การเลี้ยงกระต่ายแคระ ประโยชน์ของการเลี้ยงกระต่าย การเลี้ยงกระต่ายแรกเกิด


1,886 ผู้ชม


การเลี้ยงกระต่ายแคระ ประโยชน์ของการเลี้ยงกระต่าย การเลี้ยงกระต่ายแรกเกิด

การเลี้ยงกระต่ายแคระ

วิธีเลี้ยงกระต่ายแคระ เลี้ยงกระต่ายแคระ วิธีเลี้ยงกระต่ายแคระ


การเลี้ยงกระต่ายแคระ	ประโยชน์ของการเลี้ยงกระต่าย	การเลี้ยงกระต่ายแรกเกิด

วิธีการเลี้ยงกระต่าย วิธีการเลี้ยงกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่างหนึ่งสำหรับ การเลี้ยงกระต่ายและ พัฒนาพันธุ์กระต่าย ถ้าเราอยากให้การ เลี้ยงกระต่ายของเราสมบูรณ์แบบยิ่งๆขึ้นไป แข็งแรง น่ารัก และน่าเอ็นดู เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกระต่ายกันเสียก่อนว่า เจ้ากระต่ายน้อย
ชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรเป็นพิเศษ อะไรที่สามารถทานได้ แล้วอะไรที่ทานไม่ได้ เราถึงจะได้ดูแลเจ้ากระต่ายน้อยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาหารสำเร็จรูป หญ้า ผัก ผลไม้และน้ำ รวมถึงวิธีการให้อาหารด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้องรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับการเลี้ยงกระต่าย ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้กระต่ายมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ อาหารกระต่าย น้ำ
น้ำเป็นโภชนาการที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ต้องการเลี้ยงกระต่ายจะละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด ถ้าหากการเลี้ยงกระต่ายขาดน้ำกระต่ายจะไม่ยอม ทานอาหารอะไรเลย จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็นนะครับ นอกจากนี้
อาทิตย์ หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่าย
ได้รับวิตามินบางตัวที่ไม่มีในอาหาร ยกตัวอย่างเช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำสามารถช่วยลดอาการ เครียดและเป็นผลดีต่อแม่กระต่าย พันธุ์ที่ผสมติดต่อกันหลายครอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกระต่ายมากๆ
ของกระต่ายและ โดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่ายนั้นมีคุณภาพที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อน ข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็น ช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ตาม ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดเมตาโบลิซึมของการสร้าง ขนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันก็เป็นไปได้

อาหารสำเร็จรูป
อาหาร เม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีสัดส่วนที่พอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ ของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีนอยู่ที่ 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ขายกันมากมายตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วน อย่างพอเหมาะอยู่ แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงก็ยังสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆ เพิ่มเติมอีกได้ด้วย โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่ เหมาะสมที่สุดสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับ อาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆ และเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอดอย่าให้ขาด เมื่อกระต่าย อายุมากขึ้น
การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ จำเป็นอย่าง ยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการ เลี้ยงกระต่ายคือการให้อาหารกระต่ายก็ คือ การให้อาหารมากจนเกินไป ถ้าเราให้อาหารเจ้ากระต่ายน้อยมากจนเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดย ตรงกับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็จงต้องจำกัดปริมาณอาหาร อย่างเคร่งครัด สูตรง่ายๆ ของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน
* การเลี้ยงกระต่ายขนาดเล็กเล็ก เช่น โปลิช และดัทช์ ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
* การเลี้ยงกระต่ายหู ตกพันธุ์เล็ก เช่น ฮอลแลนด์ลอป และอเมริกันฟัซซี่ลอป ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
* การเลี้ยงกระต่ายแคระ สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ให้ทาน 35 กรัมต่อมื้อ

