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 31 วัน ในช่วงแรกของการตั้งท้อง ลูกกระตายจะโตขึ้นอย่างช้าๆ หลังจากวันที่ 15 ของการตั้งท้อง ลูกกระต่ายจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรให้อาหารที่มีคุณค่าสูง และเพิ่มปริมาณอาหารให้กับแม่กระต่าย เมื่อแม่กระต่ายตั้งท้องได้ 4 สัปดาห์ ให้จัดเตรียมรังคลอดที่ปูด้วยฟางหรือหญ้าแห้งใส่ในกรงก่อนคลอด 1 - 2 วัน แม่กระต่ายจะกัดขนปูรังคลอด และคาบวัสดุต่างๆที่เราจัดไว้ให้มาจักใส่รังคลอดใหม่ ส่วนใหญ่แล้วแม่กระต่ายจะคลอดในตอนเช้ามือ และให้ลูกครอกละ 5 - 12 ตัว ลูกกระต่ายแรกเกิดจะยังไม่มีขนขึ้น และยังไม่ลืมตา แม่กระต่ายจะให้ลูกกินนมในตอนเช้าวันละ 1 - 2 ครั้งๆละ 3 - 4 นาที เท่านั้น เมื่ออายุ 10 วันลูกกระต่ายจะลืมตา และมีขนขึ้นเต็มตัว พออายุประมาณ 15 วัน ลูกกระต่ายจะเริ่มออกจากรังคลอดและเริ่มกินหญ้าหรืออาหารแข็งได้ ลูกกระต่ายจะหย่านมเมื่ออายุประมาร 5 - 7 สัปดาห์
บางครั้งจะพบว่าแม่กระต่ายให้ลูกมากเกินไปทำให้ลูกกระต่ายในครอกนั้นเติบโต ช้า ผู้เลี้ยงจึงอาจนำลูกกระต่ายไปฝากแม่ตัวอื่นเลี้ยงได้ แม่กระต่ายที่จะนำไปฝากจะต้องคลอดห่างกันไม่เกิน 3 วัน และควรฝากเมื่อลูกกระต่ายมีอายุน้อยกว่า 5 วัน โดยนำกระต่ายที่จะฝากไปถูกับขนของแม่กระต่ายที่จะรับฝากเลี้ยงแล้วนำไปรวม กลุ่มกับลูกกระต่ายที่มีอยู่ก่อนแล้ว ในกรณีที่ไม่มีแม่กระต่ายให้ฝากเลี้ยงอาจนำลูกกระต่ายมาเลี้ยงเองก็ได้ โดยใช้อาหารแทนนมดังตารางที่ 3 ส่วนขวดนมก็อาจใช้หลอดฉีดขนาดเล็กหรือหลอดยาหยอดตา โดยที่ปลายของหลอดมีสายยางขนาดเล็กต่อสวมไว้ เพื่อให้ลูกกระต่ายดูดนมจากหลอดได้
การป้องกันและควบคุมโรค
   1. โรคกระต่าย เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงกระต่ายเสมอไม่ว่าจะเลี้ยง กระต่ายมากน้อยเท่าใด หรือมีการจัดการที่ดีเพียงใดก็ตาม การที่จะควบคุมโรคกระต่ายให้ได้ผลดี ควรเน้นที่การป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น และรักษาตั้งแต่กระต่ายเริ่มป่วยเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค และประหยัดค่ารักษา สาเหตุของโรคมีทั้งสาเหตุที่เกิดจากตัวกระต่ายเองและสาเหตุภายนอก ซึ่งสาเหตุต่างๆนั้นอาจจำแนกได้ดังนี้         1. สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ใกล้แหล่งเชื้อโรค มีพาหะของเชื้อโรคมาก อากาศที่ร้อนชื้อ การระบายอากาศที่ไม่ดี เป็นต้น         2. อาหารและน้ำที่ไม่เพียงพอหรือมีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษต่อกระต่าย         3. พันธุกรรม โรคหรือลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้เช่น ลักษณะฟันยื่น         4. เชื้อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว พยาธิ เห็บ หมัด เหา ไรเป็นสาเหตุที่เด่นชัดและพบได้เป็นประจำ   2. การป้องกันโรค ทำได้โดยพยายามลดสาเหตุของโรคให้เหลือน้อยที่สุด ได้แก่         1. เลือกซื้อกระต่ายที่แข็งแรงและปลอดโรคมาเลี้ยง         2. ดูแลกระต่ายให้อยู่สภาพที่สบาย สะอาด ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอ ไม่ร้อนเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก         3. หมั่น ตรวจและสังเกตลักษณะอาการของกระต่ายเป็นประจำ ถ้าพบกระต่ายป่วยควรแยกไปเลี้ยงในที่เฉพาะและทำการรักษาทันที ถ้าไม่สามารถรักษาได้ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ สำหรับกระต่ายตัวอื่นที่ยังไม่ได้ป่วยควรดูแลเป็นพิเศษ และทำความสะอาดโรงเรือนให้บ่อยขึ้น         4. ไม่ควรใช้ยาเอง ถ้าไม่มีความรุ้เพียงพอ ถ้าจะใช้ยาเองควรทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ และไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เชื้อโรคดื้อยา        