หญ้าขน สำหรับการเลี้ยงกระต่าย
หญ้าขนเป็นสิ่งจำ เป็นสำหรับการควบคุมโภชนาการของกระต่าย เพราะหญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดี ซึ่ง
ช่วยให้การเลี้ยงกระต่ายมี ระบบการย่อยอาหารที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรมีหญ้าขนที่สดและสะอาดไว้ในกรงตลอด
เวลา หญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายกินควรจะทำความสะอาดเสียก่อน โดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้อย่างน้อยที่สุด
30 นาที ถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการมียาฆ่าแมลงตกค้างก็ควรจะเลี่ยงหรือ แช่ให้นานกว่านั้น เพราะ
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ไวต่อสิ่งมีพิษและอาจจะตาย ได้ในทันที นอกจากนี้หญ้าขนยังจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกระต่ายพันธุ์ขน
เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอาการ ขนพันกันแล้ว หญ้าขนยังมีส่วนช่วยในการงอกใหม่ของขนอีกด้วย
หญ้าขนให้ได้ อัลฟัลฟ่าและฟางไม่สมควรให้ อัลฟัลฟ่าเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม และกระตุ้นการกิน
อาหารของกระต่าย แต่ไม่ควรให้มากหรือบ่อยเกินไป เพราะอัลฟัลฟ่ามีโปรตีนสูง ซึ่งจะมีผลต่อไตของกระต่าย
อาจะทำให้เกิด อาการไตวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะการเลี้ยง กระต่ายพันธุ์เล็ก โปรตีนที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อไตและ อวัยวะภายในอื่นๆ กระต่ายที่ได้รับโปรตีนสูงเกินไป อาจจะมีอาการชักกระตุก หายใจถี่ น้ำมูกไหล และตายอย่างเฉียบพลันได้ในที่สุด ฟางก็ไม่สมควรให้เป็นอาหารกระต่าย เพราะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆเลย

ผลไม้
การเลี้ยงกระต่ายสามารถทานผลไม้ได้บางชนิดเท่านั้น เช่น แอ็บเปิ้ล กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฝรั่ง ส้ม แครอท สับปะรด สำหรับผลไม้ที่มีน้ำเยอะๆ ยกตัวอย่างเช่น แตงโม แตงกวา ไม่สมควรให้เพราะอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ โดยเฉพาะ กล้วยน้ำว้าเหมาะสมสำหรับกระต่ายเล็กที่เพิ่งเริ่มหัดทานอาหารอื่น นอกจากนมแม่แล้ว อายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะว่ากล้วยน้ำว้ามีโปรตีน แคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของการเลี้ยงกระต่ายเด็ก มะละกอ
เป็นผล ไม้ที่มีความจำเป็นสำหรับกระต่ายมากๆ เพราะว่าช่วยป้องกัน อาการเกิดก้อนขนไปอุดทางเดินอาหาร (Hair Ball) มะละกออบแห้ง เพียงชิ้นเล็กๆ ต่อวัน เป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน นอกจากนี้ น้ำสับปะรดยังช่วย บรรเทาอาการเกิดก้อนขน ด้วยเช่นกัน

ผักที่เหมาะ กับการเลี้ยงกระต่าย
สำหรับผัก ที่เหมาะสำหรับกระต่าย มีหลายอย่างด้วยกันเช่น ใบกะเพรา (ป้องกันกระต่ายท้องอืด) ผักกาดหอม ถัวฝักยาว และผักบุ้งไทย ส่วนผักบุ้งจีนไม่สมควรให้เพราะว่ามียางเยอะเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ มีข้อสังเกต
ง่ายๆ ผักสีเขียวเข้มทานได้ ผักสีเขียวอ่อนควรหลีกเลี่ยง

อาหารเสริมที่ เหมาะกับการเลี้ยงกระต่าย
อาหาร เสริมที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงกระต่าย เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดทานตะวัน (ช่วยบำรุงขน) โดยเฉพาะข้าวเปลือก ซึ่งมีวิตามินบี เพื่อช่วยให้พ่อ พันธุ์สมบูรณ์พันธุ์ก่อนผสม
สุดท้ายแต่ ไม่ท้ายสุด ภาชนะที่ใส่อาหาร เช่น ภาชนะดินเผา กระเบื้องเคลือบหรือกล่องใส่อาหารอัตโนมัติ และ
กระบอกน้ำหรือถังจ่ายน้ำ อัตโนมัติ ควรจะดูแลเรื่องความสะอาดอย่างดีและพิเศษที่สุดเท่าทีจะสามารถทำได้ ภาชนะควรทำความ สะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละสองสามครั้งเป็นอย่างต่ำ เพื่อล้างคราบสกปรกเช่นปัสสาวะและอุจจาระที่อาจจะกระเด็นหรือตกค้างอยู่ โดยส่วนตัวอยากแนะนำให้ใช้ภาชนะที่ทำความสะอาดและแห้งได้ง่าย เพื่อลดโอกาสที่กระต่ายจะเกิด อาการท้องเสีย จากเชื้อรากรณีที่ภาชนะไม่แห้งสนิทได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะต้องหมั่นสังเกตุกระบอกน้ำด้วย ว่า
กระต่าย สามารถเลียหรือดูดน้ำได้หรือไม่ โดยดูดจากปริมาณน้ำที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นจุกน้ำ
อัตโนมัติ ผู้ที่ทำการเลี้ยงกระต่ายต้องหมั่นสังเกตตลอด เวลา หากจุกน้ำรั่วหรืออุดตันก็อาจจะส่งผลเสียหรืออันตรายกับชีวิตน้อยๆ
เหล่า นี้ ได้

 ประโยชน์ของการเลี้ยงกระต่าย

เลี้ยงกระต่ายหลังบ้านทำเงิน - ทิศทางเกษตร

กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จในการศึกษาวิธีการเลี้ยงกระต่ายเพื่อให้ผลตอบ แทนดีและสามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่ที่ไม่มากนักเช่นหลังบ้าน

กระต่ายเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ที่กินหญ้า ผักผลไม้ได้หลายชนิด ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงไม่มาก ให้ผลผลิตเร็ว อาจจะเลี้ยงเป็นเพื่อนเล่น หรือขุนขายก็ได้ ประโยชน์ในการเลี้ยงกระต่ายมีหลายอย่างด้วยกัน อาทิให้ความเพลิดเพลินเป็นประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นอาชีพเสริมสำหรับเกษตรกร เพราะขายลูกได้ ขาย     เนื้อได้เป็นสัตว์ทดลองและผลิตวัคซีนบางชนิด ผลพลอยได้ก็มี หนังและมูลพันธุ์กระต่ายที่นิยมเลี้ยงในประเทศ ไทยเป็นพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ลักษณะประจำพันธุ์ ขนสีขาวทั้งตัว ตาสีแดง หน้าสั้น ตะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง เนื้อแน่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง โตเต็มที่หนัก 4–5 กิโลกรัม เป็นกระต่ายพันธุ์เนื้อ พันธุ์แคลิฟอร์เนียไวท์ลักษณะประจำ พันธุ์ ขนสีขาว ฟูยาว ปลายหูและปลายเท้าจะมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ตาสีแดง โตเร็ว เลี้ยงลูกเก่ง โตเต็มที่ หนัก 2.5–4 กิโลกรัม ใช้ทำพ่อแม่พันธุ์ หรือเป็นกระต่ายเลี้ยง พันธุ์แองโกล่า ลักษณะประจำพันธุ์ ขนยาวตรง มีสีหลายสี เช่น ขาว น้ำตาล เทา ดำ หน้าสั้น ตาสีดำ หรือน้ำตาล ให้ลูกน้อย ครอกละ 2–4 ตัว โตเต็มที่หนัก 1.8–2.5 กิโลกรัม เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้ดูเล่น พันธุ์พื้นเมืองลักษณะประจำพันธุ์ ขนสีน้ำตาล ดำ ขนสั้น ตาสีดำ ทนต่อโรคและสิ่งแวดล้อม ให้ลูกดก โตเต็มที่หนัก 2.5–3.5 กิโลกรัม เหมาะสำหรับทำพ่อแม่พันธุ์

ในการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปเลี้ยง ทั้งเพื่อเป็นอาชีพเสริมและเชิงพาณิชย์ พบว่าการเลี้ยงนอกจากพิจารณาเรื่องของพันธุ์กระต่ายที่ต้องการแล้ว ก็มีเรื่องของโรงเรือน ซึ่งควรอยู่บนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถป้องกันศัตรู เช่น สุนัข แมว ได้ กรงกระต่ายควรทำด้วยลวดตาข่ายและอยู่สูงกว่าพื้นไม่น้อยกว่า 50 ซม.เพื่อป้องกันกลิ่นปัสสาวะของกระต่ายเอง