โรคกระต่าย
   1. พาสเจอร์เรลโลสิส ( Pasturellosis ) เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา ( Pasturella multocida ) ซึ่งทำให้กระต่ายป่วย และมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่เกิดติดเชื้อ ดังนี้         1. หวัด กระต่ายจะจามบ่อยๆมีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่ม และมีน้ำมูกติดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าเช็ดหน้าเช็ดจมูก         2. ปอด บวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมีโอกาสรอดเพียง 75% ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบสัตวแพทย์ทันที         3. ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื่องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85 %) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฏิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย         4. อัณฑะ อักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อจับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปที่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรตัดทิ้ง         5. มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทางอวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื่อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขนาดใหญ่ การรักษาทำได้ยากมากและกระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรตัดทิ้ง   2. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส ( Staphylococcosis ) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส ( Staphylococcus aureus ) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการ ดังนี้         1. ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝี ส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาดแล้วทาด้วยทิงเจอร์ ไอโอดีน         2. เต้า นมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านมจะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าไม่แน่ใจควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์         3. ข้อ อักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกงามเข้าสู่ข้อเท้า ทำให้ข้อเท้าบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะรักษาได้ยาก และอาจจะเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรง อย่าให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย   3. โรคบิด (Coccidiosis) เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac , E. irresdua , E. magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ อาการ ถ้าเป็นน้องจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่าย จะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้ การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา ( Sulfa ) หรือแอมโปรเลียม ( Amprolium )   4. โรคทิซเซอร์ (Tizzer's disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ แบซัลลัส ฟิลลิฟอร์มิส ( Bacillus pilliformis ) มักพบในกระต่ายที่มีอายุ 7 - 12 สัปดาห์มากที่สุด อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าซัยคลิน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน   5. โรคติดเชื้อ อี.โค ไล (Colibacillosis) เกิดจากการเพิ่มจำนวนเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ เพิ่มอาหารหยาบ   6. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia) เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตายอย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล   7. ไรในหู (ear manage or ear canker) เกิดจากไรพวกโซรอบเตส แคนิคุไล (Psoroptes caniculi) อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้นๆที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตดีๆจะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนอง และมีกลิ่นเหม็น การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( H2O2 ) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความสะอาดกรงและอุปกรณ์การ เลี้ยงเสมอๆ   8. ไรที่ผิวหนัง ( skin manage ) เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei , var. cuniculi , Notedes cati var. caniculi อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษาสัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู
เกร็ดความรู้
    * กระต่ายกินน้ำ ตายจริงหรือไม่ ? " ปกติแล้วกระต่ายเป็นสัตว์ที่มีความต้องการน้ำเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่นๆ ถ้ากระต่ายได้รับน้ำน้อยจะทำให้เจริญเติบโตช้า แต่การที่คนส่วนใหญ่เห็นว่ากระต่ายที่เลี้ยงกันนั้นไม่ได้ให้น้ำเลยให้แต่ ผักหญ้า ก็ยังเห็นกระต่ายเป็นปกติดี เนื่องจากว่าในผักและหญ้ามีน้ำอยู่เพียงพอแล้วที่มำให้กระต่ายสามารถมีชีวิต อยู่ได้ แต่ถ้าให้น้ำเพิ่มด้วยจะทำให้กระต่ายโตเร็วยิ่งขึ้น การที่กระต่ายกินน้ำแล้วตายอาจเนื่องมากจากภาชนะที่ใส่น้ำเป้นชามที่กระต่าย สามารถทำล้มได้ง่าย ทำให้น้ำหกเจิ่งนองพื้น ซึ่งจะทำให้กระต่ายเป็นหวัดหรือปอดบวม และมีโรคอื่นๆแทรกซ้อน จนทำให้ตายได้    * จับท้องกระต่ายจะทำให้กระต่ายตายจริงหรือไม่ ? " การจับกระต่ายที่ถูกวิธีและทำด้วยความนุ่มนวลโอกาสที่กระต่ายจะตายนั้นมี น้อยมาก แต่สัญชาติญาณของกระต่ายเมื่อโดนจับบริเวณท้องมันก็จะดิ้น คนที่จับไม่เป็นหรือไม่รู้โดยเฉพาะเด็กๆ เมื่อเห็นมันดิ้นก็จะยิ่งจับหรือบีบให้แน่นยิ่งขึ้น เพราะกลัวว่ากระต่ายจะหลุดจากมือ ทำให้อวัยวะภายในได้รับอันตรายจนกระทั่งกระต่ายช๊อคตายได้    * ทำไม กระต่ายสีขาวจึงมีตาสีแดง ? " การที่กระต่ายจะมีตาสีอะไรขึ้นกับเม็ดสี ( pigment ) ที่อยู่ในตา แต่ในกระต่ายสีขาว เช่น พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์หรือแคลลิฟอร์เนียน ไม่มีเม็ดสี ทำให้เห้นเส้นเลือดสีแดงในตาซึ่งจะสะท้อนให้เราเห้นตากระต่ายเป้นสีแดง ส่วนในกระต่ายพันธุ์พื้นเมืองนั้นมีตาสีดำ เนื่องจากมันมีเม็ดสีเป็นสีดำในตานั่นเอง    * กระต่าย เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนูใช่หรือไม่ ? " แต่ก่อนนักสัตววิทยาได้จัดให้กระต่ายอยู่ในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนู ต่อมาได้พบว่ากระต่ายกับหนูนั้นมีข้อแตกต่างกันที่กระต่ายมีฟันตัดหน้าบน 4 ซี่ ส่วนหนูมีเพียง 2 ซี่ ทำให้มีการจัดกลุ่มใหม่ โดยให้กระต่ายอยู่ในอันดับกระต่าย ( Order Lagomorpha ) และหนูจัดอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ ( Order Rodentia )    * ทำไม ช่วงที่อากาศร้อนจัดๆ กระต่ายถึงช๊อคตาย ? " เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ทำให้การระบายความร้อนเป็นไปได้ยาก ในช่วงที่อากาศร้อนๆ กระต่ายจะหายใจถี่ขึ้น โดยสังเกตที่จมูกจะสั่นเร็วขึ้น และมีการระบายความร้อนที่เส้นเลือดแดงใหญ่กลางหูมากขึ้น แต่ก็ยังระบายความร้อนไม่ทันทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงมากจนถึงขั้นทำให้ ช๊อคตายได้
ขอบคุณ   คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อัพเดทล่าสุด