อาหารกระต่ายที่เป็นอาหารหยาบ ควรเป็นจำพวกที่มีเยื่อใยสูง แต่มีโปรตีนต่ำ เช่น หญ้าสด ผัก ผลไม้ ให้กระต่ายกินเป็นหลักจำนวน 10–15% ของน้ำหนักตัว วันละ 2 มื้อ หญ้ารูซี่ หญ้าขน ลิสงเถา (ถั่วปิ่นโต) ไมยราบยักษ์ แต่ไม่ควรใช้ใบกระถินเลี้ยงกระต่าย เนื่องจากมีสารมิมโมซีน ที่มีผลต่อขนกระต่ายทำให้ ขนร่วงได้ง่าย หญ้าและผักที่ฉ่ำน้ำ เช่น เปียกฝน หรืออวบน้ำ จะทำให้กระต่ายท้องเสีย จึงควรนำหญ้าหรือผักสดไปผึ่งในที่ร่มประมาณ 3–6 ชั่วโมงก่อน หรือเกี่ยวหญ้าหลังเวลา 10.00 น. ไปแล้ว อาหารข้น จำพวก อาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบต่าง ๆ จนมีปริมาณ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินเกลือแร่ ฯลฯ ควรให้ตามความจำเป็นของอายุของกระต่าย ส่วนอาหารสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับโค สามารถให้กระต่ายกินได้แต่ไม่เกิน 120-180 กรัม/ตัว/วัน (ขีด-ขีดครึ่ง) เพื่อเสริมอาหารหยาบ

และจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าผลตอบแทนคุ้มค่าไม่น้อย โดยต้นทุน ค่าพ่อแม่พันธุ์กระต่าย ตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 8 ตัว รวม 10 ตัว ตัวละ 150 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท ค่ากรงกระต่าย ขนาด 4.80x0.60 เมตร สูง 1.80 เมตร จำนวน 2 หลัง รวมเป็นเงิน 5,000 บาท ค่าอาหารข้น 4,680 บาท ค่ายาเวชภัณฑ์ 300 บาท รวมเป็นเงิน 11,480 บาท หลังจากเลี้ยงเกษตรกรจะมีรายได้ จากที่แม่กระต่ายให้ลูก แม่ละ 5 ตัว ปีละ 4 ครอก ได้ลูกทั้งหมด 200 ตัวจำหน่ายลูกกระต่ายอายุ 1 เดือน ตัวละ 80 บาทเป็นเงิน 16,000 บาทหรือจำหน่ายกระต่ายขุน อายุ 6 เดือน 100 ตัว ตัวละ 2 กก. กก.ละ 70 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท มูลกระต่าย จำนวน 10 กระสอบ กระสอบละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 200 บาท สรุปแล้วจากการเลี้ยงกระต่ายที่เริ่มต้น 8 ตัวใน 1 ปี จะคืนทุนและมีกำไรไม่น้อยกว่า 2,720-4,720 บาท และหากต้องการกำไรที่มากกว่านี้ ก็เพิ่มปริมาณการเลี้ยงกระต่ายให้มากขึ้น ส่วนตลาดในตอนนี้เริ่มมีความนิยมมากขึ้น

เกษตรกรที่สนใจหากอยู่พื้นที่ภาคเหนือก็เดินทางเข้าไปศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนา     ห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ แต่หากอยู่ในพื้นที่ภาคกลางและปริมณฑล กทม. ในระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคม 2555 นี้ ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จะนำเรื่อง    ดี ๆ เหล่านี้มาแสดงภายในงาน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กทม. งานนี้รับข้อมูลและคำแนะนำพร้อมชมกิจกรรมต่าง ๆ ฟรี.


 การเลี้ยงกระต่ายแรกเกิด

อันนี้เป็นบทความเกี่ยวกับลูกกระต่ายที่กำพร้านะคะ ลองอ่านดูเครดิต : https://www.rabbitcafe.net/board/topicstock/6427/
เชื่อหรือไม่ว่า แม่กระต่ายเลี้ยงลูกเพียงวันละ 5-10 นาทีต่อวันเท่านั้น โดยที่แม่กระต่ายมักจะเลี้ยงลูกในช่วงเช้า และช่วงเย็น โดยแม่กระต่ายจะหลั่งน้ำนมออกมาอย่างรวดเร็วเพื่อให้ลูกดูดนม ดังนั้นลูกกระต่ายก็จะใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในการดูดนม ในช่วงใกล้คลอดแม่กระต่ายมักจะหาเศษหญ้าหรือสำลีหรือผ้าต่างๆมาทำรังให้ลูกนอน และแม่กระต่ายก็จะทำการถอนขนของตัวเองร่วมด้วย เพื่อมาทำรังให้ลูก การที่แม่กระต่ายต้องถอนขนตัวเองนี้เพราะว่าขนกระต่ายจะมีลักษณะพิเศษคือ จะช่วยเก็บความอบอุ่นขณะที่แม่เข้ามาให้นมลูก และโดยส่วนใหญ่แม่กระต่ายก็จะไม่ทับลูกตัวเองขณะให้นมลูก 
ข้อควรระวัง คือ อย่าพยายามบังคับให้แม่กระต่ายอยู่ในรังเพราะว่าแม่กระต่ายอาจจะเครียดได้และอาจจะไม่ยอมเลี้ยงลูกอีกเลย ทางที่ดีคือเราควรคอยสังเกตแม่กระต่ายอยู่ห่างๆ และอย่าไปรบกวนแม่กระต่ายขณะเลี้ยงลูก เพราะนั่นจะทำให้โอกาสรอดของลูกกระต่ายลดลงและอย่าพยายามอย่าเอาลูกกระต่ายออกมาเลี้ยงเอง แต่ถ้าเราเห็นแล้วว่าแม่กระต่ายไม่เลี้ยงลูกแน่ๆ เราจึงค่อยแยกลูกออกมาเลี้ยงเองเมื่อเราแยกลูกออกมาแล้วหรือได้กระต่ายกำพร้ามา 
สิ่งที่ต้องสังเกต คือ เยื่อเมือกควรเป็นสีชมพู และดูการเคลื่อนไหวของลูกกระต่าย ว่ามีการเคลื่อนไหวหรือเปล่าเพราะว่าลูกกระต่ายไม่ควรนอนนิ่งๆ และลูกกระต่ายปกติแล้วจะไม่ส่งเสียงร้องถ้าไม่หิวจริงๆ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเราคงต้องป้อนนมลูกกระต่าย แต่เราจะใช้นมอะไรดีล่ะ 
ถ้าเราต้องเลี้ยงดูลูกกระต่ายกำพร้า สิ่งที่เราต้องรู้คือ กระต่ายเลี้ยงลูก 2 ครั้งต่อวัน ดังนั้นการที่เรานำมาเลี้ยงเองก็ป้อนนมแค่ 2-3 ครั้งต่อวันก็เพียงพอ ซึ่งต่างจากลูกสุนัขที่ต้องป้อนนมทุกๆ 3-4 ชม. การที่ป้อนนมมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดท้องอืดและอาจทำให้ลูกกระต่ายตายได้ และหลังจากป้อนนมทุกครั้งเราต้องช่วยกระตุ้นการขับถ่ายให้กับลูกกระต่ายด้วย โดยการใช้สำลีชุบน้ำอุ่นๆ เช็ดบริเวณอวัยวะเพศ และทวาร เพื่อกระตุ้นให้ลูกกระต่ายปัสสาวะและอุจจาระออกมา อีกสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกันคือ ความอบอุ่น เนื่องจากลูกกระต่ายจะสูญเสียความร้อนได้ค่อนข้างง่าย ดังนั้นบางทีเราอาจจะจำเป็นต้องหาไฟมาก หรือแผ่นทำความร้อน ให้กับลูกกระต่ายด้วยสำหรับนมของกระต่ายนั้นจะค่อนข้างมีโปร**และไขมันที่สูงกว่าสัตว์ชนิดอื่น โดยนมที่ส่วนประกอบที่ใกล้เคียงกันนั้นคือนมสุนัขและแมวใกล้เคียง แต่ถ้าเรานำนมสุนัขและแมวมาผสมกันนั้นจะได้ส่วนประกอบที่ใกล้เคียงกับนมกระต่ายที่สุด แต่ก็เป็นความยุ่งยากของผู้เลี้ยงเช่นกัน แต่ในทางปฎิบัติแล้วอาจเลือกใช้แค่นมชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ นมสุนัขที่แนะนำให้ใช้คือ นมยี่ห้อ Esbilac ส่วนนมแมวยี่ห้อ KMR ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านสัตวแพทย์ หรือ pet shop แต่ถ้าหาไม่ได้จริงๆ สามารถที่จะใช้นมแพะ แทนได้
และ กรุณา หลีกเลี่ยง การใช้ซีรีแลค ชงให้ลูกกระต่ายรับประทาน เพราะว่าอาจจะทำให้ลูกกระต่ายท้องเสียได้ และสารอาหารในนั้นก็ไม่เหมาะสมกับลูกกระต่าย
ปริมาณการป้อน ขึ้นกับ อายุและขนาดตัวของลูกกระต่ายแต่โดยสามารถ ดูได้ตามข้อมูลที่ให้ไว้เบื้องต้นได้และสามารปรับได้ตามเหมาะสม - แรกคลอดจนถึงสัปดาห์แรก: 2-2.5 ml. ต่อครั้ง วันละ 2 เวลา- 1-2 สัปดาห์: 5-7 ml. ต่อครั้ง วันละ 2 เวลา- 2-3 สัปดาห์: 7-13 ml. ต่อครั้ง วันละ 2 เวลา และในช่วงสัปดาห์นี้ กระต่ายจะเริ่มหัดทานอาหารเม็ด และ หญ้าได้ - 3-6 สัปดาห์: 13-18 ml. ต่อครั้ง วันละ 2 เวลา เช่นกัน โดยในช่วงสัปดาห์นี้กระต่ายจะทานอาหารเม็ดและหญ้าได้ค่อนข้างเยอะแล้ว และสามารถหย่านมได้ที่อายุ 6 สัปดาห์ 
ข้อควรระวังของการป้อนนมคือ ระวังเรื่องความสะอาดภาชนะ และหลอดป้อนอาหาร ควรจะต้มหรือ ลวกก่อนใช้ทุกครั้ง เพราะในกระต่ายที่ไม่ได้รับนมของแม่จะมีโอกาสท้องเสียจากการที่ได้รับแบคทีเรียผ่านทางระบบทางเดินอาหารได้ง่ายกว่ากระต่ายที่ทานนมของแม่กระต่ายอยู่ เนื่องจากนมของแม่กระต่ายจะมีฤทธิ์ ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยในระดับหนึ่ง และระบบทางเดินอาหารลูกกระต่ายยังไม่มีจุลชีพ (normal flora) ที่จำเป็นเลยดังนั้นเราอาจจะเสริม normal flora ได้โดยการให้ลูกกระต่ายทานอุจจาระของกระต่ายที่โตเต็มที่แล้ว โดยเลือกอุจจาระแบบที่เป็นพวงองุ่น หรือว่า soft/night feces ใช้ 1 เม็ดต่อวัน ผสมน้ำหรือนมก็ได้ ป้อนให้ลูกกระต่ายทาน 5 วันติดต่อกัน เป็นยังไงบ้างครับ การเลี้ยงลูกกระต่ายกำพร้า หรือกระต่ายเด็กที่โดนหลอกขายมา หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว ผู้ที่ต้องเป็นพ่อแม่บุญธรรมกระต่ายจำเป็น คงจะเข้าใจหลักการเลี้ยงดูกระต่ายกำพร้ามากขึ้นนะครับ 
อีกอย่างที่อยากจะขอความร่วมมือผู้เลี้ยงกระต่ายผ่านทางบทความของผมคือ เรามาร่วมรณรงค์ งดซื้อกระต่ายเด็กมาเลี้ยงกันนะครับ เพราะจากประสบการณ์การรักษากระต่าย พบว่า ร้อยละ 60-70 จะเป็นกระต่ายเด็กที่มีอาการท้องเสียเป็นหลัก และ โอกาสรอด ของกระต่ายก็ขึ้นกับ อายุ ความรุนแรงของโรค และการพามาพบสัตวแพทย์ อย่างทันท่วงที ดังนั้นถ้าไม่อยากให้กระต่ายของคุณต้องตกเป็นหนึ่งในนั้น กรุณาอย่าซื้อกระต่ายเด็กมาเลี้ยงนะครับ 

อัพเดทล่าสุด